WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Saturday, August 8, 2009

ศาลออกโรง

ที่มา Thai E-News



โดย จักรภพ เพ็ญแข
ที่มา คอลัมน์ สายตาโลก หนังสือพิมพ์รายสัปดาห์ “แนวร่วม Red” ปีที่ ๑ ฉบับที่ ๓

สถาบันตุลาการในประเทศไทยเล่าจะทำอย่างไร? วันนี้เผด็จการอำมาตย์ยังคงนั่งทับอำนาจรัฐไว้อย่างเหนียวแน่นโดยไม่สนใจว่าประชาชนทั่วไปเขาตั้งข้อรังเกียจตนขนาดไหน ผู้พิพากษาชนิดนั้นก็คงเอาตัวรอดอยู่ได้ ..แต่วันหนึ่งเมื่อศูนย์กลางของระบบมาเฟียล่มสลายลง คนเหล่านี้จะกระเซอะกระเซิงไปเกาะใบบุญที่ไหนแทน ในเมื่อตลอดมาทำแต่บาปทั้งนั้น.



แล้วปากีสถานก็เป็นตัวอย่างล่าสุดของโลกว่า สถาบันตุลาการหรือศาลที่ไม่ก้มหัวรับใช้เผด็จการ และมีจิตใจเป็นประชาธิปไตยแท้นั้น ช่วยฟื้นฟูประเทศชาติได้มากขนาดไหน

ตรงข้ามกับผู้พิพากษาโจรที่ตัดสินใจเข้าข้างเผด็จการอำมาตยาธิปไตยอยู่ตลอดเวลา อย่างที่เขาเรียกกันในสากลว่า kangaroo court จนบ้านเมืองเดินจากวิกฤติเข้าสู่ความเป็นอัมพาต หมดความสุขและไม่มีใครไว้ใครอีกต่อไป เพราะหลักเสื่อม ไม่รู้จะยึดเอาอะไรเป็นความถูกต้องดีงามอีกแล้ว

สาธารณรัฐอิสลามแห่งปากีสถานมีประวัติศาสตร์การเมืองโชกโชน ถ้าจะเล่าตั้งแต่ต้นเห็นจะต้องเขียนเป็นเล่มๆ วันนี้คงจะเล่าท่อนเดียวคือเหตุการณ์ล่าสุดที่เกิดกับอดีตนายกรัฐมนตรีประเภทแมวเก้าชีวิต-นาวาซ ชารีฟ ผู้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีมา ๒ ครั้ง ใต้แอกเผด็จการของนายพลเซีย อุล ฮักไม่กี่ปี และมาเป็นรอบสองอย่างองอาจเกรียงไกร จนเกิดการงัดข้อในอำนาจกับนายพลเพอร์เวซ มูชาราฟ ผู้บัญชาการทหารบก จนถูกรัฐประหารยึดอำนาจในปี พ.ศ.๒๕๔๒ พอปีรุ่งขึ้นก็ถูกบังคับลี้ภัยไปอยู่ต่างแดนถึง ๗ ปีเต็มๆ

เรื่องเป็นอย่างนี้ครับ

ในขณะที่ปากีสถานเป็นเผด็จการเต็มรูปภายใต้นายพลเซีย อุล ฮัก ซึ่งกระทำรัฐประหารและจับนายกรัฐมนตรีจากการเลือกตั้ง-อาลี บุตโต-ประหารชีวิตเสียหลายปีก่อนหน้านั้น นาวาซ ชารีฟเริ่มได้รับความสนใจในฐานะนักการเมืองผู้มีความสามารถในการบริหารงานยากๆ อยู่ที่รัฐปัญจาบ ก้าวจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของรัฐขึ้นเป็นมุขมนตรี หรือหมายเลขหนึ่งของรัฐ สร้างเกียรติคุณชื่อเสียงให้หนุ่มนักการเมืองแห่งนครละฮอร์เป็นอย่างมาก

ถึงปี พ.ศ.๒๕๓๓ เขาก็ขึ้นถึงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เพื่อกอบกู้ปากีสถานที่กำลังง่อนแง่นหนักในทางเศรษฐกิจ เพราะระบอบเผด็จการสนใจแต่อำนาจ ไม่สนใจทำงานเพื่อบ้านเมืองเหมือนกันทั้งนั้น แต่แล้วเขาก็ถูกถอดจากตำแหน่ง เพื่อเปิดทางให้นักการเมืองสายประชาธิปไตยอีกคนเป็นนายกรัฐมนตรีแทน นั่นคือนางเบเนเซียร์ บุตโต

บทเรียนครั้งนั้นคงเจ็บปวดอยู่มาก เมื่อนาวาซ ชารีฟหวนกลับมาเป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้งในปี พ.ศ.๒๕๔๐ ที่เมืองไทยเกิดวิกฤติเศรษฐกิจครั้งใหญ่ เขาก็รุกหนักจนประสบชัยชนะในทางการเมืองอย่างสมบูรณ์ พรรคการเมืองที่เขาก่อตั้งขึ้นคือพรรคสันนิบาตมุสลิมปากีสถาน-นาวาซ (PML-N) มีเสียงข้างมากทั้งสองสภา ขนาดแก้ไขรัฐธรรมนูญได้ ซึ่งนายกรัฐมนตรีก็สร้างความฮือฮาในทันทีด้วยการแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อไม่ให้ประธานาธิบดีมีอำนาจปลดนายกรัฐมนตรีได้อีกต่อไป

ประธานาธิบดีในขณะนั้นมิได้อำนาจในทางบริหาร เป็นประมุขแห่งรัฐแต่ในทางพิธีการก็จริง แต่สิ่งที่ใช้ถ่วงดุลกันมาได้ตลอดคืออำนาจในการปลดนายกรัฐมนตรีได้ โดยอ้างเหตุฉุกเฉิน ๒-๓ ข้อตามที่เขียนไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับนั้น

อำนาจนี้ดูเผินๆ เป็นเรื่องของการตรวจสอบและถ่วงดุล เพื่อมิให้นายกรัฐมนตรีมีอำนาจมากเกินไป แต่เอาเข้าจริงแล้ว กลายเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้มีอำนาจเก่าในปากีสถาน ไม่ว่าจะเป็นข้าราชการตำแหน่งสูงหรือเศรษฐีเก่า อย่างที่เรียกว่าอำมาตย์นั้น เข้าควบคุมทิศทางการเมืองของประเทศได้โดยไม่ต้องผ่านการเลือกตั้งกับใครเขาเท่านั้นเอง เมื่อนาวาซ ชารีฟมาทำลายสมดุลนี้ลง อำมาตย์ก็ตั้งตัวเป็นศัตรูคอยคิดโค่นล้างทำลายเรื่อยมา

ฟางเส้นสุดท้ายบนหลังอูฐคือเหตุพิพาทระหว่างนายกรัฐมนตรีกับประธานศาลฎีกา-ซัดจาด อาลี ชาห์จนถูกข้อหาหมิ่นศาล แต่รอดพ้นมาได้อย่างหวุดหวิด รัฐนาวายังไม่ทันตั้งลำดีก็มีเรื่องซ้ำเข้าไปกับฝ่ายทหารคือนายพลเพอร์เวซ มูชาราฟ ผู้บัญชาการทหารบก เมื่อนายกรัฐมนตรีใช้อำนาจเหนือกว่าสั่งถอนกำลังทหารปากีสถานออกจากแคว้นแคชเมียร์ตรงชายแดนที่เชื่อมกับอินเดีย เพื่อสร้างบรรยากาศการเจรจา และครั้งหนึ่งออกคำสั่งให้เครื่องบินของผู้บัญชาการทหารบกไปลงที่เมืองซินห์ แทนที่จะเป็นนครการาจีอย่างที่วางแผนไว้และมีฝูงชนคอยต้อนรับอยู่ เหมือนจะหักหน้ากัน

ทั้งหมดนี้เกิดขึ้นในขณะที่ฝ่ายทหารประกาศออกมาตรงๆ ว่าต้องการมีส่วนร่วมในการเสนอนโยบายต่อรัฐบาลด้วย ไม่ใช่เพียงรับปฏิบัติเท่านั้น ซึ่งนายกรัฐมนตรีฟังแล้วก็ทำหูทวนลม

การรัฐประหารจึงเกิดขึ้นอย่างที่เราทราบกัน รัฐบาลเผด็จการของมูชาราฟก็เผชิญกับแรงกดดันในประเทศจากฝ่ายประชาธิปไตยอยู่ตลอดเวลา อยู่ได้ก็เพราะสหรัฐอเมริกาภายใต้บุชผู้ลูกสนับสนุนอยู่เต็มที่ เพื่อให้เป็นแนวร่วมปราบปรามกลุ่มอัล-กออิดะห์ในอัฟกานิสถานเท่านั้นเอง ภายหลังเมื่อตั้งตัวได้แล้วสหรัฐฯ ก็ถีบหัวส่ง

เมื่อมูชาราฟหมดวาสนาลาออกไปแล้ว สามีของนางเบเนเซียร์ก็เข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีสืบแทนภรรยาที่ถูกลอบสังหารถึงแก่อสัญกรรมไป แต่ อาซิฟ ซาดารี ประธานาธิบดีประชาธิปไตยคนใหม่ก็กลับทำเฉยต่อเสียงเรียกร้องให้เสนอแต่งตั้งผู้พิพากษาศาลสูงที่ถูกเผด็จการถอดออกจากตำแหน่งในฐานที่ไม่ยอมวินิจฉัยให้เขาสืบอำนาจต่อได้ในขณะนั้น นัยว่ายังผูกใจเจ็บอยู่กับผู้พิพากษาบางคนที่เล่นงานตัวเขาและนางเบเนเซียร์ด้วยคดีความต่างๆ จนต้องติดคุกหลายปี

ณ ช่องว่างนี้เองที่นักการเมืองฝ่ายค้านอย่างนาวาซ ชารีฟรีบกระโดดเข้ามาเคลื่อนไหวประชาชนหลายแสนเพื่อสร้างแรงกดดันต่อประธานาธิบดีซาดารี เรียกร้องให้แต่งตั้งผู้พิพากษาทั้งหมดกลับคืนสู่ตำแหน่งเดิมโดยด่วน ซึ่งก็ได้ผล

พัฒนาการต่อมาก็คือศาลฎีกาของปากีสถานได้ยกฟ้องคดีความต่างๆ ที่เผด็จการยัดเยียดให้กับตัวเขาทั้งหมด และเพิกถอนคำสั่งห้ามลงสมัครรับเลือกตั้งหรือยุ่งเกี่ยวกับการเมืองออกทั้งหมด

นาวาซ ชารีฟในวันนี้ จึงอยู่ในฐานะที่จะเดินเกมการเมืองฝ่ายประชาธิปไตยอย่างไรก็ได้ และเขาก็จะเป็นตัวแปรที่สำคัญในปากีสถานปัจจุบัน โอกาสที่จะก้าวขึ้นเป็นประธานาธิบดีหรือนายกรัฐมนตรีก็มีสูง

เรื่องที่ไม่ใหญ่โตนักในปากีสถานจึงเป็นบทเรียนที่ดีสำหรับประเทศไทยที่ดึงสถาบันตุลาการเข้ามาเกี่ยวข้องกับการเมืองจนกลายเป็นปมยุ่งเหยิงจนไม่รู้จะแก้อย่างไร เห็นได้ว่าตุลาการปากีสถานเขาวางตัวตรงกันข้าม นั่นคือพยายามเป็นกรรมการกลางระหว่างนักการเมืองโดยไม่เข้าใครออกใคร เพื่อให้สนามแข่งขันทางการเมืองกว้างขึ้นสำหรับประชาชน

แต่เมื่อถึงเวลาที่ต้องเลือกระหว่างประชาธิปไตยกับเผด็จการแล้ว ผู้สวมครุยทั้งหลายเขาก็เลือกฝ่ายประชาธิปไตยโดยไม่ต้องหยุดคิด รัฐบาลประชาธิปไตยที่ก้าวเข้ามาจึงไม่มีความลำบากยากใจในการบูรณปฏิสังขรณ์สถาบันตุลาการให้คืนดีดังเดิม และเมื่อทุกอย่างเป็นปกติแล้ว สถาบันที่สามนี้ก็ทำหน้าที่กรรมการกลางที่มีความรู้และความน่าเชื่อถือต่อไป

สถาบันตุลาการในประเทศไทยเล่าจะทำอย่างไร? วันนี้เผด็จการอำมาตย์ยังคงนั่งทับอำนาจรัฐไว้อย่างเหนียวแน่นโดยไม่สนใจว่าประชาชนทั่วไปเขาตั้งข้อรังเกียจตนขนาดไหน ผู้พิพากษาชนิดนั้นก็คงเอาตัวรอดอยู่ได้

แต่วันหนึ่งเมื่อศูนย์กลางของระบบมาเฟียล่มสลายลง คนเหล่านี้จะกระเซอะกระเซิงไปเกาะใบบุญที่ไหนแทน ในเมื่อตลอดมาทำแต่บาปทั้งนั้น.

-------------------------------

TPNews (Thai People News): ข่าวสารสำหรับผู้รักประชาธิปไตย เที่ยงตรง แม่นยำ ส่งตรงถึงมือทุกวัน สมัครวันนี้ ใช้ฟรี 14 วัน พิมพ์ PN ส่งมาที่เบอร์ 4552146 ทุกระบบ เพียง 29 บาท/เดือน (เฉพาะ DTAC 30 บาท/เดือน) Call center: 084-4566794-6 (จ.- ศ. 9.30-17.30 น.)