WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Monday, December 20, 2010

รายงานเสวนา การเมืองสยามประเทศไทย: หลังอภิสิทธิ์ 1

ที่มา ประชาไท

19 ธ.ค. 53 โครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ร่วมกับหลักสูตรควบ 5 ปี ตรี-โท คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี และวิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) จัดการเสวนาเรื่อง การเมืองสยามประเทศไทย: หลังอภิสิทธิ์ 1 โดยผู้ร่วมเสวนาประกอบด้วย พนัส ทัศนียานนท์ อดีตส.ว.จังหวัดตาก อนุสรณ์ ธรรมใจ กรรมการมูลนิธิปรีดี พนมยงค์ ศรีประภา เพชรมีศรี ตัวแทนคณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชนอาเซียน ลักขณา ปันวิชัย (คำ ผกา) คอลัมนิสต์ชื่อดัง ดำเนินรายการโดย พิภพ อุดร คณะพานิชยศาสตร์ มธ.
พนัส ทัศนียานนท์
การ เมืองสยามประเทศไทย ถ้าจะหลังอภิสิทธิ์ได้ก็คงต้องมีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองเกิดขึ้น ซึ่งการเปลี่ยนแปลงที่เป็นไปตามครรลองของระบอบประชาธิปไตยก็คือการยุบสภา เลือกตั้งใหม่ อันที่จริง ก็ควรจะโพสต์ (post) ไปตั้ง 6-7เดือนแล้ว ตอนที่เกิดเหตุการณ์เดือนเมษายนขึ้นก็น่าจะลาออกได้แล้ว ตอนนั้นเขามาเรียกร้องให้ยุบสภาก็ไม่ยุบ จนกระทั่งคนบาดเจ็บล้มตาย ก็เลยทำให้เป็นข้อที่คงจะต้องมีการวิเคราะห์ แต่สำหรับผมเองคือผมเดาแล้วมีแนวโน้มที่จะเป็นไปได้สูงมากที่คุณอภิสิทธิ์จะ ยุบสภาและให้มีการเลือกตั้งใหม่ เหตุผลประการแรก คือ ที่ติดบ่วงอยู่นั้นก็ลอดมาได้อย่างไม่คาดฝัน ไม่ประทับใจคนดู ถ้าเป็นมวยก็ถือว่าชนะฟาวล์อย่างไม่คาดฝัน ซึ่งจะมีปัญหาต่อกับอนาคตของศาลรัฐธรรมนูญหรือองค์กรอิสระ ตอนที่ทำรัฐประหาร 2549 มีการอ้างว่ามีการแทรกแซงองค์กรอิสระ ตอนนี้มีเหตุผลมากกว่าตอนนั้นเสียอีก ตอนนี้มันไม่ใช่แค่แทรกแซงแต่ถูกยึดด้วยซ้ำไป ในฐานะที่เป็นนักกฎหมาย ผมเชื่อว่านักกฎหมายด้วยกันเองคงจะปวดเศียรเวียนเกล้าพอสมควร เหตุผลที่ศาลรัฐธรรมนูญให้ในการมายุบพรรค ปชป. นั้น ผมถือว่าเป็นเหตุผลที่พิสดารที่สุด คือถ้าทำหน้าที่เป็นประธาน กกต. ไม่ถือว่าเป็นนายทะเบียนพรรคการเมือง ถือว่าไม่ได้รับรู้รับเห็น จึงบอกว่าเป็นการดำเนินการข้ามขั้นตอน โดยที่นายทะเบียนเองไม่ได้ทำความเห็น แล้วจู่ๆ ก็เอาเรื่องยื่นต่อศาล เป็นเหตุผลทางเทคนิค จึงไม่ต้องพิจารณาว่าโดยเนื้อแท้ โดยเรื่องราวแล้วผิดหรือไม่ ซึ่งเราไม่ได้ฟังความคิดเห็นจากศาลเลยว่าพิจารณาเรื่องดังกล่าวอย่างไร พอมาเรื่องที่ 2 ก็อาศัยเหตุผลเดียวกันนั่นแหละ ยกฟ้องเสียเลย คดีแรกทำให้ กกต. หน้าแตก คดีที่สองก็ทำให้อัยการหน้าแตกไปด้วย
เสนอฟ้องอีก ไม่ถือเป็นฟ้องซ้ำ
ตอน นี้ก็เลยมีประเด็นที่มีการเสนอกันว่าน่าจะเทียบเคียงได้กับการดำเนินคดีอาญา ซึ่งถ้าศาลตัดสินว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง จะเอาไปฟ้องใหม่ได้ ไม่ถือว่าเป็นการฟ้องซ้ำ ประธาน กกต. น่าจะนำเรื่องไปยื่นใหม่ได้ แต่ก็อาจจะไปติดตรงประเด็น 15 วันอีก ซึ่งก็เป็นเรื่องตลกว่าที่เขาเอามาอ่านสุดท้ายไม่ได้เป็นเสียงข้างมากนะ แต่เป็นเสียงข้างน้อย คือนายอุดมศักดิ์ นิติมนตรี ซึ่งไม่เหมือนอีก 3 ท่าน ที่เป็นเสียงข้างมากที่บอกให้ยกคำร้องที่ขอให้ยุบพรรคประชาธิปัตย์ แล้วเสียงข้างน้อย ที่ผมแปลกใจและคาดผิดอย่างมหาศาล ตอนแรกผมคิดว่าท่านประธานเองจะเป็นเสียงข้างมากอยู่ด้วย กลายเป็นว่าท่านเป็นเสียงข้างน้อย และคำวินิจฉัยของท่านชัดเจนที่สุดเลยว่านอกจากให้ยุบพรรคประชาธิปัตย์แล้ว ให้ตัดสิทธิ์ผู้บริหารพรรคอีก 2 ราย คือคุณบัญญัติ บรรทัดฐาน และคุณประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ แต่ที่แปลกใจคือไม่ตัดสิทธิ์คุณอภิสิทธิ์ด้วย ซึ่งคำวินิจฉัยไม่เห็นว่าเป็นความผิดอะไร สำหรับคุณบุญส่ง กุลบุปผา บอกให้ยุบพรรคแต่ไม่ตัดสิทธิ์ใครสักคนเดียว
แล้ว ผมก็คาดเดาต่อไปว่า ถึงอย่างไรก็ไม่มีการยื่นให้ยุบพรรคประชาธิปัตย์ถือว่าเรื่องจบแล้ว จากนี้ไปประชาธิปัตย์คงจะมีความเชื่อมั่นมากขึ้นโดยเฉพาะคุณอภิสิทธิ์เอง จากอาการที่ท่านแสดงออกมาผมเชื่อว่าท่านมั่นใจว่าขณะนี้ประชาธิปัตย์ก้าว ข้ามพ้นหมดแล้ว ไม่ว่าฝ่ายใดก็แล้วแต่ซึ่งอาจจะเคยสนับสนุนเคยอุ้มเคยช่วยเหลือกันมา ความมั่นใจนี้อาจจะถึงขั้นที่ว่าไม่จำเป็นต้องมีใครช่วย ขณะนี้เดินได้ด้วยตัวเองแล้ว มีสิ่งที่ยึดมั่นและน่าจะคุ้มครองได้ อาจจะมีสิ่งที่เป็นขวากหนามที่เป็นหอกข้างแคร่ก็คือพรรคภูมิใจไทย หรือเนวิน ชิดชอบ เลือกตั้งซ่อมครั้งนี้น่ากลัวมากขนาดบุกไปชนะที่สุรินทร์ได้ การเอาบุญเก่าของทักษิณมาใช้คงไม่ได้แล้ว และเชื่อว่าการเลือกตั้งทั่วไปครั้งใหญ่คราวหน้า ประชาธิปัตย์น่าจะได้เก้าอี้คืนมาพอสมควร แต่ยังมีก้างขวางคอก็คือภูมิใจไทยของเนวิน
การแก้เกมนี้ ท่านบอกว่าอาจจะมีการปรับ ครม. อีกครั้งเพื่อเอาเพื่อแผ่นดินเข้ามา เพื่อจะเอา 3P เข้ามา เขตของเขาอยู่ภาคอิสาน ไม่ให้ภูมิใจไทยรุกหนักมากเกินไป และถ้าพี่เนวินเข้าไปนั่งในหัวใจคนอิสานแทนทักษิณแล้วคนที่น่าเป็นห่วงก็คือ ประชาธิปัตย์ การหักกันก็คือเรื่องขึ้นเงินเดือน อบต. แล้วก็พ่วงขึ้นเงินเดือน ส.ส. ส.ว. ไปด้วย
คน ที่ผมนับถือที่สุดคือคุณรสนาที่ประกาศว่าไม่เอาเงินเดือนขึ้นนี้ ผมอยากจะรอดูต่อไปว่าเมื่อเขาโอนเงินเดือนให้ท่านจริงๆ ท่านจะไม่เอาจริงหรือเปล่า ถ้าท่านคืนให้หมด ผมจะยกย่องให้เป็นวีรสตรีของการเมืองไทยเลย
ผมคิดว่ามีแนวโน้มเกินกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ที่จะมีการยุบสภาในเดือนเมษายนปีหน้า เพราะมีแนวโน้มที่จะเป็นเสียงข้างมาก พูดได้เต็มปากว่าได้จัดตั้งรัฐบาลด้วยความชอบธรรม ยิ่งหากได้ถึง 300 กว่าที่นั่งก็จะยิ่งดี แต่อย่าลืมว่าไทยรักไทยเคยได้ 377 ที่นั่งก็อยู่ไม่ได้ ข้อกล่าวหาอย่างเดียวจะตามมาคือการเป็นเผด็จการรัฐสภา ซึ่งทุกคนก็อยากเป็นทั้งนั้น เผด็จการที่มีอำนาจอย่างเด็ดขาด
แต่ ท่านอย่าประเมินอะไรต่ำเกินไป โดยเฉพาะอย่าประเมินพันธมิตรฯ ต่ำ ผมฟังคุณสนธิสองสัปดาห์ติดต่อกัน มันมากเลย ตอนนี้กลายเป็นว่าประชาธิปัตย์ขายชาติไปเสียแล้ว ซึ่งคุณอภิสิทธิ์อาจจะประเมินแล้วไม่มีปัญหาเพราะเหตุการณ์ที่หนักกว่านี้ก็ เจอมาแล้วถึง 2 ครั้ง และการผ่านศึกนี้มาได้ก็อาจจะมองว่าศึกไหนก็บ่ยั่น ถ้าท่านคิดอย่างนั้นผมก็อยากจะเตือนว่าการประเมินต่ำเกินไปก็อาจจะเป็นปัญหา ได้
ผม เชื่อว่าหากมีการยุบสภาเลือกตั้ง ประชาธิปัตย์ก็ได้เป็นรัฐบาลแน่นอน แต่ก็มีชนวนระเบิดอยู่ โดยเฉพาะประเด็นมรดกโลกเขาพระวิหาร ผมฟันธงตรงนี้ว่าการเลือกจังหวะเวลาที่จะยุบสภาเดือนเมษายน ส่วนหนึ่งก็คงจะใช้ตรงนี้แย่งพื้นที่ข่าวเพราะหากเลือกตั้งเดือนเมษายนก็ ต้องเลือกตั้งในหกสิบวัน สองสามเดือนหลังจากนั้นก็เป็นเรื่องที่ต้องไปพูดกันเรื่องมรดกโลกในเดือน มิถุนายน เพราะฉะนั้นหากช่วงนั้นกำลังจะมีการเลือกตั้ง ข่าวส่วนใหญ่เป็นเรื่องการเมืองภายในประเทศ ข่าวเรื่องมรดกโลกก็ต้องลดลง ซึ่งกรณีมรดกโลก ผมเดาว่าช่วงหลังมานี้เสียงของท่านอภิสิทธิ์เพี้ยนๆ ไปทำนองว่าไปขอขึ้นทะเบียนร่วมกันก็ดี ซึ่งฟังๆ แล้วก็ไม่ต่างจากที่คุณนพดล ปัทมะ เคยดำเนินการ ซึ่งทางฝ่ายเสื้อเหลืองก็คงยอมไม่ได้
อนุสรณ์ ธรรมใจ
บ้านเมืองมีวิกฤตการณ์ทางการเมืองมากจนกระทั่งเกิดผลกระทบด้านเศรษฐกิจและการลงทุน ผมสนใจว่าบ้านเมืองจะอยู่อย่างไรหลังอภิสิทธิ์ 1 ถ้าเราดูโครงสร้างของสังคมไทย และเศรษฐกิจไทย โครงสร้างส่วนบนมีปัญหาและมีปัญหาอย่างมากหลังรัฐประหาร 2549 ทั้งในเรื่องระบบกฎหมาย การเมืองรวมถึงวิธีคิดของประชาชนจำนวนไม่น้อย ขณะที่โครงสร้างส่วนล่างที่เป็นโครงสร้างพื้นฐานมีปัญหาน้อยกว่าส่วนบนเพราะ โดยพื้นฐานแล้วประคองตัวได้ซึ่งได้รับประโยชน์จากการที่เศรษฐกิจเอเชียดีมาก สหรัฐและยุโรปมีปัญหา การลงทุนจึงไหลมาทางเอเชีย แต่จะไม่เป็นบวกต่อไปถ้ากฎหมายของไทยแสดงความไม่มีนิติรัฐ นิติธรรม ระบบยุติธรรมถูกตั้งคำถามก็จะก่อให้เกิดปัญหา แต่ปัญหาทางเศรษฐกิจที่ทำจะนำมาสู่ปัญหาวิกฤตการณ์ทางการเมือง
แต่ ปัญหาที่ใหญ่ที่สุดก็คือความเหลื่อมล้ำและการกระจายความมั่งคั่ง ซึ่งเราเห็นว่ารัฐบาลพยายามจะแก้ปัญหานี้แต่ไม่ได้แก้ที่โครงสร้าง ก็ยังใช้นโยบายประชานิยมเหมือนรัฐบาลที่ผ่านๆ มา
ข้อเสนอ
หนึ่ง ประเทศ มีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอย่างแท้จริง ซึ่งตอนนี้ต้องบอกว่ายังไม่ได้ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยอย่างแท้จริง และลดลงภายหลังรัฐประหาร 2549 ประเทศไทยไม่ได้มีสิทธิเสรีภาพอย่างที่หลายประเทศที่เป็นประชาธิปไตยมี เรามีปัญหาเรื่องภราดรภาพแน่นอน ความเสมอภาคไม่ต้องพูดถึง
สอง เราต้องการสังคมและระบบการเมืองที่ยึดมั่นในระบบนิติรัฐนิติธรรม ดำรงอยู่ได้ท่ามกลางความแตกต่างหลากหลายได้อย่างสันติ คนไม่จำเป็นต้องมีความเห็นเหมือนกันหรือจุดยืนทางการเมืองเหมือนกัน แต่พูดกันได้ด้วยเหตุด้วยผล และยึดหลักเสียงข้างมาก เราจะเห็นว่าการเลือกตั้งหลายประเทศ เมื่อผลการเลือกตั้งออกมาแล้วมันจบ แต่ประเทศนี้ไม่จบ ยังทำให้เกิดปัญหาอย่างต่อเนื่อง เราก็หวังว่าการเมืองสยามประเทศ
สาม ระบบยุติธรรมต้องเป็นธรรม การเลือกตั้งต้องเป็นกลางและเป็นธรรม แต่ถ้ามีปัญหาตั้งคำถามเรื่องนี้ ความวุ่นวายและวิกฤตการณ์ทางการเมืองก็จะเกิดขึ้นอีก เหมือนกรณีศาลรัฐธรรมนูญที่ยังคาใจคนจำนวนมาก และการยุบพรรคก็เป็นผลผลิตของรัฐธรรมนูญ 2550 ซึ่งเป็นผลผลิตของรัฐประหาร 2549 ซึ่งไม่มีประเทศไหนมีบทลงโทษเรื่องการยุบพรรคการเมือง เพราะทำให้สถาบันพรรคการเมืองอ่อนแอ ผู้สนับสนุนแนวคิดยุบพรรคก็อาจจะบอกว่านี่เป็นประชาธิปไตยแบบไทยๆ ซึ่งมันก็คือความไม่เป็นประชาธิปไตย
สี่ ระบบเศรษฐกิจต้องเป็นประชาธิปไตย เราเห็นอยู่ว่ากลุ่มทุนขนาดใหญ่เขาเล่นอยู่หลังฉากตลอด และกลุ่มทุนก็ถือหางผู้ชนะ โดยไม่ดูว่าผู้ชนะมาด้วยครรลองที่ถูกต้องหรือไม่
ห้า ประชาชนส่วนใหญ่มีคุณภาพชีวิตที่ดี ซึ่งโยงกับการที่ประชาชนเข้าถึงสวัสดิการพื้นฐานได้อย่างมีคุณภาพ ซึ่งหลายๆ รัฐบาลทำอยู่ในแง่ประชานิยม ไม่ใช่รัฐสวัสดิการ เพราะไม่มีรัฐบาลไหนเลยที่มีความกล้าหาญในการปฏิรูประบบภาษี และการปฏิรูปที่ดิน ซึ่งเป็นเรื่องพื้นฐานที่สุดที่จะทำให้เกิดประชาธิปไตยทางเศรษฐกิจและแก้ ปัญหาความเหลื่อมล้ำแต่ถามว่าประเทศไทยมีเสรีภาพทางวิชาการในการวิพากษ์ วิจารณ์หรือไม่ เพราะการปฏิรูปที่ดินจะไปแตะผลประโยชน์ของกลุ่มจารีตอนุรักษ์นิยมอย่างมาก เดิมคณะราษฎรหลัง 2475 ได้จัดการระบบไว้เรียบร้อยแล้ว แต่ว่าบ้านเมืองถอยหลังกลับหลังการรัฐประหาร 2490 แล้วสิ่งนี้ยิ่งตอกย้ำ ถ้าใครอ่านวิกิลีกส์ ซึ่งสะท้อนว่าระบบการเมืองไทยมีมือที่มองไม่เห็นจริง ซึ่งเป็นปัญหา เพราะในระบบการเมืองประชาธิปไตยที่พัฒนาแล้ว ในประเทศยุโรปเขาจะจัดวางสถาบันและโครงสร้างอำนาจที่สอดคล้องกับหลักการ ประชาธิปไตย จึงจะทำให้ระบบนี้เป็นประโยชน์ต่อประเทศและประชาชนส่วนใหญ่ สอดคล้องกับหลักการประชาธิปไตย ในหลายประเทศเขาก็มีความก้าวหน้าที่จะทำให้สื่อมวลชน นักวิชาการ และประชาชนสามารถวิพากษ์วิจารณ์ได้ด้วยความปรารถนาดี และทำให้ระบอบพัฒนาได้สอดคล้องกับโลกในศตวรรษที่ 20
หก ปัญหาการทุจริตคอร์รัปชั่นลดลง ซึ่งตอนนี้ไม่ได้ลดลง แต่กลับมากขึ้นและกระจายขึ้น เพราะรัฐบาลมีสภาพเป็นรัฐบาลผสม เสถียรภาพไม่แข็งแรง เป็น Buffet Cabinet ใครใคร่กิน-กิน ใครใคร่คอร์รัปชั่น-คอร์รัปชั่น หนักกว่าสมัยรัฐบาลชาติชายเพราะความเป็น Money Politics มันมากขึ้นๆ เพราะเกิดสภาวะแพ้ไม่ได้ จริงๆ ในการแข่งขันทางการเมืองมันต้องแพ้ได้ แล้วผลัดกันบริหาร แต่มันเกิดสภาวะแพ้ไม่ได้เพราะทุกคนมีคดี ก็เกรงว่าอีกฝ่ายที่เป็นขั้วตรงข้ามจะเล่นงานไล่หลัง ก็จึงเกิดผสมปนเปปัญหาซับซ้อนมากขึ้น
ข้อ เสนอสำหรับประเด็นแรก การเมืองประชาธิปไตย คือแก้ไขรัฐธรรมนูญให้เป็นประชาธิปไตย ไม่ใช่แก้เพื่อนักการเมืองหรือพรรคการเมืองเท่านั้น ต้องแก้ในประเด็นที่ไม่เป็นประชาธิปไตย อย่างแก้ระบบเลือกตั้ง ประเทศไทยก็ใช้มาทุกระบบ แล้วทุกระบบก็มีข้อดีข้อเสีย ได้เปรียบเสียเปรียบต่างกัน ฉะนั้นเราต้องไปดูประเด็นที่ไม่เป็นประชาธิปไตยและสร้างปัญหาให้ระบอบ ประชาธิปไตยอย่างมาก รัฐธรรมนูญบางหมวดก็ไม่มีการพูดถึงเลยเพราะกลัวติดคุก 18 ปี ซึ่งจริงๆ ต้องพูดเพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ในอนาคตของประเทศไทยในระยะ 5-10 ปีข้างหน้า ผมเคยเข้าไปร่วมในคณะกรรมการสมานฉันท์แห่งชาติ ผมเสนอให้มีสภาปฏิรูปประเทศไทย ซึ่งต้องรวมถึงการปฏิรูปสถาบันด้วย รวมไปถึงกฎหมาย วัฒนธรรม ศาสนา
ผม เสนอให้คณะกรรมการปฏิรูปมาจากการเลือกตั้งของประชาชน ไม่ใช่โดยการแต่งตั้งของรัฐบายลอย่างที่ทำอยู่ แต่องค์กรต้องมาจากประชาชนเราไม่อาจจะให้คนที่เราเชื่อว่าเป็นคนดี หรือมีศีลธรรม ความรู้ความสามารถสูงกว่าคนอื่นไปตัดสินใจแทนประชาชน มันไม่ใช่ประชาธิปไตย แต่ถ้าเอาคนเหล่านี้มาเป็นองค์ประกอบโดยมีส่วนร่วมของประชาชน ก็อาจจะได้ และอาจจะอยู่สัก 5-10 ปีแล้วก็สลายตัวไป เพราะเราเห็นอยู่แล้วว่าบ้านเมืองในระยะ 5-10 ปีข้างหน้ามีความเสี่ยงอะไร
ถาม ว่าแล้วทำไมไม่ใช้ส.ส. ซึ่งมาจากประชาชน หรือ ส.ว. เพราะมีเรื่องของการแข่งขันทางการเมือง แต่สภาปฏิรูปประเทศไทยจะทำภารกิจเปลี่ยนแปลงอะไรหลายๆ อย่างซึ่งเป็นเรื่องที่ยาก แต่ว่าเขามาจากประชาชน ผมไม่เห็นด้วยกับคณะกรรมการปฏิรูปที่มาจากการเลือกตั้งจะไม่สามารถเปลี่ยน แปลงผ่าตัดประเทศได้
ระบบ ศาลยุติธรรมก็ต้องปฏิรูป ตั้งแต่ต้นทาง คือตำรวจ อัยการ ศาล และให้อำนาจตุลาการยึดโยงกับอำนาจประชาชนมากขึ้น ไม่ต้องเอาถึงขั้นสหรัฐอเมริกาก็ได้ แต่ให้มีอำนาจของประชาชนเกี่ยวข้องมากขึ้น เพราะธรรมนูญปกครองประเทศ 2475 เขียนชัดเจน อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย แต่วันนี้ผมไม่เห็นอำนาจศาลยึดโยงกับอำนาจประชาชนเลย
ประเด็น เรื่องการผูกขาดอำนาจเศรษฐกิจ ก็โยงกับการผูกขาดอำนาจทางการเมืองแล้วจะแก้ปัญหาอย่างไร ผมมองว่าต้องทำไปพร้อมๆ กัน เราไม่อาจทำอย่างใดอย่างหนึ่งได้ การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองครั้งใหญ่ๆ ที่ทำให้ประเทศไหนก็ตามเป็นประชาธิปไตยล้วนเกิดจากผลของพัฒนาการทางเศรษฐกิจ แล้วนำมาสู่แรงกดดันทางการเมือง ทำให้ระบบเดิมต้องปรับเปลี่ยน อยู่อย่างเดิมไม่ได้ เพราะระบบเศรษฐกิจเปลี่ยน และสิ่งนี้จะเกิดขึ้นในประเทศจีนได้ และแน่นอนที่สุดไทยก็ไม่อาจหลีกเลี่ยงกฎ Dialectic ได้ ผมมองความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นว่าเป็นพลังระหว่างกิริยากับปฏิกิริยา ก็จะเกิดวิวัฒนาการปรับเปลี่ยนไปเรื่อยๆ แต่เราอยากให้สิ่งที่เกิดขึ้นนั้นประชาชนส่วนใหญ่ได้ประโยชน์มีความสูญเสีย น้อยที่สุด หลีกเลี่ยงความรุนแรง แต่แน่นอนว่าไม่มีใครต้านทานความเปลี่ยนแปลงได้ แต่ก็มีบางสังคมที่ขยับขึ้นแล้วตกลงมาได้ เพราะสังคมนั้นขาดการเตรียมพร้อมในทุกด้าน เราดูพัฒนาการของหลายประเทศ ทำไมการเปลี่ยนแปลงบางประเทศถึงรุนแรงนองเลือด ก็เพราะไม่เตรียมพร้อม และคนที่ไม่เตรียมพร้อมที่สุดก็คือคนชั้นนำ
หลังอภิสิทธิ์ 1 เราต้องปฏิรูป จึงจะหลีกเลี่ยงการนองเลือดและความสูญเสียได้ แต่ถ้าเราไม่ทำ แล้วเกิดความเปลี่ยนแปลงจากล่างสู่บน ซึ่งถ้าองค์กรด้านล่างมียุทธศาสตร์ที่ดี บ้านเมืองจะไม่ระส่ำระสาย แต่มันจะรุนแรงแน่นอน บางประเทศที่กลับไปกลับมาเพราะเกิดสภาวะอนาธิปไตย เพราะศูนย์กลางอำนาจเดิมสูญเสียการควบคุมก็ไม่มีศูนย์กลางใหม่ หรือไม่เกิดการกระจายตัว แต่ทางออกของประเทศไทย ผมเชื่อในประชาธิปไตยผมมองว่าทางออกคือการฟังเสียงประชาชน คือการเลือกตั้ง แต่ต้องเป็นการเลือกตั้งที่บริสุทธิ์ยุติธรรมและเป็นกลาง ไม่ว่าผลการเลือกตั้งจะออกมาอย่างไรนั่นคือเสียงของประชาชนและต้องยอมรับ แต่ต้องไม่ให้การเลือกตั้งนี้ถูกฉ้อฉลด้วยอำนาจรัฐและอำนาจเงิน
ปัญหาที่เกิดขึ้นคือมีคนบางกลุ่มคิดแทนประชาชน และเชื่อในความดีความสามารถของตัวเอง
เฉพาะหน้าทำอะไรได้บ้าง
ผม มองว่าถ้ามีรัฐประหารอีกประเทศไทยจะถอยหลังยาว แล้วจะปิดประตูการรัฐประหารได้อย่างไร ข้ออ้างคือเรื่องทุจริตคอร์รัปชั่น เราก็ต้องสามารถลงโทษรัฐบาลที่ทุจริตคอร์รัปชั่นได้ด้วยระบบกฎหมาย ไม่ใช่กระบวนการรถถังแล้วความเชื่อมมั่นของนักลงทุน พัฒนาหลักสูตรประชาธิปไตยในโรงเรียนทหาร ให้ฝังแน่น ให้เป็นทหารประชาธิปไตย เป็นทหารของประชาชน ปฏิรูปเงินเดือนสวัสดิการให้มันดี แต่จะมีเงินพอหรือไม่ไม่ทราบเพราะว่าตอนนี้แจกเงินกันใหญ่ อีกสัก 4-5 ปีข้างหน้าจะมีปัญหาการเงินขนาดใหญ่
เปิด ช่องให้กองทัพและอำมาตย์ทั้งหลายเขามีบทบาททางการเมืองอย่างเหมาะสมตามวิถี ทางประชาธิปไตย กำหนดในกฎหมายให้ชัดเจน เช่น กองทัพต้องพิทักษ์รัฐธรรมนูญที่มาจากประชาชน หากจะมีการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ต้องมาจาก สสร. ฉลองรัฐธรรมนูญ 7 วัน 7 คืน เอาวันที่ 24 มิ.ย. มาเป็นวันชาติ ปรับปรุงกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ จะทำให้ระบอบประชาธิปไตยที่มีกษัตริย์เป็นประมุข และจะทำให้สถาบันยิ่งเข้มแข็งมากขึ้น ดูอย่างอังกฤษจะเห็นว่าดีกว่าเยอะ
การเอาเจ้า เอาสถาบันมาทำลายล้างทางการเมืองจะหยุดลงเพราะเราปรับปรุงกฎหมายไม่ให้เป็นเครื่องมือทำลายกันทางการเมือง ซึ่งการติดคุก 18 ปี ด้วยกฎหมายแบบนี้ มันไม่เหมาะสมกับศตวรรษที่ 21 เพราะมันผิดธรรมชาติ ผิดสภาวะแวดล้อมที่บ้านเมืองเปลี่ยนไปเยอะ
กำหนด บทลงโทษผู้ก่อการรัฐประหาร และศาลต้องกล้าตัดสินว่าผู้ทำการรัฐประหารเป็นกบฏ เราต้องไปดูกรณีของประเทศตุรกี เสปน บางประเทศกษัตริย์ลงมาพิทักษ์รัฐธรรมนูญด้วยซ้ำไป แล้วบ้านเมืองถึงจะไปได้แบบก้าวกระโดด ศักยภาพของประเทศไทยควรจะพัฒนาได้แบบญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ แต่นี่แสดงว่ามีพลังบางอย่างที่ทำให้ไม่สามารถปฏิรูปได้ เราไม่มีการปฏิรูปที่ดินอย่างจริงจัง แต่จุดแข็งคือเราสามารถยกเลิกระบบไพร่ทาสได้อย่างสันติวิธีนี่คือกษัตริย์ที ยิ่งใหญ่ วางแผนระยะยาว ค่อยๆ เปลี่ยน และหลีกเลี่ยงความรุนแรง แต่ทุกวันนี้ประชาชนจำนวนหนึ่งกลับอยากเป็นไพร่ จริงๆ ราษฎรในระบอบประชาธิปไตยต้องมีจิตสำนึกแบบพลเมือง ไม่ใช่สำนึกแบบไพร่ฟ้า เป็นวัฒนธรรมแบบอุปถัมภ์ รากของวัฒนธรรมไม่ได้เปลี่ยน เพราะประเทศไทยมีการอภิวัฒน์ไม่ได้เปลี่ยนแปลงแบบประเทศอื่น และระดับระหว่างประเทศเสนอให้กฎบัตรอาเซียนไม่รับรองรัฐบาลที่มาจากการรัฐ ประหาร
ศรีประภา เพชรมีศรี
การวิเคราะห์การเมืองในปัจจุบันแทบไม่มีนักรัฐศาสตร์ออกมาพูด ซึ่งน่าจะมีบทบาทมากกว่านี้
อีก ประเด็นคือ กรณีที่มีผู้ฝันอยากจะเห็นว่ากฎบัตรอาเซียนไม่รับรองรัฐบาลที่มาจากรัฐ ประหาร อย่างแรกคือประเทศไทยมีรัฐธรรมนูญตลอดเวลา แต่ประเทศไทยมักจะคิดว่ารัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดซึ่งหลักการควรจะเป็น อย่างนั้น แต่รัฐธรรมนูญล้มล้างง่ายที่สุดในประเทศไทย ขณะที่กฎหมายอื่นแก้ไขยากมาก เช่นประมวลกฎหมายอาญา แต่อย่างไรก็ตามรัฐธรรมนูญเป็นเครื่องผดุงฐานะบารมีของผู้มีอำนาจเป็นสำคัญ ไม่ใช่เครื่องมือจัดการความสัมพันธ์ทางอำนาจ ซึ่งนี่เป็นข้อเสนอของอาจารย์เสน่ห์ จามริก
รัฐบาล ไม่ได้เป็นกลุ่มเดียวที่มีอำนาจ แต่มีอำนาจที่อยู่นอกรัฐบาลหลายกลุ่มทั้งที่มาจากการเลือกตั้งและไม่ได้มา จากการเลือกตั้งและทำการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างหน้าตาเฉยโดยไม่รู้สึกผิด แปลกอะไร และแม้ว่าที่ผ่านมาจะมีการปฏิรูปการเมืองหลายครั้งแต่ไม่มีการปฏิรูปโครง สร้างอำนาจ
นักเลือกตั้ง มีทัศนคติที่แปลกแยกกับเรื่องสิทธิมนุษยชนมากๆ เมื่อประมาณ 10 ปีที่แล้ว ได้เข้าไปนั่งในคณะกรรมาธิการ พ.ร.บ. สิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ปรากฏว่าไม่มีพรรคการเมืองไหนที่เห็นด้วยกับการมีกรรมการสิทธิโดยที่บอกว่า ประเทศไทยไม่มีการละเมิดสิทธิมนุษยชน ไม่จำเป็นต้องมีกรรมการสิทธิ และเป็นเรื่องที่นำเข้าจากต่างประเทศไม่เหมาะกับประเทศไทย
ไม่ ว่าอาจารย์พนัส หรืออาจารย์อนุสรณ์ เราก็มักจะฝันถึงหลักนิติธรรม หมายถึงเราใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือสูงสุด แต่อาจารย์เสน่ห์บอกว่าหลักนิติธรรมในประเทศไทยเป็นหลักนิติทรราชย์ เป็นอำนาจของกล่มคนที่ครองอำนาจอยู่
นี่เป็นข้อสังเกตเบื้องต้นในเรื่องสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย ทุกวันที่ 10 ธ.ค. จะมีการสัมมนาประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย ซึ่งจะมี 10 ก้าวหน้า และ 10 ถอยหลัง แต่ปีนี้ไม่มี เท่าที่ทราบคือกำลังรวบรวมอยู่ และจะมีลิสต์รายการสิทธิฯ ถดถอยเยอะมาก ที่ก้าวหน้าไม่ถึงสิบ และถดถอยมากกว่าสิบ
ในปี 2552 ที่ผ่านมา 10 ก้าวหน้า ย้อนไปถึง 2546 มีหลายเรื่องที่ซ้ำกันอยู่ 10 เรื่อง 2552 มีเรื่อง 1.การคุ้มครองสิทธิชุมชน กรณีมาบตาพุด 2.การจัดตั้ง กมธ. สิทธิมนุษยชนอาเซียน 3. การตั้งคณะกรรมการเข้าเป็นภาคีว่าด้วยอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองบุคคลไม่ ให้ถูกบังคับสูญหาย 4. การประกาศเขตควบคุมมลพิษมาบตาพุด 5. การประกาศใช้แผนสิทธิมนุษยชนแผนที่ 2 ซึ่งให้ทุกหน่วยงานรับไปปฏิบัติ 6.การฟ้องเจ้าหน้าที่ตำรวจ 7.การรับรองวิทยุชุมชนชั่วคราว 8.โฉนดชุมชน ซึ่งเริ่มมีที่คลองโยง นครปฐม 9.การคุ้มครองผู้รับงานไปทำที่บ้าน 10.การที่ศาลมีบทคุ้มครองสิทธิเสรีภาพประชาชน แม้จะเป็นคำพิพากษาของเสียงส่วนน้อย
เรื่อง หนึ่งซึ่งน่าสนใจมากเนื่องจากเวลาพูดเรื่องก้าวหน้าและถอยหลังก็คือเรื่อง เกี่ยวกับชาวบ้าน เป็นครั้งแรกที่เราได้ยินการคิดค่าเสียหายจากชาวบ้านเรื่องการคิดค่าเสียหาย จากาวบ้านเนื่องจากทำโลกร้อน เป็นคดีที่กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธ์พืชเรียกค่าเสียหายชาวบ้านในเขตอุทยานแห่งชาติเขาปู่เขาย่า จ. ตรัง พัทลุง และกระบี่ มีกาคำนวณค่าเสียหายซึ่งถือว่าประเทศไทยเป็นประเทศแรกๆ ในโลก คดีนี้เป็นคดีตัวอย่าง ซึ่งมีอีกหลายพื้นที่ที่ชาวบ้านถูกฟ้องร้องค่าเสียหายฐานทำโลกร้อน นี่เป็นแบบจำลองซึ่งจริงๆ ไม่มีงานวิจัยหรือทฤษฎีที่เป็นที่ยอมรับด้วย และนี่เป็นครั้งแรกในโลก ที่สำคัญการเรียกร้องที่มีค่าเสียหายจริงๆ แล้วมีปัญหามาก และทำให้ประเทศไทยถูกดึงเข้าไปอยู่ในกลุ่มประเทศที่ก่อปัญหาโลกร้อน ทั้งที่จริงๆ ประเทศไทยไม่ได้อยู่ในส่วนนั้น
ในปัจจุบันเราจะเห็นว่าเมื่อเราพูดเรื่องการละเมิดสิทธิ คือ 1.เรื่อง การขัดแย้งในการแย่งชิงทรัพยากร คนส่วนใหญ่คือคนจน และผู้ชนะคือรัฐและนายทุนว่าที่จริงมันคือการเรียกร้องสิทธิมนุษยชน 2.เราพยายามพูดอยู่เสมอว่าเราอยากเห็นประเทศไทยใช้หลักนิติรัฐ แต่ว่าที่ผ่านมาคือใครเป็นผู้ถือกฎหมายมากกว่า อีกเรื่องคือ เรื่องความก้าวหน้าและถอยหลังนั้นจะซ้ำๆ กันเกือบทุกปี คือสิทธิการชุมนุม โทษประหารชีวิต กรณีตากใบซึ่งนอกจากไม่มีความก้าวหน้าแล้วยังกลายเป็นว่าไม่มีการดำเนินการ ตามกฎหมาย แม้เรื่องนี้จะขึ้นสู่ศาลแต่ไม่มีการดำเนินการตรวจสอบตามที่กฎหมายกำหนด แต่เรื่องทั้งหมดเป็นเรื่องระหว่างรัฐและประชาชนแทบทั้งสิ้น และการบังคับใช้กฎหมายจะไม่ศักดิ์สิทธิ์ขึ้นมาทันที และตัวกฎหมายเองก็มีปัญหา แม้ว่าจะมีกฎหมายที่ดีหลายฉบับ ขณะเดียวกันก็มีกฎหมายที่ไม่สอดคล้องไม่เอื้อต่อการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน เช่น การซ้อมทรมาน ในกฎหมายไทยไม่มีการบัญญัติว่าอะไรคือการทรมาน และเราไม่ถือว่าการทรมานเป็นความผิดอาญาตามกฎหมายไทย
ประเทศ ไทยไม่มีกฎหมายคุ้มครองสิทธิมนุษยชนที่เข้มแข็ง และมีกฎหมายที่ไม่เป็นธรรมบังคับใช้อยู่เยอะมาก เช่นเรื่องโลกร้อน ขณะเดียวกันก็มีการใช้กฎหมายที่ไม่เป็นธรรม ในอินเดียถ้าคุณเป็นคนจนเดินขึ้นสถานีตำรวจคุณก็ผิดแล้ว
ใน ระดับภูมิภาค ถึงแม้จะมีความก้าวหน้าอย่างที่มีเพื่อนๆ หลายคนบอกว่าแม้จะมีการจัดตั้งคณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชนอาเซียน เป็นความก้าวหน้า แต่มันก็เป็นความก้าวหน้าเชิงสถาบัน เช่นเดียวกับประชาธิปไตยที่ไทยก็มีสถาบันทางประชาธิปไตยอยู่ แต่สิ่งที่เราไม่มีก็คือเนื้อหาของประชาธิปไตย
ใน ระดับภูมิภาค แต่ละประเทศดูเหมือนจะไม่มีนโยบายสิทธิมนุษยชน แม้ว่าประเทศไทยเสนอตัวเข้าเป็นสมาชิกคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ แม้ว่าจะต้องให้คำมั่นสัญญาตามเอกสาร แต่ถามว่านโยบายด้านสิทธิมนุษยชนระดับภูมิภาคนั้นประเทศไทยไม่เคยมีมาก่อน อย่างไรก็ตามในภูมิภาคอาเซียนจะมีวิถีอาเซียนที่เข้มงวด คือการไม่แทรกแซงกิจการภายใน ซึ่งเรื่องสิทธิมนุษยชนถือเป็นเรื่องภายใน และสำหรับประเทศเพื่อนบ้านในบางกรณีไทยไม่ได้มีนโยบายด้านสิทธิมนุษยชนเท่า นั้น แต่มีเรื่องของเศรษฐกิจและความมั่นคง แสวงจุดร่วมในเชิงผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจและการเมืองสงวนจุดต่างในนโยบาย ประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชน ดังนั้นการดำเนินนโยบายสิทธิมนุษยชนในระดับภูมิภาคก็คงเป็นไปได้ยาก
มี ความเป็นไปได้แค่ไหนที่กฎบัตรอาเซียนไม่ให้การรับรองรัฐบาลที่มาจากรัฐ ประหาร ถ้าเราไปอ่านกฎบัตรอาเซียนที่เราหาอ่านได้ จะกำหนดหลักการแค่เป็นประเทศที่เป็นสมาชิก และไม่มีส่วนไหนที่บังคับหรือกำหนดบทลงโทษใดๆ ทั้งสิ้น ฉะนั้นถ้าประเทศไหนไม่ปฏิบัติตามแล้วอาเซียนจะทำอย่างไร ซึ่งแตกต่างจาก แอฟริกา ยุโรป และอินเตอร์อเมริกา ซึ่งนอกจากไม่รับรองรัฐบาลที่มาจากการรัฐประหารแล้วยังมีการระงับความเป็น สมาชิกด้วย แม้อีก 2-3 ปีข้างหน้าจะมีการปรับปรุงกฎบัตรอาเซียนแต่ก็คงเป็นไปได้ยากที่จะปรับปรุงเรื่องนี้
ในระดับระหว่างประเทศ บทบาทของประเทศไทยถือว่าสูงสุดในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมา เพราะ 1.ไทย หรือคนไทยเป็นประธานคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ คือท่านทูตสีหศักดิ์ พวงเกตุแก้ว แน่นอนว่าโดยหลักการแล้วต้องเป็นโดยฐานส่วนตัว และไม่มีหน้าที่ปกป้องรัฐบาลไทยด้วย ท่านจะดำรงตำแหน่งอยู่ 1 ปี 2.ประเทศไทยได้รับเลือกให้เป็น 1 ใน 47 คณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ซึ่งแม้จะเกิดการละเมิดสิทธิฯ มากแค่ไหนก็ตาม คณะมนตรีก็รับได้อยู่ดี อย่างไรก็ตาม อยากฝากพวกเราเอาไว้ว่า ขณะนี้ทุกประเทศไม่ว่าจะเป็นภาคีกฎหกมายระหว่างประเทศเรื่องสิทธิฯ หรือไม่ก็ตาม ก็จะต้องผ่านกระบวนการตรวจสอบของสหประชาชาติอยู่ดี ก็คือการส่งรายงานทุก 4 ปี และประเทศไทยต้องส่งรายงานฉบับนี้ในเดือนเมษายนปีหน้า รายงานของรัฐบาลไม่เกิน 20 หน้า คาดว่าจะต้องส่งภายในเดือนเมษายนเพื่อนำไปพิจารณาในเดือนตุลาคม รายงานฉบับที่สอง เป็นรายงานของภาคประชาชน ของเอ็นจีโอ ตอนนี้มีกลุ่มหนึ่งทำอยู่ จะเป็นการให้ข้อมูลอีกแบบหนึ่ง แน่นอนที่สุดรายงานของรัฐบาลก็คงมาคาดหวังว่าเขาจะละเมิดสิทธิตรงไหนบ้างแม้ เขาจะยอมรับบางส่วนเพราะเป็นเรื่องรู้กันทุกคน แต่ในรายงานของภาคประชาชนมี 10 หน้า บวกภาคผนวกแค่ไหนก็ได้ และสามคือรายงานของยูเอ็นเอง
สุด ท้าย แล้วหลังจากนี้หลังอภิสิทธิ์ เราอยากจะเห็นการเปลี่ยนแปลงแบบไหน เวลาที่เราพูดถึงอำนาจ มันต่างกันอย่างไร รัฐบาลไม่ว่าจะมาจากการเลือกตั้งหรือไม่ได้มาจากการเลือกตั้งจนกระทั่งไม่ ต้องฟังเสียงใคร โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเกิดว่าสิ่งที่เรามีอยู่ ถ้าเป็นเผด็จการในคราบประชาธิปไตย
ประการ ที่สอง สิ่งที่อยากเห็นในอนาคต คือทุกสถาบันสามารถตรวจสอบได้ วิพากษ์วิจารณ์ได้ อาจารย์อนุสรณ์บอกว่าต้องวิพากษ์ด้วยเจตนาดี แต่จริงๆ ถ้าการวิพากษ์วิจารณ์ไม่ว่าเจตนาจะดีหรือไม่แต่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงก็ น่าจะทำ ประเทศไทยมีบางสถาบันที่อยู่เหนือการตรวจสอบ ต้องลงมาให้ถูกตรวจสอบ
สาม เรื่องการปล่อยให้คนที่ทำการละเมิดสิทธิมนุษยชนลอยนวลอยู่ได้ หลังยุคอภิสิทธิ์เราต้องไม่ปล่อยให้ผู้กระทำผิดลอยนวล ไม่ว่าจะเป็นเจ้าหน้าที่รัฐหรือบุคคลธรรมดา และคนที่ทำการละเมิดสิทธิต้องไม่อยู่อำนาจ
สี่ อยากจะเชิญชวนให้เราพิจารณาว่าเวลาพิจารณารัฐธรรมนูญ ฐานะการดำรงอยู่ของผู้ปกครองและการบังคับใช้กฎหมายเป็นอย่างไร ที่สำคัญที่สุดประการสุดท้าย อยากเห็นว่ามีการจัดโครงสร้างทางอำนาจใหม่ การกระจายอำนาจด้วยวิธีแบบไทยๆ อย่างทีผ่านมาส่วนมากเป็นการกระจายภาระหน้าที่ ไม่มีการกระจายอำนาจไปสู่ประชาชน
สี่ห้าประการที่กล่าวมาเกี่ยวข้องกับการละเมิดสิทธิทั้งสิ้น
*รายละเอียดการอภิปรายส่วนของ ลักขณา ปันวิชัย (คำ ผกา) จะนำเสนอโดยละเอียดต่อไป โปรดติดตาม