WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Sunday, December 19, 2010

ม.อ.ปัตตานีทุ่มกำลังภายใน ใช้เวลาไม่ถึง 2 เดือน ดึงโลกมุสลิมร่วมประชุม

ที่มา ประชาไท

ม.อ.จัดสัมมนาอิสลามศึกษานานาชาติที่ปัตตานี วอศ. ใช้เวลาไม่ถึง 2 เดือนดึงนักวิชาการ/อธิการบดีทั่วโลกร่วมงาน 20 ประเทศ 34 มหาวิทยาลัย 38 ผลงานวิชาการ ปัดรัฐยืมมือมหาวิทยาลัยเชื่อมโลกมุสลิม เหตุแคร์ซาอุฯ

มี รายงานว่า มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ม.อ.) เตรียมจัดประชุมวิชาการอิสลามนานาชาติ ในหัวข้อ“Role of Islamic Studies in Post Globalized Society” ในวันที่ 21-23 ธันวาคม 2553 โดยนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธีเปิดและกล่าวปาฐกถาพิเศษ ที่วิทยาลัยอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี โดยมีสถาบันการศึกษาด้านอิสลามศึกษาทั่วโลกเข้าร่วม เพื่อเป็นเวทีแลกเปลี่ยนความรู้ ระหว่างคณาจารย์และนักวิชาการต่างๆ ในเรื่องหลักสูตรที่จะรองรับกับการเปลี่ยนแปลงของโลกสมัยใหม

โดน รศ.ดร.บุญสม ศิริบำรุงสุข อธิการบดีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กล่าวว่า แม้จะมีระยะเวลาการเตรียมการจำกัด แต่วิทยาลัยอิสลามศึกษาได้ใช้จุดแข็งของหน่วยงาน ที่มีบุคลากรเป็นบัณฑิตที่จบจากหลายสถาบันและหลายประเทศในโลก เป็นผู้ร่วมประสานงาน

รศ.ดร.บุญสม เปิดเผยว่า ขณะนี้มีนักวิชาการจากสถาบันที่มีชื่อเสียงในระดับนานาชาติ ตอบรับเข้าร่วมสัมมนา ประมาณ 200 คน เช่น จาก Al-Azhar University ประเทศ อียิปต์ Al-albayt University Mutah University และ Yarmouk University จากจอร์แดน Al-Neelain University ประเทศซูดาน มหาวิทยาลัย Madinah ในซาอุดีอาระเบีย รวมทั้งสถาบันที่มีการเรียนการสอนทางด้านอิสลามศึกษา ในมาเลเซียและอินโดนีเซีย และนักวิชาการในประเทศไทย อีกประมาณ 150 คน

นอก จากนั้นยังมีผู้บริหารในระดับรัฐมนตรีจากหลายประเทศได้แสดงความจำนงขอ ร่วมการสัมมนา เช่น รัฐมนตรีกิจการศาสนาของซาอุดีอาระเบีย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพัฒนาสังคมของอินโดนีเซีย และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานของประเทศกัมพูชา

การสัมมนา ประกอบด้วยการนำเสนอเอกสารทางวิชาการ งานวิจัยทางด้านอิสลามศึกษา และการประชุมโต๊ะกลมระหว่างมหาวิทยาลัยต่างๆ เพื่อกำหนดทิศทางและความร่วมมือกันในการพัฒนาวิทยาลัยอิสลามศึกษา ของวิทยาเขตปัตตานี เพื่อขับเคลื่อนอิสลามศึกษาของไทย ในการบูรณาการศาสตร์ให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของโลกสมัยใหม่

นอก จากนั้นยังได้ประสานกับสำนักจุฬาราชมนตรี เพื่อเชิญมุฟตีย์ หรือผู้นำศาสนาในประเทศอาเซียนเข้าร่วมด้วย โดยจะมีการประชุมนอกรอบเพื่อกำหนดกิจกรรมหรือการประชุมใหญ่ ระหว่างจุฬาราชมนตรี หรือมุฟตีย์ของอาเซียน

คาดว่า หลังการสัมมนาครั้งนี้ จะได้แนวคิดโครงการและแนวคิดการจัดกิจกรรมที่เป็นระดับนานาชาติอีกมากกว่า 10 โครงการ” รศ.ดร.บุญสม กล่าว

นายยูโซะ ตาเละ ผู้อำนวยการวิทยาลัยอิสลามศึกษา (วอศ.) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์(ม.อ.) วิทยาเขตปัตตานี เปิดเผยที่มาที่ไปของโครงการนี้ว่า วิทยาลัยอิสลามศึกษา ม.อ. เป็นผู้ริเริ่ม โดยต้องการที่จะพัฒนาอิสลามศึกษาของ ม.อ.ให้มีมาตรฐานระดับโลก ส่วนรัฐบาลไทยเองก็มีนโยบายที่จะร่วมมือกับประเทศในทวีปแอฟริกาทุกเรื่อง รวมถึงด้านศึกษาด้วย ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ อิสลามศึกษา วิทยาลัยอิสลามศึกษา ม.อ.จึงใช้โอกาสนี้ ในการดึงจุดร่วมระหว่างนโยบายของรัฐบาลกับความต้องการของวิทยาลัยมาเป็นจุด เริ่มต้นในการพัฒนาอิสลามศึกษา

นายยูโซะ กล่าวว่า การเตรียมการจัดสัมมนาครั้งนี้ถือว่าน้อยมาก คือใช้เวลาเพียง 6 สัปดาห์เท่านั้น เนื่องจากปกติการจัดสัมมนาทางวิชาการระดับนานาชาติแบบนี้ต้องใช้เวลาเตรียม การเป็นปี โดยเฉพาะในเรื่องการการเตรียมนำเสนอผลงานทางวิชาการ จนเป็นที่ตั้งของสังเกตของหลายฝ่ายถึงความรีบเร่งในเตรียมการจัดงานครั้งนี้

นายยูโซะ อธิบายเรื่องนี้ว่า เดิมวิทยาลัยอิสลามศึกษา ม.อ.กำหนดจะจัดงานนี้ในเดือนเมษายน 2554 แต่หลังจากประสานไปยังมหาวิทยาลัยต่างๆ ของประเทศในทวีปแอฟริกา ปรากฏว่าเป็นช่วงสอบของหลายมหาวิทยาลัย พร้อมกับได้รับคำแนะนำว่า ควรจัดงานในช่วงเดือนพฤษภาคม พฤศจิกายนหรือธันวาคมจะดีที่สุด

“ทางวิทยาลัยอิสลามศึกษา ม.อ. จึงคิดจะเลื่อนไปเป็นเดือนพฤษภาคม 2554 แต่เนื่องจากหลังจากสัมมนาครั้งนี้ มี 14 โครงการที่รัฐบาลไทยชุดปัจจุบันสนับสนุนตามมา ภายใต้งบประมาณ 400 ล้านบาท ในการพัฒนาอิสลามศึกษา ในระยะ 10 ปี และที่ผ่านมาก็มีโครงการที่รัฐบาลได้สนับสนุนมาแล้ว เช่น โครงการส่งนักศึกษาเรียนต่อปริญญาเอกในต่างประเทศทุนละ 15 ล้านบาท”

“ดัง นั้น เราจึงเกรงว่ารัฐบาลชุดปัจจุบันอาจจะอายุสั้น จึงไม่แน่ใจว่าจะได้รับงบประมาณสนับสนุนหรือไม่ จึงจำเป็นต้องจัดในวันที่ 21- 23 ธันวาคม 2553 นี้”

นายยูโซะ กล่าวว่า ดังนั้น ก่อนการจัดสัมมนาครั้งนี้ วิทยาลัยอิสลามศึกษา ม.อ. ซึ่งมีเครือข่ายซึ่งเป็นศิษย์เก่าจากมหาวิทยาลัยต่างๆ ทั่วโลก โดยเฉพาะในประเทศมุสลิมจำนวนมากพอสมควร จึงใช้ความสัมพันธ์ในฐานะศิษย์เก่าตรงนี้ เป็นผู้เชื้อเชิญผู้บริหารมหาวิทยาลัยต่างๆ เข้ามาร่วมงานนี้อย่างเต็มกำลัง เป็นการสานสัมพันธ์โดยส่วนตัว ขณะเดียวกันอาจารย์ที่เคยสอนบางท่านก็อยากมาติดตามดูลูกศิษย์ว่าเป็นอย่างไร บ้าง ส่วนตนเองก็รู้จักกับผู้บริหารมหาวิทยาลัยปละบุคคลสำคัญของประเทศเหล่านั้น อย่างดีหลายคน ถือว่าเป็นการติดต่อโดยตรงของวิทยาลัยไม่ได้เกี่ยวกับรัฐบาล

นายยูโซะ เปิดเผยว่า ล่าสุดวันที่ 18 ธันวาคม 2553 ได้รับการยืนยันว่าจะมาร่วมงานแล้ว 20 ประเทศ จำนวน 34 มหาวิทยาลัย ส่วนผลงานทางวิชาการที่จะมีการนำเสนอในงานนี้มี 32 ชิ้น ซึ่งเป็นงานทางวิชาการที่แต่ละมหาวิทยาลัยมีอยู่แล้ว

“การ สัมมนาครั้งนี้ เราไม่เน้นเปเปอร์(ผลงานทางวิชาการ) แต่ตั้งใจจะให้เป็นการประชุมโต๊ะกลมของอธิการบดีหรือผู้บริหารมหาวิทยาลัย ทั่วโลก เพื่อกำหนดเป็นปฏิญญาปัตตานี ในเรื่องความร่วมมือในการพัฒนาอิสลามศึกษา กำหนดทิศทางการพัฒนาการศึกษาด้านวิชาการอิสลามศึกษาร่วมกัน เพื่อเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ในระดับนานาชาติ เป็นการเปิดโอกาสนักศึกษาจากต่างประเทศมีโอกาสเข้ามาเรียนรู้และมีการแลก เปลี่ยนทางอิสลามศึกษา” นายยูโซะ กล่าว

นายยูโซะ กล่าวอีกว่า งานนี้รัฐบาลได้สนับสนุนงบประมาณมา 15 ล้านบาทง แต่ไม่ใช่งานของรัฐบาล ส่วนที่นายกรัฐมนตรีมากล่าวเปิดสัมมนาด้วย ก็เพราะต้องการดึงความสนใจของสื่อ และมีอีก 14 โครงการที่รัฐบาลสนับสนุน จะต้องดำเนินการต่อในอนาคต หลังการสัมมนา

นายยูโซะ กล่าวด้วยว่า ส่วนกรณีที่มีการตั้งข้อสังเกตว่า งานนี้จริงๆ อาจเป็นของรัฐบาล แต่เหตุใดจึงให้มหาวิทยาลัยเป็นเจ้าภาพ อาจเป็นเพราะการหวังผลทางการเมืองหรือไม่ โดยเฉพาะการเมืองระหว่างประเทศในโลกมุสลิม เนื่องจากเนื่องจากตัวแทนที่เข้ามาร่วมสัมมนาของแต่ละประเทศ ล้วนเป็นบุคคลสำคัญ ในจำนวนยังเป็นรัฐมนตรีของบางประเทศด้วย ขอตอบว่า งานนี้เป็นงานวิชาการไม่ใช่เวทีทางการเมือง ก่อนหน้านี้รัฐบาลเองก็ไม่มั่นใจว่า ทางวิทยาลัยจะเตรียมจัดงานได้ในเวลาอันสั้น แต่ตอนนี้รัฐบาลมั่นใจแล้ว

นายยูโซะ เปิดเผยด้วยว่า นอกจากนี้ รัฐบาลยังติดใจกับคำว่า Post globalized ซึ่ง มีอยู่ในชื่อการสัมมนาครั้งนี้ด้วย จนทำให้นักวิชาการมาตีความว่าหมายถึงอะไร ซึ่งคำนี้ วิทยาลัยอิสลามศึกษา ม.อ.เป็นผู้ตังชื่อเอง โดยได้รับคำแนะนำจากผู้บริหารมหาวิทยาลัย Al-Azhar ประเทศอียิปต์ ซึ่งเป็นคำศัพท์ใหม่ในทางวิชาการ โดยต้องการสื่อไปถึงอนาคต เพราะคำว่า Post globalized แปลว่า หลังยุคโลกาภิวัฒน์ ซึ่งยุคโลกาภิวัตน์เริ่มต้นเมื่อประมาณ 10 ปีมาแล้ว แต่ปัจจุบันสังคมโลกเปลี่ยนแปลงไปแล้วอย่างรวดเร็ว ซึ่งคิดว่าอนาคต ยุคสมัยต่างๆ ก็จะเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วขึ้น จะทำอย่างไรที่จะให้อิสลามศึกษาอยู่ได้ในสภาพสังคมที่เปลี่ยนไป

นาย ยูโซะ เปิดเผยด้วยว่า สำหรับผลงานทางวิชาการของวิทยาลัยอิสลามศึกษา ม.อ. ที่จะเสนอ เรื่อง อิสลามศึกษาอดีต ปัจจุบัน และในอนาคต โดยวิทยาลัยมีเป้าหมายเน้นผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพ ความสอดคล้องกับสภาพสังคมปัจจุบัน โดยจะเน้นการศึกษาอิสลามอย่างลึกซึ้ง และมีความรู้ในสาขาอื่นๆ ด้วย

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การจัดสัมมนาทางวิชาการครั้งนี้ ยังมีผู้ตั้งข้อสังเกตอีกว่า รัฐบาลไทยใส่ใจกับความรู้สึกของประเทศซาอุดีอาระเบีย เนื่องจากเป็นประเทศที่มีบทบาทอยู่ในองค์กรที่ประชุมประเทศมุสลิม หรือ โอไอซี มาก จึงไม่อยากเป็นเจ้าภาพเอง เพราะอาจไม่ได้รับการตอบรับจากประเทศซาอุดิอาระเบีย แต่เมื่อให้มหาวิทยาลัยเป็นจะภาพ ภาพที่ออกมาจะเป็นความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัย จึงทำให้มีตัวแทนจากซาอุดิอาระเบียตอบรับที่จะมาร่วมงานครั้งนี้ด้วย

ประเด็นต่อมา เนื่องจากพรรคประชาธิปัตย์ แกนนำรัฐบาลปัจจุบันได้กำหนดยุทศาสตร์ในการแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ 4 เรื่อง ตามคำประกาศปัตตานี ในการหาเสียงเลือกตั้งทั่วไปเมื่อปี 2548 คือ การจัดตั้งองค์กรหลักในการแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ปัจจุบันพระราชบัญญัติอำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ หรือ พ.ร.บ.ศอ.บต. ผ่านความเห็นชอบของสภาผู้แทนราษฎรแล้ว เรื่องที่สอง คือ สถาปนา ศูนย์ กลางอิสลามศึกษานานาชาติ ทั้งที่ ม.อ.ปัตตานี และที่มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา ซึ่งที่ผ่านมาผลงานยังไม่ปรากฏเป็นรูปธรรม จึงต้องเร่งให้มีงานนี้ขึ้นมา เพราะเชื่อรัฐบาลชุดนี้อาจอยู่ไม่นาน