WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Sunday, December 19, 2010

กลไกสิทธิ เป็นลูกแกะมากกว่าราชสีห์

ที่มา ประชาไท

แปลและเรียบเรียงจาก: http://www.bangkokpost.com/news/politics/210916/rights-body-more-a-lamb-than-a-lion ( 12 ธันวาคม 2553)

ท่า ทีระวังตัวเกิน เหตุของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติชุดปัจจุบันทำให้นักสิทธิมนุษยชนบาง ส่วนมองว่าคณะกรรมการฯ ที่ควรจะเป็นองค์กรอิสระนี้ได้กลายสภาพเป็นพรรคพวกของรัฐบาลไปแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีการสลายการชุมนุมคนเสื้อแดงกลางเมืองกรุงเทพฯ ช่วงเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา และการใช้พรก.ฉุกเฉินจัดการกับฝ่ายตรงข้ามที่รัฐบาลมักติดป้ายให้เป็นผู้ก่อ การร้าย
รัฐธรรมนูญ 2550 ให้อำนาจคณะกรรมการสิทธิฯ ฟ้องร้องหน่วยงานรัฐที่ละเมิดสิทธิได้ แต่อำนาจอันใหม่นี้ยังต้องรอให้มีกฎหมายลูกเสียก่อน
พันธ์ ศักดิ์ ศรีเทพ พ่อของสมาพันธ์ที่เสียชีวิตในระหว่างปฏิบัติการทางทหารที่ถนนราชปรารภเมื่อ เดือนพฤษภาคม บอกว่า การที่หน่วยงานรัฐอย่างกรมสอบสวนคดีพิเศษและคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหา ความจริงเพื่อความปรองดองแห่งชาติ(คอป.) ไม่ค่อยให้ค่ากับชะตากรรมของเหยื่อในเหตุการณ์เมย.-พค.นั้น เป็นที่เข้าใจได้ ถึงจะรับไม่ได้ก็ตาม แต่มันน่าสังเวชและน่าทุเรศที่องค์กรที่ควรจะเป็นอิสระ อย่างคณะกรรมการสิทธิฯ ที่เคยถูกถือว่าเป็นองค์กรที่สนับสนุนประชาธิปไตยระดับภูมิภาค กลับปิดปากเงียบเฉยมาตลอดหกเดือนที่ผ่านมา
พันธ์ ศักดิ์แสดง ความเห็นนี้หลายสัปดาห์ก่อนที่ประธานคณะกรรมการสิทธิฯ อมรา พงศาพิชจะออกมาพูดเมื่อต้นเดือนนี้ว่ารายงานของคณะกรรมการสิทธิฯ เกี่ยวกับการชุมนุมคนเสื้อแดงจะเสร็จสิ้นในเดือนหน้า
นัก สังเกตการณ์ ส่วนใหญ่มองว่าท่าทีระวังตัวของคณะกรรมการสิทธิฯ ชุดปัจจุบันนี้ (ซึ่งมาจากกระบวนการสรรหาปีที่แล้วที่เป็นปัญหาแต่เริ่มต้น) เป็นผลมาจากบรรยากาศการปิดปากเงียบในทุกๆ ส่วนของสังคมไทย กรรมการสิทธิฯ หลายรายบอกว่าพวกเขาไม่ต้องการให้คณะกรรมการสิทธิฯ “ถูกใช้” ไม่ว่าจะโดยฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งในความขัดแย้งทางการเมือง
“การ ทำหรือไม่ทำ อะไร และคำพูดที่สื่อต่อสาธารณะอะไรต่างๆ ล้วนมุ่งที่จะบรรเทาและไม่ตอกย้ำบาดแผลในสังคมที่เกิดจากการแบ่งฝักแบ่งฝ่าย ทางการเมือง” เจ้าหน้าที่อาวุโสรายหนึ่งของคณะกรรมการสิทธิฯ ที่ไม่ประสงค์จะออกนาม กล่าว
นั่นอาจเป็นคำอธิบายได้ว่าทำไมคณะกรรมการสิทธิฯ จึงไม่มีการเปิดเผยถึงเหตุการณ์อย่างการจับกุมคุมขังผู้ชุมนุมเสื้อแดงราว 16 คนในรถคุมขังกลางแจ้งถึงสามวันสองคืนที่มุกดาหารหลังการสลายการชุมนุม 19 พค. ที่กรุงเทพฯ แหล่งข่าวหลายรายบอกว่า ผู้ชุมนุมเหล่านั้น ซึ่งมีเยาวชนรวมอยู่ด้วยหนึ่งคน ถูกขังอยู่ในรถคุมขังของตำรวจคันเดียวและไม่ได้รับอนุญาตแม้กระทั่งจะออกไป เข้าห้องน้ำ
“กระทั่ง กรรมการ สิทธิฯ ที่แข็งขันและมีความเห็นอกเห็นใจมากที่สุดอย่างเช่น นพ.นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ ก็ยังตกอยู่ในภาวะเซ็นเซอร์ตัวเอง ก็ไม่ต้องพูดถึงคนอื่น” เจ้าหน้าที่รายเดิมกล่าว
ไพบูลย์ วราหะไพฑูรย์ อดีตเลขาธิการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญที่กลายมาเป็นกรรมการสิทธิฯ เคยกล่าวผ่านสื่อว่า การที่ตำรวจจับกุมแม่ค้ารองเท้าแตะที่มีหน้าของนายกรัฐมนตรีที่อยุธยาเมื่อ เดือนตุลาคมนั้นเป็นการเหมาะสมแล้ว เพราะเป็นการละเมิดสิทธิของนายกฯ ในขณะที่นายอภิสิทธิ์เองกลับมีท่าที วิพากษ์วิจารณ์การจับกุมดังกล่าว
ขณะ เดียวกัน กรรมการสิทธิฯ อีกรายหนึ่ง คือ พล.ต.อ.วันชัย ศรีนวลนัด ก็กล่าวว่าคณะกรรมการสิทธิฯ ยินดีให้ความช่วยเหลือแก่ประชาชนคนใดก็ตามที่ต้องการฟ้องร้องผู้ชุมนุมเสื้อ แดงเนื่องจากได้รับผลกระทบจากการชุมนุม
คณะกรรมการสิทธิฯ มักเงียบเฉยไม่เพียงแต่กรณีการชุมนุมประท้วงเมย.-พค.เท่า นั้น ยังนิ่งเงียบต่อการลิดรอนสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น ซึ่งรวมถึงการใช้กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพที่ลุกลามกว้างขวางด้วย ทั้งที่ ในเรื่องนี้นายอภิสิทธิ์เองก็เคยรับปากว่าจะดูแลให้มีการใช้กฎหมายนี้อย่าง เหมาะสม
ที่ ยิ่งช่วยเติม เชื้อไฟให้แก่บรรดาผู้ที่วิจารณ์คณะกรรมการสิทธิฯ ก็คือการซื้อรถเมอร์ซีเดสเบนซ์(แทนที่จะเป็นรถแคมรีเหมือนคณะกรรมการชุด ก่อน)เป็นรถประจำตำแหน่งสำหรับกรรมการแต่ละคนก่อนสิ้นปีงบประมาณ 2552
อนุกรรม การบางราย ของคณะกรรมการสิทธิฯ กล่าวว่า การเล่นการเมืองภายในสำนักงานคณะกรรมการสิทธิฯ ส่งผลบั่นทอนการทำงานของคณะกรรมการฯ แต่ก็บอกว่าเป็นการไม่เป็นธรรมที่จะมาโทษคณะกรรมการสิทธิฯ มากเกินไปในเรื่องการจัดการกับประเด็นสิทธิการเมืองในประเทศ
“เราทำงานอย่างทุ่มเทใจในประเด็นอื่นๆ หลายประเด็น อย่างเช่น ผู้อพยพ ผู้ลี้ภัย” อนุกรรมการรายหนึ่งกล่าว
จรัญ กล่อมขุนทด นักเคลื่อนไหวจากสหพันธ์สหภาพแรงงานรถยนต์กล่าวว่า “คณะกรรมการสิทธิฯ ชุดนี้ดูไม่ค่อยกระตือรือล้นทำงานด้วยใจเท่าไหร่ เมื่อเทียบกับชุดก่อน”
แม้ ว่ากลุ่มผู้ใช้ แรงงานจะจัดตั้งดีขึ้นกว่าเดิม ประเด็นของผู้ใช้แรงงานก็ยังไม่ได้รับความสนใจหรือไม่ก็จมหายไปในระบบราชการ หรือหน่วยงานอื่นๆ เขากล่าว
“เรา พยายามผลักดัน ข้อเรียกร้องของเรากับเจ้าหน้าที่แรงงานระดับจังหวัด องค์การแรงงานระหว่างประเทศ(ไอแอลโอ) และคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ จนถึงคณะกรรมการปฏิรูปที่เพิ่งตั้งขึ้นมา การตอบสนองต่อข้อเรียกร้องของเรา เป็นไปอย่างเชื่องช้าแทบขาดใจ หรือไม่ก็ไม่มีการตอบสนองเลย” จรัญกล่าว
ประเด็นสิทธิมนุษยชนที่ร้องเรียนต่อคณะกรรมการสิทธิฯ มีอย่างเช่นเรื่องการจ้างแรงงานเหมาช่วง (contractual labour) ที่นำมาใช้อย่างกว้างขวางกับแรงงานในสายพานการผลิตในโรงงาน การปลดคนงาน การข่มขู่ หรือกระทั่งการสังหารผู้นำแรงงาน และปัญหาแรงงานข้ามชาติเข้ามาแย่งงานแรงงานไทยในภาคอุตสาหกรรมหลายๆ ส่วน เขากล่าว
ธง ชัย วินิจกูล นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์จากมหาวิทยาลัยวิสคอนซินในสหรัฐฯ วิจารณ์สิ่งที่เขาเรียกว่า วิถีทางประชาธิปไตยแบบเฉื่อยเนือยของไทย กับความล้มเหลวในการปกป้องสิทธิมนุษยชน
“องค์ ประกอบสำคัญ คือระบบยุติธรรม ที่กำลังสูญเสียความชอบธรรมลงอย่างรวดเร็ว ทั้งสังคมกำลังตกอยู่ในความ เสี่ยงที่ความเชื่อถือไว้วางใจจะหดหายไปหมด” อดีตผู้นำนักศึกษาปี 2519 กล่าว
เขายกวิกฤตที่ยืดเยื้อในภาคใต้เป็นตัวอย่างถึงสิ่งที่อาจเกิดขึ้นในสังคมไทยที่เหลือ
“ใน ภาวะล้มละลาย ทางความเชื่อถือที่ค่อยๆ เกิดขึ้นนี้ ประเด็นสิทธิมนุษยชนและนักสิทธิมนุษยชนเป็นส่วนหนึ่งในกระบวนการนี้ ความล้ม เหลวของพวกเขาไม่ใช่แค่ว่าพวกเขาล้มเหลวที่จะปกป้องหลักการสิทธิมนุษยชน แต่จริงๆ แล้ว พวกเขามีส่วนอย่างสำคัญในการทำให้เกิดภาวะล้มละลายดังกล่าว” ธงชัยกล่าว
อมรา พงศาพิช ประธานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ยอมรับว่า คณะกรรมการฯ มีความระมัดระวังในการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการชุมนุมของคนเสื้อแดง เธอ บอกว่ามีการตั้งคณะอนุกรรมการสามชุดเพื่อจัดทำรายงานที่จะมีการเผยแพร่เดือน หน้า ชุดหนึ่งมีเธอเป็นประธาน อีกสองชุดมีนายไพบูลย์และนพ.นิรันดร์เป็นประธาน รายงานหลักจะมีการเผยแพร่ใน เดือนมกราคมปีหน้า ซึ่งจะมีข้อมูลการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่ทั้งกระทำโดยกองทัพ “คนชุดดำ” และคนเสื้อแดงในช่วงการชุมนุม
“สิ่ง ที่เราพบนั้น ไม่ต่างจากสิ่งที่สื่อมวลชนได้รายงานไปแล้ว แต่เราคงจะไม่ชี้นิ้วกล่าวหาว่า ใครผิดในแต่ละกรณี” อมรากล่าว “เราทำงานมาตลอดและยังทำงานอยู่ แม้ว่าจะมีปัญหาอุปสรรคมากมายก็ตาม”
อุปสรรค สำคัญ ประการหนึ่งสำหรับคณะกรรมการสิทธิฯ ก็คือ การที่ยังไม่มีกฎหมายลูกที่จะให้อำนาจคณะกรรมการฯ ในการฟ้องร้องผู้กระทำการละเมิดสิทธิมนุษยชน กฎหมายดังกล่าวยังไม่ผ่าน รัฐสภา
บทบาท การทำงานที่ น่าผิดหวังของคณะกรรมการสิทธิฯ น่าจะเป็นสิ่งเตือนใจสำหรับทุกคนว่า การปกป้องสิทธิมนุษยชนไม่อาจสำเร็จได้ด้วยความเมตตาของชนชั้นผู้ปกครอง หากแต่ต้องด้วยการต่อสู้ดิ้นรนของผู้ที่ตกเป็นเบี้ยล่างและถูกละเมิดสิทธิ มนุษยชนเองเท่านั้น