WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Sunday, December 19, 2010

มอง "มาร์ค ซัคเคอร์เบิร์ก" ผ่าน "แบบว่า...บังเอิญรวย"

ที่มา มติชน

โดย ปิยมิตร ปัญญา piyamitara@gmail.com



ย้อนหลังไปเพียงไม่กี่ปี ถ้าเอ่ยชื่อ "มาร์ค ซัคเคอร์เบิร์ก" หลายคนคงขมวดคิ้วส่ายหน้าไม่รู้จัก แต่นาทีนี้ ถ้าพูดถึงชื่อนี้ หลายคนคงหวนนึกไปถึงเฟซบุ๊ก เว็บไซต์เครือข่ายสังคมออนไลน์ที่ต้องเข้าไป "อัพเดต" ในทุกเช้า อีกบางคนคิดถึงภาพยนตร์อย่าง "โซเชี่ยล เน็ตเวิร์ก" ที่ได้รับคำชื่นชมอย่างมากจากแวดวงภาพยนตร์ทั้งในบ้านเราและต่างประเทศ

มีอีกหลายคนที่คิดถึง "แบบว่า...บังเอิญรวย" หนังสือของสำนักพิมพ์มติชน ที่ให้ ไพรัตน์ พงศ์พานิชย์ ถ่ายทอดงานเขียนชื่อ "The Accidental Billionares" ของ เบ็น เมซริช นักเขียนที่กำลังสร้างชื่อชาวอเมริกันออกมาเป็นภาษาไทยให้อ่านกัน

สุด ท้าย เมื่อ ริชาร์ด สเตนเกล บรรณาธิการอำนวยการของนิตยสารไทม์ ประกาศการชี้ขาดให้เด็กหนุ่มคนนี้เป็น "บุคคลแห่งปี" ก็ทำให้ 2010 ถือเป็นปีแห่งความสำเร็จของ มาร์ค ซัคเคอร์เบิร์ก โดยแท้จริง

มาร์ค ใช้เวลาเพียง 4-5 ปี เปลี่ยนชะตากรรมของตัวเองจาก "โนบอดี้" ให้กลายเป็น "ซัมบอดี้" และใช้เวลาอีกแค่ไม่ถึงปี เปลี่ยนสถานะจากคนที่ถูกพูดถึง กลายเป็น "ผู้ให้" ในระนาบเดียวกันกับ บิล เกตส์, คาร์ล ไอคาห์น, แบร์รี่ ดิลเลอร์ และ วอร์เรน บัฟเฟตต์ อัครมหาเศรษฐีอเมริกันที่คุ้นเคยกันทั่วโลก

นั่น เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นหลังจากที่เมื่อปีที่ผ่านมา เขาทำสถิติเป็นเศรษฐีที่อายุน้อยที่สุดในโลกซึ่งมีเงินพันล้านอยู่ในครอบ ครอง ตอนนั้นเขาอายุแค่ 25 ปี

ทั้งหลายทั้งปวงนั้น เป็นเพราะ "เฟซบุ๊ก" เพียงอย่างเดียวเท่านั้น

วิถี ของ มาร์ค ซัคเคอร์เบิร์ก เป็นการก้าวซ้ำรอยของใครต่อใครอีกหลายคน ที่เห็นได้ชัดเจนอย่างยิ่งก็คือ บิล เกตส์ รุ่นพี่ที่เคยเดินเข้าไปในมหาวิทยาลัยอย่าง ฮาร์วาร์ด แล้วก็กลับออกมามือเปล่าๆ ไม่มีปริญญาบัตรติดมือมาเหมือนๆ กัน แต่ก็ร่ำรวยมากมายเช่นเดียวกันจากผลงานที่คิดค้นขึ้นระหว่างที่เรียนอยู่ที่ นั่น

ในคำนำของผู้แปล ใน "แบบว่า...บังเอิญรวย" มีคำถามท้าทายชวนให้ใคร่ครวญต่อเนื่องที่น่าสนใจอยู่หลายคำถาม หนึ่งในจำนวนนั้นที่ตรงใจและผมพยายามหาคำตอบอยู่ก็คือ ฮาร์วาร์ด เป็นมหาวิทยาลัยเยี่ยงไร ถึงสามารถผลิตคนอย่าง บิล อย่าง มาร์ค ออกมาได้?

มาร์ค ซัคเคอร์เบิร์ก ที่แท้เป็นคนอย่างไร? เขา "ขโมย" ความคิดคนอื่นหรือไม่? เรื่องราวของเขาให้แง่คิดอะไรกับเราได้บ้าง?

ทำไมอ่านหนังสือเล่มหนึ่งแล้วต้องคิดมากอย่างนี้ก็ไม่รู้!


โดยความรู้สึกส่วนตัว วิถีของมาร์ค ซัคเคอร์เบิร์ก สำหรับผมแล้วสะท้อนความเป็น "ทุนนิยม" ออกมาอย่างเต็มที่ในหลายรูปแบบ หลายแง่มุม "เบน เมซริช"ใช้ เนื้อที่มากมายในหนังสือเล่มนี้บอกเล่าถึงสภาพความเป็นไปในมหาวิทยาลัยชื่อ ดังอันดับต้นๆ ของโลกอย่าง ฮาร์วาร์ด ได้อย่างลึกซึ้ง และน่าพิจารณาอย่างยิ่งยวด

เขาบอกไว้ในตอนหนึ่งของกิตติกรรมประกาศว่า เพื่อการนี้เขาจำเป็นถึงกับต้องทำ "วิจัย" สภาพสังคมของมหาวิทยาลัยแห่งนี้ ทั้งๆ ที่เขาคือหนึ่งในบรรดา "ศิษย์เก่า" เรือนหมื่นของฮาร์วาร์ด

จาก "แบบว่า...บังเอิญรวย" ผมพบว่า ฮาร์วาร์ด เป็นสังคมอนุรักษ์อย่างยิ่ง เต็มไปด้วยชนชั้น เป็นสังคมปิดมากกว่าที่คิดไว้มาก

ปิดในที่นี้ ไม่ได้หมายถึงการปิดอย่างเป็นทางการ แต่เป็นการปิดเพื่อปกป้อง "สถานะ" ทางชนชั้น ของมหาวิทยาลัยที่ผลิตคนระดับผู้นำประเทศ ผู้นำของโลกออกมาชนิดดกดื่น มี "เอ็กซ์คลูซีฟ คลับ" ของตัวเอง มีแวดวงของตัวเอง

นั่นหมายความว่า เพียงแค่ได้สิทธิเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัย ไม่ได้หมายความคุณจะสามารถเป็น "พวกเรา" หรือ "เพื่อนเรา" ได้แน่นอน เด็ดขาด

สภาวะ แวดล้อมที่บอกเล่าไว้ในหนังสือ แสดงให้เห็นถึงการแข่งขันที่เข้มข้นและเป็นไปในทุกอณูของสถานศึกษาแห่งนั้น ทุกคนต้องแข่งขัน ต้องทำอย่างหนึ่งอย่างใด เพื่อให้ได้รับการ "ยอมรับ" เพื่อให้ได้รับความสนใจ หรือในอีกแง่หนึ่งคือการได้เป็น "พวกเรา"

มาร์ค ซัคเคอร์เบิร์ก กับ เอดูอาร์โด เซเวอริน สองนักศึกษาใหม่ คือตัวแทนของ 2 วิถีทางในการแข่งขันเพื่อไต่ลำดับชั้นทางสังคมที่ฮาร์วาร์ด ทางหนึ่งที่ เอดูอาร์โด เลือก คือการน้อมรับทุกสิ่งทุกอย่างที่หล่อหลอมเป็น "ขนบ" ของพวก ของกลุ่ม ทำแม้แต่ต้องพกพา "ไก่เป็นๆ" ติดตัวไปด้วยทุกหนแห่งทั่วมหาวิทยาลัย แต่ มาร์ค ไม่ใช่

มาร์ค ซัคเคอร์เบิร์ก แหกคอก เป็นกบฏในทุกๆ ทาง ละเมิดในทุกๆ อย่างที่มหาวิทยาลัยกำหนดเอาไว้

แต่เขารู้ตัวดีว่า การปฏิเสธเช่นนี้ หากยังหวังให้ได้รับการยอมรับ เขาจำเป็นต้องประสบความสำเร็จ ต้องสร้างความ "เหนือกว่า" หรือ "เจ๋งกว่า" ให้เป็นที่ประจักษ์

ต้อง เหนือกว่า ดีกว่า ในลักษณะที่สามารถไม่แยแสชั้นเรียน ไม่แยแสปริญญาบัตรใดๆ อีกต่อไป เพราะมั่นใจว่าเขามีศักยภาพเพียงพอที่จะทำให้ฮาร์วาร์ดไม่เพียงยอมรับ แต่ยังยกย่อง ให้เกียรติและต้อนรับเขาทุกเมื่อ

เหมือนอย่างที่มหาวิทยาลัยแห่งนี้ ให้เกียรติกับ "บิล เกตส์" คนที่ไม่เคยกลับไปเรียนต่ออีกเลยจนกระทั่งถึงบัดนี้


นอกบริบท ของสังคมในฮาร์วาร์ด เนื้อหาของหนังสือเล่มนี้ยังสะท้อนให้เห็นโครงสร้างทางสังคมที่ครอบงำ อเมริกันทุกคนอยู่ในเวลานี้ เป็นสังคมที่พร้อมที่จะฟาดฟันกันได้ทุกเมื่อเพื่อแลกกับผลประโยชน์ทั้ง เบื้องหน้าในระยะใกล้ และในอนาคตอีกห่างไกล

เป็นโลกอีกโลกหนึ่งที่ทุกอย่างแปรเปลี่ยนเป็นสินค้าได้ และ หยิบฉวยมา "ขายได้" แม้กระทั่งความสัมพันธ์ระหว่างผู้คน ที่เราเรียกกันว่า "เพื่อน"

มา ร์ค ซัคเคอร์เบิร์ก คิดเรื่อง "เฟซบุ๊ก" ออกมาได้อย่างไร ผมไม่รู้ แต่ "เฟซบุ๊ก" ของเขา นำเอา "ความเป็นเพื่อน" มาทำประโยชน์ในทางพาณิชย์อย่างเด่นชัด มาร์ค รู้ว่า ถ้าเขาสามารถใช้เว็บไซต์ในอินเตอร์เน็ตเป็นเครื่องมือให้คนสองคน และอีกหลายๆ คน เป็นเพื่อนกันได้ และเปลี่ยนซึ่งกันและกันได้ในทุกๆ ข้อมูล ทุกๆ เวลาที่ต้องการ ทุกคนจะให้ความสนใจ ทุกคนจะให้ความสำคัญกับเว็บไซต์นั้น

เพราะเขารู้ว่าทุกคนให้ความสำคัญกับ "ความเป็นเพื่อน" และ "มิตรภาพ" ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญของเฟซบุ๊กตั้งแต่ต้นมาจนถึงทุกวันนี้

มาร์ค เชื่อว่านั่นเป็นความคิดของเขา เพราะไม่เคยมีใครคิดถึงเรื่องนี้มาก่อน ไม่เคยมีใครคิดว่า
"ความเป็นเพื่อน" จะ "ขายได้" มาก่อน ไม่แม้แต่กระทั่งคนอย่างคู่แฝด ไทเลอร์ และ คาเมรอน วิงเคิลวอสส์

แต่ในขณะที่มาร์คหยิบเอา "ความเป็นเพื่อน" มาขาย มาสร้างความนิยมให้กับ เฟซบุ๊ก จนประสบความสำเร็จอย่างที่หาเว็บไซต์น้อยรายมากนักที่จะประสบความสำเร็จมาก เท่า เขากลับปล่อยให้โครงสร้างของสังคมทุนนิยมค่อยๆ ดึงเขาออกห่างจากความเป็นเพื่อนมากขึ้นทุกที

เมื่อเฟซบุ๊กเริ่มตั้ง ไข่ เริ่มออกเดินเตาะแตะ มาร์ค พบว่าเขาต้องต่อสู้หนักหนาสาหัสอย่างยิ่งกับบรรดาเสือ สิงห์ กระทิง แรด ทั้งหลายให้แวดวง "เวนเจอร์ แคปปิตอล" บริษัทเงินทุนเพื่อการก่อตั้งกิจการ ที่พร้อมจะเขมือบ กลืนกินพวกเขาได้สบายๆ หากไม่ระแวดระวังเพียงพอ

เพื่อ รักษาเฟซบุ๊กที่เขาสร้างมากับมือ เพื่อพัฒนาเฟซบุ๊กที่เขาให้กำเนิดให้เติบใหญ่ มาร์ค ซัคเคอร์เบิร์ก จำเป็นต้องสลัดเพื่อนทิ้งไปตามรายทาง

หลงเหลือเพียง "ผู้ร่วมงาน" หรือ "ลูกจ้าง" ตามโครงสร้างการผลิตแบบทุนนิยมเท่านั้นเอง



มี บางคนตั้งข้อสังเกตเอาว่า ผมมอง มาร์ค ซัคเคอร์เบิร์ก ในแง่ร้ายมากเกินไป จงใจละเลย "นัยสำคัญ" ของ เฟซบุ๊ก และความสำเร็จมากมายที่เขาได้รับ

ผม ตอบข้อสังเกตที่ว่านี้ด้วยการตั้งึคำถามตอบไปว่า ถ้าหากวัดด้วยความสำเร็จเป็นตัวตั้ง ผู้คนที่ประสบความสำเร็จทั้งหลายควรเป็นคนที่ผละออกจากสถานศึกษากลางคัน อย่างนั้นหรือ? เมืองไทยเราควรจำลองสังคมที่แข่งขันสูงอย่าง ฮาร์วาร์ด มาสู่มหาวิทยาลัยทั้งหลายหรือไม่? สังคมไทยควรเป็นทุนนิยมสุดโต่ง ที่ยอมละเลยแม้แต่มิตรภาพเพื่อแลกกับความจำเป็นในการพัฒนากิจการเลยเชียวหรือ?

แน่นอน ทุกอย่างย่อมมีบริบทที่แตกต่างและจำเป็นต้องแยกแยะจำแนกให้ชัดเจน การ เลียนเยี่ยง มาร์ค ซัคเคอร์เบิร์ก ในแง่มุมใดถึงจะเป็นผลดีต่อเด็กไทย คนไทย ความสำเร็จของ เฟซบุ๊กและมาร์ค ซัคเคอร์เบิร์ก ย่อมยากที่จะปฏิเสธว่าเป็นที่หมายปองของทุกคน

กระนั้นบนก้าวย่างสู่ความสำเร็จยิ่งใหญ่ในทำนองเดียวกัน ย่อมมีหลากหลายเส้นทาง และหลากหลายรูปแบบให้เลือกสรร

แต่ที่แน่นอนก็คือ ไม่เริ่มต้นความพยายาม ไม่มีความสำเร็จมาให้ชื่นชมแน่นอน!

ที่มา : นสพ.มติชนรายวันฉบับวันที่ วันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2553 ปีที่ 33 ฉบับที่ 11970