WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Wednesday, January 16, 2008

“กฎหมายไม่ใช่ตัวยุติธรรม แต่เป็นเครื่องมือให้เกิดความยุติธรรม”

โดย คุณจำปีเขียว
ที่มา เวบบอร์ด
พันทิปราชดำเนิน
16 มกราคม 2551

ชื่อเรื่องของบทความนี้ ได้อัญเชิญข้อคิดอันทรงคุณค่า ที่อ้างอิงจากพระราชดำรัสบางตอนที่ได้พระราชทานไว้แก่คณะบุคคล ที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับงานด้านยุติธรรมเมื่อหลายปีก่อน

เนื่องจากระยะหลังมานี้ มีบุคคลจำนวนไม่น้อย ทั้งที่มีตำแหน่งในรัฐบาล ข้าราชการ นักการเมือง และนักวิชาการ บางท่าน รวมทั้งสื่อมวลชนบางราย มักให้ความเห็นในทำนองว่า ต้องยึดกฎหมายเป็นหลักเพื่อนำไปใช้พิจารณาตัดสินข้อพิพาทขัดแย้งต่าง ๆ ทางการเมือง ก่อนที่บ้านเมืองจะถูกลากจูงไปติดกับดักทางข้อกฎหมายไปมากกว่านี้จนทำให้กฎหมายไม่สามารถอำนวยความยุติธรรมได้ และอาจจะนำมาซึ่งเหตุการณ์วิปโยคในที่สุด

จึงเห็นควรที่จะต้องนำความรู้เบื้องต้นทางกฎหมายมาศึกษากัน เพื่อให้สังคมเห็นหนทางที่จะคลายเงื่อนปมที่เนติบริกรของคณะรัฐประหาร ได้ผูกบ่วงทางกฎหมายเอาไว้

โดยขอเริ่มต้นที่ความหมายของกฎหมาย

กฎหมาย คือ คำสั่งหรือข้อบังคับของรัฐที่กำหนดขึ้น เพื่อกำหนดพฤติกรรมของพลเมือง ผู้ใดฝ่าฝืนไม่ยอมปฏิบัติตามมีความผิดและถูกลงโทษ การบังคับนี้ใช้กับพลเมืองทุกคน ไม่จำกัด อายุ เพศ ชั้น วรรณะ และกฎหมายจะบังคับใช้ตลอดไป จนกว่าประกาศยกเลิก

จากความหมายของกฎหมาย จะทำให้เห็นได้ว่า พลเมืองทุกคนต้องให้ความเคารพกฎหมาย เพื่อให้กฎหมายทรงความศักดิ์สิทธิ์ สังคมจึงควรตระหนักว่า การใช้กำลังเพื่อล้มล้างรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ เป็นตัวอย่างของการกระทำย่ำยีต่อกฎหมายที่ชัดเจนที่สุด

ทั้งยังเป็นการกระทำผิดต่อกฎหมายอาญา ที่มีโทษสูงสุดถึงประหารชีวิต

จึงเป็นเรื่องน่าแปลก ที่นักกฎหมายของไทยจำนวนมาก กลับให้การยอมรับในคำสั่งและข้อบังคับต่าง ๆ ที่กำหนดขึ้นโดยเนติบริกรของคณะรัฐประหาร

ที่ผ่านมาเนติบริกรของคณะรัฐประหาร ได้ทำลายบรรทัดฐานในการใช้กฎหมาย เช่น การบัญญัติกฎหมายขึ้นใหม่เพื่อใช้ย้อนหลังในทางให้โทษได้

นอกจากนี้ยังบังคับใช้กฎหมาย โดยขัดต่อความหมายของกฎหมาย คือ ผู้ใดฝ่าฝืนกฎหมายผู้นั้นย่อมถูกลงโทษ แต่เนติบริกรของคณะรัฐประหาร กลับลงโทษผู้ไม่มีส่วนรู้เห็นในการฝ่าฝืนกฎหมาย เช่น การเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของอดีตกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยทุกคน แม้จะมิได้มีส่วนร่วมในการกระทำผิด

โดยในขณะนี้มีข่าวว่า การบังคับใช้กฎหมายโดยขัดต่อความหมายของกฎหมาย อาจกำลังถูกนำมาใช้อีกเพื่อยุบพรรคการเมืองหลายพรรค เช่น พรรคพลังประชาชน พรรคชาติไทย พรรคมัชฌิมาธิปไตย


จาก Thai E-News