WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Thursday, February 7, 2008

ค้านอย่างสร้างสรรค์ [7 ก.พ. 51 - 20:49]

ขอสนับสนุนแนวความคิดของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และพรรคประชาธิปัตย์ ที่จะตั้งคณะรัฐมนตรีเงา หรือ “รัฐบาลเงา” ขึ้นมาประกบคณะรัฐมนตรี ที่มีนายสมัคร สุนทรเวช หัวหน้าพรรคพลังประชาชน เป็นนายกรัฐมนตรี โดยให้มีจำนวนรัฐมนตรีเงาเท่ากับคณะรัฐมนตรี มีหน้าที่ติดตามและตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ของรัฐมนตรีแต่ละกระทรวง และเสนอแนวทางแก้ไขเป็นทางเลือกด้วย


คณะรัฐมนตรีเงาไม่ใช่เรื่องใหม่ สำหรับประเทศประชาธิปไตยที่ใช้ระบบรัฐสภา อันมีอังกฤษเป็นแม่บท เป็นการทำหน้าที่พรรคฝ่ายค้านอย่างสร้างสรรค์ ขณะเดียวกัน ก็เตรียมบุคคลที่จะเป็นรัฐมนตรีตัวจริง เมื่อโอกาสมาถึง ประเทศไทยก็ได้นำแบบอย่างมาใช้ โดยให้มีตำแหน่งผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร ในรัฐธรรมนูญฉบับหลังๆ นอกเหนือจากตำแหน่งคณะรัฐมนตรีที่เป็นฝ่ายบริหาร

ตามปกติ ฝ่ายค้านอาจตรวจสอบรัฐบาลได้ ด้วยการตั้งกระทู้ถามรัฐมนตรี การเสนอญัตติเปิดอภิปรายเรื่องราวที่สำคัญๆ การอนุมัติงบประมาณรายจ่าย ติดตามการใช้จ่ายตามงบประมาณ การเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีเป็นรายบุคคล การเปิดอภิปรายไม่ไว้ วางใจนายกรัฐมนตรี และการยื่นถอดถอนนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรี เป็นต้น เป็นการตรวจสอบโดยอิงอำนาจนิติบัญญัติ

การตรวจสอบรัฐบาลโดยอิงอำนาจนิติบัญญัติเพียงอย่างเดียว อาจจะไม่ ค่อยได้ผล ถ้าหากพรรคฝ่ายค้านมีเสียงในสภาไม่มาก เห็นได้จากการที่ฝ่ายค้านไม่สามารถเปิดอภิปรายนายกรัฐมนตรีได้เลย นับตั้งแต่หลังการเลือกตั้ง 2544 เป็นต้นมา เนื่องจากฝ่ายค้านมีเสียงไม่พอ และรัฐธรรมนูญก็ตั้งกำแพงปกป้องนายกรัฐมนตรี เพื่อให้เป็นผู้นำที่เข้มแข็ง จนกลายเป็นผู้นำที่แตะต้องมิได้

แต่พรรคประชาธิปัตย์ในขณะนี้มี ส.ส.ถึง 164 คน มากที่สุดในรอบหลายทศวรรษที่ผ่านมา จึงกลายเป็นฝ่ายค้านที่แข็งแกร่ง อีกทั้งรัฐธรรมนูญ 2550 ก็เปิดโอกาสให้ฝ่ายค้านเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีได้ง่ายขึ้น แต่ความเห็นของหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ที่ว่าการตรวจสอบจะไม่อิงอำนาจนิติบัญญัติอย่างเดียว ต้องใช้ รูปแบบอื่นๆด้วย ก็เป็นความเห็นที่ถูกต้อง

พรรคประชาธิปัตย์อาจจะตั้งคณะกรรมการ เพื่อทำการสืบสวนสอบสวน เรื่องราวการทุจริตต่างๆในวงรัฐบาล แบบที่ นายอลงกรณ์ พลบุตร เคยทำมาแล้ว แต่ให้เข้มข้นยิ่งขึ้น หรืออาจจะทำการศึกษาวิจัยนโยบายของรัฐบาล โดยเฉพาะนโยบายประชานิยมต่างๆ มีจุดอ่อนจุดแข็งอย่างไร หรืออาจจะตั้งทีมเศรษฐกิจมาประกบกับทีมเศรษฐกิจของรัฐบาล เพื่อเสนอทางเลือกที่แตกต่าง

นอกจากจะทำหน้าที่เป็นปากเป็นเสียงของคนในเมืองกว่า 12 ล้านคน ที่เลือกพรรคประชาธิปัตย์ และป้องกันการใช้อำนาจตามอำเภอใจ จนกลายเป็นทรราชเสียงข้างมาก พรรคประชาธิปัตย์ควรจะเปลี่ยนภาพลักษณ์ใหม่ โดยลงไปคลุกคลีกับชาว ชนบท โดยเฉพาะในภาคอีสานกับภาคเหนือ เพื่อรับฟังปัญหา และศึกษาแนวทางแก้ไข โดยใช้ ส.ส.และสาขาพรรคในภาคนั้นๆ เป็นฐานปฏิบัติการ.

บทบรรณาธิการ