ปัจจุบันตามรัฐธรรมนูญฉบับปี 2550 จำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) จะเท่ากับ 480 คน ส่วนสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) จะมีจำนวน 150 คน รวมกันก็ 630 คน
คำถามที่คนอยากรู้คือผู้ทรงเกียรติได้รับสิทธิประโยชน์อย่างไรบ้าง ในช่วง 4 ปี สำหรับ ส.ส.และ 6 ปีสำหรับ ส.ว. คำตอบคือสิทธิ ประโยชน์ด้านหลักๆ มี 8 ด้าน ดังนี้
1.อัตราเงินประจำตำแหน่งและเงินเพิ่ม 2.ผู้ช่วยดำเนินงานของ ส.ส. 3.ผู้เชี่ยวชาญประจำตัว ส.ส. 4.ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการในราชอาณาจักร 5.ค่าใช้จ่ายในการ เดินทางไปราชการต่างประเทศ
6.การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ 7.เบี้ยประชุมของกรรมาธิการ และอนุกรรมาธิการ 8.การประกันสุขภาพของสมาชิกรัฐสภา และ 9.การจ่ายเงินสงเคราะห์อดีต ส.ส.ถึงแก่กรรม
โดยเฉพาะอัตราเงินประจำตำแหน่งและ เงินเพิ่ม เมื่อเป็น ส.ส.ซึ่งอย่างน้อยๆ ก็ปาเข้าไปแสนกว่าบาทต่อเดือน
นอกจากนี้ ส.ส. 1 คน ยังสามารถหาผู้ช่วยเพื่อมาดำเนินงานได้ 5 คน โดยจะได้รับค่าตอบแทนจากสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรคนละ 10,000 บาทต่อเดือน
และ ส.ส. 1 คน ก็ยังมีผู้เชี่ยวชาญประจำตัวได้อีก 1 คน โดยจะได้รับค่าตอบแทนจากสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรเช่นกัน เดือนละ 20,000 บาท
สำหรับกรณี ส.ส.ที่เดินทางไปราชการ ในราชอาณาจักรก็ยังมีค่าตอบแทนให้อีก นับตั้งแต่ค่าเดินทางมาประชุม เมื่อมีพระราชกฤษฎีกาเรียกประชุมรัฐสภา หรือพระบรมราชโองการประกาศเรียกประชุมรัฐสภา ค่าใช้จ่ายใน การเดินทางมาประชุมของกรรมาธิการ
ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ได้แก่ 1.เบี้ยเลี้ยงเดินทาง 2.ค่าเช่าที่พัก 3.ค่าพาหนะ 4.ค่ารับรอง 5.ค่าใช้จ่ายอื่นที่จำเป็นต้องจ่ายเนื่องในการเดินทางไปราชการ
หากเดินทางไปราชการต่างประเทศก็ยังมีค่าตอบแทนให้ ได้แก่ 1.เบี้ยเลี้ยงเดินทาง 2.ค่าเช่าที่พัก 3.ค่าพาหนะ 4.ค่ารับรอง 5.ค่าของขวัญ 6.ค่าเครื่องแต่งกาย และ 7.ค่าใช้จ่ายอื่นที่จำเป็นต้องจ่ายเนื่องในการเดินทางไปราชการ
ประเด็นก็คือถ้าบรรดา ฯพณฯ ทำหน้าที่อย่างเต็มเวลา ต้นทุนที่ประชาชนต้องจ่าย ก็น่าจะคุ้ม แต่ถ้า ฯพณฯ เอาแต่โดดประชุม (โดดร่ม) ประชาชนคือผู้เสียประโยชน์