“ปริญญา เทวานฤมิตรกุล” ถอนตัวจากคณะ กก.สอบสวนเพื่อยุบพรรคมัชฌิมาธิปไตย-ชาติไทย อ้างไม่มีเวลา “สดศรี” เชื่อได้ข้อสรุปสิ้นเดือนนี้ ชี้ขั้นตอนสอบสวนมีไม่มาก เป็นเพียงแค่ข้อกฎหมาย ย้ำรัฐศาสตร์กับนิติศาสตร์ไม่จำเป็นต้องไปด้วยกัน กกต.ยึดหลักกฎหมาย
นางสดศรี สัตยธรรม กรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เชื่อว่า การสอบสวนเพื่อยุบพรรคมัชฌิมาธิปไตย และพรรคชาติไทย จะเสร็จสิ้นภายในเดือน ก.พ.นี้ โดย กกต.มีมติแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน มีนายบุญทัน ดอกไธสง เป็นประธาน เมื่อวานนี้ และเริ่มประชุมนัดแรก วันที่ 7 ก.พ.นี้ เพื่อวางกรอบการดำเนินการสืบสวนสอบสวน อย่างไรก็ตาม มีผู้ถอนตัวจากการเป็นกรรมการ 1 คน คือ นายปริญญา เทวานฤมิตรกุล รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ฝ่ายกิจการนักศึกษา เนื่องจากไม่มีเวลา
“เชื่อว่าเรื่องนี้จะเสร็จภายในสิ้นเดือนนี้ ขั้นตอนการสอบสวนมีไม่มาก เป็นเพียงข้อกฎหมายตามมาตรา 103 พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส.และการได้มาซึ่ง ส.ว. และมาตรา 94 ของ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง ซึ่งเป็นการเชื่อมโยงว่า กรรมการบริหารพรรคได้กระทำผิดกฎหมายเลือกตั้งจนเป็นเหตุให้ได้รับใบแดงหรือไม่” นางสดศรี กล่าว
นางสดศรี เชื่อว่า คณะกรรมการฯ จะต้องเชิญหัวหน้าพรรค และกรรมการบริหารพรรค ทั้ง 2 พรรคมาชี้แจง และพิจารณาประกอบกับกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ส่วนการกระทำของกรรมการบริหารพรรคจะผูกพันกับพรรคการเมืองหรือไม่ เป็นหน้าที่ของคณะกรรมการฯ ที่จะต้องสืบสวนสอบสวนหาข้อเท็จจริง หากคณะกรรมการฯ เสนอให้ยุบพรรค ก็ต้องสรุปและเสนอความเห็นมายัง กกต. เพื่อพิจารณาอีกครั้งต่อไป
“ขั้นตอนนี้ยังไม่แน่ใจว่า กกต.จะเห็นด้วยหรือไม่ หากเห็นด้วย ก็ต้องส่งให้อัยการสูงสุดพิจารณาอีกครั้ง จากนั้นจึงจะส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย” นางสดศรี กล่าว
ผู้สื่อข่าวถามว่า กกต.สามารถวินิจฉัยแตกต่างจากคณะกรรมการฯ หรือไม่ นางสดศรี กล่าวว่า กกต.มีสิทธิทั้งสั่งยุบพรรคและไม่ยุบพรรค แต่ต้องดูข้อมูลและเหตุผลประกอบสำนวน ขณะนี้จึงยังตอบไม่ได้ แต่ยืนยันว่า แม้ทั้ง 2 พรรคดังกล่าวจะเป็นพรรคร่วมรัฐบาลก็ไม่มีปัญหา หลักรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ไม่จำเป็นต้องไปด้วยกัน เพราะการกระทำผิดต้องดูที่ข้อกฎหมายเป็นหลัก ซึ่ง กกต.จะพิจารณาตามข้อกฎหมาย
ต่อกรณีที่พรรคมัชฌิมาธิปไตยยังไม่มีหัวหน้าพรรค คณะกรรมการฯ จะเชิญบุคคลใดมาชี้แจง นางสดศรี กล่าวว่า พรรคมัชฌิมาธิปไตยกำลังอยู่ในกระบวนการเลือกกรรมการบริหารพรรค และหัวหน้าพรรคใหม่ เชื่อว่าคณะกรรมการฯ จะเชิญหัวหน้าพรรคคนใหม่ และนายประชัย เลี่ยวไพรัตน์ อดีตหัวหน้า มาให้ข้อมูล
“เชื่อว่าเรื่องนี้จะเสร็จภายในสิ้นเดือนนี้ ขั้นตอนการสอบสวนมีไม่มาก เป็นเพียงข้อกฎหมายตามมาตรา 103 พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส.และการได้มาซึ่ง ส.ว. และมาตรา 94 ของ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง ซึ่งเป็นการเชื่อมโยงว่า กรรมการบริหารพรรคได้กระทำผิดกฎหมายเลือกตั้งจนเป็นเหตุให้ได้รับใบแดงหรือไม่” นางสดศรี กล่าว
นางสดศรี เชื่อว่า คณะกรรมการฯ จะต้องเชิญหัวหน้าพรรค และกรรมการบริหารพรรค ทั้ง 2 พรรคมาชี้แจง และพิจารณาประกอบกับกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ส่วนการกระทำของกรรมการบริหารพรรคจะผูกพันกับพรรคการเมืองหรือไม่ เป็นหน้าที่ของคณะกรรมการฯ ที่จะต้องสืบสวนสอบสวนหาข้อเท็จจริง หากคณะกรรมการฯ เสนอให้ยุบพรรค ก็ต้องสรุปและเสนอความเห็นมายัง กกต. เพื่อพิจารณาอีกครั้งต่อไป
“ขั้นตอนนี้ยังไม่แน่ใจว่า กกต.จะเห็นด้วยหรือไม่ หากเห็นด้วย ก็ต้องส่งให้อัยการสูงสุดพิจารณาอีกครั้ง จากนั้นจึงจะส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย” นางสดศรี กล่าว
ผู้สื่อข่าวถามว่า กกต.สามารถวินิจฉัยแตกต่างจากคณะกรรมการฯ หรือไม่ นางสดศรี กล่าวว่า กกต.มีสิทธิทั้งสั่งยุบพรรคและไม่ยุบพรรค แต่ต้องดูข้อมูลและเหตุผลประกอบสำนวน ขณะนี้จึงยังตอบไม่ได้ แต่ยืนยันว่า แม้ทั้ง 2 พรรคดังกล่าวจะเป็นพรรคร่วมรัฐบาลก็ไม่มีปัญหา หลักรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ไม่จำเป็นต้องไปด้วยกัน เพราะการกระทำผิดต้องดูที่ข้อกฎหมายเป็นหลัก ซึ่ง กกต.จะพิจารณาตามข้อกฎหมาย
ต่อกรณีที่พรรคมัชฌิมาธิปไตยยังไม่มีหัวหน้าพรรค คณะกรรมการฯ จะเชิญบุคคลใดมาชี้แจง นางสดศรี กล่าวว่า พรรคมัชฌิมาธิปไตยกำลังอยู่ในกระบวนการเลือกกรรมการบริหารพรรค และหัวหน้าพรรคใหม่ เชื่อว่าคณะกรรมการฯ จะเชิญหัวหน้าพรรคคนใหม่ และนายประชัย เลี่ยวไพรัตน์ อดีตหัวหน้า มาให้ข้อมูล