ขอขยายความเรื่องนายกฯ สมัคร สุนทรเวช ประกาศจะซื้อรถไฟฟ้าบนดินจากบริษัท BTS อีกสักวันอย่างที่บอกไปแล้ว ไม่ใช่เรื่องใหม่ สมัย รัฐบาลไทยรักไทย ยุค นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ เป็น รมว.คมนาคม ก็เคยคิดและพยายามมาแล้วแต่ นายพงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ ผอ.สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ กระทรวงการ
คลัง หน่วยงานหลักในการหาเงินมาให้รัฐลงทุนเมกะโปรเจกต์ บอกว่า…ในกลุ่มข้าราชการที่เกี่ยวข้องกับ เมกะโปรเจกต์ ทางด้านรถไฟฟ้า ทั้งกระทรวงการคลังเอง และที่คมนาคม ก็เคยหารือกันอย่างไม่เป็นทางการมาก่อนแต่ด้วย “Agenda” หรือ “วาระ” และ “ธง” ที่ (ยืนยันว่า) แตกต่างจากนายสุริยะ!!!
นายพงษ์ภาณุ บอกอีกว่า...เจบิก หรือ ธนาคารเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น ก็เคยมาขายความคิดเรื่องซื้อ รถไฟฟ้าBTS เพื่อรวมโครงข่ายรถไฟฟ้าเป็นหนึ่งเดียว ภายใต้การจัดการเดียวนายพงษ์ภาณุ ได้ให้สัมภาษณ์พิเศษอย่างยาวถึงที่มาและปัญหา รวมถึงเรื่องซื้อรถไฟฟ้า
BTS ไว้อย่างน่าสนใจดังนี้ถาม ประเด็นที่ นายกฯ สมัครพูดเรื่องมีแนวคิดที่จะให้รัฐบาลชุดใหม่ ไปเทกโอเวอร์รถไฟฟ้าบีทีเอส โดยวิธีการเข้าไปซื้อหนี้ของบีทีเอสมาทั้งหมดเลย และก็เข้าไปเป็นเจ้าของรถไฟฟ้าบีทีเอส เพื่อจะไปเชื่อมโยงกับโครงข่ายทั้งหมดที่มีอยู่ เห็นคุณพงษ์ภาณุ
บอกว่าจริงๆ ก็เป็นแนวคิดที่ทางเจบิก ทางญี่ปุ่นเขาเคยเสนอมาอยู่แล้ว มีที่มาอย่างไรครับ(ธนาคารเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น)?พงษ์ภาณุ อันนี้ คงอาจจะยังไม่เรียกว่า เป็นการเสนออย่างเป็นทางการอะไร เราก็มีการคุย หารือกันว่า ในที่สุดระบบโครงข่ายรถไฟฟ้าของเรามันควรจะเชื่อมโยงเป็นหนึ่ง
เดียวและก็เป็นเครือข่ายเดียว เพื่อความสะดวก เพื่อความประหยัด เพื่อความอะไร
ต่างๆ สำหรับผู้ใช้บริการนะครับ มีโครงสร้างค่าโดยสารเป็นโครงสร้างร่วมนะฮะ มี
ระบบตั๋วร่วม มีระบบเครือข่ายร่วม มันน่าจะเป็นประโยชน์สูงสุด และเรามองกัน
ว่า ถ้าเกิดเราเปลี่ยนรูปแบบการให้สัมปทานกับเอกชนใหม่นะครับ
มันน่าจะเป็นประโยชน์ ต่อส่วนรวม เพราะฉะนั้นการที่ท่านนายกฯท่านมีดำริว่าจะเข้าไปซื้อหุ้น จากบริษัทบีทีเอสก็เป็นแนวทางหนึ่ง ที่จะนำไปสู่การเชื่อมโยงระบบ เป็นหนึ่งเดียวครับถาม เคยคุยกันนานแล้วใช่ไหมครับ?พงษ์ภาณุ อันนี้ก็เป็นไอเดีย มานานพอสมควรแล้วนะครับซึ่งตอนนี้ เพิ่งจะมาเป็นรูปเป็นร่าง ดีใจที่ระดับท่านนายกฯ ลงมาดูใน
เรื่องระบบขนส่งมวลชนเองนะครับ อันนี้เป็นนิมิตหมายที่ดีถาม ในส่วนของกระทรวงการคลังก็ดี คุณพงษ์ภาณุก็ดี คมนาคมก็ดี ก็เห็นด้วยกับไอเดียนี้อยู่แล้ว เพียงแต่ว่าจะขับเคลื่อนแนวคิดนี้มันอย่างไร เท่านั้นเอง?พงษ์ภาณุ ใช่ครับ โดยเฉพาะคำนึงถึงเราจะมีอีก 9 สายใน
อนาคต ลองนึกภาพดู ถ้าเกิดแต่ละสายต่างคนต่างดำเนินงานเองนะครับ มีสัมปทานแยกต่างหากเนี่ย ผมคิดว่าคงจะโกลาหลพอสมควร เวลาเราเปลี่ยนสาย ซึ่งจะต้องไปเสียค่าขึ้นระบบใหม่อีกทีหนึ่งนะครับ ซึ่งผมคิดว่า อันนี้เป็นภาระที่คงจะหนักพอสมควร สำหรับผู้ที่ใช้บริการนะครับ
ถาม ที่จริงเป็นแนวคิดที่ไม่ใหม่ ยุครัฐบาลไทยรักไทย ยุคคุณสุริยะเป็น
รมว.คมนาคม ก็มีดำริ และก็เคลื่อนกันไปแล้วด้วย ตั้งกรรมการขึ้นมาเจรจากับบีทีเอสแล้วสมัยนั้นคุณพงษ์ภาณุจำได้ไหมครับว่า มันเกิดสะดุดอะไร?พงษ์ภาณุ ตอนนั้นยังไม่ได้เข้ามาทำเรื่องนี้โดยตรงครับ ผมเองไม่ได้ติดตาม ว่ามันสะดุด
อะไร ขึ้นมานะครับถาม ฮึๆๆ ครับพงษ์ภาณุ- แต่ผมคิดว่า มันเป็นรูปแบบที่แตกต่างจากกันนะครับ แต่ละรูปแบบก็มีประโยชน์ไม่เหมือนกันนะครับ มีข้อเสียไม่เหมือนกันนะครับ ได้อย่างคงจะเสียอย่างนะครับประสิทธิภาพต่างๆ เราคงจะต้องชั่งน้ำหนักดูในภาพรวมนะครับ
ถาม แต่ว่าสถานการณ์มันลึกถึงขนาด เราก็แจกสัมปทานกันไปแล้วนะครับ บีที
เอสก็รายหนึ่ง ในส่วนของรถไฟฟ้าใต้ดินก็รายหนึ่ง แอร์พอร์ตลิงค์ก็อีกรายหนึ่ง และก็ 9 สายก็กระจายกันไป เดี๋ยวการรถไฟฯ มั่ง เดี๋ยว รฟม.มั่ง อะไรประมาณนั้น สุดท้ายนี่แนวคิดที่เคยหารือกันในกลุ่มคนที่รับผิดชอบเรื่องรถไฟฟ้า
ได้คุยกันและก็แลกเปลี่ยนกับทางเจบิก จะขึ้นรูปเรื่องรวมโครงข่ายรถไฟฟ้าเป็นหนึ่งเดียวกันอย่างไรครับ มีพิมพ์เขียวทำนองนี้ ไว้บ้างไหมจะเชื่อมร้อยเข้าหากันอย่างไร?พงษ์ภาณุ จริงๆ ก็มีความคิดอยู่หลายรูปแบบ ผมเรียนว่าตอนนี้ เรามีมติ ครม.สมัยรัฐบาลที่แล้วนะครับ ที่ให้ดำเนินการในรูปแบบต่างๆ
นะครับ สายสีแดง ก็ทางการรถไฟฯ จะเป็นผู้ Operate ถ้าเกิดเป็น สายสีม่วง สายสีน้ำเงิน ก็จะมีการให้เอกชนเข้ามารับสัมปทานของ กทม. เป็นสายที่เป็นส่วนต่อขยายของบีทีเอสนะครับ จะมีเอกชนเข้ามาทำเช่นเดียวกัน ทั้งนี้รูปแบบต่างๆ เราได้ริเริ่มในเรื่องระบบตั๋วร่วมนะครับ ซึ่งทางบีทีเอสกับทางบีเอ็มซีแอล มาลงนามเอ็มโอยู ร่วมกันนะครับ ขณะนี้ก็ ธนาคารเอดี
บีเข้ามาศึกษา ระบบการทำตั๋วร่วม และอีกหน่อยจะขยายไปสู่ผู้รับสัมปทานในอนาคตถาม อ๋อ ครับพงษ์ภาณุ คราวนี้ไอเดียของท่านนายกฯ ก็เป็นอีกรูปแบบหนึ่ง ซึ่งเข้าใจว่าภาครัฐคงจะเข้ามามีบทบาทนำนะครับ ในการกำหนดค่าโดยสารก็ดี ในการ Operate ระบบก็ดีนะครับ อันนี้ก็คงจะเตรียมหารือกับ ทาง สน
ข. สำนักนโยบายและแผนการขนส่ง ให้มีความชัดเจนมากขึ้นถาม กลับไปในเรื่องระบบตั๋วร่วม บีทีเอส กับ บีเอ็มซีแอล นั้นยังอยู่ในขั้นแค่ของการศึกษาเฉยๆ หรือครับ?พงษ์ภาณุ ครับผมคิดว่าคงใช้เวลาพอสมควร และอาจจะต้องมีการจัดซื้อตัวฮาร์ดแวร์ของระบบมานะครับ แต่อันนี้ก็คงยังต้องกินเวลา 6 เดือน ถึง 9 เดือน
ถาม แต่ว่าสิ่งที่คุณสมัครคิดและพูดกันออกมานั้นดูเหมือนว่าจะข้ามช็อตมากกว่านั้น จะดึงมาเป็นของรัฐ รัฐจะสร้างระบบบริหารจัดการทั้งเครือข่ายเป็นหนึ่งเดียว อะไรประมาณนั้น มันก็คงจะต้องรื้อ และมาศึกษากันใหม่ซิครับ?พงษ์ภาณุ ใช่ครับ แต่จริงๆ มันมีไอเดีย อยู่แล้วนะครับผมคิดว่า ตรงนี้ ไม่ยากนะครับ หน่วยปฏิบัติอย่างหน่วยผมและ
หน่วยทาง สนข.ก็คงจะร่วมมือกันดำเนินการคงใช้เวลาไม่นานครับถาม และตัวแอร์พอร์ตลิงค์ ในความรับผิดชอบของการรถไฟแห่งประเทศไทย เชื่อมสนามบินสุวรรณภูมิกับใจกลางเมืองนั้นนะครับ ชัดเจนหรือยังว่า ในการบริหารจัดการหลังจากก่อสร้างเสร็จ ใครจะเป็นคนบริหารจัดการ ใครจะเป็น
คนเดินรถ อะไรต่อมิอะไร ชัดเจนหรือยัง?พงษ์ภาณุ อันนี้ถ้าเกิดยึดตามมติ ครม.ชุดที่แล้วนะครับ ก็มีความชัดเจนอยู่แล้วคือ การรถไฟแห่งประเทศไทยจะเป็นผู้บริหาร เขาจะจัดตั้งเป็นบริษัทลูกขึ้นมานะครับ ถือหุ้น 100% โดยการรถไฟฯ และก็จะบริหารการเดินรถ แอร์พอร์ตลิงค์ ในที่สุด
ก็จะขยายเป็นบริหารการเดินรถสายสีแดงด้วย สายสีแดงนี้ ก็คือสายที่เป็นรถไฟชานเมืองนะครับ ซึ่งอันนี้ก็มีความชัดเจนในส่วนนี้ นอกจากที่ว่ารัฐบาลใหม่ จะอาจจะเข้ามาปรับปรุงแนวทางการดำเนินการบางอย่างซึ่งก็สามารถจัดทำได้ถาม ก็กลับกลายเป็นว่า ตามมติ ครม.สมัย ทรท. ก็จะมีหน่วยงานรัฐ 2 หน่วย คือ รฟท.ด้วย และ รฟม.ด้วย?พงษ์ภาณุ ใช่ครับ
ถาม แยกเป็น 2 โครงข่าย?พงษ์ภาณุ ใช่ครับถาม แล้วให้ การรถไฟฯ บริหารเองไหวเหรอ ถามแบบตรงๆ?พงษ์ภาณุ อันนี้เป็นคำถาม เครื่องหมายคำถามใหญ่นะครับ คืออย่างน้อยก็มีการตั้งบริษัทลูกซึ่งจะต้องแยกบัญชีออกมาชัดเจนจาก การรถไฟแห่งประเทศไทย เพราะฉะนั้นภาระต่างๆ ภาระหนี้สิน
ต่างๆ ที่การรถไฟฯ มีอยู่ในปัจจุบันอะฮะ ก็คงไม่มีผลกระทบต่อการดำเนินงานของบริษัทลูกนะครับ บริษัทลูกก็จะมีการจ้างผู้เชี่ยวชาญนะครับ และจะไม่อยู่ภายใต้การดูแลของสหภาพแรงงานการรถไฟนะครับสรุปว่าถ้าธงของการซื้อรถไฟฟ้า BTS ของสมัคร คือการรวมโครงข่าย
รถไฟฟ้าเป็นหนึ่งเดียว (จริงๆ)ก็ถือว่า ได้รับการตอบรับที่ดีทีเดียวจากบรรดาข้าราชการที่ขับเคลื่อนงานทางด้านรถไฟฟ้าแต่กว่าจะไปถึงธงนั้น ยังมีอีกหลายโจทย์ที่ต้องตอบให้ได้ก่อนเอาแค่โจทย์ จะทำอย่างไรให้ นายคีรี กาญจนพาสน์ ยอมขาย BTSโจทย์เดียว???แค่นี้...ก็หนาวแทนนายสมัครแล้ว