WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Thursday, February 7, 2008

พิรุธ คตส.เลือกปฏิบัติ “บรรพต” พ้นคดีกล้ายาง

พบพิรุธ คตส. เลือกปฏิบัติคดีจัดซื้อกล้ายางพารา 1.4 พันล้าน ในรายชื่อผู้ถูกกล่าวหา 45 คน ไม่มีชื่อ “บรรพต หงษ์ทอง” ทั้งที่เรื่องอยู่ในความรับผิดชอบของปลัดกระทรวงเกษตรฯ โดยตรง ขณะที่กรรมการโดยตำแหน่งกลับโดนหางเลขถ้วนหน้า จี้ประธานอนุกรรมการสอบสวน พร้อมด้วย “นาม ยิ้มแย้ม” อธิบายต่อสาธารณชน ระบุประธาน คตส.ละเว้นปฏิบัติหน้าที่ มีโทษถึงติดคุก


จากกรณีที่คณะกกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อรัฐ (คตส.) มีมติส่งสำนวนคดีการจัดซื้อกล้ายางพารามูลค่า 1,440 ล้านบาทให้สำนักงานอัยการสูงสุด สั่งฟ้องผู้ถูกกล่าวหาจำนวน 45 คน มีทั้งนักการเมือง ข้าราชการ และ บริษัทเอกชนที่เข้าประกวดราคา ซึ่งเป็นเรื่องที่มีการใช้เวลาพิจารณาอย่างยาวนานนั้น ได้กลายเป็นประเด็นที่มีการวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวางถึงความสุจริต เที่ยงธรรม และการเลือกปฏิบัติของ คตส.

เนื่องมาจากการสอบสวนคดีจัดซื้อกล้ายางพาราดังกล่าว มีพิรุธมาตั้งแต่แรก เมื่อนายนาม ยิ้มแย้ม ประธานคตส. สั่งให้แจ้งข้อกล่าวหาผู้เกี่ยวข้องทั้งหมด 93 ราย โดยไม่มีชื่อผู้บริหารบริษัทซีพี คือ นายวัลลภ เจียรวนนท์ ซึ่งเป็นผู้ชนะการประกวดราคาอยู่ด้วย จนกระทั่งถูกสื่อมวลชนทักท้วง ว่าทำไมชื่อผู้บริหารบริษัทซีพี หายไป

ในครั้งนั้น นายนาม ยิ้มแย้ม ชี้แจงว่า “เจ้าหน้าที่พิมพ์ตกหล่น” และได้สั่งให้พิมพ์ชื่อนายวัลลภ เจียรวนนท์ พร้อมด้วยผู้บริหารซีพี ทั้งคณะ เข้าไปเป็นผู้ต้องหาแล้ว โดยเป็นเพียงคำแก้ตัวง่ายๆ ท่ามกลางกระแสข่าวว่ามีการวิ่งเต้น และมีคนพยายามที่จะเชื่อมโยงไปถึง พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรี

เมื่อผ่านพ้นขั้นตอนการแจ้งข้อกล่าวหา โดยไม่สามารถตัดชื่อผู้บริหารบริษัทซีพี ให้พ้นจากสำนวนได้ คตส.ก็ใช้เวลาอีกกว่า 1 ปี ในการสรุปผลการสอบสวนว่าสมควรดำเนินคดีกับผู้ถูกกล่าวหาจำนวน 45 ราย ตัดคณะรัฐมนตรี และคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเพื่อเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 2 ซึ่งเป็นผู้นำเสนอโครงการปลูกยางพารา 1 ล้านไร่ ออกไปทั้งหมด

ผู้ต้องหาของคตส. ในคดีนี้ จึงเหลือเพียง กลุ่มที่ 1. คณะกรรมการนโยบายและมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร (คกช.) บางคน นำโดยนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ ประธานคชก. นายสรอรรถ กลิ่นประทุม นายอดิศัย โพธารามิก นายวราเทพ รัตนากร พร้อมด้วยข้าราชการจากหลายหน่วยงานที่เป็นกรรมการคชก. โดยตำแหน่ง ซึ่งถูกตั้งข้อหาดำเนินคดีอนุมัติเงิน 1,440 ล้านบาท ดำเนินโครงการปลูกยางพารา 1 ล้านไร่ โดยไม่มีอำนาจ

กลุ่มที่ 2. ข้าราชการกรมวิชาการเกษตร ที่เป็นคณะกรรมการประกวดราคา กลุ่มที่ 3. บริษัทเอกชนที่เข้าประกวดราคาทั้ง 3 ราย และ กลุ่มที่ 4 คือ นายเนวิน ชิดชอบ ในฐานะผู้อนุมัติให้รับราคาตามที่ส่วนราชการเสนอมา

หากจำแนกความผิดของทั้ง 45 ราย ที่ถูกคตส. ตั้งข้อหาและสรุปสำนวนส่งให้อัยการสั่งฟ้อง พอจะได้เป็น 3 เรื่องหลัก คือ 1. คณะกรรมการคชก. มีความผิดเนื่องจากอนุมัติให้ใช้เงิน 1,440 ล้านบาทโดยไม่มีอำนาจ 2. ข้าราชการกรมวิชาการเกษตร กับ บริษัทเอกชน มีความผิด เนื่องจาก “ล็อกสเปก” และ “ฮั้ว”ราคา และ 3. นายเนวิน ชิดชอบ มีความผิดเนื่องจาก เซ็นอนุมัติรับราคา โดยไม่ยอมรอให้นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ คนใหม่ ในขณะนั้น มาเป็นคนลงนาม

อย่างไรก็ดีประเด็นที่น่าสนใจของเรื่องนี้ อยู่ตรงที่การดำเนินคดีกับกรรมการ คชก. บางคน และตัดชื่อคนบางคน ออกไป ทั้งๆ ที่เป็นความรับผิดชอบร่วมกัน ในฐานะคณะกรรมการที่ร่วมกันพิจารณาอนุมัติเงิน 1,440 ล้านบาท

มีการตั้งข้อสังเกตุว่า คตส. หยิบชื่อกรรมการคชก. 2 คนออกไปจากสำนวนสอบสวน คือ นายบรรพต หงษ์ทอง ปลัดกระทรวงเกษตรฯ และนายสุทธิพร จีระพันธ์ เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ที่ไม่ตกเป็นผู้ต้องหาของคตส. ทั้งๆ ที่เรื่องนี้เป็นเรื่องของกระทรวงเกษตรฯ โดยเฉพาะนายบรรพต ซึ่งเป็นปลัดกระทรวงเกษตรฯ ต้องเป็นผู้รับผิดชอบโดยตรง

ในขณะที่ นายสิทธิ บุณยรัตผลิน อธิบดีกรมประมง กลับตกเป็นผู้ต้องหา เนื่องจากเป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ โดยตำแหน่ง เช่นเดียวกับ นายปริญญา อุดมทรัพย์ รองอธิบดีกรมการปกครอง ซึ่งไม่น่าจะมีส่วนเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้เลย แต่เป็นกรรมการโดยตำแหน่ง ก็กลับต้องตกเป็นผู้ต้องหา เช่นเดียวกัน

แหล่งข่าวระบุว่ากรณีที่เกิดขึ้น นายบรรเจิด สิงหคเนติ ประธานอนุกรรมการสอบสวนคดีนี้ และ นายนาม ยิ้มแย้ม ประธานคตส. ต้องมีคำอธิบายกับประชาชนว่าเหตุใด ชื่อนายบรรพต หงษ์ทอง จึงหายไป แต่รองอธิบดีกรมการปกครอง หรืออธิบดีกรมประมง ต้องมารับผิดกับเรื่องของกระทรวงเกษตรฯ ที่มีนายบรรพต เป็นปลัดกระทรวงฯ เพราะเหตุใด

พร้อมตั้งข้อสังเกตุด้วยว่า นายนาม ยิ้มแย้ม จะแก้ตัวว่าเจ้าหน้าที่พิมพ์ชื่อผู้ต้องหา “หล่น” อีกหรือไม่ ซึ่งการกระทำของนายนาม ส่อเข้าข่ายการละเว้นปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เข้าด้วยช่วยเหลือผู้กระทำความผิด เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มีโทษจำคุก

ทั้งนี้ หากคตส. ทำงานด้วยความไม่ชัดเจน อาจจะก่อให้เกิดความเข้าใจได้ว่าเป็นการทำงานเพื่อชำระความแค้นส่วนตัว ไม่ได้เป็นการทำงานเพื่อประเทศชาติด้วยความสุจริต