WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Friday, February 8, 2008

วิพากษ์ "ทีมศก.นอมินี" ระวัง! วิกฤตมะกันลามไทย

เหลือเวลาไม่ถึง 15 วัน รัฐบาลโดยการนำของนายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี จะต้องแถลงนโยบายต่อรัฐสภาตามที่รัฐธรรมนูญได้กำหนดเอาไว้ จากนี้ไปเป็นทรรศนะของนักวิชาการด้านเศรษฐศาสตร์ ที่เริ่มจับจ้องนโยบายรัฐบาล และสะท้อนความเป็นห่วงถึงแนวทางการทำงานที่จะมีขึ้นในอนาคตไว้ ดังนี้...

ศ.ดร.สมภพ มานะรังสรรค์

อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เศรษฐกิจโลกปีนี้ค่อนข้างน่าเป็นห่วง เพราะมีปัจจัยที่เสี่ยงต่อการเกิดวิกฤตอยู่หลายปัจจัย โดยเฉพาะสิ่งที่ไม่น่าไว้วางใจที่เกิดจากวิกฤตเศรษฐกิจของสหรัฐที่คาราคาซัง ตรงนี้จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลก ไทยเองน่าจะได้รับผลนั้นเช่นกัน โดยเฉพาะตลาดเงินและตลาดทุนที่รวมถึงตลาดหุ้นและอสังหาริมทรัพย์ ประเทศไทยน่าจะได้รับผลกระทบเต็มๆ ดังนั้น สิ่งที่รัฐบาลต้องพึงระวัง ควรมีนโยบายที่เป็นการรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ และการกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยควรมีนโยบายเร่งด่วนที่มีแผนรองรับเพื่อป้องกันวิกฤตสหรัฐอเมริกาที่กำลังลามเข้ามาไทยเหมือนกับการป้องกันไฟลามเข้าบ้าน โดยไทยควรหันไปมุ่งเน้นการลงทุนธุรกิจทางด้านบริการมากกว่าธุรกิจการส่งออก

เรื่องแรกที่ต้องขบคิดเพื่อรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจคือ การกำหนดทิศทางเศรษฐกิจของประเทศ ที่ควรมีการตั้งกองทุนบริหารความฉุกเฉินทางธุรกิจขึ้นมาเพื่อดูแลเรื่องนี้โดยตรง และสิ่งที่สำคัญคือ การพยุงเศรษฐกิจ ถ้าหากไม่ต้องการให้จีดีพีร่วง รัฐบาลจะต้องเลือกทำสิ่งที่สำคัญเร่งด่วนก่อน ผมมองว่านโยบายประชานิยมไม่ใช่นโยบายเร่งด่วนที่จะไปทำในช่วงนี้ เพราะรัฐบาลชุดที่แล้วก็เคยทำมาและยังมีปัญหาค้างคาอยู่ไม่ได้ถูกแก้ไข และนโยบายนี้ก็มีทั้งจุดอ่อนและจุดแข็ง ถือว่าเป็นดาบสองคมจึงต้องคำนึงว่าควรกระตุ้นให้เกิดการสร้างหนี้หรือไม่

ส่วนนโยบายเมกะโปรเจ็คต์ต่างๆ นั้นต้องยอมรับว่า เรื่องนี้ถือเป็นเสาหลักที่จะพยุงเศรษฐกิจให้เกิดการลงทุน เพราะเราจะไปการหวังพึ่งการส่งออกอย่างเดียวไม่ได้ หากมีการลงทุนทางด้านนี้รัฐบาลควรสร้างแรงจูงใจให้เอกชนเข้ามาลงทุนจนไม่สามารถขยับเขยื้อนไปไหนได้ ตรงนี้จะทำให้การจ้างงาน การนำเข้าวัสดุอุปกรณ์จากต่างประเทศซึ่งจะเป็นเรื่องดี หากมีการนำเข้าในช่วงที่ค่าเงินบาทอยู่ในอัตราที่ไม่สูงมาก

ส่วนรัฐมนตรีที่เข้ามาดูแลกระทรวงทางด้านเศรษฐกิจนั้น เข้าใจว่าที่หน้าตา ครม.เป็นอย่างนี้ เป็นเพราะเป็นรัฐบาลผสมจึงทำให้เกิดการต่อรองสูง ซึ่งถือว่าลดความน่าเชื่อถือต่อนักลงทุนอยู่มาก แต่รัฐบาลควรลดจุดอ่อน ด้วยการบริหารความเป็นเอกภาพของทีมเศรษฐกิจ และผู้ที่เป็นหัวหน้าทีมเศรษฐกิจจะต้องเปิดเกมรุกในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสร้างความเชื่อมั่นกลับคืนมา แม้รัฐมนตรีทางด้านเศรษฐกิจหลายคนจะไม่มีความรู้ด้านเศรษฐกิจมหภาคมากนัก แต่ด้วยให้ที่ปรึกษาติวเข้มและเสริมจุดอ่อนตรงนี้

ผมมองเหมือนที่นักวิชาการและประชาชนทั่วไปมองว่า รัฐมนตรีหลายคนไม่มีความสามารถมากนัก แต่เมื่อตั้งมาแล้วก็ต้องยอมรับและให้ที่ปรึกษาดีๆ ทีมเศรษฐกิจดีๆ เข้ามาช่วย โดยทราบว่ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังไปเรียนเสริมทางด้านการเงินและเอ็มบีเอมาบ้าง แต่ก็ไม่ใช่เศรษฐกิจแบบไมโคร (จุลภาค) ดังนั้น ทางที่ดีก็ควรเรียนรู้ให้มาก เพราะไม่ใช่ว่าจะเรียนรู้ไม่ได้

รศ.ดร.ชัยยันต์ ตัณติวัฒนากร

อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

นโยบายของรัฐบาลส่วนใหญ่เป็นการกระตุ้นการใช้จ่ายระดับรากหญ้า ที่เป็นการก่อหนี้ที่ไม่ได้เน้นการสร้างงานและการลงทุน เชื่อว่าตรงนี้จะเป็นปัญหาระยะยาวที่ยากต่อการแก้ไข อีกทั้งภาวะเศรษฐกิจช่วงนี้เป็นการโหมกระหน่ำจากวิกฤตเศรษฐกิจที่มีสหรัฐอเมริกาเป็นต้นเหตุ ดังนั้น เมื่อมีการกระตุ้นการบริโภค การสร้างหนี้ย่อมเป็นสิ่งน่าเป็นห่วง นอกจากนี้ ยังรู้สึกเป็นกังวลต่อท่าทีของรัฐบาลที่จะมีการปรับอัตราการแลกเปลี่ยนและยกเลิกนโยบายกันเงินทุน 30 เปอร์เซ็นต์ ที่รัฐบาลชุดที่แล้วเคยดำเนินการไว้ เพราะมาตรการนี้ถือว่าสามารถนำมาใช้ได้ในยามจำเป็นไม่ควรจะยกเลิก

ทั้งนี้ ยังเห็นว่าเมื่อกลไกเศรษฐกิจเป็นเช่นนี้ รัฐบาลควรให้อิสระแก่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ไม่ควรเข้าไปแทรกแซงหรือก้าวก่าย แต่กระทรวงการคลังควรจับมือกับธนาคารแห่งประเทศไทย เพื่อแก้ไขปัญหาวิกฤตของเศรษฐกิจที่มีสหรัฐ เป็นต้นทาง โดยควรดูแลอัตราดอกเบี้ยไม่ให้สูงมากนัก และสิ่งหนึ่งที่รัฐบาลจะต้องพึงระวังและหามาตรการมาสร้างภูมิคุ้มกัน เพื่อไม่ให้เศรษฐกิจของประเทศพังและพึ่งตัวเองให้มากที่สุด แต่ไม่ใช่ว่าจะไปปิดประเทศไม่ให้นักลงทุนเข้ามา

เห็นด้วยที่รัฐบาลชุดนี้จะกระตุ้นการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน แต่ควรพิจารณาดูว่า นโนบายใดเป็นนโยบายที่เร่งด่วน โดยเรียงลำดับความสำคัญก่อนหลัง โดยเฉพาะการสร้างรถไฟฟ้าที่ควรพิจารณาว่า รถไฟฟ้าสายไหนมีความสำคัญมากกว่า

คณะรัฐมนตรีในภาพรวม ผมเห็นว่ารัฐมนตรีที่ดูแลด้านเศรษฐกิจส่วนใหญ่จะไม่ใช่ตัวจริง แต่เป็นนอมินีเข้ามาทำงานแทน ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วง เพราะหากเจ้ากระทรวงไม่มีความรู้เกี่ยวกับเรื่องเศรษฐกิจ แต่จะไปอาศัยการฟังข้อมูลจากผู้ช่วยและที่ปรึกษา บางครั้งอาจจะมีปัญหา ผมเข้าใจดีว่ารัฐบาลชุดนี้มีปัญหาด้านตัวบุคคล เพราะติดปัญหาอดีตกรรมการบริหารพรรคถูกตัดสิทธิ