WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Monday, March 31, 2008

6 ประเทศลุ่มแม่น้ำโขงลงนามร่วมพัฒนาอนุภูมิภาคให้มีประสิทธิภาพ

ลาว 31 มี.ค. - ที่ประชุมสุดยอดความร่วมมือทางเศรษฐกิจลุ่มแม่น้ำโขง ลงนามในแถลงการณ์ร่วมกำหนดทิศทางการดำเนินงานในอนาคต ต่อยอดการพัฒนาเส้นทางคมนาคมให้เป็นพื้นฐานเศรษฐกิจอย่างเป็นรูปธรรม พร้อมอำนวยความสะดวกทางการค้าและการลงทุน

“อณัญญา ตั้งใจตรง” ผู้สื่อข่าวสำนักข่าวไทย ที่ติดตามภารกิจของนายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี และคณะ เดินทางเยือนสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เพื่อเข้าร่วมประชุมสุดยอดกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (GMS) ครั้งที่ 3 ระหว่างวันที่ 30-31 มี.ค. 2551 รายงานว่า เวลา 09.10 น. วันนี้ (31 มี.ค.) นายกรัฐมนตรีได้ร่วมพิธีเปิดการประชุมสุดยอดกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ครั้งที่ 3 ที่โรงแรมดอนจัน พาเลซ

ทั้งนี้ ระหว่างการประชุม ผู้นำ 6 ประเทศ ได้แก่ ไทย พม่า ลาว กัมพูชา เวียดนาม และจีน ได้หยิบยกประเด็นต่าง ๆ ขึ้นหารือ โดยนายกรัฐมนตรีได้กล่าวถึงการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เพื่อเสริมสร้างศักยภาพการแข่งขัน และย้ำว่า การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เป็นเรื่องสำคัญ ซึ่งหัวข้อที่ควรหารือ คือ การเตรียมพร้อมให้เยาวชนสามารถปรับตัวกับยุคโลกาภิวัตน์ได้ เพื่อให้เกิดสังคมแห่งการเรียนรู้ และการเรียนรู้ตลอดชีวิต สร้างความมั่นคงปลอดภัยให้แก่ประชาชนในอนุภูมิภาค โดยเฉพาะด้านสุขภาพ รายได้ อาหาร และควรเพิ่มทักษะแรงงาน เพื่อทำให้เกิดการจ้างงานในอนุภูมิภาคร่วมกัน

“การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ควรเน้นด้านแรงงาน สาธารณสุข และการศึกษา ซึ่งสมาชิก GMS จำเป็นต้องยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชน ให้สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาในอนาคต พร้อมกับการเพิ่มบทบาทการดูแลการข้ามพรมแดนของแรงงาน ที่สำคัญคือเร่งพัฒนาชุมชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งชุมชนในชนบท ให้เข้มแข็งและอยู่ได้ด้วยตนเอง” นายกรัฐมนตรี กล่าว

นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ที่ผ่านมาไทยสนับสนุนการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และได้ร่วมมือจัดตั้งสถาบันความร่วมมือเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจลุ่มน้ำโขง จึงเรียกร้องให้ประเทศสมาชิก GMS ร่วมมือกันสนับสนุนการดำเนินงานของสถาบัน โดยรัฐบาลไทยพร้อมให้ความร่วมมือทางวิชาการแก่ประเทศสมาชิก ในลักษณะทวิภาคีและกรอบความร่วมมือต่าง ๆ

โอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีได้ชักชวนให้ประเทศสมาชิก GMS สนับสนุนแนวความคิดหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนา ที่จะช่วยพัฒนาศักยภาพของประเทศ GMS ด้วย จากนั้น ผู้นำ GMS ได้ร่วมในพิธีฉลองความสำเร็จโครงการภายใต้กรอบ GMS ประกอบด้วยพิธีฉลองการเปิดเส้นทาง R 3 ตามแนวเส้นทางเศรษฐกิจเหนือ-ใต้ จากไทย-ลาว-จีน พิธีฉลองความสำเร็จของการเชื่อมโยงโครงข่ายเทคโนโลยี่สารสนเทศและการสื่อสาร และพิธีลงนามในบันทึกความเข้าใจ เรื่อง Roadmap for Implementing the GMS cross border power trading ที่สำคัญวันนี้ผู้นำ GMS ได้ร่วมลงนามในแถลงการณ์ร่วมของผู้นำ 6 ประเทศ

ทั้งนี้ แถลงการณ์ร่วมมีสาระสำคัญ คือ รับทราบความก้าวหน้าการดำเนินแผนงาน GMS กำหนดทิศทางการดำเนินงานในอนาคต ที่จะเร่งรัดเชื่อมโยงโครงข่ายโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อยกระดับความสามารถการแข่งขันของกลุ่ม ต่อยอดการพัฒนาเส้นทางคมนาคม ให้เป็นแนวพื้นที่พัฒนาเศรษฐกิจอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อส่งเสริมการค้า การลงทุน การท่องเที่ยวระหว่างกัน เร่งอำนวยความสะดวกกิจกรรมทางเศรษฐกิจข้ามพรมแดน โดยผลักดันการดำเนินงานตามความตกลงขนส่งข้ามพรมแดน

กรอบกลยุทธ์การดำเนินงานอำนวยความสะดวกการค้าและการลงทุน ซึ่งจะเป็นการทำงานเชิงรุก แก้ปัญหาข้ามพรมแดน เช่น โรคติดต่อ การข้ามแดนผิดกฎหมายของแรงงาน นอกจากนี้ จะสร้างความเข้มแข็งของภาคเอกชน เปิดโอกาสให้ท้องถิ่น ประชาชน และเยาวชนมีส่วนร่วมในการพัฒนา เพื่อยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชน และลดความยากจนให้เกิดประสิทธิผล

นอกจากนี้ เห็นชอบผลการศึกษาทบทวนกลางรอบ และแผนปฏิบัติการเวียงจันทน์ระยะ 4 ปี ระหว่างปี 2551-2555 ขอความร่วมมือ 9 สาขา ได้แก่ คมนาคม พลังงาน ที่จะมีการซื้อขายไฟฟ้าที่มีประสิทธิภาพและยั่งยืน โทรคมนาคม เกษตร สิ่งแลดล้อม ที่จะช่วยลดภาวะโลกร้อน และร่วมมือใกล้ชิดอนุรักษ์ป่าไม้ ท่องเที่ยว ทรัพยากรมนุษย์ การอำนวยความสะดวกทางการค้าและลงทุน

“ความร่วมมือกันครั้งนี้ จะก่อให้เกิดประโยชน์ระหว่างประเทศสมาชิกและประชาชน เกิดความเชื่อมโยงระหว่างกัน เพื่อการพัฒนาในอนุภูมิภาคอย่างมีศักยภาพและประสิทธิภาพ” แถลงการณ์ร่วมระบุ

หลังจากนั้น นายบัวสอน บุบผาวัน นายกรัฐมนตรีลาว เป็นเจ้าภาพเลี้ยงอาหารกลางวันแก่ผู้นำประเทศสมาชิก. -สำนักข่าวไทย


อัพเดตเมื่อ 2008-03-31 14:23:25