WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Tuesday, April 1, 2008

30 องค์กรมีมติตั้ง กก.ขับเคลื่อนการแก้รัฐธรรมนูญ


กทม.31 มี.ค.- 30 องค์กรระดมแนวคิดแก้รัฐธรรมนูญปี 2550 หนุนแก้ไขเต็มที่ โดยนำ รธน.ปี 2540 มาเป็นหลัก รวมทั้งมีมติตั้งกรรมการขับเคลื่อนการแก้ไข รธน.ด้าน “นพ.เหวง” เดินหน้าล่า 50,000 รายชื่อ เพื่อเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญ พร้อมเปิดเวทีปราศรัยให้ความรู้ทั่วประเทศ

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เวลา 13.00 น. วันนี้ (31 มี.ค.) ที่โรงแรมเดอะแกรนด์อยุธยา บางกอก ได้จัดเสวนา เวทีระดมความเห็นเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญปี 2550 โดยมี 30 องค์กรเข้าร่วม อาทิ สมาพันธ์ประชาธิปไตย กลุ่มพลเมืองภิวัฒน์ กลุ่มคนวันเสาร์ไม่เอาเผด็จการ สมาพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย นักวิชาการ นักการเมือง นิสิต นักศึกษา เข้าร่วม

นพ.สันต์ หัตถีรัตน์ ประธานมูลนิธิวีรชนประชาธิปไตย กล่าวว่า เป้าหมายของการเสวนาครั้งนี้ คือระดมความเห็นในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ บางมาตรา หรือทั้งฉบับ ตั้งกรรมการขึ้นมาศึกษาปัญหาและแก้ไขรัฐธรรมนูญในระดับภาคประชาชน และรณรงค์ให้ประชาชนตื่นตัวเห็นความสำคัญในการยกเลิกรัฐธรรมนูญ และนำรัฐธรรมนูญที่ประชาชนมีส่วนร่วมมาใช้

นายคำนวณ ชโลปถัมภ์ อดีต ส.ว. เสนอให้นำรัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 มาประกบกับฉบับปี 2550 โดยดึงข้อดีมาใช้ และแก้ไขโดยรวม ไม่ใช่เฉพาะบางมาตรา เพราะจะกลายเป็นว่าแก้ไขเพื่อประโยชน์ของตัวเอง พร้อมเห็นว่าควรตั้งกรรมการขึ้นมาศึกษาแต่ละด้านของรัฐธรรมนูญ

ขณะที่นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา อดีตกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย เห็นว่า รัฐธรรมนูญฉบับปี 2550 มีจุดบกพร่องมาก ขณะที่รัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 ได้ยกร่างในบรรยากาศการปฏิรูปการเมืองอย่างแท้จริง แต่รัฐธรรมนูญฉบับปี 2550 ได้ยกร่างภายใต้ระบอบเผด็จการ ทั้งนี้ ส่วนตัวไม่เห็นด้วยกับประเด็นที่มาของ ส.ว.สรรหา ดังนั้นควรนำรัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 มาเป็นตัวตั้ง เพื่อให้การแก้ไขง่ายขึ้น และเห็นว่าการแก้ไขทีเดียวทั้งฉบับต้องใช้เวลา จึงเห็นว่าควรแก้ไขบางส่วนที่มีปัญหา เพื่อนำไปสู่การกลับไปใช้รัฐธรรมนูญปี 2540

นายคณิน บุญสุวรรณ อดีตสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) กล่าวว่า จะแก้ไขรัฐธรรมนูญปี 2550 หรือไม่แก้ไข ก็จะก่อให้เกิดความยุ่งยาก เพราะจะมีอีกฝ่ายลุกขึ้นมาประท้วง และเกิดการต่อสู้ไม่มีวันจบ จึงเสนอให้นำรัฐธรรมนูญปี 2540 มายกร่างใหม่ทั้งฉบับ และให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการยกร่าง โดยไม่เกี่ยวข้องกับพรรคการเมืองหรือกลุ่มการเมืองที่ออกมาเคลื่อนไหว แต่เป็นรัฐธรรมนูญของประชาชนอย่างแท้จริง อย่างไรก็ตาม ในมาตรา 237 วรรคสอง และมาตรา 68 วรรคสี่ เป็นหลักการที่ไม่เคยปรากฏหรือต่อยอดจากรัฐธรรมนูญปี 2540 แต่ต่อยอดจากรัฐธรรมนูญชั่วคราว ปี 2549 มาตรา 35 และประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข (คปค.) ฉบับที่ 27 ซึ่งเป็นความพยายามในการสืบทอดอำนาจ กำจัด และสกัดกั้นไม่ให้คนบางกลุ่มมีอำนาจในระบอบประชาธิปไตย ทั้งนี้ รัฐธรรมนูญปี 2550 เกินกว่าที่จะเรียกว่าตุลาการภิวัฒน์ แต่เป็นจตุรมาตประชาธิปไตย

ด้านนายสุขุมพงศ์ โง่นคำ ส.ส.สัดส่วน พรรคพลังประชาชน ยืนยันว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญของพรรคไม่ใช่ต้องการให้พ้นผิดหรือหลีกเลี่ยงการถูกยุบพรรค แต่ต้องการแก้ไขให้ประชาชนเป็นเจ้าของประชาธิปไตยอย่างแท้จริง

ส่วนนายจรัล ดิษฐาอภิชัย อดีตกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เสนอให้ยกเลิกรัฐธรรมนูญ 2550 และนำรัฐธรรมนูญปี 2540 มาแก้ไขเพิ่มเติมและบังคับใช้ให้แล้วเสร็จภายในสมัยประชุมสภาผู้แทนราษฎรนี้ หรือเดือนพฤษภาคมนี้

นพ.เหวง โตจิราการ ประธานสมาพันธ์ประชาธิปไตย เสนอให้ล่ารายชื่อประชาชน 50,000 รายชื่อ เสนอร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญปี 2550 โดยยกเลิกรัฐธรรมนูญปี 2550 และนำรัฐธรรมนูญปี 2540 มาใช้ และแก้ไขในบางประเด็น อย่างไรก็ตาม ทางกลุ่มเตรียมเคลื่อนไหวด้วยการเปิดเวทีปราศรัยทั่วกรุงเทพฯ และทั่วประเทศ โดยในเดือนเมษายนนี้ จะเปิดเวทีใหญ่ที่สวนลุมพินี เพื่อให้ความรู้ ความเข้าใจกับประชาชนในเรื่องดังกล่าว และล่ารายชื่อไปด้วย พร้อมให้พรรคพลังประชาชนช่วยผลักดันในการแก้ไข

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ช่วงหลังของการเสวนา ได้มีการโหวตลงมติให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยใช้รัฐธรรมนูญปี 2540 เป็นหลัก พร้อมตั้งกรรมการขับเคลื่อนการแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยให้นายจรัล ดิษฐาอภิชัย เป็นประธานชั่วคราว และจะมีการประชุมในวันพรุ่งนี้ (1 เม.ย.) เพื่อกำหนดทิศทางในการดำเนินการ ขณะที่ในวันที่ 4 เมษายน อาจมีการเปิดเวทีรับฟังความเห็นจากประชาชน ตามสถานที่ต่าง ๆ ในกรุงเทพฯ.-สำนักข่าวไทย


อัพเดตเมื่อ 2008-03-31 19:11:30