WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Thursday, April 3, 2008

สวน‘พันธมิตร’ อาชญากรปชต.ตัวจริง * ‘ม็อบไข่ป๋า’ ต้นเหตุทำสภาป่วน

สวนกลับแถลงการณ์ “พันธมิตร” ใครกันแน่ที่เป็นอาชญากรประชาธิปไตย ร่วมกันเปิดประตูให้ทหารเข้ามายึดอำนาจ ฉีกทิ้งรัฐธรรมนูญ จนบ้านเมืองต้องอยู่ในบรรยากาศเผด็จการนานนับปี แถมเนื้อหาในแถลงการณ์ยังพาดพิงเบื้องสูงจนส่อว่าอาจถึงขั้นถอนประกันตัว “เจ๊กลิ้ม” ซัดพวกที่ออกมาขวางล้วนเป็นพวก “อำมาตยาธิปไตย” ขณะที่วิปรัฐบาลเดินหน้าแก้ไข รธน. คาดเริ่มพิจารณาได้ปลายเดือนนี้ ขณะที่ญัตติกรณี “สมเกียรติ” ร่วมวงพันธมิตรฯ จุดชนวนความขัดแย้งในสภา

ท่ามกลางกระแสการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่หลายฝ่ายต่างเห็นพ้องว่าจะต้องเร่งดำเนินการ ก่อนจะเกิดความเสียหายตามมามากมาย โดยเฉพาะผลกระทบที่จะเกิดกับการเมืองและการบริหารบ้านเมือง โดยหลายกลุ่มได้มีการผนึกกำลัง และกำหนดการเคลื่อนไหว พร้อมทั้งกิจกรรมกันต่างๆ เอาไว้อย่างต่อเนื่อง นั้น

ขณะเดียวกันทางฝ่ายพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ที่ค้านหัวชนฝาทุกเรื่องที่เป็นความคิดความเห็นของรัฐบาล ก็ออกแถลงการณ์ ฉบับที่ 5 ระบุหัวเรื่องว่า “พร้อมต่อต้านอาชญากรประชาธิปไตยล้มล้างรัฐธรรมนูญฟอกความผิดให้ตัวเอง”

โดยกลุ่มพันธมิตรฯ ได้คัดค้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยเฉพาะมาตรา 237 และมาตรา 309 ทั้งยังคงอ้างถึงคำว่า “ระบอบทักษิณ” และคำว่า “ทุนนิยมสามานย์” ทั้งที่ก่อนหน้านี้นักวิชาการหลายต่อหลายคนเคยอกมาท้วงติงไปแล้วว่าคำพูดเหล่านี้ไม่ได้มีอยู่จริงและไม่มีความหมาย

พร้อมกันนี้กลุ่มพันธมิตรยังประกาศว่าจะขัดขวางการแก้ไขรัฐธรรมนูญทุกรูปแบบ และจะยื่นเรื่องให้อัยการสูงสุดตรวจสอบข้อเท็จจริงและยื่นคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญ วินิจฉัยสั่งการให้เลิกการกระทำดังกล่าว หรือยื่นให้เกิดยุบพรรคการเมือง

พร้อมกับประกาศล่า 2 หมื่นรายชื่อ ยื่นถอดถอน ส.ส. พรรคพลังประชาชนที่เคลื่อนไหวแก้รัฐธรรมนูญ และขู่ว่าจะปลุกประชาชนเข้าร่วมการต่อต้านทุกรูปแบบ

ย้อนพันธมิตรอาชญากรปชต.ตัวจริง
นายจรัล ดิษฐาอภิชัย ประธาน คปร. กล่าวถึงแถลงการณ์ดังกล่าวว่าเป็นการประดิษฐ์วาทกรรมขึ้นมาใหม่อีก ออกมากล่าวหาว่ารัฐบาลพรรคพลังประชาชนเป็นอาชญากรประชาธิปไตย แต่ดกูดีๆ ว่าใครกันแน่นเป็นอาชญากรประชาธิปไตย ที่เมื่อ 2 ปีที่แล้วร่วมล่มประชาธิปไตยด้วยการเปิดประตูให้ทหารเข้ามา เพราะฉะนั้นคนที่เป็นอาชญากรประชาธิปไตยที่แท้จริง และทำมาเรื่อยๆ ก็คือพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ที่เป็นอาชญากรประชาธิปไตยที่แท้จริง เป็นกลุ่มคนที่ออกมาทำลายระบอบประชาธิปไตย

“การกล่าวหาว่ารัฐบาลแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อประโยชน์ของตัวเอง ก็ต้องกลับไปถามว่าใครกันแน่ที่ออกมาเคื่อนไหวจนเกิดการสืบอำนาจเผด็จการ คนพวกนี้และพันธมิตรฯ ต่างหากที่มองเห็นแต่ประโยชน์ตัวเองชัดเจนยิ่งกว่า และคนพวกนี้แหละที่เป็นอาชญากรทางประชาธิปไตย เป็นมือสังหารประชาธิปไตย”

ถาม “พันธมิตร”เจ็บปวดอะไรนักหนา
นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงแถลงการณ์ดังกล่าวว่า เรื่องนี้เป็นข้อสรุปมาตั้งนานแล้วว่าการที่รัฐบาลชุดนี้จะทำอะไรก็ตาม กลุ่มพันธมิตรจะต้องออกมาขวาง ออกมาต่อต้านอย่างยิ่ง ทั้งนี้ไม่อาจทราบได้ว่าไปสร้งความทรมานใจอะไรให้กลุ่มพันธมิตรฯ อีกทั้งไม่เข้าใจว่าการแก้รัฐธรรมนูญที่จะทำให้เป็นประโยชน์ต่อประชาชนและบ้านเมืองไปสร้างความเจ็บปวดอะไรให้

“ไม่ทราบว่าการแก้รัฐธรรมนูญให้เป็นประโยชน์ต่อบ้านเมืองและประชาชน สร้างความปวดแสบปวดร้อนอะไรนักหนากับกลุ่มพันธมิตร”

นายณัฐวุฒิ กล่าวอีกว่า การดำเนินการใดๆ ที่เกี่ยวกับรํฐธรรมนูญแม้ไม่ได้เป็นหุ้นส่วนหรือเป็นหุ้นส่วนข้างน้อย ย่อมเป็นธรรมดากับการที่หุ้นส่วนข้างมากจะมีเสียงสนับสนุนมากกว่าหุ้นส่วนที่เป็นเผด็จการ

พวกคัดค้านเป็นพวกอำมาตยาธิปไตย
การที่นายสนธิบอกว่าการพยายามแก้รัฐธรรมนูญอาจนำไปสู่การสูญสิ้นอำนาจระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ที่อยู่ในคำแถลงการณ์ฉบับที่ 5 นั้นเป็นข้อกล่าวหาที่ร้ายแรง ซึ่งคำพูดที่นายสนธิ พูดนั้นเป็นประเด็นที่ศาลได้เคยระบุไว้ในคำอนุญาตให้พิพากษาไม่ลงอาญา หรือคำพูดนี้จะนำไปสู่การเพิกถอนอนุญาติให้ประกันตัวหรือไม่

พร้อมทั้งแสดงความเชื่อด้วยว่าใครก็ตามที่พยายามจะขัดขวางการแก้รัฐธรรมนูญ ย่อมมีความเป็นเผด็จการหรืออยู่ในระบอบอำมาตยาธิปไตย

อย่างไรก็ตามตนยังยืนยันว่ารัฐบาลไม่ควรแก้รัฐธรรมนูญมาตราใดใตราหนึ่ง แต่ควารแก้ทั้งฉบับ ทั้งนี้อยากให้รัฐธรรมนูญฉบับนี้เป็นฉบับประชาธิไตยฉบับสมบูรณ์ อีกทั้งการแก้มาตราใดมาตราหนึ่งอาจทำให้รัฐธรรมนูญเป็นปัญหาได้

แก้รธน.สร้างความเป็นธรรมให้สังคม
ด้านนายชูศักดิ์ ศิรินิล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ย้ำว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญก็เพื่อเป็นการนำหลักนิติศาสตร์-นิติรัฐ กลับคืนมาและเพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการดำเนินการขององค์กรที่แต่งตั้ง โดยคณะรัฐประหาร ฟ้องร้องต่อสู้คดีได้ โดยไม่ได้เป้นการแก้ไขเพื่อไม่ให้มีการยุบพรรคหรือเพื่อตนเอง ขณะเดียวกันได้มีการตั้งคณะกรรมการขึ้นมาเพื่อศึกษาแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับแล้ว

อย่างไรก็ตามรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรียังเน้นว่า การออกมาเคลื่อนไหวคัดค้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญของนักวิชาการนั้นถือว่าเป็นสิทธิ์ตามรัฐธรรมนูญ

“สมชาย”ห่วงแก้รธน.เป็นชนวนแตกแยก
ทางด้านนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.ศึกษาธิการ ยอมรับ เป็นห่วงความรุนแรงที่อาจจะเกิดขึ้นจากการแก้ไขรัฐธรรมนูญ หลังมีหลายฝ่ายออกมาแสดงท่าทีคัดค้าน ซึ่งถือว่าเป็นสิทธิตามระบอบประชาธิปไตย แต่ทั้งนี้เห็นว่าท้ายที่สุดแล้วก็ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของประชาชน อย่างไรก็ตาม เห็นว่าปัญหาดังกล่าวจะไม่บานปลาย หากทุกฝ่ายยึดมั่นในกรอบกติกา เพราะการแก้ไขรัฐธรรมนูญของรัฐบาลนั้นถือเป็นความชอบธรรมตามกรอบกฎหมาย

สุดท้ายประชาชนจะเป็นคนตัดสิน
ส่วนกรณีชมรม ส.ส.ร.50 ออกมาระบุ จะยื่นถอดถอนหาก ส.ส.แก้รัฐธรรมนูญ เพื่อผลประโยชน์ของตนเองว่า ขณะนี้ฝ่ายที่ต้องการแก้รัฐธรรมนูญ ก็อ้างต้องการทำให้เป็นประชาธิปไตยมากขึ้น และใช้กลไกตามรัฐธรรมนูญ กำหนดทั้งช่องทางและวิธีการ ซึ่งมีการระบุไว้ชัดว่าต้องทำอย่างไร เช่นเดียวกับผู้ที่อ้างจะถอดถอน ส.ส.ก็เป็นการใช้กลไกตามรัฐธรรมนูญ เมื่อเป็นเช่นนี้เห็นว่า เรื่องดังกล่าวเป็นเรื่องของรัฐสภา ซึ่งถือเป็นกลไกตามระบอบประชาธิปไตย

อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าที่สุดแล้วประชาชนทั้ง 63 ล้านคน จะเป็นผู้ตัดสิน

สำหรับความเหมาะสมของเวลา และประเด็นในการแก้ไขรัฐธรรมนูญจะต้องแก้ไขให้เสร็จก่อนการตัดสินคดียุบพรรคการเมืองหรือไม่ นายสมชาย เห็นว่า เรื่องดังกล่าวเป็นเรื่องของคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาลจะดำเนินการ

“เฉลิม” ย้ำแก้ ม.309 ไม่ใช่ปกป้องทักษิณ
ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เปิดเผยว่า กรณีที่หลายฝ่าย รวมทั้ง พรรคประชาธิปัตย์ ไม่เห็นด้วยกับการแก้รัฐธรรมนูญ ว่าฝ่ายค้านวิจารณ์และไม่เห็นด้วย ถือเป็นเรื่องปกติ ไม่ต้องตื่นเต้นตกใจ แต่เห็นว่า การที่อดีตสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) บางส่วนออกมาเคลื่อนไหว รณรงค์ให้ผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ออกมาเรียกร้องให้รัฐบาลยุติ เป็นเรื่องที่ไม่ยุติธรรม ขอยืนยันว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญสามารถทำได้ และรัฐบาลไม่ได้ทำเพื่อประโยชน์ของตัวเอง ดังนั้น จะต้องดูว่าสุดท้ายแล้ว ที่ประชุมรัฐสภาจะมีความเห็นอย่างไร

ต่อกรณีที่พรรคประชาธิปัตย์ระบุว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 309 เป็นการทำเพื่อช่วยเหลือ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ให้พ้นคดีที่อยู่ในการพิจารณาของคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) ร.ต.อ.เฉลิม กล่าวว่า ที่ผ่านมาก็มีการออกรัฐธรรมนูญ ฉบับชั่วคราว นิรโทษกรรมความผิดในการปฏิวัติรัฐประหารเรียบร้อยไปแล้ว แล้วเหตุใดรัฐธรรมนูญ ฉบับถาวร จึงยังมีมาตรา 309 อีก

ท้าปชป.ออกมาการันตีมาตรา309
นอกจากนี้ ร.ต.อ.เฉลิม กล่าวว่า ในส่วนของ คตส. ก็ยังมีคำสั่งคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) ฉบับที่ 30 กำหนดว่า ถ้า คตส.ทำงานไม่เสร็จ ก็ให้ส่งเรื่องต่อให้ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ดำเนินการต่อ เรื่องก็จบ และเดือนมิถุนายนนี้ คตส. ก็ต้องยุบตัวเองตามกฎหมายกำหนด แต่เวลานี้ คตส.ทำไมยังอ้อยอิ่งอยู่ แล้วเรื่องนี้เกี่ยวอะไรกับการแก้รัฐธรรมนูญ มาตรา 309

“หากพรรคประชาธิปัตย์ยอมรับมาตรา 309 ก็ออกมายืนยันกับสังคม ถ้าประชาชนเห็นด้วยกับจุดยืน พรรคประชาธิปัตย์ก็ได้ที่นั่งเยอะ แต่พรรคพลังประชาชนไม่เห็นด้วย เพราะใส่ไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวเยอะแล้ว คุณยังเอามาใส่ไว้ในฉบับถาวรอีก ในอดีตที่ทำไว้แล้วไม่ผิด แต่ยังแปลความว่า ในอนาคตยังจะคุ้มครองอีก ผมไม่มีวันเห็นด้วย ส่วนเหตุผลเอาไว้พูดในสภาฯ อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้ไม่ได้ปกป้อง พ.ต.ท.ทักษิณ เพราะคดีอยู่ที่ศาลฎีกาแล้ว” ร.ต.อ.เฉลิม กล่าว

เริ่มถกแก้รธน.ได้ปลายเดือนเมษา
ขณะที่การประชุมคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล หรือ วิปรัฐบาล วันเดียวกันนี้ ได้นำผลการหารือของที่ประชุมแต่ละพรรคร่วมรัฐบาล ในเรื่องการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญเข้าหารือเพื่อสรุปเป็นร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญที่จะเสนอร่วมกัน ในนาม ส.ส.พรรคร่วมรัฐบาล

นายสุขุมพงศ์ โง่นคำ รองประธานวิปรัฐบาล เปิดเผยว่า ขณะนี้มี ส.ส.พรรคพลังประชาชน ลงชื่อกว่า 200 คน เพื่อเตรียมยื่นญัตติขอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญให้รัฐสภาเป็นผู้พิจารณาแล้ว และจะมี ส.ส.พรรคร่วมรัฐบาลร่วมลงรายชื่อด้วย โดยจะยื่นรายชื่อพร้อมกันต่อประธานรัฐสภา ในสัปดาห์หน้า คาดว่าจะสามารถบรรจุให้ที่ประชุมรัฐสภาพิจารณาในวาระแรกได้ประมาณปลายเดือนเมษายน และพิจารณาในวาระ 2 และ 3 ระหว่างที่รัฐสภาเปิดประชุมสมัยวิสามัญเพื่อพิจารณาร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2552

วิปรัฐบาลยันม.291มีสิทธิยื่นแก้รธน.
ทั้งนี้ นายสุขุมพงศ์ ยืนยันว่า การเสนอขอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ไม่ได้เป็นการกระทำผิดตามรัฐธรรมนูญมาตรา 122 โดยยืนยันว่า ส.ส.สามารถเสนอญัตติขอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญได้โดยชอบธรรม ไม่ถือเป็นการใช้สิทธิโดยไม่ถูกกต้อง หรือทำเพื่อประโยชน์ส่วนตัว และย้ำว่าการเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญในครั้งนี้ ไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 มาตรา 122 (ปฏิบัติหน้าที่เพื่อประโยชน์ส่วนรวม ไม่ขัดกันแห่งผลประโยชน์)

ทั้งนี้ การเสนอญัตติแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นไปตามมาตรา 291 ที่เปิดโอกาสให้ ส.ส.สามารถเข้าชื่อเพื่อยื่นแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยใช้เสียง 96 เสียง ในวาระแรก และการขอความเห็นชอบในวาระ 3 ให้ใช้เสียงเกินกึ่งหนึ่งของรัฐสภา จึงจะผ่านความเห็นชอบ

ชมรม ส.ว.เปิดเวทีถกแก้รธน.
ขณะที่วันเดียวกันนี้ ชมรม ส.ว.43-49 นำโดยนายคำนวณ ชโลปถัมภ์ อดีตส.ว.สิงห์บุรี นายสามารถ รัตนประทีปพร อดีตส.ว.หนองบัวลำภู ร่วมกันแถลงว่า ชมรมฯ ร่วมกับสภาทนายความ สหภาพครูแห่งชาติ จะจัดสัมมนาวิชาการหัวข้อ “แก้รัฐธรรมนูญปี 50 เพื่อใคร ? ประชาชนได้อะไร ?” ในวันที่ 7 เม.ย.นี้ เวลา 13.30 น.-16.00 น.ที่โรงแรมรามาการ์เดน
เพื่อเป็นเวทีกลางในการแสดงความเห็นและหาข้อสรุปร่วมกันเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เนื่องจากเรื่องดังกล่าวเป็นที่ถกเถียงในสังคมมาก และมีการเผยแพร่ข่าวทำนองว่า การแก้รัฐธรรมนูญทำเพื่อตัวนักการเมือง มีเจตนาแฝงเร้น ชมรมฯ จึงจัดเวทีกลางเพื่อขจัดปัญหาข้อขัดแย้งทางความคิดว่าควรจะแก้แค่ 7 ประเด็นตามที่วิปรัฐบาลเสนอ หรือควรจะแก้ทั้งฉบับ

อดีตนายกสภาทนายหนุนแก้ม.237

ทั้งนี้จะมีวิทยากรได้แก่ นายกระมล ทองธรรมชาติ อดีตตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ นายคิม ไชยแสนสุข อธิการบดีมหาวิทยาลัยรามคำแหง นายอมร วาณิชวิวัฒน์ อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นายวรพล พรหมิกบุตร อาจารย์คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ดำเนินรายการโดยนายสุขุม เฉลยทรัพย์ รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต

นายคำนวณ กล่าวด้วยว่าส่วนตัวเห็นด้วยกับรัฐบาล กรณีที่พยายามแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยเฉพาะมาตรา 237โดยไม่ควรเหมารวมคนที่ไม่ได้กระทำความผิดกฎหมายเลือกตั้ง และควรจะลงโทษกรรมการบริหารพรรคที่กระทำผิดเพียงคนเดียวจะเหมาะสมกว่า ทั้งนี้ยังมีมาตรา 309 ยังเป็นการขัดต่อกระบวนการยุติธรรม ที่ยังไปคุ้มครององค์กรที่แต่งตั้งโดย คมช.

“ม็อบไข่ป๋า”ชนวนทำสภาปั่นป่วน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าบ่ายวันเดียวกันนี้ ในการประชุมสภาฯ ได้มีการพูดจากันถึงกรณีที่นายสมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์ ซึ่งมีสถานภาพเป็น ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ ไปร่วมขึ้นเวทีกับกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย และนายสมเกียรติ ได้ใช้สิทธิพาดพิงออกมาพูดจาท้าทายกลางห้องประชุม ให้สมาชิกเข้าชื่อถอดถอนหากเห็นว่าการขึ้นเวทีพันธมิตรฯ ขัดต่อรัฐธรรมนูญ พร้อมทั้งท้าดวลนอกสภา

จนเป็นเหตุให้เมื่อ นายสมเกียรติ ได้เดินออกจากห้องประชุมมายังห้องรับรอง ส.ส.ชั้น 2 ตึกอาคารรัฐสภา 1 ได้เกิดการกระทบกระทั่งกับ นายการุณ โหสกุล ส.ส.เขตดอนเมือง พรรคพลังประชาชน ที่ไม่พอใจกับอาการท้าทายดังกล่าวขึ้น
อย่างไรก็ตามท่ามกลางเสียงตำหนินายการุณ จากฝ่ายพันธมิตรฯ กรณีแบบเดียวกันนี้ก็เคยเกิดขึ้นมาแล้ว เมื่อ 2 พฤศจิกายน 2547 จากกรณีที่ พล.ต.อ.ประทิน สันติประภพ ส.ว.กรุงเทพมหานคร ซึ่งภายหลังเป็นหนึ่งในผู้ที่รวมเวทีพันธมิตรฯ ก่อนการรัฐประหาร ได้ปล่อยหมัดใส่นายอดุลย์ วันไชยธนวงศ์ ส.ว.แม่ฮ่องสอน จากความขัดแย้งในการอภิปรายในสภา

อดีตครม.ขิงแก่แนะฟังเสียงประชาชน
ด้านนายวรากรณ์ สามโกเศศ อดีตรัฐมนตรีช่วยกระทรวงศึกษาธิการ เปิดเผยถึง การดำเนินการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ของรัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี ว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ เพราะกฏหมายฉบับนี้ผ่านการลงประชามติ

ดังนั้น การจะทำอะไรกับกฏหมายรัฐธรรมนูญ ก็จะต้องเคารพมติของประชาชน ไม่ใช่ว่าได้รับการเลือกตั้งเข้ามาแล้วก็ใช้อำนาจเข้ามาแก้ไข เพราะการบริหารประเทศ ไม่ได้สิ้นสุดแค่การเลือกตั้งเสมอไป ซึ่งรัฐบาลจะมาอ้างว่า ได้รับคะแนนเสียงข้างมาก แล้วคิดจะแก้ไขกฏหมายหรือทำอะไรก็ได้

ทั้งนี้ รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันเพิ่งประกาศใช้ได้ไม่กี่เดือน ก็จะแก้เสียแล้ว บางมาตรายังไม่ได้ถูกหยิบยกมาใช้ด้วยซ้ำ หากจะมีการแก้ไข รัฐธรรมนูญก็ควรมีการรับฟังความคิดเห็นจากประชาชน ด้วย