ประเทศไทยกับการปฏิวัติ ยังไม่ใช่เรื่องที่บอกวันนี้ว่า “หันหลังให้กันร้อยเปอร์เซ็นต์” ได้เพราะประชาธิปไตยเมืองไทย ยังไม่แข็งแรงพอที่จะกันไม่ให้เกิดการปฏิวัติได้
แม้บางช่วงรัฐธรรมนูญจะทำให้เกิดเสถียรภาพทางการเมือง แข็งแรงและมั่นคง อย่างเช่น รัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ.2540 ก็เกิดปัญหา “คน” แทนระบบ คือ มีการใช้อำนาจบริหารที่ได้จากการเลือกตั้งไปในทางที่ไม่ถูกต้องชอบธรรม การปฏิวัติเมื่อ 19 กันยายน 2549 จึงเกิดขึ้น รัฐธรรมนูญฉบับนั้นจึงล้มหายตายจากไป
นี่คือความล้มเหลวซ้ำซากของประชาธิปไตยเมืองไทย ที่คนซึ่งมาจากระบอบประชาธิปไตยไม่เคยคิดจะแก้ไขจริงจัง ให้เกิดเสถียรภาพของระบอบประชาธิปไตยเลย ส่วนใหญ่คิดแค่เรื่องเฉพาะหน้าว่า ถ้าหากได้อำนาจบริหารของรัฐบาลมา จะบริหารจัดการอย่างไรกับพวกของตัว ไม่ได้คิดถึงประเทศของตัวซักเท่าไหร่ฉะนั้น เรื่อง “ปฏิวัติ” ที่เป็นข่าวออกจากปากนายกรัฐมนตรี สมัคร สุนทรเวช เมื่อเร็วๆ นี้จึงเป็นเรื่องฮือฮาขึ้นมาผมว่าเรื่องนี้ คงจะไม่ใช่เรื่องโกหกร้อยเปอร์เซ็นต์ หรือจริงร้อยเปอร์เซ็นต์เพราะมีคนบอก นายกฯ สมัคร สุนทรเวช จริง แต่เป็นปัญหาว่าใครบอก และบอกรายละเอียดอย่างไร?แต่ยืนยันได้ว่าไม่ใช่ทหารในกองทัพ เพราะมันเป็นการดิสเครดิตกองทัพโดยตรง
ปัญหาอยู่ที่ว่าใครบอก และพวกเขาต้องการอะไรขอให้ดูผลที่ปลายเหตุว่าเมื่อเรื่องนี้เป็นข่าวออกไป ใครได้ประโยชน์ ใครเสียประโยชน์?แต่ถึงอย่างไร รัฐบาลชุดนี้ก็มีผลกระทบโดยตรง เพราะความไม่เชื่อมั่นของผู้คนเป็นการบ่อนทำลายความมั่นคงทางการเมืองของรัฐบาล พอๆ กับการยุบพรรค 3 พรรคของฝ่ายรัฐบาลนั่นแหละ
“ปฏิวัติ” จึงเป็นการปรามความไม่สงบที่จะเกิดขึ้น และตรงกันข้าง ยังเพื่อยั่วยุให้เกิดสถานการณ์เผชิญหน้ากันด้วยเพราะฉะนั้น เรื่องปฏิวัติจะเกิดขึ้นได้ไม่ใช่ด้วยการพูดแต่อยู่ที่การทำผมถามว่าเคยมีสักครั้งไหม ที่คนปฏิวัติเขาออกมาบอกว่าจะปฏิวัติเพราะทุกครั้งที่มีปฏิวัติ คนต้องคอยฟังว่าใครเป็นคนทำวันนี้ คนทำปฏิวัติ คือ พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ยืนยันว่า “ไม่มี” ต้องถามว่าจะไปเชื่อใครอื่นอีกเล่าครับ?