WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Wednesday, April 2, 2008

แก้รัฐธรรมนูญ จุดสมดุลระหว่าง ‘ประชาธิปไตย' กับ ‘การตรวจสอบ'

จุดสมดุลระหว่างความเป็นประชาธิปไตยและการตรวจสอบ

เป็นที่ทราบกันดีว่า รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน 2550 เป็นรัฐธรรมนูญที่ไม่สอดคล้องกับระบอบประชาธิปไตยทั้งในแง่ของ ที่มา' และ เนื้อหา' อีกทั้งหลายมาตราก็ก่อให้เกิดปัญหาในการใช้และการตีความกฎหมายเเละบั่นทอนเสถียรภาพของฝ่ายบริหาร

ดังนั้น ในเมื่อตอนนี้การเมืองไทยเริ่มเข้าสู่ระบบปกติ มีรัฐบาลพลเรือนที่มาจากการเลือกตั้งและมีรัฐสภาเรียบร้อยแล้ว การเมืองภาคประชาชนน่าจะริเริ่มกระบวนการการแก้ไขรัฐธรรมนูญ

1.ใครบ้างที่มีสามารถริเริ่มการแก้ไขรัฐธรรมนูญ

โดยช่องทางการแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้น มาตรา 291 ได้รับรองว่า คณะรัฐมนตรี ส.ส.และ ส.ว. รวมทั้งประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวนไม่น้อยกว่า 5 หมื่นคนตามกฎหมายว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย ทั้งนี้ ประชาชนโดยทั่วไป องค์กรภาคเอกชนฝ่ายประชาธิปไตยต่างๆ และนักวิชาการฝ่ายประชาธิปไตยควรมีบทบาทในการริเริ่มให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2550

ทั้งนี้ รัฐธรรมนูญบัญญัติว่า ญัตติขอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญต้องเสนอเป็นร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมและให้รัฐสภาพิจารณาเป็นสามวาระ สำหรับรูปแบบของการแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้น อาจทำในรูปของคณะกรรมาธิการแก้ไขรัฐธรรมนูญซึ่งประกอบด้วยตัวแทนทุกภาคส่วน ส่วนคะแนนเสียงที่จะให้การแก้ไขรัฐธรรมนูญผ่านนั้นต้องการคะแนนเสียงมากกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกของทั้งสองสภา (คือทั้งสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา)

ประเด็นเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญน่าจะเริ่มต้นได้แล้ว เนื่องจากขั้นตอนต่างๆ ใช้เวลาพอสมควร ทั้งเรื่องการเตรียมการศึกษาว่ามีประเด็นใดบ้างที่ควรแก้ไข การจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นจากประชาชน (ตามวาระที่สอง) และการยกร่างรัฐธรรมนูญ เป็นต้น

2. วิธีการแก้ไข

ก่อนที่จะมีการเสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ อาจมีการตั้ง "คณะกรรมาธิการวิสามัญ" ประกอบด้วยตัวเเทนจากทุกภาคส่วนเพื่อประชุมร่วมกันเพื่อระดมสมองว่าสมควรมีการแก้ไขประเด็นใดบ้าง โดยคณะกรรมาธิการนี้อาจศึกษาถึงข้อบกพร่องของรัฐธรรมนูญ 2540 และ 2550 ว่าเกิดจากอะไร เช่น เกิดจากเนื้อหาบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญเอง กล่าวคือ ถ้อยคำกำกวมหรือคลุมเครือ หรือเป็นปัญหาของการบังคับใช้ (Enforcement) หรือเกิดจากการที่เนื้อหาของรัฐธรรมนูญและกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญขัดกัธรรมชาติของการเมือง หรือเป็นกรณีที่ยังไม่มีกฎหมายในระดับพระราชบัญญัติมากำหนดรายละเอียดหลักการต่างๆในรัฐธรรมนูญ เป็นต้น

3. เป้าหมายและหลักการพื้นฐานของการแก้ไขรัฐธรรมนูญ

การแก้ไขรัฐธรรมนูญควรตั้งเป้าหมาย ดังนี้

1) ทำให้ระบบการเมืองในภาพรวมเป็นประชาธิปไตยมากขึ้น ให้ประชาชนเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยอย่างแท้จริง

2) คำนึงถึงหลักความเสมอภาคในเรื่องต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของความเสมอภาคต่อกฎหมาย ความเสมอภาคทางเศรษฐกิจ การศึกษาและความสมอภาคด้านโอกาสต่างๆ

3) ลดอำนาจของอมาตยาธิปไตย

4) เพิ่มอำนาจของฝ่ายบริหารให้เข้มแข็ง ในขณะเดียวกันก็เพิ่มอำนาจการตรวจสอบการทำงานของรัฐบาลด้วย

5) การคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนต้องสอดคล้องกับมาตรฐานสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศที่ประเทศไทยเป็นภาคี

6) ยึดหลักอำนาจสูงสุดของรัฐบาลพลเรือนเหนือทหาร (Supremacy of Civilian)

การแก้ไขบทบัญญัติต่างๆ ของรัฐธรรมนูญ ควรคิดไปจากหลักการข้างต้น แล้วร่างให้สอดคล้องกับหลักการดังกล่าว ทั้งนี้เพื่อจะได้อธิบายได้ว่า ทำไมจึงแก้ไขหรือเพิ่มเติมให้ต่างจากรัฐธรรมนูญปัจจุบัน

เช่น ควรเพิ่มให้ผู้บัญชาการทหารสามเหล่าทัพ ผบ. สูงสุด และเสนาธิการ ยื่นบัญชีทรัพย์สินด้วย หรือในหมวดว่าด้วยสิทธิพิทักษ์รัฐธรรมนูญ ควรบัญญัติตรงๆ เลยว่า "การใช้กำลังของกองทัพเพื่อทำรัฐประหารล้มล้างรัฐธรรมนูญนั้นจะกระทำมิได้"

การระบุอย่างชัดเจนไว้ในรัฐธรรมนูญ แม้จะมิอาจป้องกันการทำรัฐประหารได้ แต่อย่างน้อยในเชิงสัญลักษณ์ น่าจะเป็นการแสดงออกถึงเจตนารมณ์ทางการเมืองของประชาชนที่ไม่ยอมรับการทำรัฐประหารว่าเป็นหนทางการแก้ไขปัญหาการเมือง

หรือควรเพิ่มเติมว่า "องคมนตรีต้องไม่เกี่ยวข้องทางการเมืองทั้งโดยตรงและโดยอ้อม" ซึ่งรัฐธรรมนูญที่ผ่านๆ มา บัญญัติแต่เพียงว่า "องคมนตรี...ต้องไม่แสดงการฝักใฝ่ในพรรคการเมืองใดๆ" แต่การบัญญัติเพียงแค่ว่า "ไม่ฝักใฝ่พรรคการเมืองใดๆ" ปัจจุบันคงไม่พอ เพราะการเกี่ยวข้องหรือแสดงบทบาททางการเมืองนั้นอาจทำได้ในรูปแบบอื่นได้โดยไม่จำเป็นต้องแสดงให้เห็นว่าชอบหรือไม่ชอบพรรคการเมืองใด (แต่ผมเชื่อว่าถ้าเขียนตามข้างต้นคงไม่ผ่าน)

นอกจากนี้ น่าจะมีการอภิปรายว่า สมควรมีการนำบทบัญญัติบางมาตราของรัฐธรรมนูญ พุทธศักราช 2489 ที่เขียนว่า "ฐานันดรศักดิ์โดยกำเนิดก็ดี โดยแต่งตั้งก็ดี หรือโดยประการอื่นก็ดี ไม่กระทำให้เกิดเอกสิทธิอย่างใดเลย" มาบัญญัติอีกครั้งหรือไม่ เนื่องจากสังคมไทยเป็นสังคมที่มีความเหลื่อมล้ำมาก อีกทั้งระบอบประชาธิปไตยตั้งอยู่บนหลักการที่ว่า มนุษย์มีความเท่าเทียมกันและเสมอภาคกัน

ที่ผ่านมาสังคมไทยให้ความสำคัญกับสิทธิเสรีภาพมากจนมองข้ามหลักความเสมอภาคทั้งๆ ที่หลักความเสมอภาคเป็นพื้นฐานของการใช้สิทธิเสรีภาพ สิทธิเสรีภาพจะไม่ได้ผลในทางปฏิบัติ หากมีการหยิบยกข้ออ้างในนามของ "ผู้หลักผู้ใหญ่ของบ้านเมือง" หรือ "ราษฎรอาวุโส" หรือ "ชนชั้นกลางในกรุงเทพฯ" มาปิดปากกับฝ่ายตรงกันข้าม

อีกทั้งที่ผ่านมาเคยมีกลุ่มราชนิกุลออกมาเคลื่อนไหวทางการเมือง การบัญญัติข้อความดังกล่าวน่าจะเป็นการตอกย้ำถึงความเป็นพลเมืองที่เท่าเทียมกัน ไม่ควรอ้างตำแหน่งใดๆ เพื่อยกความสำคัญของตนเองและขณะเดียวกันเป็นการกดผู้อื่นด้วย

4. ประเด็นของการแก้ไขและเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ

ประเด็นที่สมควรมีการแก้ไขและเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญนั้น สมควรพิจารณาในภาพรวม รวมถึงกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ (Organic law) ด้วย เนื่องจากบทบัญญัติบางมาตราได้บัญญัติซ้ำซ้อนกันทั้งในรัฐธรรมนูญและกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ เช่น กฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. และสรรหา ส.ว. กฎหมายพรรคการเมือง

สำหรับประเด็นที่สมควรหยิบยกขึ้นมาพิจารณาว่าสมควรแก้ไขเพิ่มเติมมีมากมาย เช่น ระบบการเลือกตั้งสภาผู้เเทนราษฎร ที่มาของสมาชิกวุฒิสภา บทบาทและอำนาจของคณะกรรมการการเลือกตั้ง การให้ผู้พิพากษาจากศาลฎีกาเป็นกรรมการสรรหาองค์กรอิสระ การทำความตกลงระหว่างประเทศ การดำรงตำเเหน่งของนายกรัฐมนตรี (มาตรา 171 วรรคท้าย) สิทธิอุทธรณ์ของจำเลยในการดำเนินคดีอาญาผู้ดำรงตำเเหน่งทางการเมือง (มาตรา 278 วรรค 2) เเนวนโยบายด้านความมั่นคงของรัฐ การใช้งบประมาณของหน่วยราชการหรือรัฐวิสาหกิจของรัฐบาล (มาตรา 169 วรรคสอง) การเสนอขอเเปญัตติเรื่องงบประมาณของศาลเเละองค์กรตามรัฐธรรมนูญ (มาตรา 168 วรรคท้าย) เป็นต้น

บทส่งท้าย การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญครั้งนี้ อาจเป็นการชิมลางหรือหยั่งท่าทีของการยื้อกันระหว่างฝ่ายประชาธิปไตยกับฝ่ายอมาตยาธิปไตยหัวอนุรักษ์นิยมก็ได้ แต่เชื่อว่าการแก้ไขรัฐ

บทความ ประสิทธิ์ ปิวาวัฒนพานิช : แก้รัฐธรรมนูญ จุดสมดุลระหว่าง ประชาธิปไตย' กับ การตรวจสอบ'

อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

คืนรัง

จาก hi-thaksin