WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Thursday, April 3, 2008

แก้ รธน.50 ประชาชนไม่โง่ แล้วใครโง่?

หากยังพอจำช่วงของการรณรงค์ทั้งฝ่ายรับและไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ 2550 กันได้

จะเห็นว่า เหตุผลของฝ่าย “ไม่รับ” นอกจากมุ่งเป้าไปที่ “เนื้อหา” แล้ว

ยังพยายามสื่อสารให้เห็นช่องทาง “ลดเลี้ยว” หรือ “กับดัก” “หลุมพราง” ที่ถูกขุดไว้อย่างแยบยลนั้นด้วย

เช่น ประเด็นการแก้ไข...

ฝ่าย “รับ” หลายคน ที่แม้ไม่เห็นด้วยกับเนื้อหา แต่ยังคงวางใจ “รับๆ ไปก่อน”

ขณะที่ฝ่าย “ไม่รับ” เตือนชัดว่า หากลงมติรับร่างกันเมื่อไร ก็อย่าหวังจะได้แก้ไขง่ายๆ

เพราะเหตุผลที่ว่า รัฐธรรมนูญฉบับนี้ “ผ่านการทำประชามติ” โดยเสียงประชาชนข้างมากมาแล้ว...จะถูกหยิบใช้มาเป็นยันต์คุ้มกันอย่างแน่นอน

ถ้าคุ้มกันจากสิ่งชั่วร้ายก็แล้วไป...

แต่คุ้มกันสิ่งที่บิดเบือน บกพร่อง ให้ไม่อาจดำเนินการแก้ไขได้...นี่ต่างหากคือ “อันตราย” ที่ฝ่ายไม่รับเคยพยายามนำเสนอ

แล้วก็เป็นจริงดังว่า...

เพราะ “คาถา” ที่ฝ่ายซึ่งเคยเป็นทั้ง “ผู้ร่าง” “ผู้รับ” “ผู้สนับสนุน” รัฐธรรมนูญ 2550 นำมาใช้ ไม่พ้นไปจากที่ว่า รัฐธรรมนูญฉบับนี้ผ่านการลงประชามติมาแล้ว รัฐบาลไม่มีสิทธิ์ยุ่ง

เช่น คนล่าสุดที่ออกโรงมาปกป้องรัฐธรรมนูญฉบับนี้ นายวรากรณ์ สามโกเศศ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ สมัยรัฐบาล พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นนายกฯ

นายวรากรณ์ กล่าวว่า “การแก้ไขรัฐธรรมนูญต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ เพราะกฎหมายฉบับนี้ผ่านการลงประชามติจากประชาชน และตนเชื่อว่าคนที่มาลงประชามติไม่ใช่คนโง่ ดังนั้น การจะทำอะไรกับกฎหมายรัฐธรรมนูญก็จะต้องเคารพมติของประชาชน”

“ไม่ใช่ว่าได้รับการเลือกตั้งเข้ามาแล้วก็ใช้อำนาจเข้ามาแก้ไข รัฐบาลจะมาอ้างว่าได้รับคะแนนเสียงข้างมาก แล้วคิดจะแก้ไขกฎหมายหรือทำอะไรก็ได้ไม่ได้” (ผู้จัดการออนไลน์ 2 เม.ย. 2550)

คำพูดตลบตะแลงย้อนแย้งกันเองอย่างน่าขัน

ประโยคหนึ่งบอกว่า รัฐธรรมนูญผ่านการลงประชามติจากประชาชน จะแก้ไขก็ต้องเคารพประชาชน

แต่อีกประโยคกลับบอกว่า รัฐบาลที่เข้ามาด้วยเสียงประชาชน...จะมาอ้างเสียงข้างมากไม่ได้

สรุปแล้ว ไม่รู้ว่าอดีตรัฐมนตรีขิงแก่ ให้ความสำคัญหรือไม่ให้ความสำคัญกับเสียงประชาชนกันแน่

และทั้งที่รัฐบาลนี้ก่อนเข้ามาก็ประกาศชัดเจนแล้วว่าจะแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับอำมาตยาธิปไตย ให้มีความเป็นประชาธิปไตยมากขึ้น...

ถ้านายวรากรณ์เชื่อว่าประชาชนไม่ได้โง่จริงตามอย่างที่ปากพูด ก็ต้องยอมรับด้วยว่าประชาชนไม่ได้โง่ที่เลือกพรรคพลังประชาชนเข้ามา

และยิ่งไม่โง่ถึงกับไม่รู้ว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญคือหนึ่งในเป้าหมาย

การที่ไม่โง่ รู้ และเลือก จึงเท่ากับเป็นการเห็นพ้องต้องกันว่ามันสมควรแก้ไข...อนุญาตให้แก้ไข...

เว้นเสียแต่นายวรากรณ์จะคิดไปอีกอย่าง คือ คิดว่าประชาชนที่ “รับ” ร่างรัฐธรรมนูญ 2550 ไม่ได้โง่...

แต่ประชาชนที่ “เลือก” รัฐบาลชุดนี้เข้ามาบริหารประเทศ เข้ามาให้แก้รัฐธรรมนูญนี้ต่างหากที่โง่...

เช่นนั้นหรือเปล่าหนอ