WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Friday, April 4, 2008

กฎหมายกับการยุบพรรค [4 เม.ย. 51 - 15:39]

เห็นได้ชัดว่าแนวความคิดใน การแก้รัฐธรรมนูญของพรรคพลังประชาชน ยังขาดเอกภาพ มีการเปลี่ยนประเด็นที่จะแก้ไขเป็นรายวัน เริ่มต้นจากการเสนอแก้ไขมาตรา 237 เรื่องการยุบพรรคเพียงมาตราเดียว ต่อมาเพิ่มเป็น 2 มาตรา 5 มาตรา จนเพิ่มเป็น 7 ประเด็น และยังไม่ทราบว่าจะมีการเพิ่มประเด็นอีกหรือไม่ เพราะยังมีบางกลุ่มที่ต้องการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ

ข้อเสนอที่จะให้ตัดทิ้ง หรือยกเลิก มาตรา 309 ทั้งมาตรา กลายเป็นความขัดแย้งที่สำคัญ ทำให้ฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยในการแก้ไขรัฐธรรมนูญมองว่าเป็นการ แก้ไขเพื่อพรรคและพวกอย่างโจ่งแจ้งและล่อนจ้อนยิ่งขึ้น ชมรม ส.ส.ร.50 มีมติไม่เห็นด้วย เพราะเห็นว่าเป็น การแก้ไขเพื่อประโยชน์ส่วนตน ขัดรัฐธรรมนูญมาตรา 122 ซึ่งอาจนำไปสู่การยื่นถอดถอน ส.ส.ผู้เสนอแก้ไขได้

อันที่จริง ถ้าหากไม่โลภมากจน เกินไป การแก้ไขมาตรา 237 เพียงมาตราเดียว อาจประสบความสำเร็จโดยเร็ว เพราะจะไม่นำไปสู่ความขัดแย้งที่ขยายวงออกไปมากนัก เนื่องจากมีหลายฝ่ายเห็นด้วย ในหลักการที่ว่า พรรคเป็นสถาบันทางการเมือง ไม่ควรถูกยุบได้โดยง่าย เว้นแต่จะกระทำผิดร้ายแรงจริงๆ เช่น พรรคนาซีของฮิตเลอร์ ซึ่งเป็นปฏิปักษ์ต่อระบอบประชาธิปไตยชัดแจ้ง

ส่วนการกระทำความผิด อันเป็น เหตุให้ต้องยุบพรรคตามกฎหมายของไทย ก็วางหลักเกณฑ์ไว้ค่อนข้างสูง กล่าวคือ พรรคจะต้องกระทำการล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตย หรือกระทำการเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจรัฐ โดยวิถีทางนอกรัฐธรรมนูญ หรือกระทำการอันอาจเป็นปฏิปักษ์ต่อระบอบประชาธิปไตย หรืออาจเป็นภัยต่อความมั่นคงของรัฐ หรือขัดต่อกฎหมาย หรือความสงบเรียบร้อย

แต่บทบัญญัติที่เป็นปัญหา คือ ส่วนที่เพิ่มเติมเข้ามาใหม่ในรัฐธรรมนูญ 2550 คือการฝ่าฝืน พ.ร.บ.การเลือกตั้ง หรือระเบียบหรือประกาศของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เป็นผลทำให้การเลือกตั้งไม่สุจริตและเที่ยงธรรม ผู้สมัคร ส.ส.ที่ฝ่าฝืนอาจโดนใบ แดง 1 ปี แต่ถ้าหัวหน้าพรรคหรือกรรมการบริหารพรรค “ผู้ใด” มีส่วนรู้เห็น อาจโดนใบแดงทั้งคณะ 5 ปี และต้องเสนอให้ยุบพรรค

รัฐธรรมนูญและกฎหมายการ เลือกตั้ง ระบุว่า ถ้าหัวหน้าพรรคหรือกรรมการ บริหารพรรค แม้แต่เพียงคนเดียว มีส่วนรู้เห็นการกระทำผิดของผู้สมัคร ส.ส.ของพรรค จนโดนใบแดง “ให้ถือว่า” พรรคนั้นกระทำการเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศ โดยวิธีการนอกวิถีทางรัฐธรรมนูญ ถือว่าเป็นการกระทำความผิดที่ร้ายแรง พอๆกับการใช้กำลังยึดอำนาจ จึงให้ยุบพรรค

ประเด็นที่เป็นข้อโต้แย้งก็คือ เพียงแต่กรรมการบริหารพรรคคนเดียว มีส่วนรู้เห็นในการทำผิดของผู้สมัคร ส.ส. หรือกรรม-การบริหารพรรคเพียงคนเดียวทำผิดเสียเอง จะเหมารวมเอาว่าเป็นการกระทำของพรรค จน ถึงกับต้องโดนยุบ จะเป็นธรรมหรือไม่? จะแยก การกระทำผิดของส่วนบุคคลกับของพรรคได้อย่างไร? และแค่ไหนจึงจะถือว่าทำให้การเลือกตั้งไม่เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม