WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Friday, April 4, 2008

กัญจนาหวั่นเสียสัตยาบัน ค้านแก้รธน.เพื่อล้มคตส. [4 เม.ย. 51 - 05:08]

น.ส.กัญจนา ศิลปอาชา รองหัวหน้าพรรคชาติไทย กล่าววานนี้ (3 เม.ย.) ถึงแนวคิดรัฐบาลในการเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญ ว่า หลายคนในพรรคชาติไทยเห็นตรงกันว่าไม่เห็นด้วยในการแก้ไขมาตรา 309 และจะต้องมีการหารือกันภายในพรรคเพื่อแสดงจุดยืนของพรรคชาติไทย แต่เนื่องจากตนไม่ได้เป็นวิปรัฐบาล จึงไม่สามารถลงรายละเอียดได้มาก ยังไม่ทราบแน่ชัดว่าหากแก้ไขมาตรานี้แล้วจะมีผลอย่างไร อย่างไรก็ตาม ยืนยันว่าไม่เห็นด้วยกับการแก้เพื่อล้มเลิกคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ทำให้เกิดความเสียหายต่อรัฐ (คตส.) อย่างแน่นอน เนื่องจากเป็นห่วงเรื่องสัตยาบัน 5 ข้อ ในการเข้าร่วมรัฐบาลของพรรคชาติไทยกับพรรคเพื่อแผ่นดิน ส่วนเรื่องการแก้มาตรา 237 ที่ระบุโทษถึงหัวหน้าพรรคและกรรมการบริหารพรรคในกรณีที่เห็นว่าเป็นการปล่อยปละละเลยเรื่องใบแดงนั้น ถือเป็นโทษรุนแรงเกินไป มันไม่ยุติธรรมกับพรรคการเมือง

ด้าน นายเอกพจน์ ปานแย้ม ส.ส.ปทุมธานี พรรคชาติไทย ในฐานะวิปรัฐบาล และคณะอนุกรรมการพิจารณาแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2550 กล่าวว่า ที่ประชุมวิปรัฐบาลเห็นด้วยที่จะให้แก้ไขถ้อยคำในรัฐธรรมนูญบางส่วน แต่ส่วนใหญ่ยังคงเห็นด้วยกับร่างเดิม ที่คณะอนุกรรมการยกร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ของ นายชูศักดิ์ ศิรินิล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ที่เสนอมาในมาตรา 309 ให้แก้ไขวรรคสอง โดยเพิ่มข้อความว่า "ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับกับบรรดาการใด หรือการกระทำใดที่มิได้เป็นไปตาม หลักอำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย หลักนิติธรรม หลักสิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทยตามรัฐธรรมนูญนี้ ประเพณีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข พันธกรณีระหว่างประเทศที่ประเทศไทยมีอยู่ หรือหลักธรรมนูญทั่วไป ทั้งนี้ ไม่ว่าการนั้นหรือการกระทำนั้นเกิดขึ้นก่อนหรือหลังวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ.2549 และรัฐธรรมนูญฉบับนี้" แทนการตัดออกทั้งมาตรา ทุกพรรคต่างเห็นด้วย เพราะหากถอนมาตรานี้ออกทั้งหมดอาจไม่ชอบ แต่การใส่ถ้อยคำดังกล่าว เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ที่ถูกฟ้องร้องสามารถต่อสู้ในชั้นศาลได้