WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Sunday, December 28, 2008

หนีไม่พ้นเงา"แม้ว"

ที่มา มติชน

คอลัมน์ เดินหน้าชน

โดย ภาคภูมิ ป้องภัย



กว่าจะมาเป็นรัฐบาล เข้าบริหารราชการแผ่นดินได้สำเร็จ เราได้เห็นริ้วรอยของปัญหาหลายประการที่น่าเป็นห่วง และน่าจะกลายเป็นระเบิดเวลาลูกย่อยๆ รอให้นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ นายเนวิน ชิดชอบ ร่วมกันถอดสลัก

1.คลื่นใต้น้ำในพรรคประชาธิปัตย์

ปฏิบัติการ "ดับเครื่องชน" ของนายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ ส.ส.พัทลุง และนายเฉลิมชัย ศรีอ่อน ส.ส.ประจวบคีรีขันธ์ ตรงใจ ส.ส.อาวุโสอีกหลายคน ไม่ว่าจะเป็นนายองอาจ คล้ามไพบูลย์ นายจุติ ไกรฤกษ์ ฯลฯ

ถึงแม้วิธีพูดตรงไปตรงมาจะเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมในพรรค แต่มันก็สะท้อนให้เห็นรอยปริร้าว และมีแนวโน้มจะเกิดคลื่นใต้น้ำปะทุเป็นภูเขาไฟระเบิดได้หากไม่ใช้นโยบาย "สมบัติผลัดกันชม" เหมือนรัฐบาลพลังประชาชน

หนทางเชื่อมรอยร้าวให้แคบลงคือครบ 1 ปีต้องปรับคณะรัฐมนตรี (ครม.) หรือถ้าเกิดอุบัติเหตุทางการเมืองให้ต้องปรับ ครม. ต้องเปิดทางให้ ส.ส.อาวุโสนอกอาณัตินายสุเทพเข้ารับตำแหน่งบ้าง

2.ผลประโยชน์ทับซ้อนบางประการ

นายถาวร เสนเนียม รมช.มหาดไทย ขุนพลคู่ใจนายสุเทพ ได้รับมอบหมายให้กำกับดูแลกรมที่ดิน ในขณะที่กรมที่ดินกำลังดูแลคดีที่ดินบริษัท ศรีสุบรรณฟาร์มอยู่ รวมถึงคดีที่ดินของนักการเมืองในภาคใต้อยู่อีกหลายคดีตามนโยบายของ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย

ดูกันว่า คดีดังกล่าวจะดำเนินไปทิศทางไหน มันจะค้างอยู่ในลิ้นชักรัฐมนตรีนานนับปีหรือไม่

3.คำสัญญาที่ไม่เคยทำได้

รัฐบาลนายชวน หลีกภัย ระหว่างปี 2535-2538 แถลงนโยบายเมื่อวันพุธที่ 21 ตุลาคม 2535 ในข้อ 4.2.1 ระบุว่า "จัดตั้งสภาการเกษตรแห่งชาติโดยเปิดโอกาสให้ตัวแทนเกษตรกรเข้ามามีส่วนร่วมกับภาครัฐบาลและธุรกิจเอกชนในการประสานนโยบายการผลิต การแปรสภาพผลผลิต และการตลาดอย่างเป็นระบบครบวงจร รวมทั้งจะใช้กองทุนรวมเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรในการรักษาเสถียรภาพของราคาผลิตผลการเกษตร"

ผ่านมาเกือบ 17 ปี รัฐบาลนายอภิสิทธิ์เขียนนโยบายที่จะแถลงต่อรัฐสภาเมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2551 ในมาตรการเร่งด่วนระยะ 1 ปี ข้อ 1.2.9 ระบุว่า "จัดตั้งสภาเกษตรกรแห่งชาติ เพื่อให้เกษตรกรมีส่วนร่วมในการเสนอนโยบายและวางแผนพัฒนาการเกษตรอย่างเป็นระบบ และมีระบบการคุ้มครองและรักษาผลประโยชน์ของเกษตรกร รวมทั้งพัฒนาความเข้มแข็งของเกษตรกรได้อย่างยั่งยืน"

รัฐบาลนายชวน 2 สมัยล้มเหลวกับการจัดตั้งสภาการเกษตรแห่งชาติ มาถึงยุครัฐบาลนายอภิสิทธิ์จึงนำมาปัดฝุ่นใหม่อีกครั้ง

คำถามคือ ในเมื่อรัฐบาลยุคนายชวนมีเสถียรภาพและความพร้อมมากกว่ารัฐบาลปัจจุบัน แต่ก็ยังผลักดันไม่สำเร็จ แล้วเราจะมั่นใจได้อย่างไรว่าสภาการเกษตรแห่งชาติจะเกิดขึ้น

พูดถึงนโยบายรัฐบาลยุคนายชวน 2 สมัยแล้ว มีข้อน่าสังเกตว่า เกือบไม่มีนโยบายในลักษณะประชานิยมเลย ส่วนใหญ่จะใช้คำว่า "เร่งรัด สนับสนุน ส่งเสริม พัฒนา ปรับโครงสร้าง กระจายโอกาส"

แต่เมื่อ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร มาเป็นนายกฯในปี 2544 ได้ฉีกธรรมเนียมการจัดทำนโยบายใหม่ โดยเพิ่มนโยบายประชานิยมเข้าไป มีทั้ง "ลด แลก แจก แถม" เข้ามา ปรากฏว่าได้รับคะแนนนิยมจากประชาชนรากหญ้าในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนืออย่างท่วมท้น

ในที่สุด พรรคประชาธิปัตย์ยุคนายอภิสิทธิ์ก็ไม่อาจฝืนกระแสดังกล่าวได้ ต้องหันมาเขียนนโยบายประชานิยมตามก้น พ.ต.ท.ทักษิณ เพื่อทวงคะแนนความนิยมจากรากหญ้าใน 2 ภาคนี้กลับคืนมา

ไม่ว่าจะต้องกล้ำกลืนฝืนทนกับเสียงเย้ยหยันจากแกนนำพรรคเพื่อไทยและนักวิชาการแค่ไหนก็ตาม

คำว่า "จัดสรร-เพิ่มวงเงิน-ลดหย่อน-จัดให้มี...ฟรี" จึงปรากฏให้เห็นในนโยบายหลายข้อของรัฐบาล "หล่อใหญ่" ด้วยประการฉะนี้