WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Monday, December 29, 2008

หลักนิติธรรม (Rule of law)

ที่มา ประชาทรรศน์

คอลัมน์ : ตาต่อตา ฟันต่อฟัน

รัฐบาลที่นำโดยนายกรัฐมนตรี อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะได้ประกาศว่าจะบริหารประเทศไทยยึดหลักนิติธรรม

คำนี้ดูเหมือนจะมีกากรใช้กันเกร่อ และได้ยินกันมาตลอดคำว่าหลักนิติธรรม หรือที่ใช้เป็นภาษาอังกฤษว่า Rule of law มีความหมายอย่างไร

สำหรับนักกฎหมาย นักรัฐศาสตร์ สื่อมวลชนตลอดจนคนไทยทั่วไปอาจจะมีมุมมองและที่เข้าใจได้กว้างแคบ และมีความแตกต่างและวิชาชีพของแต่ละฝ่าย และอาจมีความเข้าใจที่แตกต่างกัน โดยเฉพาะในยุคต้น แต่ภายหลังจากมีการประชุมโดยนักกฎหมายกันที่กรุงเอเธนส์ประเทศกรีก ในปี ค.ศ.1955 และได้บัญญัติแห่ง เอเธนส์ 1955 ( Act of Athens 1955) และนักกฎหมายได้เสนอบทความทางวิชาการเกี่ยวกับ Rule of law แล้วก็ทำให้นักกฎหมายเข้าใจหลักการและปรัชญา ของ Rule of law ได้ดีขึ้นและเริ่มที่จะเข้าใจสอดคล้องตรงกัน

นักกฎหมายไทยที่ได้ศึกษาและกล่าวถึง Rule of law และลงบทความเละแปลประกาศบัญญัติแห่งเอเธนส์ 1955 คือ ศ.วิกรม เมาลานนท์ ในปี พ.ศ.2498 และหลังจากนั้นก็มีการใช้คำว่า “Rule of law” มากขึ้น เพราะแต่ละฝ่ายได้มองเห็นความสำคัญด้วยคำดังกล่าว รวมถึงการศึกษาค้นคว้าเรื่องอื่น เช่น Rule of law and Human Right, Rule of law and Democracy, Rule of law and Liberry และ Rule of law and Judicial Independence เป็นต้น ทำให้นักกฎหมายและนักปกครอง ตลอดจนประชาชนทั่วไปเข้าใจความหมายของคำกล่าวถูกต้องยิ่งขึ้น
ท่านศาสตราจารย์วิกรม เรียก Rule of law เป็นภาษาไทยว่า “หลักธรรม”โดยเห็นว่าเป็นคำกะทัดรัดและกินความ และถึงแม้จะไม่ตรงทีเดียวกับ Rule of law ก็เห็นจะคลุมไปถึงความหมายที่ต้องการอยู่บ้างโดยท่านเห็นว่า “Rule of law” คือตัวหลักในการออกกฎหมายหรือปฏิบัติการให้เป็นไปตามกฎหมายว่าจะต้องไม่เป้ไปตามอิทธิพล หรืออารมณ์ชอบหรือตามอำเภอใจแต่จะต้องเป็นกฎหมายหรือการปฏิบัติที่ชอบด้วยทำนองคลองธรรม

ในขณะเดียวกันคำคำนี้นักนิติศาสตร์ไทยก็ได้เรียกไว้ต่างๆนานาเช่น คำว่า หลักความศักดิ์สิทธิ์ของกฎหมาย นิติธรรมวินัย หลักกฎหมาย,หลักธรรมแห่งกฎหมาย,นิติสดมภ์ แต่ในปัจจุบันเป็นคำที่รับทั่วกันและเป็นศัพท์นิติบัญญัติโดยแปลค่า Rule of law คือหลักนิติธรรม ซึ่งคำว่า “นิติธรรม”ตามพจนานุกรมฉบับเฉลิมพระเกียตริ พ.ศ.2530 หมายความถึง “หลักกฎหมาย”

หลักนิติบัญญัติ (Rule of law) มีความหมายอะไร นักนิติศาสตร์ของแต่ละประเทศอาจจะมีความเข้าใจและมุมมองที่แตกต่างกันไป ไม่ว่านักนิติศาสตร์ในประเทศที่ใช้ระบบประมวลกฎหมาย แม้แต่นักนิติศาสตร์ของประเทศไทยเองก็อาจมีความหมายเห็นไม่ตรงกันก็ได้ อย่างไรก็ตามแนวความคิดเรื่องหลักนิติธรรมตามหลักกฎหมายอังกฤษของนักนิติศาสตร์ของชาวอังกฤษ คือ A.Y.Dicey ได้รับการอภิปรายกันอย่างกว้างขวางลึกซึ้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโลกเสรีและนักกฎหมายถือกันว่าหลักนิติธรรมเป็นอุดมการณ์ร่วมกันเพื่อต่อต้านลัทธิเผด็จการทรราชย์ และมีวัตถุประสงค์ที่จะปกป้องสิทธิส่วนบุคคล โดยคำนึงถึงระบบการปกครองเสรีประชาธิปไตย ที่ปกครองด้วยกฎหมาย และกฎหมายนั้นต้องเป็นกฎหมายที่ยุติธรรม เพื่อค้ำประกันและคุ้มครองสิทธิเสรีภาพและทรัพย์สินของส่วนบุคคลเป็นประการสำคัญทั้งนี้เพราะในสังคมประชาธิปไตยความเป็นธรรมขอสังคมก็อยู่ที่ประชาชนได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายอย่างเพียงพอ มีความเสมอภาคและมีเสรีภาพเท่าเทียมกัน

A.C.Dicey ได้พยายามชี้ให้ความคิดเห็นความสำคัญและบทบาทของศาลยุติธรรมจะต้องมีอิสระปราศจากการแทรกแทรงของฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติ บุคคลจะต้องถูกลงโทษก็เฉพาะคำพิพากษาศาลเท่านั้น ซึ่ง A.C.Dicey เห็นว่านี่คือ หลักประกันสิทธิเสรีภาพของบุคคลนอกจากนี้ยังชี้ให้เห็นว่าไม่มีบุคคลใดอยู่เหนือกฎหมายหรือเป็นอภิสิทธิ์ ไม่ว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรซึ่งเป็นผู้ร่างกฎหมายและกฎหมายมีผลใช้บังคับแล้ว ทุกคนจะต้องอยู่ภายใต้กฎหมายอย่างเสมอภคเละเท่าเทียมกัน

การปกครองแบบนิติรัฐ (Leqal State) โดยยึดหลักนิติธรรม (Rule of law) ซึ่งเป็นการส่งเสริมความศักดิ์สิทธิ์ของกฎหมาย ความอิสระของตุลาการ การพิทักษ์ปกป้องสิทธิเสรีภาพของประชาชน ตลอดจนส่งเสริมสนับสนุนศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และประการสำคัญก็คือการสิ่งเสริมสนับสนุนการปกครองโดยยึดหลักกฎหมายเป็นใหญ่และทรราชเข้ายึดครองประเทศ ดังนั้นจะเห็นได้ว่าการยอมรับหลักนิติธรรมและเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ได้กล่าวมาแล้วนั้น จึงมีความจำเป็นที่ฝ่ายบริหารนิติบัญญัติและตุลาการจะต้องร่วมกันทำหน้าที่โดยยึดหลักนิติธรรม

เชื่อว่าในสถานการณ์บ้านเมืองที่เกิดขึ้นก่อนหน้านี้ คนไทยทุกคนมีความเห็นตรงกันว่าหลักนิติธรรมของคนไทยได้ถูกทำลายลงอย่างย่อยยับซึ่งจำเป็นจะต้องร่วมมือกันฟื้นฟูให้กลับมาเป็นที่ยอมรับนับถือจากอารยะประเทศโดยเร็ว ซึ่งแน่นอนว่าหน้าที่หลักย่อมต้องตกอยู่กับรัฐบาลโดยเฉพาะนายกรัฐมนตรีการที่นายกฯ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้ประกาศถึงการจะทำให้ประเทศไทยมีหลักนิติธรรม ย่อมแสดงให้เห็นว่านายกรัฐมนตรียอมรับถึงวิกฤตที่เกิดขึ้น ดังนั้นจึเชื่อว่านายกรัฐมนตรีมีความจริงจังและตั้งใจกับเรื่องนี้และคงมิใช่เป็นคำกล่าวที่สวยหรูไพเราะเสนาะโสตเท่านั้น

การล่วงละเมิดต่อกฎหมายอย่างร้ายแรงของกลุ่มพันธมิตรประชาชนฯซึ่งผู้ต้องหาหลายคนล้วนแล้วแต่เกี่ยวข้องกับพรรคประชาธิปัตย์ไม่ว่าเป็น ส.ส. หรืออดีตผู้สมัคร ส.ส. จะเป็นบทพิสูตน์อันสำคัญของนายกรัฐมนตรีที่ชื่อ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ว่าการบริหารประโดยยึดหลักนิติธรรมนั้นจะมีความหมายเช่นไร อีกไม่นานเกินรอ ชาวไทยจะได้เห็น