WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Sunday, December 28, 2008

เดินหน้าฝ่าคลื่นลม หรือ ล่มปากอ่าว

ที่มา ไทยรัฐ

ภาคปฎิบิติหลังแถลงนโยบาย "ท้าทาย" ภาวะผู้นำ "อภิสิทธิ์"

ส่งท้ายปีเก่า สำหรับรัฐบาลใหม่

ภายใต้สภาวการณ์การเมืองที่เต็มไปด้วยสารพัดวิกฤติ และความแตกแยกในสังคม

มีปัญหาที่รอต้อนรับรัฐบาลภายใต้การนำของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี อยู่เต็มไปหมด

เริ่มจากวันนี้ กลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) นัดรวมพลคนเสื้อแดง ที่ท้องสนามหลวง

ประกาศจุดยืนต่อต้านรัฐบาลเต็มที่ ขู่ยกพลไปชุมนุมประท้วงหน้ารัฐสภาในวันแถลงนโยบายรัฐบาลในวันที่ 29 ธันวาคม

ขณะเดียวกัน ในการแถลงนโยบายของรัฐบาลต่อรัฐสภา วันที่ 29-30 ธันวาคมนี้

ฝ่ายค้าน พรรคเพื่อไทย ก็เตรียมพร้อมที่จะอภิปรายชำแหละนโยบายรัฐบาลอย่างเต็มที่เช่นเดียวกัน

ดังนั้น ในช่วงส่งท้ายปีเก่า 2551 รัฐบาลของนายอภิสิทธิ์จะต้องเผชิญศึกจากทั้งนอกสภาและในสภาไปพร้อมๆกัน

สำหรับศึกนอกสภา

กลุ่มม็อบเสื้อแดงที่ไม่พอใจกรณีที่พรรคประชาธิปัตย์ปฏิบัติ การพลิกขั้วการเมือง

โดยผนึกเสียง ส.ส.จากพรรคร่วมรัฐบาลเดิม ได้แก่ พรรคเพื่อแผ่นดิน พรรครวมใจไทยชาติพัฒนา พรรคภูมิใจไทย พรรคชาติไทยพัฒนา พรรคกิจสังคม และกลุ่มเพื่อนเนวิน จัดตั้งรัฐบาลผสม 6 พรรค 1 กลุ่ม

ผลักให้พรรคเพื่อไทย หรือพรรคพลังประชาชนเดิม ต้องกลายเป็นฝ่ายค้าน

แน่นอน เมื่อแกนนำกลุ่ม นปช.ส่วนใหญ่ เป็นนักการเมืองอยู่ ในเครือข่ายพรรคเพื่อไทย ก็ต้องแสดงปฏิกิริยาต่อต้าน ระดมพลคน เสื้อแดงออกมาขวางรัฐบาลภายใต้การนำของพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งเป็นค่ายการเมืองที่อยู่ขั้วตรงข้าม

อย่างไรก็ตาม การที่ม็อบเสื้อแดงประกาศรวมพลที่ท้องสนามหลวง และจะเคลื่อนพลไปชุมนุมหน้ารัฐสภาในวันแถลงนโยบายรัฐบาล วันที่ 29 ธันวาคมนี้

ทำให้สังคมรู้สึกไม่สบายใจ

เพราะหวั่นวิตกว่าอาจเกิดเหตุการณ์ความวุ่นวายที่จะนำไปสู่ความรุนแรง

เหมือนเมื่อครั้งเหตุการณ์ 7 ตุลาคม ที่ม็อบเสื้อเหลืองปิดล้อมรัฐสภา ในวันแถลงนโยบายรัฐบาลของนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ อดีตนายกฯ

ตำรวจใช้แก๊สน้ำตาเปิดทางให้ ส.ส.และ ส.ว.เข้าประชุมรัฐสภา ส่งผลให้มีคนตายและได้รับบาดเจ็บเป็นจำนวนมาก

แม้ในครั้งนี้ทางรัฐบาลและเจ้าหน้าที่ตำรวจยืนยันว่า จะไม่ใช้ ความรุนแรงใดๆกับม็อบเสื้อแดงที่จะมาปิดล้อมรัฐสภา แต่สังคมก็ยังหวาดผวา

เพราะเหตุการณ์เพิ่งผ่านมาหมาดๆ ภาพรอยเลือด คนมือขาด ขาขาด ยังติดตา

ที่สำคัญ แม้การชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธภายใต้ กรอบกฎหมาย ถือเป็นสิทธิที่จะทำได้ตามรัฐธรรมนูญ

แต่ท่ามกลางบรรยากาศที่กำลังเข้าสู่ห้วงส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่

ความรู้สึกของผู้คนส่วนใหญ่ในสังคมที่ต้องเผชิญกับเหตุการณ์ ความวุ่นวายทางการเมือง การชุมนุมประท้วงยืดเยื้อของม็อบเสื้อเหลือง ที่บุกยึดทำเนียบฯ ปิดล้อมสนามบินดอนเมือง และสนามบินสุวรรณภูมิ

สอดแทรกด้วยเหตุรุนแรงหลายครั้งหลายหน คนไทยห้ำหั่นกันเอง ปะทะนองเลือด ล้มตาย และบาดเจ็บเป็นจำนวนมาก

เครียดจัดกันมาทั้งปี

เมื่อเทศกาลแห่งการเฉลิมฉลองส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่ เวียนมาถึง ทุกคนก็อยากผ่อนคลาย อยากสัมผัสกับความสุขและความเบิกบานใจให้เต็มที่

โดยเฉพาะเมื่อสถานการณ์การเมืองได้คลี่คลายลงไประดับหนึ่งแล้ว ก็ไม่อยากให้เกิดเหตุตึงเครียดขึ้นมาอีก

อารมณ์ของสังคมตรงนี้ เป็นสิ่งที่ม็อบเสื้อแดงต้องคำนึงถึงด้วยเช่นกัน

ถ้าจะเอาแต่ความรู้สึกของตัวเองเป็นใหญ่ โดยไม่สนใจความรู้สึกของสังคม ก็อาจจะนำไปสู่สภาวะขาดแนวร่วม

เพราะสังคมไม่ขานรับ

ส่วนทางด้านศึกในสภา

หลังจากรัฐบาลภายใต้การนำของนายอภิสิทธิ์เข้าเฝ้าฯถวายสัตย์ปฏิญาณตนแล้ว ก่อนเข้าบริหารราชการแผ่นดินจะต้องแถลงนโยบายรัฐบาลต่อรัฐสภา จึงจะได้อำนาจในการบริหารประเทศเต็มสมบูรณ์ ซึ่งเป็นไปตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ

โดยวันที่ 29-30 ธันวาคมนี้ นายกฯอภิสิทธิ์จะแถลงนโยบายต่อรัฐสภา ให้ครบตามกระบวนการโดยไม่มีการลงมติ

เพื่อที่เริ่มปีใหม่ 2552 รัฐบาลจะได้เดินหน้าแก้ไขปัญหาของประเทศได้เต็มลูกสูบทันที

เพราะก็อย่างที่เห็นๆกัน ประเทศมีปัญหาสารพัดวิกฤติอยู่ท่วมหัว ดังนั้น รัฐบาลจะต้องทำงานอย่างหนักและรวดเร็ว ให้ทันต่อเหตุการณ์และปัญหาที่รออยู่

ส่วนจะบริหารแก้ไขปัญหาไปได้แค่ไหน ประสบผลสำเร็จหรือไม่ ยังไม่รู้

แต่เป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่จะต้องทำ

อย่างไรก็ตาม ในการแถลงนโยบายรัฐบาลต่อรัฐสภา แม้รัฐธรรมนูญกำหนดว่าไม่ต้องมีการลงมติ แต่ ส.ส.และ ส.ว.ก็มีสิทธิอภิปรายสนับสนุนหรือตำหนิติติงนโยบายของรัฐบาล

และที่ประกาศจองกฐินเอาไว้ ก็คือ ฝ่ายค้าน พรรคเพื่อไทย ซึ่งได้เตรียมจัดทีมอภิปรายไว้หลายคน โดยมอบหมายให้ ร.ต.อ. เฉลิม อยู่บำรุง อดีต รมว.สาธารณสุข เป็นหัวหน้าทีม

แน่นอน จากผลของการพลิกขั้วการเมืองที่ทำให้คนที่อยู่ ซีกรัฐบาลเก่า ต้องกลายมาเป็นฝ่ายค้าน ย่อมเป็นแรงบวกให้การอภิปรายเข้มข้นมากขึ้น

และจากร่องรอยที่เห็นชัดเจนว่านอกจากจะมีการอภิปราย เนื้อหาของนโยบายรัฐบาลแล้ว

การอภิปรายนโยบายรัฐบาลครั้งนี้ ฝ่ายค้านยังหมายหัวเตรียมถล่มรัฐมนตรีที่เป็นคนของพรรคแกนนำอย่างน้อย 4 คน

คนแรก นายกษิต ภิรมย์ รมว.ต่างประเทศ กรณีที่ไปพูดกับทูตานุทูตและสื่อต่างประเทศ ในทำนองการชุมนุมปิดสนามบินของกลุ่มพันธมิตรฯ เป็นเรื่องสนุก ดนตรีไพเราะ อาหารอร่อย

แน่นอน ปมนี้ถือเป็นเรื่องร้อน เพราะการพูดเช่นนี้ทำให้นานาประเทศที่เคร่งครัดในเรื่องการบังคับใช้กฎหมาย และมองว่าสนามบินเป็นผลประโยชน์ร่วมสากล

การชุมนุมประท้วงปิดสนามบินส่งผลกระทบเป็นวงกว้างทั้งกับนักท่องเที่ยว นักธุรกิจ การค้า การส่งออก ได้รับความเสียหายเป็นมูลค่ามหาศาล

เรื่องอย่างนี้ต่างประเทศซีเรียสมาก การที่นายกษิตพูดอย่างนั้น ไม่มีใครรับได้

ต้องโดนฝ่ายค้านถล่มในสภาแน่นอน ถือเป็นแต้มลบด้านต่างประเทศ

เป็นประเด็นที่ท้าทายภาวะผู้นำของนายกฯอภิสิทธิ์อย่างยิ่ง

คนที่สอง คือ นายวีระชัย วีระเมธีกุล รมต.ประจำสำนักนายกฯ ที่เป็นคนนอกเข้ามานั่งเก้าอี้รัฐมนตรีในโควตาพรรคประชาธิปัตย์ จนกลายเป็นปมทำให้เกิดความขัดแย้งในพรรค

มีการปูดข้อมูล 80 ล้านบาท และ ส.ส.ในพรรคประชาธิปัตย์บางคนออกมาประชดประชัน ประกาศจะซื้อธนาณัติเดือนละ 500 บาท ส่งใช้หนี้ 1 แสนปี

พร้อมกับเกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์ว่า เป็นทุนครอบงำการเมือง

แม้ล่าสุด นายวีระชัยได้ออกมาปฏิเสธเรื่องการบริจาคเงินให้พรรคเพื่อแลกกับตำแหน่งรัฐมนตรี และทางคณะกรรมการการเลือกตั้งก็ยืนยันแล้วว่าไม่มีการบริจาค

แต่ปมเรื่องทุนครอบงำพรรค ก็ยังเป็นประเด็นที่ค้างคาใจกันอยู่

อย่างไรก็ตาม ประเด็นนี้ไม่ใช่เรื่องผลงานหรือนโยบาย แต่เป็นเรื่องของจริยธรรมการเมือง ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับฝ่ายค้านว่ามีข้อมูลมากน้อยแค่ไหน ที่จะทำให้สังคมคล้อยตาม

คนที่สาม พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รมว.กลาโหม รัฐมนตรีคนนอกในโควตาพรรคประชาธิปัตย์

โดนฝ่ายค้านตั้งเป้าถล่มในปมเกี่ยวข้องต่อเนื่องกับผู้นำเหล่าทัพ ที่ฝ่ายค้านตั้งป้อมวิจารณ์ว่าอยู่เบื้องหลังเกมพลิกขั้วการเมือง

แน่นอน ในฐานะผู้นำเหล่าทัพเป็นข้าราชการประจำ ไม่มีหน้าที่มาเกี่ยวข้องกับการเมือง

แต่ก็ต้องไม่ลืมว่า หมวกอีกใบของผู้นำเหล่าทัพ ก็คือ ฝ่ายความมั่นคง มีหน้าที่ในการพิทักษ์รักษาราชบัลลังก์

ท่ามกลางสถานการณ์ที่บ้านเมืองแตกแยกแบ่งฝักแบ่งฝ่าย ผู้นำเหล่าทัพประกาศชัดไม่ปฏิวัติยึดอำนาจ แถมออกมาประกาศต่อสังคมให้รัฐบาลชุดที่แล้วแก้ปัญหาวิกฤติประเทศด้วยการยุบสภา-ลาออก

การที่ฝ่ายค้านหยิบยกมาเป็นประเด็นในการอภิปราย ถือเป็นเรื่องนานาจิตตัง

แต่ไม่ได้กระทบต่อภาวะผู้นำของนายกฯอภิสิทธิ์

สำหรับคนที่สี่ ก็คือ ตัวนายกฯอภิสิทธิ์เอง ที่ฝ่ายค้านตั้งป้อมขุดเรื่องเก่าว่าด้วยเรื่องการหนีทหารมาเป็นประเด็นโจมตี

รวมไปถึงเรื่องประเด็นไฮแจ๊คตั้งรัฐบาล การรักษาความสมดุลในการแบ่งโควตารัฐมนตรี ความอ่อนประสบการณ์ในการบริหาร รวมถึงการลอกเลียนแบบนโยบายประชานิยมของรัฐบาลชุดที่แล้ว

น้ำหนักการอภิปรายของฝ่ายค้าน กับน้ำหนักในการชี้แจงของนายกฯ สังคมจะเชื่อถือใคร โน้มเอียงไปทางไหน

คงต้องไปวัดกันในวันแถลงนโยบาย

อย่างไรก็ตาม การแถลงนโยบายของรัฐบาลต่อรัฐสภาในครั้งนี้ ที่สุดแล้วก็คงจะผ่านพ้นไปได้ เพราะไม่ต้องมีการลงมติให้ความเห็นชอบ

รัฐบาลภายใต้การนำของนายอภิสิทธิ์ได้เดินเครื่องทำงานแน่ๆในปี 2552

พี่น้องประชาชนฉลองส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่ ให้สบายใจ กันได้

แต่สำหรับพฤติกรรมของรัฐมนตรีบางคนที่ฝ่ายค้านนำมาอภิปราย ก็จะเป็นเรื่องที่ท้าทายภาวะผู้นำของนายกฯอภิสิทธิ์ต่อไป

และจะทำให้แต้มบวกที่เหลือน้อยลงตอนตั้ง ครม. ลดน้อยลงไปอีก

เหนืออื่นใด หลังจากแถลงนโยบายไปแล้ว ถ้ารัฐบาลไม่ สามารถขับเคลื่อนนโยบายไปสู่การปฏิบัติให้เป็นจริงได้

ภาวะผู้นำของ “อภิสิทธิ์” ก็จะหมดไป

และรัฐบาลภายใต้การนำของพรรคประชาธิปัตย์ ก็ต้องจบไปด้วย.

"ทีมการเมือง"