WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Wednesday, September 16, 2009

การสร้างความสามัคคีแห่งชาติ (ตอน 1)

ที่มา บางกอกทูเดย์

ปัญหาความสามัคคี คือ อุปสรรคขัดขวางเบื้องต้นที่สุดของการแก้ไขปัญหาชาติทั้งปวงด้วยเป็นที่ปรากฎอย่างชัดแจ้งแล้วว่า...ปัญหาความสามัคคีแห่งชาติเป็นปัญหาเผชิญหน้า และปัญหาความขัดแย้งรูปธรรมสูงสุด คือ สงคราม (War)กล่าวคือ การพัฒนาประเทศชาติไม่อาจจะดำเนินไปได้เลยถ้ายังไม่แก้ปัญหาความขัดแย้ง หรือ สงครามดังนั้น...การแก้ปัญหาชาติเพื่อพัฒนาประเทศ ต้องแก้ปัญหาเบื้องต้นที่สุดให้ตกไป คือ แก้ปัญหาความสามัคคีให้ตกไปดั่งเช่น ถ้าไฟไหม้บ้านจะพัฒนาบ้านไม่ได้ หากไม่ดับไฟเสียก่อนท่ามกลางสงครามขัดแย้งต่อสู้กัน ทำลายกัน...การสร้างสรรค์พัฒนาจะประสบความล้มเหลวลงในท้ายที่สุดเช่นเดียวกับ การปฏิบัติธรรม ถ้าจิตใจไม่สงบ มีสติและสมาธิ ก็จะไม่สามารถพัฒนาจิตให้เกิดปัญญา หลุดพ้นจากกิเลสตัณหาได้อย่างสิ้นเชิงการปฏิบัติธรรมจึงเริ่มต้นจาก สมถกัมมัฎฐาน...สู่...วิปัสสนากัมมัฎฐาน เป็นลำดับคนสติแตก คือ คนบ้า เกิดจากความขัดแย้งภายในความคิดอย่างรุนแรง นั่นเองณ ปัจจุบันนี้ ชาติบ้านเมืองของเรามีปัญหาเรื่องความสามัคคีที่ยังแก้ไม่ตกและยิ่งนับวันจะรุนแรงขึ้นเป็นลำดับมีสภาพ “กลียุค ”ตามพระราชดำรัสในสมเด็จ พระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถฯและโดยเฉพาะอย่างยิ่งพระราชดำรัสใน สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว“ชาติล่มจมเพราะไม่สามัคคี”ดังนั้น จึงต้องรีบรับใส่เกล้าฯ สร้างความสามัคคีเพื่อให้ออกจากกลียุค รอดพ้นจากความล่มจมของชาติอันเป็นภารกิจแห่งชาติที่สำคัญ และเร่งด่วนที่สุด ก่อนสิ่งอื่นใดทั้งสิ้น!ความแตกสามัคคีในอดีตของชาติไทยในสมัยกรุงศรีอยุธยานั้น...เป็นเหตุให้เสียกรุงแก่พม่าข้าศึก ในขณะเดียวกันการกู้กรุงศรีอยุธยาทั้ง2 ครั้ง ต้องสร้างความสามัคคี จึงกอบกู้ชาติได้สำเร็จโดยเฉพาะอย่างยิ่งการกอบกู้กรุงศรีอยุธยาของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ที่ต้องรวบรวมคนไทยที่แตกเป็นหลายก๊ก หลายฝ่าย หลายชุมนุม ด้วยวิธีเจรจาชักชวนและคิดค้นวิธีทำสงคราม จนสามารถสร้างความสามัคคี และทำสงครามกอบกู้ชาติได้สำเร็จ จึงทำสงครามกู้ชาติชนะพม่าข้าศึกอย่างรวดเร็ว ในท้ายที่สุดชาวบ้านบางระจัน เป็นตัวอย่างของความสามัคคี ที่สามารถรบกับกองทัพพม่าที่ใหญ่โตมหึมา ถึง 7 ครั้ง 7 ครา สร้างประวัติศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ของชนชาติไทยไว้เป็นแบบอย่าง ตลอดกาลดังนั้น ความแตกสามัคคี คือ เงื่อนไขของความพ่ายแพ้ แต่ความสามัคคี คือ เงื่อนไขของชัยชนะแม้นเรามีทุกอย่างพร้อมแล้วแต่ขาดความสามัคคีก็ไม่มีทางได้รับชัยชนะ ถ้าพิจารณาในด้านนี้ความสามัคคี คือ เงื่อนไขชี้ขาดแห่งชัยชนะ

พลังก้าวหน้าทั้งมวลทั่วโลกจะต้องสามัคคีกัน...ไม่ว่าจะเป็น พลังประชาธิปไตย หรือพลังสังคมนิยม หรือ ชาตินิยม จึงจะมีพลังมวลมหาประชาชนอันกว้างใหญ่ไพศาลสามารถต่อสู้ผลักดันการเปลี่ยนแปลงได้สำเร็จถ้าปราศจากพลังผลักดันของมวลมหาประชาชนอันกว้างใหญ่ไพศาลจะไม่บังเกิดการเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่ไปในทิศทางที่ก้าวหน้าที่สุดนอกจากนั้น พลังมวลชน ยังเป็น ผนังทองแดงกำแพงเหล็ก คอยปกป้องภาระกิจการเปลี่ยนแปลงมิให้ถูกทำลาย และ คอยพิทักษ์ปกป้องประเทศชาติ ไว้ตลอดไปความสามัคคีจะเกิดขึ้นได้จริง เป็นพลังมวลชนอันทรงพลังสูงสุดได้ จะต้องมีเงื่อนไขเป็นเหตุเป็นปัจจัยเงื่อนไขที่ดีที่สุด คือ การเมือง เงื่อนไขการเมืองที่สามัคคีมวลชนที่ก้าวหน้าได้นับแสนนับล้าน คือ การกอบกู้ชาติบ้านเมืองและการโค่นล้มระบอบเผด็จการสร้างประชาธิปไตยส่วนคอมมิวนิสต์นั้นมีได้ช่วงประวัติศาสตร์หนึ่งเท่านั้น กลับล่มสลายลงในเวลาต่อมาในปัจจุบันไม่เหมือนกับพลังประชาธิปไตยที่ชนะเผด็จการได้ทุกรูปแบบประเทศไทยในยุคประวัติศาสตร์สมัยใหม่ ไม่มีเงื่อนไขเอกราช เพราะไม่ได้ตกเป็นเมืองขึ้นของประเทศนักล่าอาณานิคมตะวันตกจึงเหลือแค่เพียงเงื่อนไขเดียว คือ ปัญหาประชาธิปไตย เป็นเงื่อนไขแห่งความสามัคคี ที่จะก่อให้เกิดมวลชนประชาธิปไตยที่กว้างใหญ่ไพศาลที่เป็นพลังแห่ง สันติอหิงสาการรวมตัวของม็อบที่เกิดจากเหตุการณ์ 14 ตุลาคม และพฤษภาทมิฬเกิดขึ้นจากเงื่อนไขประชาธิปไตยแต่ไม่สามารถยกเลิกเผด็จการสร้างประชาธิปไตยได้สำเร็จเพราะถูกครอบโดยลัทธิรัฐธรรมนูญ มิได้มีการนำทางความคิดด้วยลัทธิประชาธิปไตยถึงแม้ว่าจะมีเจตนารมณ์ประชาธิปไตย แต่พอเปลี่ยนเป็นรูปธรรมกลายเป็นมีข้อเรียกร้องรัฐธรรมนูญดังนั้น เจตนารมณ์ขัดแย้งกับข้อเรียกร้อง จึงได้แต่รัฐธรรมนูญไม่ได้ประชาธิปไตยซึ่งเป็นไปตามสัจธรรมว่า “เรียกร้องสิ่งใด ย่อมได้สิ่งนั่น” กล่าวคือเรียกร้องรัฐธรรมนูญก็ได้รัฐธรรมนูญ เรียกร้องประชาธิปไตยย่อมได้ประชาธิปไตย จึงชี้ขาดที่ข้อเรียกร้อง ไม่ใช่ชี้ขาดที่เจตนารมณ์ กล่าวคือ ชี้ขาดที่รูปธรรมไม่ใช่ชี้ขาดที่นามธรรมการรัฐประหารของ รสช. กับ คมช. มีเจตนารมณ์ประชาธิปไตย...แต่กลับใช้อำนาจที่ยึดมาได้นั่นไปสร้างรัฐธรรมนูญ ไม่สร้างประชาธิปไตย จึงประสบความล้มเหลวในการแก้ไขปัญหาเพราะเจตนารมณ์ขัดกับนโยบาย กล่าวคือมีเจตนารมณ์ประชาธิปไตยแต่มีนโยบายสร้างรัฐธรรมนูญ ■

● นิรนาม นิรกาย ●