WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Friday, September 18, 2009

ทนายแม้วเชื่อการเมืองกดดันยึดที่รัชดา

ที่มา ไทยรัฐ
Pic_33757

นายพิชิฏ ชื่นบาน

อัยการ เล็ง ฟ้องเอาที่รัชดาฯ คืนจากคุณหญิงอ้อ ทีมทนายชินวัตร โต้แย้ง ยึดที่ดินรัชดา มั่นใจ หลักฐานต่อสู้ชั้นศาล 'นพดล' เชื่อ กองทุนฟื้นฟูฯ ถูกการเมืองกดดัน ...

วันนี้ (17 ก.ย.) นายพิชิฏ ชื่นบาน อดีตทนายความ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี และ คุณหญิงพจมาน ดามาพงศ์ อดีตภริยา รับผิดชอบคดีทุจริตซื้อขายที่ดินรัชดาภิเษกของกองทุนเพื่อการฟื้นฟู และ พัฒนาสถาบันการเงิน มูลค่า 772 ล้านบาทเศษ กล่าวถึงกรณีที่ นางทองอุไร ลิ้มปิติ ผู้จัดการกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ส่งหนังสือถึง คุณหญิงพจมาน ทวงที่ดินบริเวณถนนรัชดาภิเษกจำนวน 33 ไร่คืน หลังสำนักงานอัยการสูงสุด ตีความว่า สัญญาซื้อขายเป็นโมฆะ เนื่องจาก นายกรัฐมนตรีหรือภริยา ไม่สามารถ เป็นคู่สัญญากับรัฐได้ ว่า ได้แนะนำคุณหญิงพจมาน ให้ส่งหนังสือปฏิเสธการส่งคืนที่ดินดังกล่าวให้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ แล้ว หลังจากได้รับหนังสือจากกองทุนฯ เมื่อเดือน ส.ค.ที่ผ่านมา ให้ส่งคืนที่ดินภายใน 15 วัน โดยการซื้อขายที่ดินยืนยันว่าคุณหญิงพจมาน ปฏิบัติตามข้อกำหนดที่กองทุนฯ จัดการประมูลทุกประการ ซึ่งคุณหญิงพจมาน ได้ชำระค่าธรรมเนียมซื้อที่ดิน 772 ล้านบาทเศษ ให้กองทุนฯ และ มีการจดทะเบียนนิติกรรม มีชื่อเป็นกรรมสิทธิ์เรียบร้อยทุกประการ ส่วนที่กองทุนฯ อ้างว่า หารือข้อกฎหมายกับสำนักงานอัยการสูงสุดแล้ว อัยการให้ความเป็นนิติกรรมเป็นโมฆะนั้น ในส่วนของคุณหญิงพจมาน ยืนยันหลักความสุจริตในการซื้อขายที่ดิน เพราะนางธาริษา วัฒนเกส ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และ ในฐานะประธานกรรมการกองทุนฯ โดยตำแหน่งเคยทำหนังสือถึง คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) รวมทั้งให้การว่า กองทุนไม่ใช่ผู้เสียหาย และกองทุน มีอำนาจซื้อขายที่ดิน และ ขณะที่คดีอาญาที่ถูกฟ้องนั้นในเนื้อหาคำพิพากษาของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ก็ไม่ได้ระบุว่า นิติกรรมเป็นโมฆะ และไม่มีคำสั่งให้ยึดที่ดินหรือเงินที่ซื้อขาย ซึ่งคำพิพากษาฟังได้ว่ากองทุนฯ ผู้ขาย และ คุณหญิงพจมาน ผู้ซื้อไม่มีความผิด โดยการจะมายึดที่คืนนั้นไม่สามารถอ้างได้ว่าเป็นเรื่องคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องคดีอาญาดังกล่าว เพราะการที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ถูกพิพากษา เป็นเรื่องการการตัดสินฝ่าฝืน พ.ร.บ.การป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ พ.ศ.2542 มาตรา 100 ในการเซ็นยินยอมคู่สมรสซื้อขายที่ดิน ขณะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ที่เป็นเจ้าหน้าที่รัฐ

นายพิชิฏ กล่าวอีกว่า หลังจากที่คุณหญิงพจมาน ส่งหนังสือปฏิเสธการคืนที่ดินที่ซื้อมาโดยสุจริตแล้ว หากกองทุน ฯ จะนำเรื่องไปฟ้องคดีแพ่ง โดยอ้างว่านิติกรรมเป็นโมฆะ เพื่อบังคับคดีในการยึดคืนที่ดิน คุณหญิงพจมาน ก็พร้อมจะต่อสู้คดี อย่างไรก็ดี คดีแพ่งที่จะฟ้องมีอายุความ 1 ปี ขณะที่คดีนี้ตัดสินเมื่อเดือน ต.ค.ที่ผ่านมา ทั้งนี้ตนตั้งข้อสังเกตในการทำหนังสือของกองทุน ฯ แจ้งยึดที่ดินคืนว่า ผ่านความเห็นชอบคณะกรรมการกองทุนฯ แล้วหรือไม่ และมีการเมืองเข้ามาแทรกแซงครอบงำ สั่งการให้กองทุนทำหนังสือดังกล่าวหรือไม่ ทั้งนี้ หากกองทุนฯ จะอ้างนิติกรรมเป็นโมฆะจริงแล้ว ตามหลักกฎหมายจะต้องถือว่าผู้ซื้อและผู้ขายจะต้องกลับไปสู่ฐานะเดิมตามหลักกฎหมายของลาภที่มิควรได้ คือก องทุนต้องคืนเงินซื้อขายที่ดินให้กับคุณหญิงพจมานก่อนที่จะให้ส่งคืนที่ดิน แต่การดำเนินการเรื่องนี้ของกองทุนฯยังมีข้อผิดปกติ และสงสัยที่จะไม่เป็นธรรมต่อคุณหญิงว่า จะเรียกคืนที่ดินเพียงฝ่ายเดียว โดยไม่คืนเงินซื้อขายหรือไม่

นายวัยวุฒิ หล่อตระกูล รองอัยการสูงสุด กล่าวถึงกรณีที่อัยการได้รับการประสานให้ฟ้องคดีแพ่ง เพื่อเรียกที่ดินคืนจากคุณหญิงพจมานว่า ได้มอบหมายให้นายเศกสรรค์ บางสมบุญ อธิบดีอัยการฝ่ายคดีพิเศษรับผิดชอบดูรายละเอียดในเรื่องนี้ การฟ้องคดีแพ่งเพื่อเรียกคืนที่ดินนั้นจะเป็นการฟ้องในลักษณะว่าเป็นลาภที่มิควรได้ หากฟ้องแล้วคุณหญิงพจมาน ผู้ซื้อที่ดินยอมคืนที่ดินดังกล่าว กองทุนจะต้องคืนเงิน 772 ล้านบาทเศษ ขณะที่การฟ้องคดีแพ่งจะมีอายุความ 1 ปี คดีนี้ศาลฎีกาฯมีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 21 ต.ค.2551 ดังนั้น ตนจึงได้เร่งให้นายเศกสรรค์ พิจารณาเรื่องนี้ให้ทันเวลา ทราบว่ายังรอเอกสารจากหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องอยู่

ด้าน นายนพดล ปัทมะ อดีตที่ปรึกษากฎหมาย พ.ต.ท.ทักษิณ กล่าวว่า เบื้องต้น ตนคงชี้แจงว่ากรณีที่ดินรัชดานั้น เมื่อครั้งที่มีการซื้อขายกันนั้น กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯเองได้เชิญคุณหญิงพจมาน ไปซื้อที่ดิน และเป็นการประมูลแข่งขันกัน ไม่มีการซูเอี๋ย และนายกรัฐมนตรี ไม่ได้มีอำนาจกำกับดูแลกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ดังนั้นต้องยืนยันว่า การกระทำทุกอย่างเป็นไปโดยสุจริต ที่จริงกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ควรจะขอบคุณด้วยซ้ำ ที่เข้ามาช่วยซื้อที่ดินดังกล่าว นอกจากนี้ ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ก็ได้มีคำวินิจฉัยว่าสัญญาซื้อขายดังกล่าวมีผลผูกพัน ดังนั้น เมื่อเป็นอย่างนี้ จะมีการฟ้องร้องเรียกคืนที่ดินได้อย่างไร

“กรณีนี้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ถูกฝ่ายการเมืองกดดันเยอะ ซึ่งที่จริงกองทุนฟื้นฟูฯ ต้องเข้าใจว่าฝ่ายการเมืองไม่ได้มีอำนาจในกองทุนฟื้นฟูฯ ดังนั้น กองทุนฟื้นฟูฯก็ควรจะตัดสินใจเรื่องต่างๆโดยอิสระ และควรคิดถึงเมื่อครั้งที่เชิญคุณหญิงพจมานไปประมูลซื้อที่ดินด้วย” นายนพดล กล่าว