ที่มา บางกอกทูเดย์
ขณะที่รัฐบาลพยายามทุกวิถีทางเพื่อสร้างกระแส “ข่าวดี” กลบ“ข่าวร้าย” รายวันประกาศว่าจะมีการลงทุนใหม่ๆเข้ามาเท่านั้นเท่านี้ จะมีการเปิดกิจการใหม่ๆ เท่านั้นเท่านี้ จะส่งออกดีขึ้นเท่านั้นเท่านี้ทั้งที่ความจริงวันนี้ก็คือข้าราชการ “เกียร์ว่าง” กันหมดแล้วถึงขนาดเกิดคำพูดขึ้นในแวดวงข้าราชการไทยยุคใหม่ว่า “การอยู่เฉยๆคือ การทำงานที่ดีที่สุด”เมื่อข้าราชการเกียร์ว่าง เศรษฐกิจจะเดินหน้าได้อย่างไรในเมื่อข้าราชการคือหน่วยงาน
สนับสนุนการทำงานของภาคเอกชน คือผู้อำนวยความสะดวกในขั้นตอนต่างๆถ้าข้าราชการไม่คิด ไม่ทำ ไม่แก้ไขปัญหาประเทศชาติจะเจริญรุ่งเรืองได้อย่างไรถ้าข้าราชการไม่กล้าเสนอของบประมาณเพื่อลงทุนด้านการทำงานให้มีประสิทธิภาพ ผลงานจะออกมาดีได้อย่างไรถ้าผู้บริหารในหน่วยงานราชการไม่กล้าปรับองค์กร โยกคนนั้นไปนั่งตรงนี้โยกคนนี้ไปนั่งตรงนั้น เพื่อให้คนทำงานตรงกับงานงานจะมีประสิทธิภาพได้อย่างไรแต่ถ้าทำไปแล้วถูกกล่าวโทษย้อนหลังตามยึดบำเหน็จบำนาญ ถามว่าใครจะกล้าทำสู้ยึดตำรา “คนไม่ผิดคือคนที่ไม่ทำอะไรเลย” ไม่ดีกว่าหรือจะได้ไม่โดนแบบ ศุภรัตน์ ควัฒน์กุลอดีตปลัด กระทรวงการคลัง ซึ่งถูกอนุกรรมการคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (อ.ก.พ.) กระทรวงการคลังที่มี กรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นประธาน มีมติไล่ออกจากตำแหน่งปลัดกระทรวงการคลังหลังจากที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.)ยืนยันว่า นายศุภรัตน์มีความผิดทางวินัยอย่างร้ายแรง จากการแต่งตั้งตำแหน่งรองอธิบดีกรมสรรพากร 4 คน“สิ่งที่เกิดขึ้นทุกคนต้องยอมรับความจริง และสามารถยอมรับกับสิ่งที่เกิดขึ้นกับตัวเองได้และไม่ได้มีปัญหาแต่เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นมาจากระบบใหญ่ของราชการ ซึ่งต้องไปช่วยกันคิดว่าเกิดจากสาเหตุอะไร”นั่นคือคำกล่าวของนายศุภรัตน์ในวันสุดท้ายก่อนลาออกจากตำแหน่งหรือการขุดคดีสนามกอล์ฟอัลไพน์มาดิสเครดิตพรรคเพื่อไทยเพื่อเอาผิดย้อนหลัง เห็นชัดๆ ว่าเป็นเกมการเมือง แต่ไปกระทบข้าราชการที่มีส่วนเกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็นข้าราชการที่ยังปฏิบัติหน้าที่อยู่ณ เวลานี้ หรือเกษียณอายุราชการไปแล้วซึ่งต้องยอมรับว่าในฐานะของข้าราชการล้วนทำงานอยู่ใต้ร่มเงา
นักการเมือง ถ้านักการเมืองในฐานะผู้บังคับบัญชาสั่งให้ทำ หากไม่ทำก็จะกลายเป็นความผิดแต่หากทำตามคำสั่งเมื่อนักการเมืองคนนั้นพ้นจากตำแหน่ง นักการเมืองฝ่ายตรงข้ามเข้ามาดำรงตำแหน่งแทน แล้วใช้อำนาจบาตรใหญ่ขุดค้นข้อบกพร่องย้อนหลังเพื่อเอาผิดชนิดไม่ได้ด้วยเล่ห์ก็ต้องเอาด้วยกล จนเป็นเหตุให้ขวัญกำลังใจข้าราชการสั่นคลอนถามว่าแบบนี้จะมีใครอยากทำงานสู้เข้า “เกียร์ว่าง” นั่งตบยุงไปวันๆไม่ดีกว่าหรือหรือกรณีที่เป็นข่าวบานปลายขณะนี้กับการเอาผิดตำรวจสลายม็อบพันธมิตรฯ เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2551โดยเมื่อวันที่ 7 กันยายนคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือ ป.ป.ช.ซึ่งมี ปานเทพ กล้าณรงค์ราญประธาน ป.ป.ช. ทำหน้าที่ประธานการประชุม ได้พิจารณาคดีสั่ง การสลายการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ที่หน้ารัฐสภาซึ่งที่ประชุมมีมติชี้มูลความผิดนักการเมืองและนายตำรวจที่เกี่ยวข้องทำเอา พล.ต.อ.พัชรวาทวงษ์สุวรรณ ในฐานะผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติขณะนั้น โดนไปเต็มๆโดยผลสอบระบุว่าเมื่อเกิดเหตุรุนแรงจนถึงขั้นผู้ชุมนุมบาดเจ็บสาหัส ถึงขนาดขาขาดแขนขาดในฐานะผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ต้องยับยั้งมิให้เหตุการณ์ลุกลามต่อไปจึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ฐานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบและมีความผิดวินัยร้ายแรงซึ่งที่ประชุม ป.ป.ช. มีมติชี้มูลความผิด8 ต่อ 1 โดยส่งผลให้หยุดปฏิบัติหน้าที่โดยทันทีต่อมา พล.ต.อ.พัชรวาทวงษ์สุวรรณ ได้ลาออกจากตำแหน่งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติแต่เรื่องกลับไม่จบเมื่อตำรวจมากมายออกมาทวงถามว่า..สิทธิของตำรวจอยู่ตรงไหน ขอบข่ายหน้าที่ของตำรวจคืออะไร ถ้าการปฏิบัติหน้าที่ตามหลักสากลคือความผิด ต่อไปใครจะกล้าดำเนินการแล้วถ้าตำรวจเกียร์ว่าง บ้านเมืองลุกเป็นไฟ ใครจะรับผิดชอบในเมื่อทุกกระทรวง ทบวง กรมกอง พร้อมใจกันใส่เกียร์ว่างแบบนี้เศรษฐกิจจะเดินหน้าได้อย่างไร? ■