WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Friday, September 18, 2009

พ.ร.บ.ความมั่นคง กฎหมายคุมม็อบ

ที่มา บางกอกทูเดย์

ในระยะหลังของการเคลื่อนไหวทางการเมืองของกลุ่ม“คนเสื้อแดง” ต้องเผชิญกับกฎหมายควบคุมม็อบอย่าง พ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร หรือพ.ร.บ.ความมั่นคง จนต้องเลื่อนการชุมนุมมาแล้ว 2 ครั้งแต่ครั้งที่ 3 นี้ คนเสื้อแดงยืนยันเสียงกร้าวเดินหน้าชุมนุมให้ได้ แม้รัฐบาลจะประกาศใช้ พ.ร.บ. ความมั่นคง ก็ตามหากย้อนกลับไปดูที่มาที่ไปของ พ.ร.บ. ความมั่นคง จะพบว่าการก่อเกิด พ.ร.บ. ฉบับนี้เกิดขึ้นในรัฐบาลที่มาจากการรัฐประหาร19 กันยายน 2549 โดยการเสนอกฎหมายดังกล่าวเข้าสภานิติบัญญัติของ ผอ.รมน. พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน เมื่อครั้งที่นั่งเก้าอี้ ผบ.ทบ.และประธาน คมช.แต่กว่ากฎหมายฉบับนี้จะคลอดได้ ผ่านการปรับแก้หลายรอบเข้าออกคณะการกฤษฎีการหลายรอบ เพราะในช่วงแรกฎหมายฉบับนี้ถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่าเป็นกฎหมาย “ติดหนวด” หรือมีความเป็นเผด็จการ เหมือน อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ผู้นำเผด็จการเยอรมนี

เนื่องจากในบางมาตรการให้อำนาจหน้าที่เจ้าหน้าที่ในการควบคุมสถานการณ์ ปิดล้อมตรวจค้นโดยไม่ต้องมีหมายค้น หรือการสั่งห้ามเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารอันจะเป็นภัยต่อความมั่นคงหรือบทลงโทษเจ้าหน้าที่กรณีปฏิบัติหน้าที่ผิดพลาด ที่ไม่ชัดเจนสุดท้ายแล้วกระแสสังคมในช่วงนั้น กดดันให้ต้องมีการแก้ไขเพื่อให้เป็นที่ยอมรับ รัฐบาลพล.อ.สุรยุทธ จุลานนท์ จึงส่งเรื่องให้กฤษฎีกาแก้ไข โดยมีการตั้งคณะกรรมการจากหลายส่วนเพื่อ“ชำแหละ” กฎหมายฉบับนี้จนในที่สุดรัฐบาลพล.อ.สุรยุทธ์ ได้ประกาศใช้ พ.ร.บ.ความมั่นคง ได้ทันเวลาก่อนจะส่งไม้ต่อให้รัฐบาล นายสมัครสุนทรเวช ในปี 2551ทั้งนี้ หลังการประกาศใช้ พ.ร.บ. ความมั่นคง สถานการณ์ทางการเมืองยังไม่กลับเข้าสภาวะปกติ มีการเคลื่อนไหวของกลุ่มพันธมิตรฯ ทั้งการ ยึดสนามบิน ยึดทำเนียบรัฐบาลแต่กฎหมายฉบับนี้ ยังไม่ถูกหยิบขึ้นมาใช้ควบคุมสถานการณ์ซึ่งรัฐบาลนายสมัคร ได้เลือกที่จะใช้ พ.ร.ก. ฉุกเฉิน ที่ร่างโดยรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ใช้ควบคุมสถานการณ์ แต่ก็ไม่เป็นผลพันธมิตรฯ ยังยึดสนามบิน ยึดทำเนียบส่วนงานแรกของ พ.ร.บ.ความมั่นคง ที่ถูกใช้งานอย่างเต็มรูปแบบ คือการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนและประเทศคู่เจรจา 14-23 ก.ค. ที่จังหวัดภูเก็ตครั้งนั้นถือเป็นการปฏิบัติเต็มรูปแบบ มีการกำหนดเส้นทางเข้าออก ลงทะเบียนรถที่จะเข้าออกพื้นที่ประกาศใช้ พ.ร.บ.อย่างเข้มงวด ซึ่งการปฏิบัติเช่นนี้ถือเป็นการปฏิบัติตามมาตรา18 ที่ระบุว่าเพื่อประโยชน์ในการป้องกัน ปราบปราม ระงับ ยับยั้ง และแก้ไขหรือบรรเทาเหตุการณ์ภายในพื้นที่ตามมาตรา 15ให้ผู้อำนวยการโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีมีอำนาจออกข้อกำหนด ดังต่อไปนี้

(1) ให้เจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้องปฏิบัติการหรืองดเว้นการปฏิบัติการอย่างหนึ่งอย่างใด

(2) ห้ามเข้าหรือให้ออกจากบริเวณพื้นที่ อาคาร หรือสถานที่ที่กำหนดในห้วงเวลาที่ปฏิบัติการ เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ หรือเป็นบุคคลซึ่งได้รับการยกเว้น

(3) ห้ามออกนอกเคหสถานในเวลาที่กำหนด

(4) ห้ามนำอาวุธออกนอกเคหสถาน

(5) ห้ามการใช้เส้นทางคมนาคมหรือการใช้ยานพาหนะ หรือกำหนดเงื่อนไขการใช้เส้นทางคมนาคมหรือการใช้ยานพาหนะ

(6) ให้บุคคลปฏิบัติหรืองดเว้นการปฏิบัติอย่างหนึ่งอย่างใดอันเกี่ยวกับเครื่องมือหรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เพื่อป้องกันอันตรายที่จะเกิดแก่ชีวิต ร่างกายหรือทรัพย์สินของประชาชนข้อกำหนดตามวรรคหนึ่งจะกำหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนเวลาหรือเงื่อนไขที่กำหนดไว้ด้วยก็ได้ทั้งนี้ การกำหนดดังกล่าวต้องไม่ก่อความเดือดร้อนแก่ประชาชนเกินสมควรแก่เหตุการบังคับใช้กฎหมายของ กอ.รมน. ในครั้งนี้ ถือว่าสอบผ่านสายตาของรัฐบาล จนทำให้รัฐบาลติดใจวางแผนเตรียมประกาศในการประชุมอาเซียนช่วงเดือนตุลาคมนี้อีกรอบไม่เพียงเท่านั้น พ.ร.บ. ความมั่นคง ยังถูกใช้บริการเป็นครั้งที่ 2เมื่อคนเสื้อแดงประกาศจะชุมนุมที่ลานพระบรมรูปทรงม้าในวันที่30 สิงหาคม แต่เมื่อเจอ พ.ร.บ. ความมั่นคง คนเสื้อแดงจึงต้องถอยตั้งหลักกำหนดวันที่ 5 ก.ย. แต่ก็เจอแผนของ “สุเทพเทือกสุบรรณ” ที่ใช้ พ.ร.บ. ความมั่นคงเช่นเดิมสุดท้ายคนเสื้อแดงก็ตกลงใจกันใช้วันที่ 19 กันยาฯ เป็นวันดีเดย์รวมพลคนเสื้อแดง แม้รัฐบาลจะประกาศใช้ พ.ร.บ. ความมั่นคงก็ไม่สน เพราะหากเลื่อนเป็นครั้งที่ 3 มีสิทธิ์ มวลชนคนเสื้อแดงอาจหายไปกว่าครึ่ง เพราะหลายคนตั้งท่ารอมานานนับเดือนการประกาศใช ้พ.ร.บ. ความมั่นคง ครั้งนี้ แนวทางการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ยังคงยึดตามตัวบทกฎหมาย เป็นหลัก เพราะคงเข็ดกับการชี้มูลความของ ป.ป.ช. แม้จะมี พ.ร.บ. ความมั่นคงรอบรับ แต่ก็ไม่มีอะไรรับประกันได้ว่าจะมีผลย้อนหลัง หากเกมการเมืองเปลี่ยนส่วนการบังคับใช้ พ.ร.บ.ความมั่นคง ครั้งนี้จะเป็นครั้งสุดท้ายหรือไม่ ยังไม่มีใครรู้อนาคต ได้แต่หวังเช่นนั้น ■