WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Thursday, September 17, 2009

ความเสื่อมรัฐไทย

ที่มา Thai E-News

ที่มา บทบรรณาธิการ
หนังสือพิมพ์
โลกวันนี้
16 กันยายน 2552


จากรายงานข่าวการประชุมระดมความเห็นและชี้แจงข้าราชการระดับสูงทำเนียบรัฐบาล และผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 12 กันยายนที่ผ่านมา เกี่ยวกับ "แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบการตรวจราชการ พ.ศ. 2552-2556" โดยผู้เข้าร่วมสัมมนาจำนวนหนึ่ง ได้นำเนื้อหาในบทสรุปสำหรับผู้บริหารมาหารือในวงประชุม ซึ่งรายงานว่า

ความตกต่ำเกือบทุกด้านของรัฐไทยผ่านดัชนีชี้วัดด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นดัชนีความสงบสุข การบริหารจัดการที่ดี และประสิทธิภาพของภาครัฐ ฯลฯ

จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่ดัชนีชี้วัดจะระบุว่า ประเทศไทยมีอันดับและคะแนนที่มีแนวโน้มลดลงทุกปี นับตั้งแต่ปี 2544-2551 ยิ่งความวุ่นวายทางการเมืองยังมีแนวโน้มเกิดความรุนแรง ภาพลักษณ์ของรัฐไทยในสายตานานาชาติก็ยิ่งย่ำแย่ลงกว่าเดิม และการจัดอันดับประสิทธิภาพก็จะลงต่ำกว่าเดิม สิงคโปร์และมาเลเซียก็ยิ่งทิ้งห่างไทยมากขึ้นเรื่อยๆ

เอกสารยุทธศาสตร์พัฒนาระบบการตรวจราชการ ยังระบุผลการประเมินสังคมไทยด้วยดัชนีความสงบสุขว่า ประเทศไทยอยู่ในกลุ่มประเทศที่มี ระดับดัชนีความสงบสุขระดับต่ำ โดยปี 2551 อยู่ที่ 118 แย่กว่าปี 2550 ที่อยู่อันดับ 105 จากการจัดอันดับประเทศทั่วโลก 140 ประเทศ ถือว่า ประเทศไทยอยู่ในกลุ่มประเทศที่มีระดับความสงบสุขต่ำที่สุดประเทศหนึ่งในโลก และต่ำที่สุดเป็นอันดับที่ 2 ในกลุ่มประเทศอาเซียน รองจากประเทศพม่า (อันดับที่ 126) เพียงประเทศเดียว โดยปัจจัยเชิงลบมีทั้งปัญหาอาชญากรรมที่รุนแรงเพิ่มขึ้น เสถียรภาพรัฐบาล การละเมิดสิทธิมนุษยชน และการแสดงออกด้านความรุนแรง เป็นต้น

ส่วนระบบบริหารจัดการยังมีปัญหาด้านภาพลักษณ์ ธนาคารโลกระบุว่า ประเทศไทยมีคะแนนอยู่ในระดับปานกลาง และมีแนวโน้มลดลงทุกปีนับตั้งแต่ปี 2545 ทั้งมีแนวโน้มห่างจากมาเลเซียมากขึ้นเรื่อยๆ แม้ภาพลักษณ์การคอร์รัปชันช่วง 5 ปีที่ผ่านมา (ปี 2547-2551) จะปรับตัวดีขึ้นเล็กน้อย แต่เมื่อเปรียบเทียบกับสิงคโปร์และมาเลเซียแล้ว ทั้งสองประเทศมีค่าคะแนนมากกว่าเกือบเท่าตัว

เช่นเดียวกับผลการจัดอันดับประสิทธิภาพภาครัฐและฐานะการคลังปี 2546-2551 ประเทศไทยมีแนวโน้มแย่ลง นอกจากนี้ยังมีปัญหาด้านความโปร่งใส การทุจริตและประพฤติมิชอบ และการให้บริการสาธารณะ ทำให้อันดับลดลงจากอันดับที่ 21 ในปี 2547 มาอยู่ที่อันดับ 46 ในปี 2551

นี่คือความจริงที่รัฐบาลต้องเร่งแก้ไข และแจ้งให้ประชาชนรับรู้ เพื่อร่วมกันทำให้สังคมไทยกลับสู่คำว่า “สยามเมืองยิ้ม” อีกครั้ง

การเริ่มต้นที่สำคัญที่สุดคือ รัฐบาลต้องยึดมั่นในนิติรัฐ นิติธรรม และความเสมอภาคอย่างแท้จริง ไม่ใช่ขายฝันแบบไร้ทิศทาง หรือใช้กำลังและอำนาจเป็นเครื่องมือในการตัดสินปัญหาอย่างทุกวันนี้