WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Saturday, September 19, 2009

The Economist: Where Power Lies. ที่ตั้งของอำนาจ

ที่มา Thai E-News

ที่มา http://www.economist.com/world/asia/displaystory.cfm?story_id=14456895

แปลโดยทีมงานไทยอีนิวส์
18 กันยายน 2552


กองทัพที่พัวพันการเมืองของประเทศไทย

ที่ตั้งของอำนาจ

รัฐประหารช่างเป็นการจัดการที่ล้าสมัย


ฤดูใบไม้ร่วงมักเป็นฤดูรัฐประหารของประเทศไทย เมื่อสามปีที่แล้วพตท.ทักษิณ ชินวัตรซึ่งเป็นนายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ได้บินไปที่กรุงนิวยอร์คเพื่อเข้าร่วมประชุม United Nations General Assembly และเป็นช่วงที่มีข่าวลือสะพัดในกรุงเทพฯว่ามีแผนการกำจัดเขา ผู้บัญชาการกองทัพบกของเขาได้ปฏิเสธข่าวลือทั้งหมด แต่ในวันที่ 19 กันยายน 2549 เขาก็เข้ายึดอำนาจ และในขณะที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบัน กำลังเดินทางไปร่วมประชุม UN ของปีนี้ เขาคงจะต้องหวังว่าประวัติศาสตร์จะไม่ซ้ำรอยอีกครั้ง ตั้งแต่การโค่นล้มทักษิณ ประเทศไทยได้เผชิญอยู่กับความยุ่งเหยิงวุ่นวายจากความขัดแย้งทางการเมือง ทางกองทัพได้สวมบทบาทอย่างเด็ดขาด แม้กระทั่งหลังจากที่พวกเขาสวมบทบาทของการปกครองเป็นแบบพลเรือน มีไม่กี่คนที่เชื่อว่าพวกเขาจะกลับไปสู่กองกรมในไม่ช้านี้


ในโอกาสครบรอบ 3 ปีของการรัฐประหาร ชาวเสื้อแดงที่สนับสุนทักษิณมีกำหนดการชุมนุมในกรุงเทพฯ การรวมตัวเพื่อแสดงพลังน่าจะเกิดขึ้น การออกกพระราชบัญญัติความมั่นคงที่มีการโต้เถียงกันอย่างกว้างขวาง จะเปิดโอกาสให้กองทัพเข้ามาควบคุมความสงบเรียบร้อยถ้าตำรวจไม่สามารถจะทำได้ และความขัดแย้งเรื่องการแต่งตั้งผู้บัญชาการตำรวจได้ก่อให้เกิดการสั่นคลอนภายในกองกำลังเสียแล้ว


นายอภิสิทธิ์ได้พยายามที่จะปลอบขวัญคนไทยว่ารัฐบาลซึ่งมีอายุ 9 เดือน และไม่ค่อยจะลงรอยกันเท่าไหร่ของเขายังมีสัมพันธภาพที่ดีกับทางกองทัพอยู่ ทหารระดับสูงได้ให้คำสัญญาตามปกติว่าจะไม่มีรัฐประหาร และครั้งนี้พวกเขาคงจะค่อนข้างจริงใจกับคำสัญญา มันคงจะดูไม่รอบคอบถ้าจะโค่นล้มนายอภิสิทธิ์ผู้ซึ่งพวกเขาได้ช่วยแต่งตั้งเข้ามาหลังจากที่ศาลตัดสินยุบรัฐบาลที่สนับสนุนทักษิณ และผู้ซึ่งเป็นหนี้บุญคุณพวกเขา

เหล่านายทหารทั้งหลายมักจะบ่นว่าการเมืองในประเทศไทย ซึ่งต่างจากการทหาร เป็นเกมส์ที่สกปรก แต่เป็นเกมส์ที่พวกเขาจัดการได้เพื่อประโยชน์ของพวกเขา หลังจากรัฐประหาร รัฐธรรมนูญปี 2540 ที่เป็นเสรีนิยมถูกทดแทนด้วยรัฐธรรมใหม่ที่มีความเป็นประชาธิปไตยลดน้อยลง พวกเขาสามารถเพิ่มงบประมาณที่มากขึ้นให้กับกองทัพ (ดูจาก chart) ซึ่งทำให้พวกเขาสามารถยื่นมือช่วยเหลือนักการเมืองที่เป็นมิตรกับพวกเขาได้อย่างสบาย และการอนุมัติพรบ.ความมั่นคงก็ผ่านไปได้อย่างง่ายดาย


วิธีนี้มันดูจะเป็นวิธีที่สะดวกหลังจากที่กลุ่มสนับสนุนทักษิณได้รับชัยชนะการเลือกตั้งในเดือนธันวาคม 2550 และรัฐบาลทหารที่ไร้ประสิทธิภาพถูกละทิ้งไป ในไม่กี่เดือนหลังจากนั้น ผู้ประท้วงเสื้อเหลืองผ่ายขวาก็กลับเข้ามาบนถนนในกรุงเทพฯอีกครั้ง และปฏิเสธที่จะสลายตัวจนกว่ารัฐบาลใหม่จะออกไป หลังจากความวุ่นวายเกิดขึ้นที่ตามมา กองทัพได้กลับมาเป็นหนึ่งใหม่ กลุ่มเสื้อเหลืองเรียกร้องให้มีรัฐประหารอีกครั้ง แต่พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ปฏิเสธที่จะทำตามนั้น แต่เมื่อเขาได้ปฏิเสธที่จะจัดการกับผู้ชุมนุมที่สนามบินสองแห่งเมื่อเดือนพฤษจิกายนที่แล้ว และกลับกัน ได้เรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีสมชาย วงศ์สวัสดิ์ลาออก ผลลัพธ์ที่ออกมาก็เหมือนกัน

หลังจากความยุ่งเหยิงที่ถูกก่อขึ้นโดยกองทัพ พวกเขามีความพอใจกว่าในการชักใยอยู่เบื้องหลัง นาย Paul Chambers จาก Heidelberg University ประเทศเยอรมัน กล่าว พวกเขามีเครื่องมือทางกฏหมายทุกอย่างที่จะคุมพลเรือนอย่างนายอภิสิทธิ์ให้อยู่ในโอวาทโดยไม่จำเป็นต้องบริหารประเทศโดยตรง

แน่นอน ความลังเลของพล.อ.อนุพงษ์ที่จะยึดอำนาจไม่ได้ขัดขวางให้นายทหารคนอื่นๆพยายามทำ รัฐประหารหลายครั้งใน 18 ครั้งตั้งแต่ปี 2475 ได้มีการแตกแยกแบ่งออกเป็นหลายฝ่ายภายในกองทัพในช่วงการสับเปลี่ยนตำแหน่งในฤดูใบไม้ร่วง แต่พล.อ.อนุพงษ์ได้เลื่อนตำแหน่งผู้ติดตามของเขาและลงโทษทหารที่สงสัยว่าจะจงรักภักดีต่อทักษิณ เขาจะต้องเกษียนปีหน้าในฐานะผู้บัญชาการทหารบกซึ่งเป็นกองทหารที่สำคัญที่สุด ผู้สืบทอดของเขาคือรองผู้บัญชาการ พล.อ.ประยุทธ จันทร์โอชา ซึ่งเขาอายุน้อยพอที่จะดำรงตำแหน่งถึงปี 2557 เขาถูกมองว่าเป็นอนุรักษ์นิยมมากกว่าผู้บังคับบัญชาของเขาเสียอีก และนอกจากนั้นยังอาจจะยอมสู้เพื่อรักษาความมั่นคงและปกป้องสถาบันกษัตริย์ที่เคารพรัก พล.อ.ประยุทธคงจะมีบทบาทที่สำคัญในช่วงสืบทอดราชบัลลังค์ของกษัตริย์ภูมิพลอดุลยเดชซึ่งมีพระชนมายุ 81 พรรษา

ในเหล่าคนไทย กองทัพบกได้รับความเคารพและความระแวงสงสัยไปพร้อมๆกัน ในการสำรวจล่าสุดโดย Asia Foundation กองทัพบกถูกจัดเป็นอันดับสองรองจากสถาบันยุติธรรมที่มีจรรยาบรรณ (สถาบันกษัตริย์ไม่ได้อยู่ในตัวเลือก) แต่เพียง 37% ของผู้ตอบบอกว่ากองทัพเป็นกลาง ชื่อเสียงของพวกเขาดีขึ้นหลังจากพฤษภาคม 2535 เมื่อกองทัพได้สังหารหมู่ผู้ชุมนุมในกรุงเทพฯ หลังจากนั้นประชาชนก็ไม่เคยยั้ง ทหารถูกถ่มน้ำลายในที่สาธารณะ แต่รัฐบาลพลเรือนที่ตามมาได้ประสบความล้มเหลวในการปฏิรูปกองทัพที่มีทหารจำนวน 300,000 นาย พวกเขายังมีนายพลที่ยังอยู่ในตำแหน่งหลายร้อยคน และหลายคนที่ไม่มีแม้กระทั่งโต๊ะทำงาน นายทหารที่มียศ 4 ดาวของไทยมีถึง 36 คน ซึ่งตามหลังอเมริกาแค่นิดเดียวคือ 41 คน แต่กองทัพอเมริกาใหญ่กว่าสี่เท่าและกำลังทำสงครามอยู่ด้วย

พตท.ทักษิณซึ่งเข้ามามีอำนาจในปี 2544 ได้กระทบกองทัพบกสองด้าน ด้านแรกเขาได้คุมการใช้จ่ายของกองทัพ ซึ่งหมายถึงจำนวนคอมมิชั่นมหาศาลที่น้อยกว่าในการซื้ออาวุธที่แพง ด้านที่สอง เขาเข้าไปแทรกแซงการเลื่อนตำแหน่งของทหารประจำปี ภายใน 2 ปีเขาได้มอบตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบกให้กับลูกพี่ลูกน้องของเขา และมันได้ทำให้เขาเป็นคู่อริกับเปรม ติณสูลานนท์ นายพลที่เกษียณแล้วและเป็นอดีตนายกรัฐมนตรีซึ่งเป็นที่ปรึกษาของกษัตริย์ภูมิพล การมอบหมายตำแหน่งในระดับสูงเป็นขอบเขตของเปรม ผู้เป็นหนึ่งในองคมนตรี นักการเมืองใหม่ไม่ควรเข้ามายุ่งเกี่ยว ผลที่ตามมาจากความขัดแย้งระหว่างเปรม-ทักษิณ และรัฐประหารปี 2549 ทำไห้ทหารกลับออกมามีบทบาททางการเมืองอีกครั้ง ซึ่งพวกเขาอาจจะไม่ได้ออกไปจากมันเลยก็ได้

ประชาธิปไตยในเอเซีย อย่างเช่นในอินโดนีเซีย หรือเกาหลีใต้ ได้ผลักการปกครองโดยทหารไปอยู่ข้างหลังพวกเขาแล้ว แต่กระนั้น ประเทศไทยกำลังว่ายสวนทางกัน รัฐบาลพลเรือนซึ่งได้รับการเลือกตั้งมาจากประชาชนอาจจะเปลี่ยนทิศทางได้ แต่ชนชั้นสูงในกรุงเทพฯจะไม่ยอมรับรัฐบาลที่สนับสนุนทักษิณอีก วันที่ 19 กันยายนนี้ เสื้อแดงมุ่งมั่นที่จะเดินขบวนไปยังบ้านพักของพล.อ.เปรม ผู้ซึ่งถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้วางแผนรัฐประหาร 2549 กองทัพของไทยเชื่อว่าพวกเขาเป็นผู้ปกป้องราชบัลลังค์และสงสัยแผนการสู่สาธารณรัฐของเสื้อแดง ซึ่งด้วยเหตุผลนั้น นายพลต่างๆยังไม่เต็มใจที่จะปล่อยมือจนกว่าการสืบราชบัลลังค์จะสิ้นสุดลง แต่การปราบปรามการชุมนุมใหญ่ในนามของกษัตริย์ที่ดึงดูดใจประชาชนเป็นเรื่องหนึ่ง และเหมือนที่กองทัพเนปาลได้เรียนรู้เมื่อปี 2549 การกระทำอย่างเดียวกันต่อ ** (เซ็นเซอร์) ***** เป็นสูตรสำเร็จของความพ่ายแพ้

Thailand's political army

Where power lies

Sep 17th 2009 BANGKOK From The Economist print edition

Coups are such an old-fashioned way of running thingsGetty Images AUTUMN in Thailand is coup season. Three years ago the prime minister at the time, Thaksin Shinawatra, flew to New York for the United Nations General Assembly as rumours circulated in Bangkok of a plot against him. His army chief denied them. On September 19th 2006 he seized power. As he sets off for this year’s UN meetings, the current prime minister, Abhisit Vejjajiva, will be hoping that history does not repeat itself. Since Mr Thaksin’s ousting, Thailand has been convulsed by political fighting. The army has played a decisive role, even after it donned a figleaf of civilian rule. Few expect the generals to go back to their barracks soon.

To mark the third anniversary of the coup, Mr Thaksin’s red-shirted supporters plan to rally in Bangkok. A big show of force is likely. A controversial security law allows troops to restore order if the police cannot manage—and a political row over the appointment of a new police chief has already rattled the force.

Mr Abhisit has tried to reassure nervous Thais that his squabbling, nine-month-old coalition government is on good terms with the army. The top brass have given their usual no-coup pledges. This time, they are probably sincere. It would seem rash to unseat Mr Abhisit, whom they helped to install after the courts dissolved a pro-Thaksin government, and who remains beholden to them.

Army officers like to grumble that politics in Thailand, unlike soldiering, is a dirty game. But it is a game that they have rigged to their advantage. After the coup, the liberal 1997 constitution was replaced by a less democratic one. They have secured a bigger budget allocation (see chart), allowing them to give friendly politicians a hand. And a tough new internal-security act was passed with minimal oversight.

This proved handy after Mr Thaksin’s allies won an election in December 2007 and an inept military government was disbanded. Within months, yellow-shirted royalist protesters were back on the streets in Bangkok, refusing to leave until the government did. In the ensuing chaos, it was the army that arguably emerged on top. Urged by yellow-shirts to stage another coup, General Anupong Paochinda, the army chief, demurred. But when he refused to disperse the crowds at Bangkok’s two airports last November, and instead urged the prime minister, Somchai Wongsawat, to resign, the effect was the same.

After the mess it made in power, the army is much happier pulling the strings, says Paul Chambers of Heidelberg University in Germany. It has all the legal tools it needs to keep civilians like Mr Abhisit in line, without the bother of having actually to run the country.

Of course, General Anupong’s reluctance to seize power need not preclude others from trying. Many of the 18 coups since 1932 have turned on factional rivalry within the top military ranks during the autumn shuffle of commands. But General Anupong has promoted his followers and penalised officers suspected of Thaksinite loyalties. He is due to retire next year as head of the army, the most important branch of the armed forces. His anointed successor is his deputy, General Prayuth Chan-ocha, who is young enough to serve until 2014. He is reckoned to be even more conservative than his mentor, and even readier to crack heads to defend national security and the revered monarchy. General Prayuth is likely to play a crucial role during the much-feared succession to the king, Bhumibol Adulyadej, who is 81.

Among Thais, the army commands both respect and suspicion. A recent survey by the Asia Foundation ranked it second behind the judiciary as institutions with integrity (the monarchy was not an option). But only 37% of respondents said it was neutral. Its reputation has improved since May 1992, when troops massacred scores of demonstrators in Bangkok. Never again, came the refrain. Soldiers were spat on in public. But successive civilian governments failed to overhaul the 300,000-strong armed forces. They still have several hundred active generals, many without even a desk. The tally of 36 four-star officers is just behind America’s 41. But America’s army is four times larger—and at war.

Mr Thaksin, who came to power in 2001, crossed the army in two ways. Firstly, he kept a lid on spending, meaning fewer fat commissions on the procurement of expensive weapons. Second, he interfered in annual promotions. Within two years he had installed his cousin as army chief. That put him at loggerheads with Prem Tinsulanonda, a retired general and former prime minister, who is the chief adviser to King Bhumibol. Assigning the most senior ranks had been the purview of Mr Prem, who chairs the Privy Council. Upstart politicians were not supposed to meddle. The resulting Prem-Thaksin feud and the 2006 coup pulled the army firmly back into politics, if indeed it had ever really left.

Asian democracies like Indonesia and South Korea have put military rule behind them, yet Thailand is swimming the other way. A civilian government with an electoral mandate might start to turn it around. But the elite in Bangkok would not tolerate another pro-Thaksin government. On September 19th the red-shirts are determined to march on the house of General Prem, the alleged mastermind of the 2006 coup. Thailand’s army sees itself as the defender of the crown and suspects a republican agenda among reds. For that reason, the generals will be loth to let go until the succession is over. But repressing a mass movement in the name of a charismatic king is one thing. As Nepal’s army found in 2006, doing the same for an unpopular monarch, as Thailand’s crown prince would be, is a recipe for defeat.