WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Tuesday, September 15, 2009

สัมภาษณ์ ‘พิชัย ธาณีรณานนท์’ : “ขึ้นรถโดยสารเก่าก็มีโอกาสตายหมู่”

ที่มา ประชาไท

อุบัติเหตุรถเมล์โดยสารของบริษัทโพธิ์ทองขนส่ง (2505) จำกัด สายสงขลา - หาดใหญ่ ยางระเบิด ที่ทำให้นักศึกษาสาว 2 คนเสียชีวิตเมื่อปลายปีที่แล้ว เป็นหนึ่งให้อุบัติเหตุจากรถโดยสารสาธารณะเก่าที่วิ่งร่อนรับส่งผู้โดยสารกันทั่วประเทศ ที่ทำให้กรมการขนส่งทางบก กระทรวงคมนาคม ฉุกคิดถึงเรื่องการกำหนดอายุรถโดยสารสาธารณะขึ้นมา

วันนี้โครงการศึกษาการกำหนดอายุการใช้งานรถโดยสารสาธารณะและรถบรรทุกรถสาธารณะ ที่มีรองศาสตราจารย์ ดร.พิชัย ธาณีรณานนท์ นายกสมาคมวิชาการจราจรและขนส่งแห่งประเทศไทย อาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ม.อ.) เป็นหัวหน้าโครงการ กำลังจะเสร็จในอีก 3 เดือนข้างหน้า มีประเด็นอย่างไร อ่านบทสัมภาษณ์ศาสตราจารย์ ดร.พิชัย ธาณีรณานนท์ ได้ดังนี้

0 0 0

ความคืบหน้าของโครงการ
ได้เก็บข้อมูลทั่วประเทศแล้ว เหลือเพียงนำมาวิเคราะห์ มีการจัดสัมมนาด้วย ที่จัดแล้วคือ ภาคใต้ ภาคกลาง ครั้งต่อไปภาคเหนือ ที่เชียงใหม่ ภาคตะวันออกที่ชลบุรี ภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่นครราชสีมาหรือขอนแก่น และครั้งสุดท้ายเป็นเวทีรวมที่กรุงเทพมหานคร

โดยภาพรวมเรื่องความปลอดภัยของรถโดยสารสาธารณะทุกหมวด ทั้งหมวด 1 (วิ่งในกรุงเทพมหานคร), 2 (กรุงเทพกับต่างจังหวัด), 3(ระหว่างจังหวัดหรือในจังหวัด) และ 4 (รถโดยสารขนาดเล็ก) ที่ประชาชนต้องใช้ในการเดินทาง รัฐบาลยังใส่ใจเรื่องนี้น้อย โดยเฉพาะในภูมิภาค

ในกรุงเทพมหานคร มีรถเมล์ฟรีบริการประชาชน ซึ่งเอาภาษีประชาชนไปชดเชย ก็ได้เฉพาะคนกรุงเทพฯกับปริมณฑลประมาณ 13 ล้านคน แต่ต่างจังหวัดไม่ได้

เมื่อรัฐไม่ช่วยคนต่างจังหวัดก็ต้องช่วยตัวเอง โดยซื้อมอเตอร์ไซค์มาพ่วงข้าง เพื่อให้ครอบครัวเล็กๆ ได้ไปด้วยกัน ซึ่งไม่มีมาตรฐานความปลอดภัย เมื่อเทียบกับนั่งในรถโดยสารสาธารณะ

ในภาคใต้มีรถโดยสารสาธารณะที่มีอายุการใช้งานมากที่สุด ใช่หรือไม่
เป็นไปได้ เพราะเป็นข้อมูลของกรมขนส่งทางบก แต่จากการสัมภาษณ์ เขาบอกเราว่า รถโดยสารของเขาใช้งานมาตั้งแต่ปี 2510 ก่อนหน้านั้นใช้งานเป็นรถบรรทุกก่อน เฉพาะแชสซีส์ (โครงรถ) ถ้านับอายุตอนแปลงร่างเป็นรถโดยสารแล้ว ก็มีอายุ 40 กว่าปี รวมตอนยังเป็นรถบรรทุก ก็น่าจะเพิ่มอีก 10 ปี ซึ่งเป็นอย่างนี้จำนวนหนึ่ง รถใหม่ๆ ก็มี

จากการศึกษาพบรถโดยสารของ ขสมก. (องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทมหานคร) รถหมวด 1 ถ้าจำไม่ผิด 54 ปี แต่อาจมีเก่ากว่านั้น แต่กรมการขนส่งทางบกระบุเป็นกลุ่มๆ ว่า มีอายุเกินและไม่เกิน 20 ปี แต่ไม่มีรายละเอียดว่ากี่ปี เราต้องไปเจาะลึกเอง

รถเหล่านี้เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ
เพราะแชสซีส์เสื่อมสภาพลง โดยเฉพาะส่วนที่เป็นแกนเชื่อมอาจพุแล้ว ถ้าซื้อใหม่ก็แพง ถ้าผุไม่มากก็วิ่งได้ แต่ถ้าผุมากเกินไปก็แย่ เพราะเป็นการเพิ่มความรุนแรงของอุบัติเหตุ

หมายถึงเสี่ยงต่อผลจากอุบัติเหตุ แต่การเกิดอุบัติเหตุ ส่วนหนึ่งเกิดจากคนขับและอุปกรณ์ไม่ดี ถ้าเกิดเหตุรถตกข้างทาง ถ้าตัวรถเป็นชิ้นเดียวกัน ผลที่ตามมาผู้โดยสารก็ไม่ได้รับบาดเจ็บมาก แต่ถ้ารถหลุดออกเป็นชิ้นๆ ก็จะสร้างความเสียหายมากกว่า มีการเสียชีวิตครั้งละหลายคน อย่างที่เราเห็นมาแล้วหลายๆ ครั้ง

แต่ยอดคนตายจากอุบัติเหตุ มากกว่า 70% ตายเพราะรถจักรยานยนต์ ดังนั้นเราจะต้องศึกษาเรื่องนี้ด้วย

มีประเทศอะไรบ้างที่นำมาศึกษาพื่อกำหนดอายุรถโดยสารสาธารณะในประเทศไทย
มีมาเลเซีย ออสเตรเลีย เยอรมนี และอินเดีย โดยมาเลเซียและออสเตรเลียมีการกำหนดอายุแล้ว อินเดียกำลังจะกำหนด ประเทศที่ยังไม่ได้กำหนด คือเยอรมัน ส่วนสหรัฐอเมริกากำหนดเฉพาะรถโรงเรียน

เยอรมนี เป็นประเทศตัวอย่างในยุโรปในเรื่องความปลอดภัย โดยเข้มงวดในการตรวจสภาพรถ ถ้ารถโดยสารคันใดตรวจสภาพไม่ผ่าน ผู้ประกอบการก็ต้องเลิกนำไปให้บริการ เพื่อการป้องกันอันตรายจากรถโดยสารสาธารณะ

ในต่างประเทศกำหนดอายุรถโดยสารกี่ปี
มาเลเซีย กำหนด 12 ปี สำหรับรถโดยสารไม่ประจำทาง ส่วนรถโดยสารประจำทางก็ต้องตรวจสอบอีกครั้ง แต่อาจน้อยกว่าด้วยซ้ำ

อินเดียคิดจะกำหนด 15 ปี แต่ยังไม่กล้า เพราะมีรถเก่าเยอะ กลัวถูกประท้วง โดยรัฐบาลอินเดียได้คำนวณเรื่องความคุ้มทุนของผู้ประกอบการด้วย โดยเอาตัวเลข 8 ปี เป็นตัวตั้งว่าน่าจะใช้งานคุ้มทุนแล้ว แล้วกำหนดอายุการใช้งานที่ 15 ปี

แล้วจะยึดประเทศใดเป็นต้นแบบในการกำหนดอายุรถโดยสารในประเทศไทย
ประเทศที่ร่ำรวย มีมาตรฐานความปลอดภัยสูง อย่างเยอรมนี ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย การตรวจสภาพจะเข้มงวดมาก บางรัฐของออสเตรเรียถึงกับออกพระราชบัญญัติกำหนดอายุรถโดยสาร 25ปี แต่บางรัฐไม่กำหนด แต่อาศัยการตรวจสภาพที่เข้มงวด

แต่ถ้าเป็นรถที่ใช้ในกิจการท่องเที่ยว คนต้องการนั่งรถเก่า อย่างรถไฟไอน้ำ เขาก็ยังมีรถพวกนี้อยู่ โดยเมื่อครบการใช้งานแล้ว เขาจะตรวจสภาพและให้ต่ออายุการใช้งานปีต่อปี โดยรัฐมนตรีเป็นคนอนุมัติ

สำหรับประเทศไทยควรจะกำหนดอายุหรือไม่
ก็ต้องรอดูผลการศึกษาก่อน

หมายถึงถ้าไม่กำหนออายุก็ต้องเพิ่มความเข้มงวดในการตรวจสภาพ
ถูกต้อง ในการตรวจสภาพต้องเปิดตัวถังออกมาทั้ง 4 ด้านเลย ดูทั้งข้างใน ข้างบน ข้างล่าง เพราะอาจเป็นสนิมแล้วก็ได้

ได้ศึกษาแล้วตัวรถมีผลต่อความเสี่ยงเกิดอุบัติเหตุอย่างไร
เราเคยสืบสวนอุบัติเหตุ พบว่า รถมีส่วนให้เกิดอุบัติเหตุเยอะทีเดียว ถ้าจำไม่ผิด เกือบ 30% เพราะฉะนั้น ถ้ารถมีส่วนทำให้เกิดอุบัติเหตุ มันไม่ได้หมายความที่อายุรถอย่างเดียว อยู่ที่การบำรุงรักษาด้วย แต่อายุรถทำให้การบำรุงรักษาอาจน้อยลง แต่ขณะเดียวกันก็อาจมากขึ้นก็ได้

ยกตัวอย่าง ผมมีรถเก่าจริงๆ ถ้าเอาไปวิ่งบรรทุกคน ผมก็ต้องดูแลเป็นพิเศษ ผมก็กลัวเหมือนกัน ถ้ารถเราตายกลางทางเราก็แย่ อย่างกรณีรถโดยสารของบริษัทโพธิ์ทองขนส่ง (2505) จำกัด ที่เอามาวิ่งนี่ล้อเกือบจะล้านแล้ว อุบัติเหตุส่วนใหญ่จะเกิดที่ล้อก่อน เพราะไม่ได้ไปชนกับใคร แต่เจอปัญหาเมื่อต้องเบรค แล้วเบรคแตกหรือไม่ก็ยางระเบิด รถเสียหลักพลิกคว่ำ ตรงนั้นแหละจุดอ่อนต่างๆ ก็จะออกมา ก็คือรถจะหลุดออกมาเป็นชิ้นๆ ให้เห็นตอนนั้น

แต่ก่อนหน้านี้เราไม่รู้ รถคันนี้ที่ดูใหม่ มีการทาสีทับ วาดรูปการ์ตูนสวยๆ แต่ข้างโครงรถผุไปแล้ว 50% เราไม่รู้เลย จนกระทั่งมันผลิ หลังคาหลุดออกมา โครงเหล็กพัง เก้าอี้หลุดออกจากที่นั่ง เพราะยึดไม่ดีตั้งแต่ต้น หรือว่ายึดดีแต่สนิมกินแล้วขาด

คิดว่ารูปแบบการขนส่งสาธารณะที่เหมาะสมเป็นอย่างไรที่สามารถแก้ปัญหาอุบัติเหตุได้
ทุกประเทศต้องจัดการอุบัติเหตุในระดับที่เราพอใจ ของไทยคนตายปีละ 13,000 คน เรารับไม่ได้ ต้องเหลือแค่ครึ่งหนึ่ง อย่างนี้พอรับได้

การเดินทางโดยรถโดยสารสาธารณะปลอดภัยที่สุด เมื่อเทียบสัดส่วนการเดินทางทั่วโลก แต่ประเทศไทยไม่ใช่ เรามีคนขับที่ต้องปรับปรุงคุณภาพ จากการศึกษาพบว่า คนขับรถที่มีการศึกษาน้อย มักเกิดอุบัติเหตุมากกว่าคนที่มีการศึกษา

จากที่เราสัมภาษณ์ทั่วประเทศพบว่า คนขับรถโดยสารสาธารณะของเราเกือบ 50% จบการศึกษาชั้นมัธยมต้นแค่นั้นเอง เรามองอีกแง่หนึ่งว่า คนขับเครื่องบินต้องจบปริญญาตรีทุกคน เพราะอย่างนั้นการตัดสินใจจึงต่างกัน

กรณีอุบัติเหตุรถบัสโดยสารเกิดเหตุไฟไหม้ที่อำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี คนขับบอกว่ารถไม่ไหวแล้ว แต่ผู้ประกอบการบอกให้ขับต่อ เพราะไม่ไกลแล้ว อีก 3 - 4 ชั่วโมงก็จะถึงกรุงเทพมหานคร ถ้าคนขับมีการศึกษาก็คงไม่ฟังแล้ว แต่มีการศึกษาน้อย กลัวถูกไล่ออก จึงทำตามจนเกิดอุบัติเหตุ ปรากฏว่า มีคนตายไป 32 คน

ประเด็นนี้จะแก้อย่างไร
กรมการขนส่งทางบก ต้องกำหนดให้คนขับรถต้องจบมัธยมศึกษาปีที่ 6 เป็นอย่างต่ำ และต้องอบรมให้ความรู้เพิ่มเติม โดยเฉพาะประเด็นอุบัติเหตุ

ส่วนผู้ประกอบการก็ต้องอบรมด้วย ให้รู้ถึงหน้าที่ความรับผิดชอบ ต้องกำหนดโทษด้วย ยกตัวอย่างประเทศอังกฤษ ถ้าให้ขับจนเหนื่อยเกิน 4 ชั่วโมงแล้วไม่พัก เจ้าของรถมีโทษติดคุกด้วย เพราะฉะนั้นทุกคนรู้หน้าที่ตนเอง ก็จะแก้ได้ แต่ทุกเรื่องต้องเริ่มที่คนขับ

แม้แต่กรณีรถโพธิ์ทองคันเกิดเหตุ ถ้าคนขับตรวจรถทุกวันแล้วบอกเจ้าของว่า ต้องเปลี่ยนอุปกรณ์ก็จะไม่เกิดเหตุ แต่ถ้าพูดมากก็ถูกไล่ออก ถ้าให้ผมไปขบรถล้อหัวล้านทุกวันผมก็กลัว

แต่ยอดคนตายจากอุบัติเหตุมากกว่า 70% ตายเพราะรถจักรยานยนต์ ดังนั้นเราจะศึกษาเรื่องนี้ไปด้วย

การขนส่งสาธารณะมีความจำเป็นมาก
ต่างจังหวัดไม่เหมือนกรุงเทพมหานครที่มีรถโดยสารสะดวก ราคาถูก แต่การนั่งรถสองแถว เสี่ยงเกิดอุบัติเหตุมาก ไม่สามารถทำอะไรได้เลย ถ้ามันพลิกคนในรถจะเสียชีวิตมากเลย

ได้สัมภาษณ์กลุ่มผู้บริโภคหรือไม่
ต้องฟังผู้ประกอบการและประชาชนด้วย ถ้าผู้ประกอบการบอกว่า ถ้ากำหนดอายุรถโดยสารแล้วต้องใช้จ่ายเพิ่ม 2 เท่า คงประท้วงกันใหญ่ แต่ถ้าไม่กำหนด เราก็ต้องมีมาตรการที่จะทำอย่างไรให้มีความปลอดภัยต่อผู้โดยสาร และได้ถามความคิดเห็นผู้โดยสารที่สถานีขนส่งโดยตรงว่าคิดอย่างไร แต่อาจมีการจัดเวทีเชิญองค์กรผู้บริโภคมาให้ความเห็นด้วย

ทำไมกรมการขนส่งทางบกจึงมอบหมายให้ศึกษาเรื่องนี้
เราศึกษาเรื่องการขนส่งสาธารณะมา 30 ปี เคยศึกษาให้กับสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) กระทรวงคมนาคม เคยศึกษามูลค่าความเสียหายและการรักษาจากอุบัติเหตุทั่วประเทศ ให้กรมทางหลวง กระทรวงคมนาคม ซึ่งพบว่า ประเทศเราสูญเสียไป 243,000 ล้านบาทต่อปี ซึ่งเป็นตัวเลขเดียวกับที่สำนักงานกองทุนสร้างเสริมสุขภาพแห่งชาติ (สสส.) ใช้รณรงค์ลดอุบัติเหตุ เราทำมาเยอะ ผมเป็นหัวหน้าวิจัยและเลือกนักวิจัยที่สนใจมาร่วมศึกษาจากทั่วประเทศ