ที่มา บางกอกทูเดย์
โดยหน้าที่ของรัฐบาล ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 77 ที่ระบุชัดเจนว่า รัฐต้องพิทักษ์รักษาเอกราช อธิปไตยและบูรณภาพแห่งดินแดน นั้นก็ถือเป็นเงื่อนไขกดดันทางกฎหมายที่รัฐบาลจะต้องดำเนินการโดยละเว้นหรือเพิกเฉยไม่ได้ถ้าหากไม่เร่งทำอะไรเป็นรูปธรรมออกมา ระวังนายกฯอภิสิทธิ์ อาจจะถูกยื่นถอดถอนเพราะกระทำการไม่เป็นไปตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ และละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ตาม มาตรา 157 ก็เป็นได้
น่าหวาดเสียวมากขึ้นทุกทีกับปัญหาความขัดแย้งเหนือพื้นที่ทับซ้อน 4.6 ตารางกิโลเมตรรอบปราสาทพระวิหาร ระหว่างประเทศไทยกับประเทศกัมพูชาผลงานของการจุดไฟเกมการเมืองขึ้นมาของกลุ่มพันธมิตรฯเมื่อครั้งที่นายสนธิลิ้มทองกุล แกนนำหรือนายใหญ่ตัวจริงเลิกชื่นชม พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรอดีตนายกรัฐมนตรี โดยสิ้นเชิงแล้วก่อนหน้าที่ยังชื่นชมกันดี รายการเมืองไทยรายสัปดาห์ จะคอยอธิบายความแทนทุกเรื่องให้กับรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ แต่เมื่อเปลี่ยนเพลงจาก “ยามรัก” เป็น “ยามชัง” แล้วทุกเรื่องที่รัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณทำล้วนแล้วแต่ไม่เหมาะสม และนายสนธิไม่เห็นด้วยทั้งสิ้นซึ่งกรณีทวงเขาพระวิหารจนกลายเป็นรอยบาดหมางลึกๆระดับประเทศกันขึ้นมาอีกครั้ง ก็มาจากปฐมเหตุนี้แหละแม้แต่ นายกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศคนปัจจุบัน ซึ่งต้องถือว่าเป็นคนหนึ่งที่รู้พิธีการทางการทูต และมารยาทระหว่างประเทศเป็นอย่างดีเนื่องจากรับราชการสังกัดกระทรวงการต่างประเทศมายาวนานแต่สมัยที่เป็นกลุ่มพันธมิตรฯ นายกษิตก็เป็นคนที่ออกโรงในเรื่องนี้ โดยถึงขนาดกล่าวถึง สมเด็จอัครมหาเสนาบดีเดโชฮุน เซ็น นายกรัฐมนตรีกัมพูชา ในถ้อยคำที่รุนแรงเป็นข่าวออกสำนักข่าวทั่วโลกมาแล้วดังนั้น ระดับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศกัมพูชากับไทย จึงค่อนข้างเปราะบางมาตลอด นับแต่มีการทวงคืนปราสาทเขาพระวิหารโดยกลุ่มพันธมิตรฯเป็นหัวหอกยิ่งมาถึงในวันนี้ ความตึงเครียดทวีมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะจะเรียกว่าเป็นการตอบโต้หรือ
ไม่ก็สุดแท้แต่ว่าจะมองกันในมุมใด แต่ที่แน่ๆวันนี้ทหารกัมพูชาได้เข้าไปอยู่ในพื้นที่ทับซ้อนแล้วปมเหตุสำคัญของเรื่องก็คงหนีไม่พ้นที่จะต้องยอมรับความเป็นจริงว่า เพราะในช่วง8 เดือน นับแต่ที่เป็นรัฐบาลมา นายอภิสิทธิ์เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ยังไม่ได้มีการหยิบยกเรื่องปัญหาพื้นที่ทับซ้อนรอบเขาพระวิหารมาหารืออย่างเป็นทางการกับสมเด็จฯ ฮุน เซ็นเลยในขณะที่นายกษิต ก็พยายามเลี่ยงหลบเพราะตะขิดตะขวงใจจากการขึ้นไปไฮปาร์คบนเวทีพันธมิตรนั่นเองด่วยเหตุเหล่านี้หรือไม่ที่ทำให้ ณ วันนี้กองกำลังกัมพูชา ถึงได้มีการรุกล้ำยึดครองพื้นที่รอบปราสาทพระวิหาร โดยที่รัฐบาลไทยก็ไม่ได้ดำเนินการผลักดันออกไปแต่อย่างใดทั้งสิ้นขนาดที่ว่า กัมพูชามีการปล่อยให้ประชาชนเข้ามาตั้งหมู่บ้าน สร้างวัด สร้างสำนักงานและตัดถนนย้ายเข้ามาในเขตไทยแล้ว สิ่งที่รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ ดำเนินการก็คือการพูดอย่างสวยหรูว่ารัฐบาลนายอภิสิทธิ์จะไม่ยอมให้เสียอธิปไตย หรือเสียดินแดนไทยแม้แต่ตารางนิ้วเดียว!!โดยอาศัยการยืนยันจากคำพูดของพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ที่ระบุว่า พร้อมปกป้องอธิปไตยบริเวณเขาพระวิหารในขณะเดียวกันนายกษิต ที่ได้ลงไปพื้นที่บริเวณเขาพระวิหาร ก็ได้พูดถึงกรณีที่กลุ่มพันธมิตรฯ เสนอให้ผลักดันทหารและชาวกัมพูชาออกนอกพื้นที่ 4.6 ตารางกิโลเมตรก่อนเริ่มกระบวนการเจรจา ว่าเป็นสิทธิที่จะเสนอความเห็นได้ แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นต้องแก้ด้วยสันติวิธี ยึดตามข้อเท็จจริงตามกรอบและบันทึกการตกลงร่วมกัน ไม่ได้ใช้อารมณ์หรือความรู้สึกคำถามที่เกิดขึ้นเวลานี้คือ แล้วมีการเร่งแก้ไขหรือดำเนินการอะไรไปบ้างแล้วหรือยัง เพราะภาพที่เกิดขึ้นขณะนี้รัฐบาลถูกมองว่าไม่ได้เร่งปกป้องรักษาอาณาเขตประเทศไทยเท่าที่ควรเลยทำให้บานปลาย เพราะไม่เพียงกลุ่มพันธมิตรฯ ที่ประกาศฮึ่มๆ จะทวงคืนแผ่นดินไทยแต่ยังมีกลุ่มนักวิชาการไปยื่นฟ้องสมเด็จฯ ฮุน เซ็น เป็นจำเลยข้อหาบุกรุกดินแดน ละเมิดอธิปไตยของไทย โดยระบุว่าขอให้ศาลมีคำสั่งให้ออกจากดินแดนประเทศไทยทันที
กลายเป็นว่ารัฐบาลกำลังปล่อยให้เป็นหน้าที่ของคนไทยต้องลุกขึ้นปกป้องแผ่นดินกันเองใช่หรือไม่ โดยที่รัฐบาลไม่คิดจะทำอะไรนอกจากพูดหลักการสวยหรูไปเรื่อยๆถึงวันนี้ สถานการณ์ที่ตึงเครียดได้กดดันมาถึงจุด ที่นายกฯอภิสิทธิ์ จำเป็นอย่างยิ่งยวดในการที่จะต้องประกาศจุดยืนของรัฐบาลแล้วการที่นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง ออกมาระบุว่าการที่กลุ่มพันธมิตรฯ เตรียมยกพลไปชุมนุมที่บริเวณพื้นที่ทับซ้อนปราสาทเขาพระวิหารในวันที่ 19กันยายนนี้ ว่า ไม่ทราบวัตถุประสงค์ของกลุ่มพันธมิตรฯว่าจะไปทำอะไรหากไปเพื่อแสดงออกถึงความรักหวงดินแดนแผ่นดิน ก็สามารถทำได้ แต่ต้องระมัดระวังเพื่อไม่ให้เกิดการกระทบกระทั่งกับฝ่ายกัมพูชาเพราะทั้งสองประเทศได้มีการตกลงให้มีคณะกรรมการปักปันเขตแดนในการศึกษาและปฏิบัติกับพื้นที่ทับซ้อน ขณะนี้ก็อยู่ระหว่างการศึกษาและให้โอกาสคณะกรรมการฯ ชุดนี้ได้ทำงานต่อไปจุดยืนของรัฐบาลก็คือจะไม่เข้าไปวุ่นวายกับคณะกรรมการฯที่สำคัญนายสุเทพยอมรับว่า การที่ต้องไปกัมพูชาก็ด้วยเรื่องนี้ เพราะนายกฯอภิสิทธิ์และนายกษิตอยากให้ไปช่วยคลี่คลายปัญหาที่เกิดขึ้น ซึ่งทั้งสองฝ่ายก็มีการพูดคุยกันตลอด อยากให้ทั้งสองประเทศอยู่ด้วยกันอย่างมิตรไมตรี ความขัดแย้งจะทำให้เกิดผลเสียหายต่อทุกฝ่ายปัญหาก็คือ รัฐบาลมัวทุ่มเทกำลังทหารและตำรวจเป็นหมื่นๆ นาย เพื่อที่จะมารับมือกับการชุมนุมของคนเสื้อแดง ในวันที่ 19กันยายน แต่กลับไม่ได้ให้ความใส่ใจกับท่าทีของกลุ่มพันธทิตร ที่บอกว่าสุดจะทนกับรัฐบาลนายกฯ อภิสิทธิ์ ที่ยังปล่อยให้กองกำลังกัมพูชารุกล้ำยึดครองพื้นที่รอบปราสาทพระวิหารโดยไม่ดำเนินการผลักดันออกไปเมื่อรัฐบาลไม่ทำ กลุ่มพันธมิตรฯ ก็จะทำเองแน่นอนว่าประชาชนคนไทย ภาคธุรกิจเอกชน
นักลงทุน นักธุรกิจทางด้านการท่องเที่ยว และบรรดาคนไทยที่อาศัยอยู่อาศัยทำกินบริเวณรอบๆ เขาพระวิหาร ต่างพากันกังวลถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นตามมาลึกๆ แน่นอนว่าไม่มีใครอยากเห็นความขัดแย้งเกิดความรุนแรงหรือเกิดการสู้รบซึ่งกระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างไทย-กัมพูชา และไม่อยากให้ไทยและกัมพูชาต้องเผชิญหน้ากันเพราะประเทศเพื่อนบ้านควรมีไว้เป็นเพื่อนไม่ใช่เอาไว้ทะเลาะเบาะแว้งซึ่งผลพวงจากการทำรัฐประหาร 19 กันยายน2549 เป็นต้นมา สัมพันธภาพของไทยกับบรรดาประเทศเพื่อนบ้านล้วนถูกจับตามองมาตลอดว่าลุ่มๆ ดอนๆในขณะที่รัฐบาลนายกฯอภิสิทธิ์ ก็มีท่าทีเหมือนกับไม่ได้ตระหนักในเรื่องเหล่านี้เลยดังนั้นคำถามที่พุ่งใส่รัฐบาลในเวลานี้จากสังคมไทย ก็คือ รัฐบาลจะเริ่มต้นกระบวนการเจรจาอย่างเป็นทางการกับรัฐบาลกัมพูชากับสมเด็จฯฮุน เซ็น ได้เสียทีหรือยังหรือต้องปล่อยให้เกิดเรื่องขึ้นให้ได้เสียก่อนดูเหมือนวันนี้ รัฐบาลนายกฯอภิสิทธิ์จะเอ้อระเหยต่อไปไม่ได้แล้ว เพราะต้องไม่ลืมว่าการเข้าไปอยู่ในพื้นที่ทับซ้อนของกองกำลังกัมพูชา รวมทั้งการห้ามไม่ให้คนไทยเข้าไปในพื้นที่ เป็นเหมือนหัวเชื้อ ที่กลุ่มพันธมิตรฯและกลุ่มคนไทยที่รักชาติยอมไม่ได้ถือเป็นเงื่อนไขกดดันทางสังคมที่รัฐบาลจะต้องรับผิดชอบขณะเดียวกันโดยหน้าที่ของรัฐบาลตามรัฐธรรมนูญมาตรา 77 ที่ระบุชัดเจนว่ารัฐต้องพิทักษ์รักษาเอกราช อธิปไตย และบูรณภาพแห่งดินแดน นั้น ก็ถือเป็นเงื่อนไขกดดันทางกฎหมายที่รัฐบาลจะต้องดำเนินการโดยละเว้น หรือเพิกเฉยไม่ได้ถ้าหากไม่เร่งทำอะไรเป็นรูปธรรมออกมาระวังนายกฯอภสิทธิ์ อาจจะถูกยื่นถอดถอนเพราะกระทำการไม่เป็นไปตามกฎหมายรัฐธรรมนูญและละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา 157 ก็เป็นได้ ■
ที่ ศาลแพ่ง ถ.รัชดาภิเษก วันที่ 14 ก.ย. 52 ศาลนัดฟังคำสั่งในคดีที่ นายเทพมนตรี ลิมปพยอมนักวิชาการอิสระ กับพวก รวม 9 คน เป็นโจทก์ ฟ้องสมเด็จอัครมหาเสนาบดีเดโช ฮุน เซ็นนายกรัฐมนตรีกัมพูชา นายฮอร์ นัมฮง รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.ต่างประเทศกัมพูชาและนายซก อาน รองนายกรัฐมนตรีกัมพูชา เป็นจำเลยที่ 1-3 เรื่องละเมิดสิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยโดยโจทก์ขอให้ศาลพิพากษาว่า อำนาจอธิปไตยเหนือปราสาทเขาพระวิหาร และพื้นที่บริเวณข้อพิพาทเป็นของโจทก์ ปวงชนชาวไทย และประเทศไทย ห้ามจำเลยทั้ง 3 กับพวก เข้าเกี่ยวข้องขอให้ถอนทหาร และอพยพราษฎรชาวกัมพูชาออกไป และให้มีคำสั่งให้นายทะเบียนมรดกโลกเพิกถอนการรับจดทะเบียนปราสาทฯ และพื้นที่พิพาทเป็นมรดกโลก ของคณะกรรมการยูเนสโกทั้งพิพากษาว่า “เส้นสันปันน้ำตอนเขาพนมดงรัก” เป็นเส้นเขตแดนระหว่างไทย-กัมพูชาตลอดแนวเขตแดนดังกล่าวศาลพิเคราะห์แล้วเห็นว่า เป็นเรื่องพิพาทเกี่ยวกับอำนาจอธิปไตยระหว่างประเทศ และบูรณภาพเหนือดินแดนระหว่างไทย และกัมพูชา หรือเป็นข้อพิพาทระหว่างรัฐต่อรัฐ ไม่ได้เป็นข้อพิพาททางแพ่งการที่ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศจะพิพากษาอย่างไร และคณะกรรมการมรดกโลกจะพิจารณาจดทะเบียนปราสาทฯหรือไม่ เป็นการกระทำในฐานะองค์กรที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายระหว่างประเทศทั้งการที่จำเลยทั้ง 3 กระทำอย่างหนึ่งอย่างใด เป็นเรื่องการใช้อำนาจ ในฐานะผู้บริหารประเทศกัมพูชา มิใช่การกระทำในฐานะส่วนบุคคล ซึ่งอยู่ภายใต้การบังคับใช้กฎหมายของประเทศไทยแม้ว่าโจทก์จะเป็นผู้มีส่วนได้รับผลกระทบจากคำวินิจฉัยของศาลยุติธรรมระหว่างระเทศและของคณะกรรมการมรดกโลก แต่ไม่อยู่ในฐานะที่จะฟ้องศาล และตามคำขอของโจทก์อยู่นอกเหนือขอบเขตอำนาจที่ศาลแพ่งจะบังคับได้ พวกโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55พิพากษายกฟ้อง ■