ที่มา บางกอกทูเดย์
ยิ่งกว่าโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ที่สร้างความหวาดกลัวในวงกว้าง สำหรับคำวินิจฉัยจาก คณะป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือ ป.ป.ช. กรณีสั่งสลายการชุมนุมของ กลุ่มพันธมิตรฯ เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2551การชี้มูลความผิด 2 อดีตนายกรัฐมนตรี คือ พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธและนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ รวมทั้งว่าที่อดีตผบ.ตร. พล.ต.อ.พัชรวาทวงษ์สุวรรณ และพล.ต.ท.สุชาติ เหมือนแก้ว อดีตผบช.นข้อหาเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 โดยให้ฟ้องร้องคดีต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
นอกจากนี้มติคราวเดียวกันยังชี้มูลความผิดวินัยร้ายแรง กับพล.ต.อ.พัชรวาท และ พล.ต.ท.สุชาติ ว่าได้กระทำการอันได้ชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง และละเว้นการกระทำใด ๆ อันเป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรงให้ส่งเรื่องให้ผู้บังคับบัญชาพิจารณาโทษทางวินัยมติดังกล่าว ย่อมทำให้ผู้ถูกชี้มูลและผู้ปฏิบัติหน้าที่ทั่วไปย่อมหวั่นไหวเสียขวัญกำลังใจด้วยเห็นว่าการทำตามหน้าที่กลับต้องรับผิดสถานหนักเช่นนี้นายตำรวจชั้นผู้ใหญ่ซึ่งยังอยู่ในราชการ และอาจต้องทำหน้าที่ต่อไปหากมีการชุมนุมกัน ได้ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนถามไปยัง ป.ป.ช. ว่าหากผู้ชุมนุมมีท่าทีจะก่อความวุ่นวาย ใช้รั้วลวดหนาม ใช้ยางรถยนต์ ใช้น้ำมันราดพื้นใช้กุญแจปิดคล้องประตู ขู่ว่าฆ่ามันฆ่ามัน จะให้ตำรวจทำได้แค่ไหน เพราะไม่มีกฎหมายจัดระเบียบการชุมนุม“จำเป็นต้องเขียนกรอบให้ชัดเจนว่าจะให้ทำอย่างไร และถ้าไม่เขียนกรอบมาให้ ก็จะเอามติของ ป.ป.ช. มาศึกษาแล้วจะทำตามนั้น แล้วอย่าว่าตำรวจเกียร์ว่าง”นั้นเป็นเพียงส่วนหนึ่งของเสียงสะท้อนจากแวดวงราชการ โดยเฉพาะในวงการสีกากี ที่ออกอาการ “ฉุน” กับคำวินิจฉัยนี้เป็นอย่างมากทำให้ พล.ต.อ.พัชรวาท ยื่นฟ้องสำนักงาน ป.ป.ช. นายปานเทพ กล้าณรงค์ราญ ประธาน ป.ป.ช. นายกล้านรงค์จันทิก, นายใจเด็ด พรไชยา, นายประสาท พงศ์ศิวาภัย,นายภักดี โพธิศิริ, นายเมธี ครองแก้ว, นายวิชา มหาคุณ, และนายวิชัย วิวิตเสวี ซึ่งเป็นกรรมการ ป.ป.ช. เสียงข้างมาก 8 เสียงขณะเดียวกันนายตำรวจนอกราชการหลายคนก็อดรนทนไม่ไหวต้องออกมานั่งแถลงข่าวตอบโต้ ป.ป.ช.ถึงคำวินิจฉัยดังกล่าว“นายกรัฐมนตรีจงใจกลั่นแกล้งตำรวจ ทำให้การชี้มูลเป็นไปอย่างไม่ยุติธรรม และขอความเห็นจากนายกรัฐมนตรี และป.ป.ช.ว่า การชุมนุมในวันที่ 19 กันยายนนี้ จะให้ตำรวจปฏิบัติหน้าที่ดูแลกลุ่มคนเสื้อแดงอย่างไรจะไม่มีความผิด”
พล.ต.อ.สล้าง บุนนาค ประธานชมรมข้าราชการตำรวจนอกราชการกระแส ป.ป.ช.ภิวัฒน์ ยังไม่ได้หยุดเพียงเท่านี้ เพราะในวงราชการต่าง “ขยาด” คำตัดสินของ ป.ป.ช. จนมีเสียงบ่นจากหน่วยงานด้านความมั่นคง ที่ต้องดูแลม็อบเสื้อแดงว่า “ทำงานลำบาก” บางคนถึงกลับส่ายหน้าว่าอย่างนี้ก็ไม่มีใครกล้าทำอะไรแล้ว อยู่เฉยๆดีกว่าทำให้เรื่องนี้ รองนายกด้านความมั่นคง “สุเทพ เทือกสุบรรณ”ต้องออกมาเบรกสถานการณ์ไม่ให้บานปลายไปมากกว่านี้ เพราะใกล้วันดีเดย์เข้าไปทุกขณะ“รัฐบาลชุดนี้เราจะสั่งการโดยที่มีกฎหมายรองรับ หากมีความผิดพลาดก็เป็นหน้าที่และความรับผิดชอบของรัฐบาล หรือ ของฝ่ายการเมือง ไม่ใช่ของเจ้าหน้าที่”ขณะที่ตำรวจที่ต้องทำหน้าที่ดูแลความสงบ ตลอดวันที่ 19 ก.ย. ต้องถกเครียดเพื่อรับมือกับสิ่งที่จะเกิดขึ้น“ที่ประชุมได้ซักซ้อมการปฏิบัติและรับทราบปัญหาข้อขัดข้องต่างๆเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาจนมีการร้องเรียนป.ป.ช. โดยให้ผู้ปฏิบัติรับฟังคำสั่งการจากผู้บัญชาการเหตุการณ์คือพล.ต.ท.วรพงษ์ ชิวปรีชา ผบช.น.เพียงผู้เดียว” พล.ต.อ.ธานี สมบูรณ์ทรัพย์รักษาราชการแทน ผบ.ตร.ด้าน นายวิชัย วิวิตเสวี หนึ่งในคณะกรรมการ ป.ป.ช. ออกมาตอบโต้เรื่องนี้ด้วยเช่นกัน โดยระบุว่า ตำรวจต้องรู้กฎหมาย และต้องเข้าใจว่าอะไรคือความถูกต้องและเหมาะสม นับเป็นเครื่องยืนยันได้อย่างดีว่า ตราบเท่าที่ตำรวจปราศจากจิตสำนึกของการเป็นผู้รักษากฎหมายมองไม่เห็นว่าคนไทยทุกคนมีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์เฉกเช่นเดียวกับผู้สวมเครื่องแบบสีกากี ปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชน รวมทั้งการใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบ หรือการละเว้นปฏิบัติหน้าที่ จักต้องเกิดขึ้นตลอดไป และคงจะโทษใครหรือ ป.ป.ช.มิได้“ถ้าหากตำรวจต้องรับโทษของการกระทำผิดครรลองของกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม เพราะวันนี้โลกได้เปลี่ยนไปแล้ว ตำรวจก็เป็นองค์กรที่ต้องถูกตรวจสอบจากภาคประชาชนเช่นกัน”นี้คือยุค ป.ป.ช.ปี 2009 ที่สร้างบรรทัดฐานใหม่ให้กับวงราชการที่ใครเห็นแล้วก็ต้องเสียวสันหลัง แต่ผลจากการชี้มูลยังไม่จบเท่านี้ยังมีให้ติดตามอีกเยอะครับพี่น้อง ■