ที่มา มติชน รายงานข่าว แจ้งว่า หลังการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 สำนักงานเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศสหรัฐอเมริกา (ยูเสด) ได้ให้การสนับสนุนเงินทุนเพื่อเข้ามาพัฒนาประชาธิปไตยของไทย ประมาณ 30 ล้านเหรียญสหรัฐ ทั้งๆ ที่ ยูเสด ได้ยุติการให้ความช่วยเหลือด้านนี้มายาวนานกว่า 15 ปี เพราะระดับการพัฒนาประชาธิปไตยของประเทศไทยในช่วงหลายทศวรรษดีขึ้นมาก แต่เมื่อเกิดการรัฐประหาร 19 กันยายน ทำให้รัฐบาลโอบามา ต้องกลับมาทบทวนเรื่องนี้อีกครั้ง ก่อนอนุมัติสนับสนุนเงินทุนพัฒนาประชาธิปไตย อย่างไรก็ตามโครงการของ ยูเสด ได้ล่าช้ามาหลายปี เดิมจะเริ่มโครงการในช่วงต้นปี 2553 แต่ก็เกิดความวุ่นวายทางการเมืองจนเลื่อนมาโดยตลอด ก่อนหน้านี้ นิตยสารไทม์ รายสัปดาห์ของสหรัฐอเมริกา เดือนตุลาคม 2552 รายงานว่า สถานการณ์ทางการเมืองในไทยยังอยู่ในสภาพน่าวิตก ความขัดแย้งทางการเมืองมักนำไปสู่การต่อสู้ระหว่างกลุ่มและฝักฝ่าย ทำให้การสำรวจความคิดเห็นทั่วประเทศเมื่อไม่นานมานี้มีคนไทยเพียง 1 ใน 3 เท่านั้นที่เห็นว่า ประเทศกำลังเดินไปถูกทาง "จริงๆ แล้ว สหรัฐวิตกกับสภาวการณ์ในเมืองไทยมากถึงขนาดตัดสินใจมอบเงินทุนจำนวนหนึ่งให้ กับสำนักงานเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศของสหรัฐอเมริกา (ยูเสด) เพื่อดำเนินการสร้างประชาธิปไตยขึ้นในไทย ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่เคยเกิดขึ้นมายาวนานเกือบ 15 ปีแล้ว"ข้อเขียนดังกล่าวระบุ นอกจากนั้นทางยูเสด ยังได้จัดสรรเงินทุนเพื่อสนับสนุนด้านประชาสังคมและความปรองดองในประเทศไทย เป็นจำนวนเงิน 30 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 960 ล้านบาท) โดยโครงการใหม่นี้จะช่วยยกระดับบทบาทขององค์กรภาคประชาสังคม โดยจะเน้นย้ำไปในด้านความจำเป็นในการพัฒนาความร่วมมือและความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยงานของรัฐบาลต่างๆ สนับสนุนให้มีการเจรจาอย่างมีโครงสร้างชัดเจน สร้างความเป็นเอกฉันท์ และความปรองดองในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยทางยูเสดจะไม่สนับสนุนกลุ่มและการเคลื่อนไหวทางการเมืองใดๆทั้งสิ้น ซึ่งอาจระบุวัตถุประสงค์ของโครงการนี้ได้ดังนี้ การมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคม สนับสนุนความปรองดอง 1. ปัญหาเรื่องความขัดแย้งด้านความคิดทางการเมือง กว่า 3 ปีที่ผ่านมา ได้เกิดความคิดทางการเมืองที่ขัดแย้งกัน จนเกิดเป็นฝักฝ่าย และมีเหตุปะทะกันหลายต่อหลายครั้ง ซึ่งแต่ละครั้งสื่อนานาชาติต่างให้ความสนใจและติดตามข่าวอย่างใกล้ชิด รวมทั้งในกรณีที่เกิดความวุ่นวายระหว่างที่มีการประชุมระดับผู้นำที่เมืองพัทยา ช่วงเดือนเมษายน 52 ที่ผ่านมา ประเทศไทยจึงยิ่งถูกจับตาในฐานะประเทศที่มีความวุ่นวายจากความคิดด้านประชาธิปไตยที่แตกต่าง ทั้งนี้แม้กระทั่งจะมีความพยายามในการจัดการตามกระบวนการสมานฉันท์ซึ่งเป็นวิธีการที่ประนีประนอม และค่อยเป็นค่อยไปอย่างที่สุด แต่นานาชาติยังไม่เห็นความเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจนจากกระบวนการนี้มากนัก จึงทำให้เกิดความไม่มั่นใจต่อสถานการณ์ประชาธิปไตยของไทย 2. ปัญหาเรื่องภาคใต้ การปกครองโดยระบอบประชาธิปไตย คือการปกครองที่ประชาชนมีเสรีภาพในการดำเนินชีวิตตามสิทธิและหน้าที่ตามวิถีประชาธิปไตย แต่ด้วยสถานการณ์ความไม่สงบที่เกิดขึ้นในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทยนั้น เป็นกรณีอ่อนไหวที่ต่างชาติแสดงความกังวลและจับตามองอยู่ตลอดมา และถูกมองว่าการไม่สามารถสร้างความสงบเรียบร้อยให้เกิดเช่นเดียวกับภูมิภาคอื่น ๆ ของประเทศเป็นความไม่สมบูรณ์ของการปกครองตามระบอบประชาธิปไตย ซึ่งอันที่จริงแล้ว กรณีภาคใต้นี้เป็นกรณีละเอียดอ่อนซึ่งจำเป็นต้องอาศัยเวลา และวิธีการที่รอบคอบที่สุดในการดำเนินการ ผู้สื่อข่าว รายงานว่า ภายใต้โครงการสนับสนุนการพัฒนาประชาธิปไตยของไทย ในวงเงิน ประมาณ 30 ล้านเหรียญสหรัฐฯ จะมุ่งไปที่การศึกษาวิจัยองค์กรอิสระที่สำคัญของประเทศไทย เช่น คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.) คณะกรรมการการเลือกตั้ง และคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน และองค์กรอิสระอื่นๆที่สำคัญ โดยวิเคราะห์ถึงสภาพปัญหา สิ่งแวดล้อมทางสังคมและการเมือง ตลอดจนเครื่องมือขององค์กรอิสระต่างๆ ตลอดจนการเชื่อมโยงกับองค์กรภายนอกเช่น สื่อมวลชน แหล่งข่าว เปิดเผยว่า ไม่เพียงรัฐบาลสหรัฐที่กลับมาให้เงินสนับสนุนการพัฒนาประชาธิปไตยในไทย ยังมีประเทศมหาอำนาจอีกหลายประเทศ ที่กำลังสนับสนุนด้านเงินทุนในการพัฒนาประชาธิปไตยของไทย
แหล่งข่าว เปิดเผยว่า ยูเสด ได้เปิดให้ DAI อันเป็นบริษัทเอกชนของสหรัฐอเมริกาเข้ามารับโครงการดังกล่าวไปดำเนินการ จากนั้น DAI Washington ได้มาจัดหาบริษัทในประเทศไทยเป็น "ซับคอนแทรก" อีกต่อหนึ่ง โดยระยะเวลาโครงการนี้ ประมาณ 3 ปี
การเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับหน่วยงานอิสระ
นอกจากนั้นยูเสดยังสนับสนุนการริเริ่มในการจัดหาความร่วมมือด้านการฝึกอบรมและด้านทฤษฎี ให้แก่บุคลากรของหน่วยงานที่ไม่ขึ้นตรงต่อรัฐบาล และการริเริ่มในการนำองค์กรภาคประชาสังคม หน่วยงานทางวิชาการ และผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆ เพื่อที่จะจัดการกับปัญหาต่างๆด้วยกฎหมายและนโยบายที่ถูกต้อง โดยองค์กรภาคประชาชน และหน่วยงานอิสระมีหน้าที่ในการวิเคราะห์ด้านทฤษฎี และการสร้างโอกาสในการเจรจาระหว่างรัฐบาล องค์กรภาคประชาสังคม และหน่วยงานทางวิชาการ ซึ่งจะช่วยทำให้เกิดความเข้าใจในด้านการเข้าไปมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนเพิ่มขึ้นด้วย และหน่วยงานอิสระต่างๆก็สามารถจัดการหน้าที่ ในการจัดการกับอำนาจที่ได้รับมอบหมายได้อย่างถูกต้องตามรัฐธรรมนูญ นอกจากนี้ ภาคประชาสังคมก็จะมีกลไกที่ชัดเจน ในการมีส่วนร่วมในด้านการพัฒนานโยบายสาธารณะและประเด็นอื่นๆที่ถูกมองข้ามไป โดยเงินสนับสนุนประมาณ 20 เปอร์เซ็นต์ ของโครงการจะถูกเน้นย้ำไปในด้านนี้
ทางยูเสดได้จัดหาความช่วยเหลือผ่านด้านความร่วมมือทางทฤษฎีและเงินทุนเพื่อเปิดโอกาสให้ภาคประชาสังคมได้จัดการสนับสนุน และสื่อสารด้านการมีส่วนร่วมให้กับหน่วยงานรัฐบาลและหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้อง นอกจากนั้นความช่วยเหลือดังกล่าวยังช่วยสนับสนุนภาคประชาสังคมและหน่วยงานทางวิชาการในการวิจัยด้านวิชาการซึ่งนำไปสู่การเจรจาระหว่างรัฐบาลไทยและประชาชนในประเด็นด้านนโยบายหลักและช่วยสนับสนุนแผนการสนับสนุนความเป็นอิสระของสื่อมวลชน สิทธิมนุษยชน และการระแวดระวังด้านคุณค่า กระบวนการ และวัฒนธรรมทางประชาธิปไตยทางการเมือง นอกจากนั้นการสร้างความแข็งแกร่งด้านทฤษฎีและวิสัยทางด้านการเมืองของกลุ่มประชาสังคม โดยการขยายโอกาสในด้านการส่งเสริมให้มีการเจรจาระหว่างประชาชนและรัฐบาล ซึ่งทำให้ประชาชนมีส่วนร่วมและรับทราบข้อมูลด้านนโยบายมากยิ่งขึ้น ทางรัฐบาลเองก็จะทราบข้อมูลด้านความสนใจของประชาชน ผ่านความกลไกความร่วมมือทางสาธารณะ และรัฐบาลเองก็จะอยู่ในตำแหน่งที่ดีกว่าในการพัฒนานโยบายสาธารณะที่ตอบสนองต่อความต้องการของประชาชน โดยเงินสนับสนุนประมาณ 45 เปอร์เซ็นต์ ของโครงการจะถูกเน้นย้ำไปในด้านนี้
ยูเสดสนับสนุนความพยายามในการสร้างความปรองดองทั้งภายในและภายนอกสามจังหวัดชายแดนภาคใต้และสร้างความน่าเชื่อถือในการสืบเสาะหาเหตุและผลของเหตุการณ์ของความขัดแย้ง ที่ส่งผลกระทบต่อความรุนแรง การศึกษาของประชาชน และการสื่อสารภายในท้องถิ่น เช่น การเสริมสร้างกิจกรรมเพื่อสร้างความปรองดองให้กับประชาชน อาทิ บริการการสร้างความเข้าใจต่อผลลัพธ์ของความขัดแย้ง การสร้างความระแวดระวังทางด้านสิทธิมนุษยชน การสอดส่องและการขยายโอกาสของเครือข่ายภาคประชาชนในเขตสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ และกลุ่มเอ็นจีโอ ทั่วทั้งประเทศ ซึ่งทำให้ความต้องการด้านสาธารณะที่จะคลี่คลายปัญหาเหล่านี้ด้วยความสันติเพิ่มขึ้นตามไปด้วย โดยเงินสนับสนุนประมาณ 35 เปอร์เซ็นต์ ของโครงการจะถูกเน้นย้ำไปในด้านนี้
รายงานข่าวแจ้งว่า ปัจจัยหลายประการที่ทำให้ภายนอกมองว่าประชาธิปไตยของไทยยังมีปัญหาได้แก่
3. ปัญหาเรื่องความคลางแคลงใจในอำนาจของฝ่ายทหาร การปกครองตามระบอบประชาธิปไตย หมายถึงการปกครองที่ประชาชนมีอำนาจผ่านระบบรัฐสภา และอำนาจทางการทหารควรถูกแยกส่วนจากอำนาจการบริหารประเทศ ดังนั้นเมื่อเกิดรัฐประหารขึ้นในวันที่ 19 กันยายน 2549 ต่างชาติจึงเกิดความกังวลด้านอำนาจทหาร ซึ่งอาจนำไปสู่การปกครองแบบเผด็จการ และบั่นทอนความเป็นประชาธิปไตยในประเทศไทยได้ รวมทั้งมีกระแสข่าวลืออยู่ตลอดเวลาว่าจะมีการปฏิวัติซ้ำซ้อนเกิดขึ้น แต่ก็ได้รับการยืนยันทางทางกองทัพเสมอมาว่าเป็นเพียงข่าวลือ
4. ปัญหาการคอร์รัปชั่นและการซื้อเสียง อันเป็นเหตุปัจจัยที่ทำให้การเมืองไทย ไร้เสถียรภาพ
ทั้งนี้ รูปแบบ จะเป็นการสำรวจความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ ของประชาชน และองค์กรประชาสังคม ต่างๆ ทั่วประเทศ ก่อนสรุปออกมาเป็นแนวทางพัฒนาประชาธิปไตยไทย