WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Monday, July 5, 2010

รัฐบาล"อภิสิทธิ์"ขายฝัน ชูธง"ปรองดอง-ประชานิยม" ระวังผลลัพธ์ กลับตาลปัตร

ที่มา ข่าวสด


"...ไม่แน่เสมอไปว่าแนวทาง "ปรองดอง" กับ"ประชานิยม"จะเป็นหนทางการเพิ่มคะแนนเสียง ถ้า"ประชานิยม"ที่ไม่ประสบความสำเร็จ หรือ ปรองดองที่ล้มเหลวอาจกลายเป็นหอกทิ่มแทงกลับไปยังผู้พูด ก็เป็นไปได้



วิเคราะห์



รัฐบาลผสมพรรคประชาธิปัตย์ ที่มีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรี ประสบปัญหาความน่าเชื่อถือมาตั้งแต่วันแรกที่เข้าดำรงตำแหน่ง

คำปรามาสที่ว่า "เก่งแต่พูด" นั้น เป็น "กรรมเก่า" ของพรรคประชาธิปัตย์ที่ถูกกล่าวหามาโดยตลอด

แม้ว่าพรรคประชาธิปัตย์จะแก้เกมด้วยการประชาสัมพันธ์ความสำเร็จในนโยบายฟาสต์ฟู้ด 99 วัน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องค่าเล่าเรียนฟรี เรื่องเงินผู้สูงวัย ฯลฯ สารพัด แต่หลังจากหมดภารกิจข้อผูกมัดดังกล่าว

รัฐบาลทำได้แต่เพียง "ขายฝัน"

เป็นการ "ขายฝัน" ที่สร้างข้อสงสัยทั้งในด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม

ประการแรก รัฐบาล "ขายฝันปรองดอง" โดยตั้งคณะกรรมการขึ้นมา 3 ชุด ชุดแรกคือคณะกรรมการปฏิรูปประเทศไทย ชุดที่สองคือคณะกรรมการอิสระตรวจสอบเหตุการณ์ความไม่สงบทางการเมือง และชุดที่สามคือคณะกรรมการศึกษาการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ตามข้อเสนอของคณะกรรมการสมานฉันท์

น่าสังเกตว่าคณะกรรมการทั้ง 3 ชุดนี้ตั้งขึ้นมาภายหลังจากการตั้งคณะกรรมการ 3 ฝ่าย อันประกอบด้วยคณะกรรมการฝ่ายรัฐบาล ฝ่ายค้าน และฝ่ายวุฒิสภา ในนามของคณะกรรมการสมานฉันท์ ไม่ปรากฏผลสำเร็จในการดำเนินการ

ทั้งนี้ เนื่องจากคณะกรรมการสมานฉันท์ชุดดังกล่าว เสนอให้แก้ไขรัฐธรรมนูญจำนวน 6 ประเด็น แต่ไม่สามารถดำเนินการได้ เนื่องจากพรรคใหญ่อย่างพรรคประชาธิปัตย์ไม่เห็นด้วย

กระทั่งเกิดเหตุการณ์ความไม่สงบขึ้น นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี จึงเสนอแนวทาง "ปรองดอง" แทน "สมานฉันท์" โดยมีกำหนดความหวังเอาไว้ 3 ปี

ประการที่สอง รัฐบาล "ขายฝันการลงทุนโปรเจ็คต์ขนาดใหญ่" โดยล่าสุด นายไตรรงค์ สุวรรณคีรี รองนายกรัฐมนตรี ฝ่ายเศรษฐกิจ มีแผนที่จะสร้างรถไฟฟ้าความเร็วสุดหลายสาย ทั้งเหนือ กรุงเทพฯ-เชียงใหม่ สายตะวันออก กรุงเทพฯ-ระยอง และสายตะวันออกเฉียงเหนือ กรุงเทพฯ-หนองคาย สายใต้ กรุงเทพฯ-หาดใหญ่ วงเงิน 7 แสนล้านบาท

ขณะที่โครงการรถไฟฟ้าความเร็วสุดของประเทศต่างๆ ที่สร้างกันอยู่ในเวลานี้ แค่สายเดียวใช้เงินเป็นล้านล้านบาท จึงทำให้เกิดความฉงนใจว่าโครงการดังกล่าวมีโอกาสสำเร็จหรือล้มฟุบ

ประการที่สาม รัฐบาลสั่งให้กระทรวงการคลังศึกษาความเป็นไปได้ ในการให้ประชาชนสามารถนั่งรถเมล์ฟรี รถไฟฟรี ตลอดจนมาตรการช่วยเหลือเรื่องค่าน้ำ-ค่าไฟ เพื่อช่วยเหลือเรื่อง "ค่าครองชีพ" โดยหวังจะให้ความช่วยเหลือประชาชนตลอดไป ไม่ใช่ช่วยเหลือชั่วคราว และต้องพิจารณาไปทุกๆ 6 เดือน

น่าสังเกตว่ามาตรการต่างๆ ที่รัฐบาลผลักดันจนเป็นข่าวใหญ่โตนั้น เป็นมาตรการหวังจะเห็นผลในอนาคตทั้งสิ้น

เป็นการสร้างภาพความหวังให้เกิดขึ้นแก่ประชาชนคนไทย

เช่นเดียวกับการสร้างภาพการระดมความคิดเห็นในโครงการ "6 วัน 63 ล้านความคิด" ที่นายกรัฐมนตรีเริ่มต้นนำทีมรับฟังความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศไปเมื่อสัปดาห์ก่อน

น่าสนใจตรงที่ความคิดต่างๆ ที่รัฐบาลนำเสนอในห้วงเวลานี้ กลับต้องเผชิญหน้ากับคำวิพากษ์วิจารณ์จากนักวิชาการอย่างสาหัส

โดยเฉพาะโครงการ "ประชานิยม" ที่มุ่งเน้นการ "ลดค่าครองชีพ" นั้น มีนักวิชาการคัดค้านกันหนักสุด โดยให้เหตุผลว่าเป็นโครงการไม่ยั่งยืน เป็นโครงการที่ไม่มียุทธศาสตร์ เป็นโครงการที่ไม่เหมาะสมกับประเทศไทยในช่วงเวลาที่งบประมาณไม่เพียงพอ

นี่เท่ากับว่ากลุ่มภูมิปัญญาที่เป็นนักวิชาการ เริ่มตั้งข้อสงสัยในความคิดและการทำงานของรัฐบาล

อย่าลืมว่ากลุ่มนักวิชาการเหล่านี้คือกลุ่มคนที่เคยตั้งความหวังกับรัฐบาลผสมพรรคประชาธิปัตย์ ที่มีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรี ว่าจะสามารถนำพาประเทศไทยให้ก้าวพ้นวิกฤตภัยต่างๆ ไปได้

ขณะที่นายอภิสิทธิ์และรัฐบาลอาจจะมองว่า การดำเนินการของรัฐบาลในครั้งนี้หวังผลทางการเมืองจากประชาชนที่มีรายได้น้อย โดยระบุว่าเรื่องค่ารถไฟฟรี ค่ารถเมล์ฟรี ค่าน้ำ-ค่าไฟ นั้นเป็นเรื่องที่ช่วยลดความเหลื่อมล้ำทางหนึ่ง

หากแต่ปัญหาสำหรับรัฐบาลผสมพรรคประชาธิปัตย์ ที่มีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรี ยังคงเป็นปัญหาเดิมๆ

นั่นคือ ในที่สุดแล้วรัฐบาลจะสามารถทำ "ความฝัน" ที่สร้างให้ประชาชนมี "ความหวัง" นั้นเป็น "จริง" ได้มากน้อยเพียงใด

ภาวการณ์ของ "ประชานิยม" ที่รัฐบาลกำลังศึกษานี้ อาจจะตรงกับสถานการณ์ "ปรองดอง" ที่รัฐบาลเคยศึกษามาแล้ว

นั่นคือเมื่อผลศึกษาออกมา กลับปรากฏว่าไม่สามารถนำไปสู่การปฏิบัติได้

เมื่อผลเป็นเช่นนั้น ประชาชนจะลากเอา "ผลงาน" ของรัฐบาลชุดนี้ไปเปรียบเทียบกับ "ผลงาน" ของรัฐบาลพรรคไทยรักไทย ที่มี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี

และหากผลที่เปรียบเทียบกันออกมาว่ารัฐบาลชุดปัจจุบัน ไม่สามารถทำให้ "ฝัน" กลายเป็น "จริง" ได้

กระแส "ผิดหวัง" คงกระหน่ำใส่รัฐบาลชุดปัจจุบัน

รัฐบาลอาจเจอคำปรามาสที่ว่า "พูดได้ แต่ทำไม่เป็น"

นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ในฐานะหัวหน้ารัฐบาลอาจถูกดิสเครดิตทางการเมืองและการบริหาร เพราะไม่สามารถทำในสิ่งที่อยากทำได้

ดังนั้น จึงไม่แน่เสมอไปว่าแนวทาง "ปรองดอง" กับ "ประชานิยม" จะเป็นหนทางการเพิ่มคะแนนเสียง

"ประชานิยม" ที่ไม่ประสบความสำเร็จ หรือ "ปรองดอง" ที่ล้มเหลว อาจกลายเป็นหอกทิ่มแทงกลับไปยังผู้พูดก็เป็นไปได้

หากเป็นเช่นนั้น แทนที่จะได้คะแนนเสียง อาจจะเสียคะแนนไป

หนทางข้างหน้าของนายอภิสิทธิ์และรัฐบาล คือ ต้องทำให้สำเร็จสถานเดียว

---------------------------------


หนังสือพิมพ์ "มติชนรายวัน" ฉบับวันที่ 04 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 หน้า 3