WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Tuesday, July 6, 2010

ผลของ‘โมฆะกรรม’

ที่มา บางกอกทูเดย์



เคยศึกษาหาความรู้จากคำพิพากษาไปพบเรื่อง “โมฆะ” ซึ่งน่าสนใจมาก เพราะมีการบันทึกหมายเหตุท้ายฎีกาที่ 965/2530 ไว้ว่า...

นิติกรรมที่เป็นโมฆะถือว่าเสียเปล่าใช้ไม่ได้มาแต่ต้นทำอะไรกันไว้ก็เหมือนไม่ได้ทำ ไม่ก่อให้เกิดการเคลื่อนไหวแห่งสิทธิและหน้าที่ ไม่ต้องบอกล้างหรือเพิกถอน

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 133 มีว่า...เพียงผู้มีส่วนได้เสียกล่าวอ้างขึ้นเท่านั้น ซึ่งเป็นเพียงการยกขึ้นเพื่ออ้างว่านิติกรรมนั้นเป็นโมฆะ หรือเป็นวิธีการประกาศให้ทราบเท่านั้น

มิได้หมายความว่า...ถ้าไม่กล่าวขึ้นอ้างแล้วจะไม่เป็นโมฆะ ผลของโมฆะกรรมนั้นกฎหมายไม่ได้บัญญัติไว้ว่าคู่กรณีจะปฏิบัติต่อกันอย่างไรต่อไป

ผู้ที่ได้อะไรไว้จากนิติกรรมที่เป็นโมฆะถือว่าปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ต้องคืนแก่อีกฝ่ายหนึ่งในฐานลาภมิควรได้

นิติกรรมที่จากความสำคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรมอันตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 119 ถือเสมือนว่าไม่มีการนำนิติกรรม ไม่จำต้องเพิกถอนนิติกรรมนั้นอีก

เขียนเรื่องนี้ขึ้นมา เพราะกรรมาธิการคณะหนึ่งของวุฒิสภาจะจัดสัมมนาเรื่องการได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศ

ซึ่งมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่า...การได้อำนาจนั้นไม่เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ

เรื่องนี้เขียนเป็นบทความไปแล้ว สมาชิกวุฒิสภาส่วนหนึ่ง จำนวน 18 คน จึงได้ทำหนังสือถึงประธานวุฒิสภาเพื่อส่งเรื่องให้อัยการสูงสุดทำการตรวจสอบข้อเท็จจริงและส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยต่อไป

กรณีการเลือก “นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” เป็นนายกรัฐมนตรีเมื่อ วันที่ 15 ธันวาคม 2551 โดยมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร(ส.ส.) ของพรรคการเมืองที่ถูกยุบไปจำนวน 47 คน ไปร่วมโหวตรับรองด้วยนั้น

เกิดประเด็นขึ้นมาว่า...การโหวตเลือกนายกรัฐมนตรีในวันดังกล่าวอาจจะไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ

เพราะ ส.ส. ที่เข้าไปโหวตเลือกนายกฯในวันดังกล่าว เป็น ส.ส. ของพรรคการเมืองที่สิ้นสภาพไปแล้ว คือ “ถูกยุบไป”

ไม่เคยมีการตีความเรื่องนี้กันมาก่อน เพราะนักการเมืองเร่งรีบที่จะช่วงชิงอำนาจในการบริหารประเทศเลยลืมนึกถึงข้อกฎหมาย

ทั้งที่เรื่องดังกล่าวอาจส่งผลทำให้การได้มาซึ่งตำแหน่งนายกรัฐมนตรีต้อง “ตกเป็นโมฆะ” ได้ในที่สุด

กรณีการตีความการได้มาซึ่งตำแหน่งนั้น เคยเกิดมาแล้วกับการที่วุฒิสภาเคยเลือกผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินคนหนึ่งที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าไม่ชอบ

ซึ่งพิจารณาแล้วคงนำไปใช้ในกรณีสภาผู้แทนราษฎรเลือกนายกรัฐมนตรีได้เช่นกัน

เพราะศาลรัฐธรรมนูญเคยวินิจฉัยไว้ในปี 2549 ว่า...สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรต้องสังกัดพรรคการเมือง
ต้องแปลความว่า...คำวินิจฉัยนี้ย่อมเป็นเด็ดขาดผูกพันรัฐสภา พรรคการเมืองต้องมีสภาพอยู่ มิได้สิ้นสภาพไป

ถ้าดูตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ ทุกคนย่อมเข้าใจตรงกันว่า ส.ส. ต้องสังกัดพรรคการเมือง ต่างจากสมาชิกวุฒิสภา(ส.ว.) ที่ไม่ต้องสังกัดพรรค

เรื่องนี้สมาชิกวุฒิสภาบางส่วนก็รับรู้ แต่กลับมาพูดคุยในเชิงให้ยุติเรื่องไว้ ไม่ควรส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย ถึงกับพยายามที่จะใช้มติของกรรมาธิการอีกคณะให้ระงับการส่งเรื่องกันมาแล้ว

จะว่ากันอย่างไร? เพื่อให้เรื่องนี้ชัดเจนขึ้น พี่น้องผู้อ่านสามารถติดตามผลการสัมมนาในเรื่อง การได้มาซึ่งตำแหน่งนายกรัฐมนตรีจะมีผลเป็นโมฆะหรือไม่ เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคมที่ผ่านมา

"เรืองไกร ลีกิจวัฒนะ"