WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Monday, July 5, 2010

นักวิชาการฝรั่งตั้งคำถาม นโยบาย "ลูกเสืออินเตอร์เน็ต" ของรัฐบาลจะสำเร็จแค่ไหน?

ที่มา มติชน

นิโคลัส ฟาร์เรลลี่ นักวิชาการประจำมหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลีย ได้เขียนบทความชื่อ"จากลูกเสือชาวบ้านถึงลูกเสือบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต" (ฟรอม วิลเลจ สเก๊าท์ส ทู ไซเบอร์ สเก๊าท์ส) ลงในเว็บล็อก "นิวแมนดาลา" (นวมณฑล) ซึ่งมีเนื้อหาโดยสังเขปดังต่อไปนี้


ในช่วงเวลาก่อนการมาถึงของ "ยุคดิจิตอล" นโยบายทางด้านความมั่นคงแห่งชาติของไทย มักจะมีหน่วยปฏิบัติงานเป็นทหารในกองทัพ, กองกำลังพลเรือน, เจ้าหน้าที่ตำรวจ และองค์การภาคพลเมือง


หนึ่งในองค์กรเหล่านั้นซึ่งนำไปสู่กรณีถกเถียงกันเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1970 ก็คือ "ลูกเสือชาวบ้าน" แม้ว่าวันเวลาแห่งความรุ่งโรจน์ขององค์กรดังกล่าวจะเป็นเพียงความทรงจำอันรางเลือน ทว่าลูกเสือชาวบ้านก็ใช่จะปลาสนาการไปจากสังคมไทยเลยเสียทีเดียว


ปัจจุบันนี้ พวกเขาถือเป็นหน่วยงานอย่างเป็นทางการหน่วยหนึ่งที่ขึ้นตรงกับกองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน และศูนย์ปฏิบัติการลูกเสือชาวบ้านฯ ก็ยังมีภารกิจในการระดมผู้คนและโฆษณาชวนเชื่อมาอย่างต่อเนื่อง


การที่ลูกเสือชาวบ้านยังคงมีความสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน โดยดำรงอยู่ภายในหน่วยงานราชการด้านความมั่นคง จึงส่งผลให้พวกเขาสามารถจะเคลื่อนพลออกมาได้อีกครั้งหนึ่ง


ล่าสุดนายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เพิ่งเดินทางไปเป็นประธานพิธีเปิดโครงการสร้าง"ลูกเสือบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต" (Cyber Scout) เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคมที่ผ่านมา ซึ่งเป็นหนึ่งในความพยายามของรัฐบาลที่จะ "ควบคุมตรวจตรา" สื่อออนไลน์


รายงานข่าวระบุว่า ลูกเสือบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ตจำนวน 200 คน จะประกอบไปด้วย นักเรียนนักศึกษา, ครูอาจารย์, ข้าราชการ และผู้ปฏิบัติงานภาคเอกชน ซึ่งมีความรู้ความสามารถทางด้านคอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ต


หน้าที่ของลูกเสือออนไลน์เหล่านี้ย่อมต้องเป็นการ "เฝ้าสังเกตตรวจตรา" บรรดาเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาเป็นภัยคุกคามต่อความมั่นคงของชาติ ตลอดจนสถาบันสำคัญ ๆ ของสังคม


อย่างไรก็ตาม ฟาร์เรลลี่กลับมองว่านโยบายดังกล่าวเป็นเพียงกลยุทธเพื่อให้มีข่าวคราวของรัฐบาลปรากฏอยู่ในพื้นที่สื่อ ซึ่งถูกจัดขึ้นพอเป็นพิธีเท่านั้น


เนื่องจากที่ผ่านมาความพยายามในการควบคุมตรวจตราอินเตอร์เน็ตของรัฐบาลมีทั้งความสำเร็จและความล้มเหลวผสมผสานกันไป เมื่อเว็บไซต์ใดถูกบล็อก คนทำก็ไปสร้างเว็บใหม่ในพื้นที่แห่งใหม่ ขณะเดียวกัน บรรดากลุ่มผู้ใช้อินเตอร์เน็ตที่ติดตามเว็บไซต์เหล่านี้ก็ยังเริ่มตระหนักรู้ถึงวิธีการในการตอบโต้นโยบายการควบคุมสื่อออนไลน์


เนื้อหาในเว็บไซต์ที่ถูกบล็อกกลับได้รับการทำสำเนา นำไปเผยแพร่ซ้ำ ตลอดจนกลายเป็นที่ดึงดูดใจของผู้ใช้อินเตอร์เน็ตมากขึ้น ด้วยสถานะ "ผิดกฎหมาย" ของมัน


นอกจากนี้ วิธีการบล็อก "เว็บเพจ" เพียงหน้าใดหน้าหนึ่งของ "เว็บไซต์" บางแห่งก็ถูกดำเนินการโดยเจ้าหน้าที่รัฐ และถูกเยาะเย้ยไปพร้อม ๆ กัน เพราะยิ่งเนื้อหาในเว็บเพจดังกล่าวถูกแบน มันก็จะกลายเป็นประเด็นยอดนิยมที่ได้รับความสนใจจากผู้คนมากยิ่งขึ้น ทั้งยังเป็นการกระตุ้นคนที่เพิกเฉยไม่ใส่ใจเรื่องราวรอบตัว ให้หันมาสนใจเรื่องราวที่กำลังถูก"แบน"อีกด้วย


แม้การดำเนินนโยบายเช่นนี้ของรัฐบาลจะทำให้คนบางกลุ่มมีความเชื่อมั่นว่า รัฐไทยจะสามารถควบคุมระลอกคลื่นจำนวนมหาศาลอันทรงพลานุภาพแห่งการวิพากษ์, การเสียดสีเหน็บแนม และการเผชิญหน้ากับคำวิจารณ์ต่าง ๆ ซึ่งซ่อนแฝงอยู่นอกเหนือไปจาก "เส้นขอบฟ้า" (ขอบเขตความรู้หรือประสบการณ์ในการทำความเข้าใจโลก) ของสังคมไทยเอาไว้ได้


แต่นักวิชาการจากมหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลียกลับไม่เชื่อว่านโยบายดังกล่าวจะบรรลุผลสำเร็จ มิหนำซ้ำ มันยังอาจเป็นตัวการกร่อนเซาะทำลายความน่าเชื่อถือของหลาย ๆ สถาบันสำคัญในสังคมไทยเสียเอง


ฟาร์เรลลี่ปิดท้ายบทความชิ้นนี้ว่า เป็นที่แน่ชัดว่าการไหลเวียนแพร่หลายของ "เนื้อหาต้องห้ามผิดกฎหมาย" ทางสื่ออินเตอร์เน็ตยังจะดำเนินต่อไป และอาจมีอัตราในการส่งต่อที่รวดเร็วมากยิ่งขึ้น จึงเป็นที่น่าสงสัยเหลือเกินว่า ถึงที่สุดแล้วรัฐบาลไทยชุดนี้จะต้องการ "ลูกเสืออินเตอร์เน็ต" จำนวนมากมายมหาศาลสักเพียงไหนมารับมือกับสิ่งที่กำลังเกิดขึ้น?