WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Thursday, July 8, 2010

ระวังจะเหลิงอำนาจ

ที่มา ไทยรัฐ


ต้องถือว่าผิดความคาดหมายเมื่อศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) มีมติเป็นเอกฉันท์ให้ต่ออายุ พ.ร.ก.การ บริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน ในทั้ง 24 จังหวัด ด้วยเหตุผลที่ว่าสถานการณ์ยังไม่น่าไว้ วางใจ มีการนำข้อมูลข่าวสารไปบิดเบือนจากความเป็นจริง มีการปลุกระดมมวลชนในท้องถิ่นต่างๆ และอาวุธของทางราชการที่ยึดไป ก็ยังไม่ได้ส่งคืนให้เจ้าหน้าที่ของรัฐก่อนหน้านี้ มีการคาดหมายว่า

อาจจะยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉินในบางจังหวัด และคงไว้ในบางจังหวัดที่จำเป็น แต่กลายเป็นว่าให้คงไว้ทั้งหมด ด้วยเหตุผลที่ทะแม่งๆ ไม่หนัก แน่นน่าเชื่อถือ ตัวอย่างเช่น ยังไม่ได้อาวุธที่ถูกยึดไปคืนมา หมายความว่า ตราบใดที่ยังไม่ได้อาวุธคืน จะประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินตลอดไปหรือ? ใครจะเป็นผู้ตามเอาอาวุธคืน? หรือจะนั่งอยู่เฉยๆ และให้คนร้ายเอามาคืน?

ส่วนการบิดเบือนข้อมูลข่าวสารจะรับประกันได้อย่างไรว่า ถ้าคง พ.ร.ก.ฉุกเฉินเอาไว้ จะไม่มีการบิดเบือน เพราะมีสื่อมากมายที่รัฐไม่สามารถควบคุมได้ และคนของพรรคเพื่อไทย และ นปช. ก็ได้ประกาศชัดเจนว่า จะฟื้นฟูสื่อต่างๆขึ้นมาใหม่ ทั้งสื่อสิ่งพิมพ์และโทรทัศน์ดาวเทียม นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ รัฐมนตรีผู้กำกับดูแลสื่อคนใหม่ ก็ยอมรับว่าไม่มีกฎหมายที่จะให้ใครเปิดหรือปิดทีวี

เป็นการยอมรับว่า แม้แต่กฎหมายสถานการณ์ฉุกเฉิน ก็ไม่สามารถควบคุมการเปิดหรือปิดสื่อสิ่งพิมพ์ สื่อโทรทัศน์และวิทยุกระจายเสียง อีกทั้งยังมีบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ ห้ามสั่งปิดกิจการหนังสือพิมพ์ และสื่อมวลชนอื่นๆ และห้ามผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองขัดขวาง หรือแทรกแซงการเสนอข่าวหรือการแสดงความคิดเห็นในประเด็นสาธารณะ ถือว่าจงใจใช้อำนาจโดยมิชอบ และอาจถูกถอดถอน

ขณะนี้ยังไม่มีองค์กรอิสระผู้ทำหน้าที่ในการจัดสรรคลื่นความถี่ และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง และวิทยุโทรทัศน์ ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ การที่ ศอฉ.ใช้อำนาจกฎหมายสถานการณ์ฉุกเฉิน สั่งปิดสื่อต่างๆ น่าเป็นห่วงว่าจะขัดต่อรัฐธรรม-นูญหรือไม่? เพราะรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ ถ้าบทบัญญัติข้อใดของกฎ-หมายภาวะฉุกเฉินขัดรัฐธรรมนูญ ก็จะใช้บังคับไม่ได้เมื่อรัฐบาลยังไม่มีกฎหมายให้

เปิดหรือปิดสถานีโทรทัศน์ ทางที่ถูกที่ควร รัฐบาลน่าจะใช้วิธีการกำกับดูแลและตรวจสอบจะดีกว่า เมื่อเห็นว่าสื่อทำผิดกฎหมายข้อใด ก็ต้องดำเนินการตามกฎหมาย นับตั้งแต่ข้อหาหมิ่นประมาท จนถึงปลุกระดมประชาชนเพื่อโค่นรัฐบาล แทน ที่จะใช้อำนาจกฎหมายฉุกเฉินสั่งปิดลูกเดียว เพราะว่าถึงจะปิดได้ก็เปิดใหม่ได้ และสามารถบิดเบือนข้อมูลข่าวสารได้ตลอดกาล

กฎหมายสถานการณ์ฉุกเฉินเป็นดาบสองคม เพราะให้อำนาจเจ้าหน้าที่รัฐแบบครอบจักรวาล และยกไว้ไม่ต้องรับผิดใดๆ จึง อาจกลั่นแกล้งชาวบ้านได้ อย่างกรณีที่มีการร้องเรียน "ขังลืม" ที่กาญจนบุรี และรัฐบาลก็อาจเสพติดกฎหมายฉุกเฉินจนเหลิงอำนาจ เหมือนกับรัฐบาลเผด็จการในอดีตที่ใช้กฎ อัยการศึกปกครองประเทศ จนถูกนักศึกษาประชาชนลุกฮือขับไล่ ถูกตราหน้าเป็นทรราชและถูกยึดทรัพย์สิน.