ที่มา บางกอกทูเดย์ (ต่อจากตอนที่แล้ว) \เราจะมาพูดกันต่อถึงความเข้มข้นในการเลือกตั้งซ่อม ส.ส. กรุงเทพมหานคร เขต 6 ซึ่งเป็นการต่อสู้กันระหว่างสองพรรคใหญ่คือ “พรรคประชาธิปัตย์” กับ “พรรคเพื่อไทย” โดยมีทิศทางและอนาคตทางการเมืองของประเทศชาติเป็นเดิมพัน เพราะผู้สมัครอย่าง “กำนันมงคล กิมสูนจันทร์” กำนันหนุ่มนักพัฒนาเป็นที่รักของคนหนองจอกมาก หรือแม้แต่การเลือกตั้งปี 48 กำนันมงคลก็เอาชนะ “นายอนันต์ ฤกษ์ดี” ของประชาธิปัตย์อย่างท่วมท้นถึง 78,296 ต่อ 35,906 คะแนน สุดท้าย “เขตคลองสามวา” สมัยปี 44 อยู่ในเขตเลือกตั้งที่ 26 ร่วมกับเขตมีนบุรี เป็นการต่อสู้ระหว่างเลือดแม่พระธรณีบีมวยผมด้วยกัน ระหว่างนักธุรกิจก่อสร้างหนุ่มที่เริ่มเล่นการเมืองท้องถิ่นกับประชาธิปัตย์แต่มาเล่นการเมืองระดับชาติกับไทยรักไทย “วิชาญ มีนชัยนันท์” สู้กับครูจอมเก๋าอดีต ส.ส. หลายสมัยผู้มีฐานเสียงหนาแน่นกับชาวมุสลิม “สมัย เจริญช่าง” แต่วิชาญก็เอาชนะได้ไม่ยาก 43,274 ต่อ 33,083 ปี 48 วิชาญ ก็เอาชนะ นายประพันธ์ บุษยไพบูลย์ 73,744 ต่อ 43,034 คะแนน การเลือกตั้งซ่อมเขต 6 คราวนี้ทั้ง สมัย เจริญช่าง และ วิชาญ มีนชัยนันท์ จึงได้รับความไว้วางใจจากพรรคการเมืองต้นสังกัดให้เป็นผู้อำนวยการเลือกตั้ง ทั้งหมดนั้นคือภาพรวมของการเลือกตั้งเขตเล็ก 2 ครั้ง ในปี 44 และ 48 ซึ่งเห็นได้ชัดเจนว่าพรรคไทยรักไทยเอาชนะประชาธิปัตย์ได้อย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาดทั้งสองครั้ง แต่เมื่อการเมืองเปลี่ยน...เกิดการรัฐประหารในปี 49 รัฐธรรมนูญถูกยกเลิก กติกาบางประการมีการเปลี่ยนแปลง รวมทั้งเขตเลือกตั้งในกรุงเทพฯ มีการเปลี่ยนแปลงในภาพรวมทั้งหมด เขตเลือกตั้งเล็กๆ เหล่านั้นถูกรวมเป็นเขต 6 มีการเฉือนบางส่วนของบางเขตออกไป เช่นตัดมีนบุรีออกจากคลองสามวา ตัดลาดกระบังออกจากหนองจอก ตัดสะพานสูงออกจากคันนายาว แน่นอนว่า...ฐานเสียงพื้นฐานของพรรคการเมืองย่อมมีการเปลี่ยนแปลงบ้าง แม้กระแสคนกรุงเทพฯ จะเหมือนกันก็ตาม การเลือกตั้งในปี 50 ผลการเลือกตั้งจึงทำให้พรรคประชาธิปัตย์กลับมาประสบชัยชนะอย่างท่วมท้นในภาพรวมของกรุงเทพฯ แต่ในเขตที่พรรคไทยรักไทยมีฐานเสียงที่หนาแน่นพรรคประชาธิปัตย์ก็ยังไม่สามารถเอาชนะได้ทั้งหมด เขต 6 ก็เช่นกัน... ประชาธิปัตย์เอาชนะได้แค่ 2 ใน 3 คน เท่านั้น คือ สมัย เจริญช่าง กับ ทิวา เงินยวง ทั้งที่สอบตกซ้ำซากมา 2 สมัย อีกหนึ่งที่นั่งยังคงตกเป็นของพลังประชาชนหรือเพื่อไทยคือ ส.ส.ไพโรจน์ อิสรเสรีพงศ์ โดยทั้ง 3 คนได้คะแนนเกิน 1 แสน ที่ 4, 5 และ 6 ได้คะแนน 9 หมื่นกว่าทั้งหมด จากภาพรวมของการเลือกตั้ง ส.ส.ที่ผ่านมา 3 ครั้ง...ถ้าเว้นที่จะกล่าวถึงการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร หรือ ส.ก. ก็จะไม่สมบูรณ์ เพราะ ส.ก. คือ ผู้กุมคะแนนพื้นฐานที่สำคัญในชุมชนต่างๆ ในกรุงเทพฯ ที่แม้กระแสจะดีเพียงใดแต่ถ้าฐานประชาชนในชุมชนมีหนาแน่น โอกาสที่จะชนะเลือกตั้งจึงมีสูง นักการเมืองในกรุงเทพมหานครที่มีฐานเสียงชุมชนหนาแน่นมีหลายคน เช่น ปวีณา หงสกุล การุณ โหสกุล วิชาญ มีนชัยนันท์ หรือของประชาธิปัตย์ เช่น องอาจ คล้ามไพบูลย์ สมเกียรติ ฉันทวาณิช เป็นต้น ในเขตเลือกตั้งที่ 6 ที่มีเขตปกครอง 4 เขต มี ส.ก.ได้เขตละ 1 คน พรรคเพื่อไทยมีส.ก.ถึง 3 คน ส.ก.หนองจอก ไพฑูรย์ อิสรเสรีพงศ์ ส.ก. คันนายาว พลภูมิ วิภัติภูมิประเทศ และ ส.ก.บึงกุ่ม กศิน พุกรักษา ส่วนพรรคประชาธิปัตย์มี ส.ก. เพียงคนเดียวในเขตคลองสามวา คือ นายวิรัช อินช่วย ฐานชุมชนส่วนใหญ่จึงยังคงเป็นของพรรคเพื่อไทยมากกว่าพรรคประชาธิปัตย์ แม้การเลือกตั้งสมาชิกสภาเขต หรือ ส.ข. เมื่อวันที่ 6 มิถุนายนที่ผ่านมา ขณะการชุมนุมคนเสื้อแดงดำรงอยู่และมีการเลือกตั้ง 3 ใน 4 เขตปกครองของเขตเลือกตั้งที่ 6 พรรคประชาธิปัตย์จะเอาชนะได้ในเขตบึงกุ่ม และ เขตคลองสามวา แบบยกทีม แต่พรรคเพื่อไทยก็สามารถเอาชนะแบบยกทีมได้เช่นกันที่คันนายาว การเลือกตั้ง ส.ข.ที่ผ่านมาแม้จะเป็นเครื่องชี้กระแสได้บ้างแต่ก็ไม่ทั้งหมด...เพราะมีผู้มาลงคะแนนเพียง 30% เท่านั้น คะแนนทั้ง 2 พรรค ได้รับก็ใกล้เคียงกันมาก จึงอาจประเมินได้ว่า... คะแนนพื้นฐานทั้งสองพรรคใกล้เคียงกันมาก เหลือเพียงกระแสคนกรุงเท่านั้น ที่จะตัดสินชัยชนะ ถึงวันนี้กระแสคนกรุงเทพฯ ที่อาจชี้ไปที่คนชั้นกลาง ถามว่า...มีความพอใจต่อรัฐบาลเพียงใด คำตอบก็คือ “สอบตก” เพราะจากโพลล์หลายสำนักก่อนหน้านี้ที่ให้คะแนน “นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” เพียง 4 กว่า จากเต็ม 10 แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าคนชั้นกลางในกรุงเทพฯ พอใจบทบาทของ “พรรคเพื่อไทย” ในฐานะฝ่ายค้าน และบทบาทของ นปช. คนเสื้อแดง ที่เป็นแกนนำการชุมนุมครั้งแล้วครั้งเล่า จนเกิดเหตุการณ์สยดสยองในที่สุด แต่เชื่อว่า...คนกรุงเทพฯ ในเขต 6 ก็จะให้คำตอบแก่สังคมไทยเองว่า พวกเขาต้องการอะไร? และข้อสังเกตที่น่าจะเป็น “ตัวแปรสำคัญ” อีกอย่างหนึ่งก็คือ...ในวันที่ 25 กรกฎาคมนี้ ซึ่งเป็นวันเลือกตั้ง...ตามปฏิทินตรงกับ “วันหยุดยาว” ในช่วงวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาคือ วันอาสาฬบูชา และ วันเข้าพรรษา พอดิบพอดี ซึ่งก็ต้องดูว่าจำนวนผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งจะมีมากน้อยเพียงใด...และผลคะแนนจะออกมาตาม “สถิติเดิม” หรือไม่? ดังนั้น การเลือกตั้งซ่อมในวันที่ 25 กรกฎาคมนี้ จึงน่าจะไม่ใช่เป็นการต่อสู้ระหว่าง “พนิช วิกิตเศรษฐ์” กับ “ก่อแก้ว พิกุลทอง” แต่เพียง 2 คน ไม่ใช่การต่อสู้ระหว่าง ประชาธิปัตย์ กับ เพื่อไทย เพียง 2 พรรค ไม่ใช่การต่อสู้ระหว่างเสื้อแดง กับ เสื้อเหลือง เพียงลำพัง และไม่ใช่การต่อสู้ระหว่างไพร่กับอำมาตย์ แต่จะเป็นการต่อสู้เพื่อเอาชนะใจประชาชนอย่างแท้จริง ชัยชนะจะเป็นของใคร ยากจะคาดเดา! คนเมือง
วันนี้มาถึง “เขตหนองจอก” ซึ่งเขตเลือกตั้งที่ 25 เขตนี้เป็นฐานเสียงที่หนาแน่นมากของ “พรรคไทยรักไทย”
เขาจึงเอาชนะ “นายวสันต์ กระโจมทอง” ของประชาธิปัตย์ได้อย่างไม่ยากเย็น 39,656 ต่อ 24,352 คะแนน
การขุดคุ้ย การด่าทอ การโจมตีซึ่งกันและกัน จึงไม่น่าจะใช่ยุทธวิธีในการเอาชนะคนกรุงเทพฯ ในเขตนี้