WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Sunday, July 4, 2010

รัฐบาลขาพัน ระวังล้มทั้งยืน

ที่มา ข่าวสด



กลายเป็นจุดขายไปอีกแบบ

กับชุดเครื่องแบบของนายก่อแก้ว พิกุลทอง แกนนำ นปช.

ที่สวมเสื้อยืด นุ่งกางเกงขาสั้น ลากรองเท้าแตะ ออกจากเรือนจำมากรอกใบสมัครลงเลือกตั้งซ่อมส.ส.เขต 6 กทม. ในนามพรรคเพื่อไทย

แถมหน้าอกเสื้อเขียนข้อความ"เสรีภาพ เสมอภาค ประชาธิปไตย"ด้วยปากกาเมจิก สลักลายเซ็นกลุ่มแกนนำนปช.เพื่อนร่วมกรงขัง

แค่รูปลักษณ์ภายนอกก็แสดงถึงความแตกต่างกับนายพนิช วิกิตเศรษฐ์ คู่แข่งจากพรรคประชาธิปัตย์ชนิดคนละสุดสายปลายขั้ว

ครั้งนี้ถึงจะเป็นเลือกตั้งแค่เขตเดียว ไม่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในสภาโดยตรง

แต่หลายคนมองตรงกัน ว่าเป็นการเลือกตั้งซ่อมที่คนไทยให้ความสนใจจับตามากที่สุด เพราะเป็นการเลือกตั้งครั้งแรกภายหลังเหตุการณ์ 19 พ.ค. 53

จะเป็นเครื่องบ่งบอกได้ในระดับหนึ่งว่าคนกรุงรู้สึกอย่างไรกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น

มองกันตามสูตรไม่ว่าการเลือกตั้งทั่วไปหรือเลือกตั้งซ่อมบางเขต ผู้สมัครพรรครัฐบาลมักเป็นฝ่ายได้เปรียบผู้สมัครจากพรรคที่ไม่ใช่รัฐบาล

ครั้งนี้ก็ไม่แตกต่าง นายพนิช วิกิตเศรษฐ์ มีสถานะความได้เปรียบเหนือนายก่อแก้ว พิกุลทอง

อย่างไรก็ตามสิ่งที่รัฐบาลต้องระมัดระวังคือการใช้เงื่อนไขความได้เปรียบที่ตนเองมีอยู่แบบเกินความพอดี กลายเป็นการเอารัดเอาเปรียบ

เพราะถ้าสังคมรู้สึกถึงความไม่เป็นธรรมในการแข่งขันเมื่อไหร่

อาจเกิดกระแสตีกลับได้เมื่อนั้น



ในบรรยากาศการเลือกตั้งตามกติกาประชาธิปไตย

พ.ร.ก.ฉุกเฉินกำลังเป็นปัญหา"ดาบสองคม"สำหรับรัฐบาล

ด้านหนึ่งรัฐบาลใช้พ.ร.ก.ฉุกเฉินเป็นอาวุธฟาดฟันฝ่ายตรงข้ามอย่างเมามัน

แต่การคงพ.ร.ก.ฉุกเฉินเอาไว้และมีแนวโน้มจะต่ออายุออกไปอีกนั้น แสดงให้เห็นด้วยเหมือนกันว่ารัฐบาลยังกุมสภาพการเมืองไว้ไม่ได้

รัฐบาลอ้างว่าพ.ร.ก.ฉุกเฉินยังจำเป็นเนื่องจากการเคลื่อนไหวในลักษณะเป็นภัยต่อความมั่นคง รวมถึงการก่อวินาศกรรมสร้างความปั่นป่วนวุ่นวายในบ้านเมืองยังเกิดขึ้นต่อเนื่อง

โดยยกตัวอย่างกรณีวางระเบิดพรรคภูมิใจไทย และเหตุยิงถล่มคลังน้ำมันในกรมพลาธิการทหารบกด้วยจรวดอาร์พีจี ที่หลังเกิดเหตุรัฐบาลพยายามอย่างมากที่จะลากโยงพยานหลักฐานเข้าหากลุ่มเสื้อแดง

แต่ความพยายามดังกล่าวก็ถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่าเต็มไปด้วยเงื่อนงำข้อพิรุธมากมาย

ทั้งการจับกุมคนร้ายวางระเบิดพรรคภูมิใจไทยที่ดูเหมือนง่ายดายและรวดเร็วเกินไป รวมถึงคดียิงถล่มคลังน้ำมันซึ่งภายหลังปรากฏว่าเป็นถังน้ำมันเปล่า

ตรงจุดนี้เองที่เป็นช่องโหว่ให้ฝ่ายตรงข้ามหยิบขึ้นมาโจมตี

สังคมเองก็ตั้งข้อสงสัยเช่นกัน ว่าเป็นการสร้างสถานการณ์ของรัฐบาลเพื่อหาข้ออ้างในการยืดอายุพ.ร.ก.ฉุกเฉิน สานต่อปฏิบัติการขุดรากถอนโคนกลุ่มเสื้อแดง

พร้อมกับดิสเครดิตคู่แข่งช่วงเลือกตั้งซ่อมหรือไม่

การที่หลายคนไม่ยินดียินร้ายกับข้อมูลเป้าหมายก่อวินาศกรรม 68 จุด

หรือแม้แต่ข้อมูลการลอบปองร้ายนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกฯ และนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกฯ ฝ่ายความมั่นคง ที่ฝ่ายรัฐบาลปล่อยออกมา

ก็พอสะท้อนได้ว่าประชาชนจำนวนไม่น้อยในสังคมไม่ให้ความเชื่อถือข้อมูลที่ออกมาจากรัฐบาลหรือแม้แต่ตัวรัฐบาลเองก็ตาม

ความไม่เชื่อถือนี้น่าจะเป็นผลมาจากพฤติกรรมรัฐบาลที่อาศัยชั้นเชิงข้อกฎหมายเล่นงานฝ่ายตรงข้ามจนเกินขอบเขต

ตลอดจนการโกหก บิดเบือนข่าวสารและข้อมูลข้อเท็จจริงในเหตุการณ์เดือนพ.ค.53

เหล่านี้คือสิ่งสำคัญที่ย้อนมาทำลายความน่าเชื่อถือของรัฐบาลโดยไม่รู้ตัว



ภายหลังเหตุการณ์ 19 พ.ค. รัฐบาลนายกฯอภิสิทธิ์ ตกอยู่ในที่นั่งลำบาก

นายอภิสิทธิ์ พยายามจะผลักดันแผนปรองดอง จัดตั้งคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงเหตุการณ์สลายม็อบเสื้อแดงขึ้นมา ควบคู่ไปกับการตั้งคณะกรรมการปฏิรูปประเทศ

แต่ผ่านไป 2-3 สัปดาห์ภาพก็ยังเบลอๆ จับทิศทางการทำงานไม่ได้

เสียงเรียกร้องให้รัฐบาลแสดงถึงความจริงใจในเบื้องต้นด้วยการยกเลิกพ.ร.ก.ฉุกเฉินเริ่มดังกระหึ่มไปทุกวงการ

ทั้งยังถูกตั้งข้อสงสัยในเรื่องงบประมาณ 600 ล้านบาท ที่รัฐบาลอนุมัติให้คณะกรรมการปฏิรูปประเทศ ว่าเป็นการลงทุนที่คุ้มค่าหรือไม่

เช่นเดียวกับคำถามเรื่องนโยบายประชานิยม น้ำประปา-ไฟฟ้า-รถเมล์ฟรีแบบถาวร ที่นายกฯอภิสิทธิ์ เพิ่งออกมาประกาศถึงความเป็นไปได้เมื่อไม่กี่วันก่อน

หรือการเดินหน้าแผนขึ้นเงินเดือน จัดโบนัสพิเศษเป็นของขวัญปีใหม่ให้ข้าราชการ

ซึ่งนอกจากเป็นการหวังผลระยะยาวซึ่งหมายถึงการกลับมาเป็นรัฐบาลอีกครั้งในสมัยหน้า ยังถูกมองว่าเป็นการหวังผลทางการเมืองระยะสั้น คือการเลือกตั้งซ่อมส.ส.เขต 6 กทม.

ที่พรรคประชาธิปัตย์จะแพ้ไม่ได้อีกด้วย

นายอภิสิทธิ์ ปฏิเสธว่านโยบายดังกล่าวไม่ใช่ประชานิยมแต่เป็นนโยบายรัฐสวัสดิการ

แต่ในสายตานักวิชาการทีดีอาร์ไอ และนักเศรษฐศาสตร์ทั่วไป กลับมองว่านโยบายรัฐสวัสดิการฉบับอภิสิทธิ์นี้ อาจสร้างภาระงบประมาณให้ประเทศ

ยิ่งกว่าประชานิยมฉบับทักษิณด้วยซ้ำ

กระแสการเมืองต่างๆ ที่เกิดขึ้นภายหลังวันที่ 19 พ.ค. ชี้ว่ารัฐบาลกำลังสอบตกความน่าเชื่อถือ

คดีความเกี่ยวกับผู้ชุมนุมคนเสื้อแดงล้วนแต่มีพิรุธข้อสงสัย ไม่ว่าคดีก่อการร้าย ล้มล้างสถาบัน หรือคดีก่อวินาศกรรมต่างๆ

ตรงข้ามกับคดีความที่คนในซีกฝ่ายรัฐบาลเป็นผู้ถูกกล่าวหาที่เป็นไปอย่างเนิบนาบเชื่องช้า เช่น คดียึดสนามบิน คดีสั่งฆ่าประชาชนเดือนพ.ค. คดียุบพรรค ฯลฯ

ความคับข้องใจเหล่านี้เมื่อบวกรวมกับพฤติกรรมการส่อทุจริตโครงการรายกระทรวง ซึ่งถูกเปิดโปงมากขึ้นทั้งจากฝ่ายค้านและคนในรัฐบาลที่จ้องเสียบสกัดกันเอง

ในสถานการณ์ดังกล่าวถึงรัฐบาลจะฝืนยืนอยู่ต่อไปได้

แต่โอกาสที่ขาจะพันกันเองล้มทั้งยืนก็มีความเป็นไปได้พอกัน