WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Friday, February 1, 2008

แฉหลักฐาน!‘สพรั่ง กัลยาณมิตร' เหลือบในคราบวีรบุรุษ

"เราไม่ใช่จำเลย เราเป็นวีรบุรุษ"วาทะจากปากชายชาติทหาร ร่างเล็กนาม พล.อ.สพรั่ง กัลยาณมิตร ผู้ช่วย ผบ.ทบ. และผู้ช่วยเลขาธิการ คมช.(ในขณะนั้น)ได้ย้ำให้สาธารณชนทั่วไปได้รับทราบว่า การรัฐประหารโดย คมช.เป็นความหวังเดียว ที่ทำให้ประชาชนโดยส่วนใหญ่เชื่อว่า จะสามารถขจัดปัญหาการทุจริตคอร์รัปชั่นขององค์กรภาครัฐและรัฐวิสาหกิจได้

แต่จนถึงวันนี้ "วีรบุรุษ"อย่าง พล.อ.สพรั่ง กลับกลายมาเป็น "จำเลย"ของสังคมเมื่อเขาเข้าไปรับหน้าที่เป็น"บอร์ด"บริหารในองค์กรรัฐวิสาหกิจอย่างน้อยสองแห่ง ทั้งบอร์ดองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย และบอร์ดการท่าอากาศยานแห่งประเทศไทยซึ่ง ถือว่าเป็น 2 รัฐวิสาหกิจสำคัญที่เป็น "ฐานที่มั่น" ในการตรวจสอบอดีตรัฐบาลที่ผ่านมา

เกิดอะไรขึ้นกับเขา!? ทำไม !? คนในสังคมไทยจึงได้เกิดความคลางแคลงสงสัยในตัวของเขา เราลองมาไล่เรียงเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นในช่วงระยะเวลาปีกว่าๆ กับการเข้าไปมีอำนาจบริหารในรัฐวิสาหกิจทั้งสองแห่งดูจะได้เห็นว่าประชาชนผู้เสียภาษีอย่างเรา ๆท่าน ๆ มีเหตุผลที่จะเคลือบแคลงสงสัยเข้าหรือไม่!?

พล.อ.สพรั่ง เข้ารับตำแหน่งคณะกรรมการ หรือ บอร์ด ทีโอที ชุดใหม่ เมื่อวันที่ 16 ก.พ. 2550 ในฐานะประธานบอร์ดพร้อมด้วยพร้อมด้วยบอร์ดชุดใหม่อีก 14 คน และเข้ารับตำแหน่งประธานบอร์ดการท่าอากาศยานไทยหรือ AOT เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2549 พร้อมกับคณะกรรมการอีก 14 คน

จากนั้นคณะกรรมการบอร์ดทั้งสองแห่งก็เริ่มดำเนินงานในทันที มีการเรียกประชุมเพื่อรับทราบข้อมูล การทำงานและปัญหาของรัฐวิสาหกิจทั้งสองแห่ง การทำงานดูเหมือนจะราบรื่นเนื่องจากขณะนั้น คมช.มีอำนาจเต็มเปี่ยม

เป้าแรกผลาญงบ

ดูงานต่างประเทศ

หลังจากการเข้าไปเป็นบอร์ดบริหารการท่าอากาศยานแห่งประเทศไทยได้ไม่ถึงเดือน (15 มีนาคม2550) พล.อ.สพรั่ง ก็โดนพรรคไทยรักไทย "ทิ้งบอมส์" เรียกร้องให้ชี้แจงกรณีใช้งบประมาณ 7 ล้านบาทในการเดินทางไปประเทศเยอรมนีและอังกฤษ ซึ่งถูกกล่าวหาว่าเป็นการนำเงินงบประมาณของรัฐ พาคณะเครือญาติเดินทางไปร่วมคณะด้วย การทิ้งบอมส์ในช่วงนั้นทำให้ พล.อ.สพรั่ง เต้นเป็นเจ้าเข้าจนต้องออกมาชี้แจงว่าบอร์ด AOT ได้ทำตามระเบียบขั้นตอนทุกอย่าง ขณะที่พรรคไทยรักไทยได้เดินเกมส์ส่งเรื่องดังกล่าวให้ คตส.และปปช.ตรวจสอบ

เปิดแผล "ตบทรัพย์"

ประชุมถี่แต่ไม่มีผลงาน

ในช่วงระยะเวลาไม่ห่างกันนัก พล.อ.สพรั่งก็ตกเป็นเป้าโจมตีอีกครั้งจากแนวน่วมประชาธิปไตยขับไล่เผด็จการหรือ นปก.ออกมาถล่มว่าหลังจากที่ พล.อ.สพรั่ง เข้ารับตำแหน่งประธานบอร์ด ได้มีการเรียกประชุมคณะกรรมการถี่เป็นพิเศษ ขณะที่ไม่มีผลงานที่เกิดขึ้น และไม่ได้มีความคืบหน้าในการดำเนินงานหรือกำหนดนโยบายใดๆ มีเพียงการเร่งรัดดำเนินการยกเลิกสัญญาสัมปทานของบอร์ด ทอท.ชุดเก่าที่มีเท่านั้น

โดยเมื่อนับตั้งแต่ช่วงที่ พล.อ.สพรั่ง มานั่งในตำแหน่งประธานบอร์ด ทอท. และเริ่มประชุมครั้งแรกในเดือน ม.ค.จนถึงต้นเดือน พ.ค.2550 พบว่ามีการประชุมมากถึง 15 ครั้ง หรือเฉลี่ยเดือนละ 4 ครั้ง เมื่อเปรียบเทียบกับการประชุมบอร์ดของรัฐวิสาหกิจแห่งอื่นๆ จะมีประชุมเฉลี่ยเดือนละ 1 ครั้ง หรือหากมีเรื่องเร่งด่วนก็จะมีการประชุม 2 ครั้ง/เดือน แต่จะไม่มีการประชุมถี่ทุกสัปดาห์

ทั้งนี้ จากการประชุมที่มีความถี่ดังกล่าว ทำให้ ทอท.ต้องจ่ายค่าเบี้ยประชุมให้กับบอร์ด ทอท.ชุดปัจจุบัน รวม 14 คน ในอัตราเดือนละไม่ต่ำกว่า 700,000 บาท ยังไม่นับรวมค่าเบี้ยประชุมที่ต้องจ่ายให้กับคณะอนุกรรมการและคณะทำงาน ที่บอร์ดแต่งตั้งขึ้นมาและมีบอร์ดบางคนนั่งรวมอยู่ด้วย ซึ่งภายใต้บอร์ด AOT ชุดนี้ ได้มีการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ คณะทำงานหลายชุดมาก และมีอำนาจหน้าที่ที่ซ้ำซ้อนกับคณะกรรมการของฝ่ายบริหาร ทอท. ที่มีอยู่เดิมด้วย เช่น มีการแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงในการดำเนินโครงการสนามบินสุวรรณภูมิที่มี พล.ต.อ.ประทิน สันติประภพ เป็นประธานกรรมการ ทั้งๆที่มีการแต่งตั้งนายคัมภีร์ แก้วเจริญ เป็นประธานตรวจสอบทุจริตอยู่แล้ว

จากการตรวจสอบหลักเกณฑ์ การกำหนดค่าตอบแทน (เบี้ยกรรมการ) เบี้ยประชุม และเงินโบนัส ประจำปี 2550 ที่กำหนดให้ ทอท.ต้องจ่าย คือ 1. เบี้ยกรรมการรายเดือน คนละ 20,000 บาท/คน 2. ค่าเบี้ยประชุมคนละ 10,000 บาท/ครั้ง เฉพาะครั้งที่เข้าประชุม โดยทั้งสองส่วนข้างต้นประธานและรองประธานให้รับเพิ่มอีกร้อยละ 25 และ 12.5 ตามลำดับ ส่วนพนักงาน AOTที่ทำหน้าที่ผู้ช่วยเลขานุการให้ได้รับค่าเบี้ยประชุมคนละ 5,000 บาท/ครั้ง

ในเวลาไล่เลี่ยกันนั้น พล.อ.สพรั่ง ก็ถูกนายนพดล ปัทมะ ทนายความส่วนตัว พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ออกมาทิ้งบอมส์ลูกใหญ่อีกครั้งว่ามีหลังบ้านของผู้มีอำนาจเรียกเก็บค่าหัวคิวจากผู้ผลิตรายการในสถานีโทรทัศน์ช่อง 5 รวมทั้ง มีผู้ใหญ่ที่มีอำนาจตรวจสอบเข้าไปตบทรัพย์นักธุรกิจในสนามบินสุวรณภูมิ ในเรื่องดังกล่าวนี้เมื่อถูกถามถึงข้อเท็จจริง พล.อ.สพรั่ง ก็เลี่ยงที่จะการันตีความบริสุทธิ์ และตอกกลับนายนพดล "ไร้จรรยาบรรณ" กล่าวหาผู้อื่นโดยไม่มีข้อมูลหากเป็นพระก็ต้อง "ปาราชิก"

ระเบิดลูกแรก

เบี้ยประชุม-โบนัส กรรมการ

ขณะเดียวกัน พล.อ.สะพรั่งยังเป็นเป้าโจมตีจากการเข้าไปรับตำแหน่งประธานบอร์ดขององค์การโทรศัพท์อีกหลายๆเรื่อง โดยเรื่องแรกที่โดนโจมตีเป็นเรื่องเกี่ยวเนื่องมาจากการเบิกค่าเบี้ยประชุมและการเสนอให้มีเงินโบนัสพิเศษ เมื่อปลายเดือน เมษายน 2550 โดยที่ประชุมมีติให้ทีโอทีทำหนังสือถึงกระทรวงการคลัง เพื่อขอปรับเพิ่มค่าตอบแทน (เบี้ยประชุม) ของกรรมการทุกคน จากเดือนละ 10,000 บาท/คน เป็นครั้งละ 10,000 บาทต่อคน ขณะนี้ยังรอผลการพิจารณาจากกระทรวงการคลัง

24 สิงหาคม 2550 พล.อ.สพรั่ง ถูกภาพแรงงาน บริษัททีโอที จำกัด(มหาชน) เรียกร้องให้ปลดพล.อ.สพรั่ง กัลยาณมิตร ออกจากตำแหน่งประธานคณะกรรมการ(บอร์ด)ทีโอที โดยอ้างว่า บริหารงานไม่เป็นอาชีพและมีความไม่โปร่งใสในการจัดซื้อจัดจ้างหลายรายการ 28 กันยายน 2550 พล.อ.สพรั่ง ถูกกล่าวหาว่ามีส่วนเกี่ยวข้องโดยการอนุมัติสั่งซื้อด้วยวิธีพิเศษไม่ต้องประมูลกับโครงการจัดซื้อจ้างเหมาติดตั้งอุปกรณ์และระบบชุมสายเพื่อรองรับการให้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง หรือ บรอดแบนด์ เพื่อความมั่นคง มูลค่า 976 ล้านบาท ซึ่งโครงการดังกล่าวนี้คนในวงการต่างบอกเป็นเสียงเดียวกันว่า "แพงเหลือเกิน"

เพราะหากนำราคาโครงการเอ็มแซน ที่ประมูลได้ไปพิจารณาเปรียบเทียบแล้ว โครงการบรอดแบนด์ที่บอร์ดทีโอทีใช้วิธีจัดซื้อพิเศษ ควรจะมีราคาประมาณ 500 ล้านบาทเท่านั้น

การจัดซื้อวิธีพิเศษแพงเกินราคาประมูลไปถึง 476 ล้านบาท แพงกว่ากันเกือบ 100 เปอร์เซ็นต์ และจนถึงขณะนี้คณะกรรมการบอร์ดทีโอทีต้อง "ยอมยกธงขาว"โดยให้เหตุผลว่า เนื่องจากมีผู้ผ่านเงื่อนไขด้านเทคนิคเพียง 2 รายคือบริษัท ฟอร์ท คอร์ปอเรชั่น และบริษัทซีเมนส์ ซึ่งตามเงื่อนไขจะต้องมีผ่านเงื่อนไขด้านเทคนิคไม่ต่ำกว่า 3 ราย

นั่นเป็นเพียงส่วนหนึ่งข้อกล่าวหาในการทำหน้าที่ "ประธานบอร์ด" ที่ปรากฏต่อสื่อมวลชนแขนงต่างๆเท่านั้น ข้อกล่าวหาฉกรรจ์อีกมากมายทั้ง การไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับการเซ็นต์อนุมัติค่าบริหารจัดการโรงแรม การเข้าไปมี "เอี่ยว"ในการจัดซื้อรถลีมูซีน และการเข้าไป "ล้วงลูก"การบริหารจัดการหลายๆแขนงที่มีอีกมากมายใน AOT พล.อ.สพรั่งก็คงต้องใช้เวลาอีกนานที่จะ "เคลียร์"ตัวเองต่อสาธารณชนในฐานะที่เขาเคยบอกว่าเขาเป็น "วีรบุรุษ"ไม่ใช่ "จำเลย"

เช็คสั่งจ่ายมัดวีรบรุษทำเพื่อใคร

สิ่งที่เห็นได้ชัดเจนที่สุดถึงการปล่อยปละละเลยของบอร์ด AOT ชุดของ พล.อ สพรั่ง เกิดความเสียหายแก่ AOT นั่นคือเรื่องของโรงแรมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ที่เดิมก็มีปัญหามาตั้งแต่เริ่มต้นในเรื่องของการคัดเลือกเอกชนที่จะเข้ามาบริหารงานในโรงแรมแห่งนี้ สิ่งที่เกิดขึ้นในขณะนั้นคือมีบริษัท AAPC (Thailand) เป็นผู้ซื้อซองประมูล แต่กลับไม่ได้เข้าร่วมประมูล ทั้งนี้ AAPC เป็นผู้บริหารเครือข่ายโรงแรมทั่วโลกในนาม Accor Group ในนามของ Novotel แต่กลับมอบสิทธิให้กับกิจการร่วมค้ายูนิเวอร์แซล ฮอสพิแทลลิที ซึ่งไม่ตรงกับคุณสมบัติที่กำหนดไว้

แต่กลับได้รับคัดเลือกให้มาเป็นผู้บริหารโรงแรมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ แม้ว่าจะกำหนดค่าบริหารจัดการโรงแรมแพงกว่ารายอื่น

เมื่อบอร์ด AOT ชุด พล.อ.สพรั่ง เข้ามา ได้มีการยื่นเรื่องให้สำนักงานอัยการสูงสุดตีความว่าสัญญาที่บอร์ดชุดเดิมทำไว้กับยูนิเวอร์แซล ฮอสพิแทลลิที นั้นเป็นโมฆะหรือไม่ เมื่อได้รับคำตอบว่าไม่เป็นโมฆะบอร์ดจึงมีการสั่งจ่ายเงินค่าบริหารสำหรับระหว่างเดือนตุลาคม 2549-กันยายน 2550 เป็นเงิน 101.58 ล้านบาทเมื่อ 28 ธันวาคม 2550

ประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้นการสั่งจ่ายเช็คดังกล่าวเท่ากับว่าสัญญาที่ ได้ดำเนินการตั้งแต่บอร์ดชุดเก่านั้นมีผลสมบูรณ์ และผูกพันไปอีกถึง 20 ปี โดยที่บอร์ดชุดปัจจุบันไม่ได้ดำเนินการเจรจากับยูนิเวอร์แซล ฮอสพิแทลลิที เพื่อขอลดค่าบริหารจัดการโรงแรมที่แพงกว่าปกติอย่างจริงจัง

ปกติค่าบริการโรงแรมโดยทั่วไปคิดกันจาก 3 รายการคือค่า Management Fee ประมาณ 3% ของรายรับรวม ค่า Incentive Fee คิดจากกำไรเบื้องต้นที่ 7% และค่า Marketing Fee คิดที่ 4% ของรายรับการจองห้องพัก แต่ค่าบริหารจัดการของยูนิเวอร์แซล ฮอสพิแทลลิที คิดที่ 9% ของรายรับรวม ส่งผลให้ต้องมีการจ่ายค่าบริหารจัดการสำหรับช่วงปี 2549-2550 เป็นเงิน 101.58 ล้านบาท

สุดทนยื่นใบลาออก

แทนเซ็นเช็คคู่สพรั่ง

ปมปัญหาเรื่องค่าบริหารจัดการโรงแรมท่าอากาศสุวรรณภูมิที่แพงเกินจริงนั้น ส่งผลให้ผู้จัดการโรงแรมยื่นใบลาออกเมื่อ 19 ธันวาคม 2550 และมีผลในวันที่ 21 มกราคม 2551 แม้เหตุผลในการลาออกนั้นจะระบุเพียงว่ามีภาระเรื่องดูแลบุตร แต่ถ้าพิจารณาให้ดีจะพบว่าผู้จัดการท่านนี้ได้รับการว่าจ้างเมื่อ 18 กรกฎาคม 2549 มีสัญญา 4 ปี แต่กลับยื่นใบลาออกเมื่อ 19 ธันวาคม 2550 หลังจากทำงานได้เพียงปีเศษเท่านั้น

แต่เหตุผลที่แท้จริงของการลาออกในครั้งนี้น่าจะเป็นผลมาจากการยอมอนุมัติ ให้มีการจ่ายเงินค่าบริหารจัดการให้กับกลุ่มยูนิเวอร์แซล ฮอสพิแทลลิที

แหล่งข่าวจาก AOT กล่าวว่า เมื่อบอร์ดของโรงแรมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิตัดสินใจจ่ายเงินให้กับยูนิเวอร์แซล ฮอสพิแทลลิที ได้มีการท้วงติงในเรื่องจากกรรมการบางท่านว่าควรมีการต่อรองค่าบริหารจัดการ กับผู้ที่ได้รับการคัดเลือก แต่เมื่อกลุ่มยูนิเวอร์แซล ฮอสพิแทลลิที ไม่ยอมเจรจาทางบอร์ดก็ลงความเห็นว่าไม่สามารถดำเนินการต่อรองได้ จึงต้องดำเนินการจ่ายเงิน

เดิมในเรื่องของการจ่ายเงินค่าบริหารโรงแรมนั้นต้องมีผู้บริหารของโรงแรม ร่วมลงนามกับกรรมการโรงแรม แต่ผู้บริหารของโรงแรมคือผู้จัดการโรงแรมไม่ยอมลงนามด้วย บอร์ดของโรงแรมซึ่งก็คือบอร์ดของ AOT ยังได้แก้ไขในเรื่องของผู้มีอำนาจในการสั่งจ่ายเงิน โดยไม่ต้องมีผู้บริหารของโรงแรมร่วมลงนาม

ด้วยข้อจำกัดในเรื่องอำนาจของผู้จ่ายเงิน ที่วงเงิน 200 ล้านบาทเป็นอำนาจของกรรมการกลุ่ม ก และกลุ่ม ข ส่วนผู้มีอำนาจจ่ายเงินได้โดยไม่จำกัดวงเงิน คือตำแหน่งประธานกรรมการโรงแรมคือพลเอกสพรั่ง กัลยานมิตร ดังนั้นพลเอกสพรั่งจึงลงนามในเช็คจ่ายเงิน ของธนาคารทหารไทยสั่งจ่ายให้กับยูนิเวอร์แซล ฮอสพิแทลลิที เมื่อ 11 ธันวาคม 2550 เพียงท่านเดียว เมื่อมีการท้วงติงจึงหากรรมการท่านอื่นมาร่วมลงนามและสั่งจ่ายเช็คเมื่อ 28 ธันวาคม 2550

" ปัญหาเรื่องนี้คือเช็คที่สั่งจ่ายนั้น คุณสพรั่ง เซ็นเพียงคนเดียว ฝ่ายตัวแทน AOTหรือผู้บริหารโรมแรมไม่ยอมเซ็นเขาบอกว่า เซ็นจ่ายได้อย่างไรควรมีการต่อรองกันก่อน เพราะตัวเลขนี้เป็นตัวเลขที่สูง กว่าจะคุ้มทุนต้องใช้เวลาถึง 20 ปี ขณะที่บอร์ด ตั้งหน้าตั้งตาจะเซ็นเพียงอย่างเดียว ฝ่ายโรมแรมจึงตัดสินใจยื่นใบลาออก จากนั้นก็มีการแก้ไขมติบอร์ด จนเป็นที่มาของการเซ็นเช็คใบใหม่ลงวันที่ 28 ธค.แทน"

ที่สำคัญคือเช็คใบแรกนั้น บ่งชี้ให้เห็นว่า มีการลัดขั้นตอน เพราะโดยหลักการบริหารแล้ว ประธานบอร์ด จะเป็นผู้เซ็นที่หลัง แต่การที่ พล.อ.สพรั่ง เซ็นก่อนนั้น มีการวิพากษ์วิจารณ์ใน AOT ว่าเป็นการบังคับให้ผู้มีอำนาจอีกท่านหนึ่งต้องลงนาม แต่ทุกอย่างต้องจบเพราะฝ่าย AOT ยื่นใบลาออก จึงเป็นที่มาของการเปลี่ยนมติที่ประชุมและมีการสั่งจ่ายเช็คใบใหม่เกิดขึ้น

การสั่งจ่ายเช็คฉบับที่ 2 ที่เกิดขึ้น เท่ากับเป็นการรับรองความถูกต้องของสัญญาที่ทำไว้ในบอร์ดชุดก่อน โดยที่ครั้งต่อไปคงไม่มีการเจรจาต่อรองเรื่องการลดค่าบริหารจัดการกับกลุ่มยูนิเวอร์แซล ฮอสพิแทลลิที ถือเป็นการยอมรับค่าบริหารจัดการที่แพงกว่ารายอื่น ๆ ต่อไปอีก 20 ปี

หนึ่งในข้อท้วงติงที่น่าสนใจของอดีตผู้จัดการโรงแรมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ คือ "การจ่ายเงินจำนวนมาก ๆ ตามมารยาทผมไม่ขอลงนาม ประกอบกับเรื่องนี้ผมได้มีความเห็นอยู่ในวาระการประชุมหลายครั้งแล้วว่า ค่าจ้างแพง ถ้าผมลงนามไปในเช็คที่สั่งจ่ายจะไปค้านกับความเห็นของผมที่มีมาตั้งแต่ต้น"

แหล่งข่าวกล่าวต่อไปว่า ถึงวันนี้เป็นที่ประจักษ์แล้วว่าบอร์ดชุดนี้ไม่ได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นใน AOT อย่างจริงจัง ปล่อยให้ปัญหาที่เคยเกิดขึ้นเกิดขึ้นต่อไป และในบางรายการเป็นการดำเนินการที่สนับสนุนให้โอกาสในการสร้างรายได้ของ AOT น้อยลงทุกขณะ

แน่นอนว่าปัญหาที่เกิดขึ้นกับกำไรของ AOT ที่หลายไปกว่า 90% ถือเป็นสิ่งที่ประธานบอร์ดและกรรมการไม่อาจปฏิเสธความรับผิดชอบได้ ขณะที่ตัวประธานบอร์ดที่เป็นข้าราชการ การดำเนินการใด ๆ ไปนั้นมีความเสี่ยงต่อการกระทำผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ที่ว่า

ผู้ใด เป็นเจ้าพนักงาน ปฏิบัติ หรือ ละเว้นการปฏิบัติ หน้าที่ โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหาย แก่ ผู้หนึ่งผู้ใด หรือ ปฏิบัติ หรือ ละเว้นการปฏิบัติ หน้าที่ โดยทุจริต ต้องระวางโทษ จำคุกตั้งแต่ หนึ่งปี ถึง สิบปี หรือ ปรับตั้งแต่ สองพันบาท ถึง สองหมื่นบาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ (คำว่าโดยทุจริตหมายความว่า เพื่อแสวงหาประโยชน์ ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมาย สำหรับตนเอง หรือ ผู้อื่น)

"สพรั่ง"นั่ง2เก้าอี้ไม่เหมาะสม

นอกจากนี้การกระทำของบอร์ด AOT ชุดปัจจุบันนี้ ยังเกี่ยวข้องกับพระราชบัญญัติบริษัทมหาชน จำกัด พ.ศ.2535 มาตรา 85 ในการดำเนินกิจการของบริษัท กรรมการต้องปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามกฎหมาย วัตถุประสงค์ และข้อบังคับของบริษัท ตลอดจนมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นด้วยความซื่อสัตย์สุจริตและระมัดระวังรักษาผลประโยชน์ของบริษัท หากกรรมการคนใดกระทำการหรือละเว้นกระทำการ ผู้ถือหุ้นรวมกันไม่น้อยกว่าร้อยละ 5 สามารถนำคดีขึ้นฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนจากกรรรมการคนนั้นได้

อีกทั้งการปฏิบัติงานของประธานบอร์ด และกรรมการบางท่านยังขัดต่อข้อพึงปฏิบัติที่ดีสำหรับกรรมการบริษัทจดทะเบียน ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ในหน้าที่ความรับผิดชอบของกรรมการบริษัทจดทะเบียนที่ระบุว่า กรรมการต้องปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามกฎหมาย วัตถุประสงค์ และข้อบังคับของบริษัทตลอดจนมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต และความระมัดระวังรักษาผลประโยชน์ของบริษัท

แต่จากผลการดำเนินงานของปี 2550 ที่ผ่านมากำไรหายไปเกือบ 90% นั้น ก็ขัดกับข้อพึงปฏิบัติที่กรรมการมีหน้าที่กำหนดนโยบาย และทิศทางการดำเนินงานของบริษัทและกำกับควบคุมดูแล ให้ฝ่ายจัดการดำเนินการให้เป็นตามนโยบายที่กำหนดไว้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล เพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจสูงสุดให้แก่กิจการและความมั่งคั่งสูงสุดให้แก่ผู้ถือหุ้น

อีกทั้งยังขัดต่อข้อพึงปฏิบัติที่ดีของคณะกรรมการบริษัทจดทะเบียน ที่ระบุไว้ว่า คณะกรรมการควรจัดให้มีการประชุมคณะกรรมการสม่ำเสมอ เมื่อมีการพิจารณาลงมติในเรื่องหรือรายการที่มีนัยสำคัญ รายการที่มีนัยสำคัญควรรวมถึง รายการที่ได้มาหรือจำหน่ายทรัพย์สินของบริษัทจดทะเบียน และบริษัทย่อยที่มีผลกระทบสำคัญต่อบริษัทจดทะเบียน รายการซื้อหรือขายสินทรัพย์ที่สำคัญ การขยายโครงการลงทุน การกำหนดระดับอำนาจดำเนินการ และการกำหนดนโยบายการบริหารการเงินและการบริหารความเสี่ยงกิจการ

แต่ในหลายรายการอย่างกรณีโรงแรมหรือการทุจริตในโครงการต่าง ๆ กลับไม่มีการหารือเพื่อหาทางยุติปัญหา

ขณะเดียวกันพลเอกสพรั่ง ซึ่งนั่งเป็นประธานกรรมการของ AOT แล้วยังนั่งเป็นกรรมการอิสระอีกตำแหน่งหนึ่ง โดยขัดต่อหน้าที่ของกรรมการอิสระที่ระบุไว้ว่า กรรมการอิสระ หรือกรรมการจากภายนอก หมายถึงกรรมการที่มิได้เป็นการการบริหาร และไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการบริหารงานประจำและไม่เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของบริษัท

ดังนั้น เมื่อรับตำแหน่งกรรมการอิสระ ที่มีหน้าที่พร้อมจะแสดงความเห็นขัดแย้งกับกรรมการคนอื่นในการรักษาผลประโยชน์ของบริษัท ดังนั้นการคัดค้านกับการกระทำที่ไม่ถูกต้องของตัวประธานกรรมการจึงไม่เกิดขึ้น

************

สพรั่ง" ปิดหูปิดตาสัญญาเช่า"ลีมูซีน"

ส่อทุจริตเอกชนแตกบริษัท-ฮั้วรับงาน"

กรณีปัญหารถยนต์รับจ้าง รับ-ส่งผู้โดยสาร ที่ท่าอากาศยานสนามบินสุวรรณภูมิ ถือเป็นอีกหนึ่งในหลายปมปัญหาการทุจริตที่เกิดขึ้นในสนามบินนานาชาติของไทย โดยจากการตรวจสอบของคณะอนุกรรมาธิการศึกษาปัญหารถรับจ้างขนส่งผู้โดยสาร (แท็กซี่) ของสภานิติบัญญัติ นำเสนอต่อคณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษาและติดตามการแก้ไขปัญหาสนามบินสุวรรณภูมิ สภานิติบัญญัติ

เนื่องจากภายหลังจากที่สนามบินสุวรรณภูมิ ได้เปิดใช้อย่างทางการตั้งแต่ 28 ก.ย.2549 ที่ผ่านมานั้น พบว่ามีการบริหารจัดการเรื่องของการจราจรภายในที่ขาดประสิทธิภาพนั้นได้ส่งผลกระทบเกิดความเสียหายกับบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน)อย่างมาก ทั้งในแง่ค่าใช้จ่าย การลงทุน ทำให้ทอท.ต้องสูญเสียรายได้ในส่วนที่ควรจะได้รับ ขณะเดียวกันจากปมปัญหาดังกล่าวนี้ยังได้เปิดช่องให้เกิดความไม่โปร่งใสขึ้น มีการเอื้อประโยชน์ให้กับกลุ่มผู้ประกอบการกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเป็นพิเศษ จึงยิ่งเป็นการพอกพูนปัญหาการทุจริตที่เคยเกิดขึ้นในสนามบินแห่งนี้มากขึ้น โดยที่ปัญหาเก่ายังอยู่ในกระบวนการแก้ไขจากฝ่ายต่างๆที่เกี่ยวข้อง

สัญญาเช่ารถลีมูซีนส่งกลิ่น

โดยคณะกรรมการบริหารของทอท. ได้มีนโยบายให้ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิว่าจ้างบริษัทเอกชนภายนอก ที่มีกิจการค้าขายในธุรกิจรถยนต์เข้ามารับจ้างทอท. ในการจัดหารถยนต์นั่งต่างๆที่เป็นรถใหม่จากบริษัทขายรถ มาให้บริการแก่ผู้โดยสาร เพื่อเป็นอีกหนึ่งทางเลือก นอกเหนือไปจากการมีแท็กซี่ไว้ให้บริการ โดยเป็นรถยนต์ประเภทลีมูซีน (Limousine) ตามที่ท่าอากาศยานนานาชาติมีให้บริการ

จากนั้นเมื่อมีการเปิดใช้สนามบินสุวรรณภูมิจึงได้มีการกำหนดทีโออาร์ และสัญญาว่าจ้างบริษัทเอกชน (Out Source) ให้ทำการจัดหารถยนต์ประเภทต่างๆรวมทั้งสิ้น 8 ยี่ห้อ 380 คันจาก 5 บริษัท มาให้บริการ ซึ่งสัญญาที่ทอท.ได้มีการลงนามกับบริษัทเอกชน ทั้ง8 สัญญา 2 กลุ่มบริษัทในการจัดหารถลีมูซีน ให้ทอท.เช่าเพื่อนำมาให้บริการกับผู้โดยสารนั้น พบว่าได้กลายเป็นสัญญาที่เอื้อประโยชน์ให้กับบริษัทเอกชน แต่ในฝ่ายของทอท.กลับเป็นฝ่ายเสียเปรียบ

ทั้งนี้ บริษัทเอกชนจากทั้ง 2 กลุ่มที่เข้ามาเกี่ยวข้องและต่อมาได้กลายเป็น "ตัวละคร" ที่มีส่วนร่วมในกระบวนการอันไม่โปร่งใสจากการจัดหารถลีมูซีนนั้นประกอบด้วย

กลุ่มบริษัทที่ 1

- บริษัท วิทยุโรดโชว์รูม จำกัด รถยนต์เบ็นซ์ ซี คลาส 200 เอ็น จี ที จำนวน 20 คัน วงเงินเช่า 204,732,000 บาท (สัญญา เลขที่ 6 CL 4-490001)

- บริษัท แบงคอก ลีมูซีน จำกัด รถยนต์ลอนดอน แคป จำนวน 40 คัน วงเงินเช่า 311,238,000 บาท ( สัญญา เลขที่ 6 CL4 490003)

- บริษัท ทองหล่อ คาร์เซลล์ จำกัด รถยนต์นิสสัน เทียน่า จำนวน 100 คัน วงเงินเช่า 617,051,250 บาท (สัญญา เลขที่ 6 CL 4-490006)

- บริษัท ทองหล่อ คาร์เซลล์ จำกัด รถยนต์ นิสสัน เออร์แวน จำนวน 30 คัน วงเงินเช่า 208,116,000 บาท (สัญญา เลขที่ 6 CL4 -490007)

กลุ่มบริษัทที่ 2

- บริษัท สยาม คาร์เรนท์ จำกัด รถยนต์ บี เอ็ม ดับบลิว จำนวน 20 คัน วงเงินเช่า 279,180,000 บาท (สัญญา เลขที่ 6 CL 4-490002)

- บริษัท สยามออโต้เซอร์วิส จำกัด รถยนต์โตโยต้า คัมรี่ 2.0 จำนวน 100 คัน วงเงินเช่า 617,051,250 บาท (สัญญา เลขที่ 6 CL 4-490004)

- บริษัท สยามออโต้เซอร์วิส จำกัด รถยนต์ คอมมิวเตอร์ จำนวน 30 คัน วงเงินเช่า 216,999,000 บาท (สัญญา เลขที่ 6 CL 4-490005)

- บริษัท สยาม คาร์เรนท์ จำกัด รถยนต์ อีซูซุ มิว-7 จำนวน 40คัน วงเงินเช่า 197, 024,000 บาท (สัญญา เลขที่ 6 CL 4-490008)

รวมระยะเวลา 5 ปีที่ทอท.ต้องจ่ายเงินให้กับ บริษัท 2 กลุ่ม ใน 8 สัญญาดังกล่าวเป็นเงิน 2,651,481,500 บาท รวมรถยนต์ที่เช่า จำนวน 380 คัน โดยเฉลี่ยทอท. ต้องจ่ายค่าเช่ารถระยะเวลา 5 ปี ในวงเงินประมาณ 6,977,583 บาทต่อคัน ซึ่งเป็นยอดเงินค่าเช่าที่แพงกว่าราคารถยนต์จริงประมาณ 3-5 เท่าตัว หรือคิดเป็นรายได้เฉลี่ยวันละ 317 บาท ต่อคัน แต่เมื่อนำข้อมูลตัวเลขดังกล่าวไปเปรียบเทียบ กับรายได้จากการให้เช่ารถของบริษัทเอกชน (8 สัญญา) ประจำเดือนม.ค.2550 จำนวน 27,544,796 บาทจากรถเช่าทั้งหมด 380 คัน หรือมีรายได้เฉลี่ยวันละ 2,416 บาทต่อคัน

บ.เอกชนถือหุ้นไขว้

ใช้เจ้าของร่วมกัน

จากข้อเท็จจริงเห็นได้ว่าการเช่ารถลีมูซีนจากบริษัทเอกชนจำนวน 380 คันเพื่อนำมาบริหารการขาย ด้วยวิธีจ้างบริษัทนั้นมีราคาแพงกว่าการซื้อ หรือเช่าซื้อ หรือการให้เช่าโดยทั่วไปของภาคเอกชน ซึ่งเมื่อนับรวมค่าใช้จ่ายที่ทอท.ยังไม่ได้นำมาคิดคำนวณเป็นค่าใช้จ่ายในการลงทุนประจำเดือน อาทิ เงินค่าบริหารจัดการของเจ้าหน้าที่ทอท. ที่รับผิดชอบเรื่องรถลีมูซีน ค่าสาธารณูปโภค ค่าเสื่อมราคา ค่าเช่าสถานที่ลานจอดรถ และพื้นที่จอดรถหน้าอาคารผู้โดยสาร จำนวนเงินดังกล่าวเมื่อนำไปคำนวณกับรายได้แล้ว ผลประกอบการในแต่ละเดือน ทอท.จะต้องแบกรับภาระในการขาดทุนมากยิ่งขึ้น

อย่างไรก็ตามในรายงานสรุปผลปัญหาโดยคณะอนุกรรมการคณะอนุกรรมาธิการศึกษาปัญหาฯ ของสนช.ยังได้ชี้ให้เห็นว่าการที่ทอท. ได้ทำสัญญาโดยวิธีพิเศษจัดจ้างบริษัทเอกชน เข้ามาบริหารจัดการรถลีมูซีน จำนวน 380 คันของทอท. ซึ่งทำการเช่าจากบริษัทเอกชน 5 บริษัท (จำนวน 8 สัญญา)สำหรับรถยนต์นั่ง 8 ยี่ห้อ นั้นยังมีประเด็นที่กลายเป็นเบาะแสการเอื้อประโยชน์ ให้กับผู้ประกอบการโดยไม่ถูกต้อง เพราะจากหลักฐานการจดทะเบียนบริษัท ปรากฏว่า บริษัททั้ง 2 กลุ่ม ล้วนแล้วแต่มีบุคคลซึ่งเป็นเจ้าของ และผู้ถือหุ้น ที่เป็นคนๆเดียวกันแต่กลับมีชื่ออยู่มากกว่า 1 บริษัทอาศัยตัวแทนถือหุ้นไขว้กันหรือแทนกันใน 2 กลุ่มบริษัท เพื่อเอื้อประโยชน์ร่วมกันหรือแทนกันในการเสนอราคาของรถแต่ละประเภท เจตนาที่จะให้ทอท. คัดเลือกบริษัทใดบริษัทหนึ่งที่กำหนดกันไว้เป็นการล่วงหน้าให้เป็นผู้ได้รับสัญญากับทอท.ไป

ทั้งนี้ จากการตรวจสอบหลักฐานสามารถพิจารณาได้ว่า 1.บัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นของแต่ละบริษัททั้ง 2 กลุ่มที่ถือหุ้นไขว้กันไปมา 2.กรรมการบริหารแต่ละบริษัทที่ถือหุ้นอยู่ในบริษัทหนึ่ง แต่ไปดำรงตำแหน่งเป็นกรรมการบริหารของอีกบริษัทหนึ่ง 3. ผู้ที่ทำบัญชีและผู้สอบบัญชีใช้บุคคลคนเดียวกัน 4. ผู้ถือหุ้นหรือกรรมการของบริษัทในแต่ละกลุ่มบริษัท ปรากฏว่ารับเงินเดือนค่าจ้างจากบริษัทเดียวกัน

เมื่อพิจารณาจากบริษัทที่เสนอตัวให้คณะกรรมการจัดจ้างพิจารณา ไม่ปรากฏว่ามีบริษัทนอกเหนือไปจากทั้งสองกลุ่มดังกล่าว ซึ่งการกระทำในลักษณะดังกล่าวของกลุ่มบริษัททั้ง2 กลุ่มที่ได้ลงนามในสัญญา 8สัญญากลุ่มบริษัทละ 4 สัญญา มีลักษณะเป็นการกระทำโดยเจตนาทุจริตซึ่งเป็นความผิดตามพ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2542 เนื่องจากผู้เข้าเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐเป็นบุคคลที่กระทำการโดยเจตนาทุจริตเพื่อให้ได้สัญญากับรัฐ

อย่างไรก็ตามเมื่อพิจารณาลงลึกถึงความเกี่ยวพันระหว่างตัวบุคคลกับบริษัททั้ง2 กลุ่มยิ่งพบความชัดเจนถึงเจตนากระทำทุจริต โดยพบว่าในบริษัทสยาม ออโต้เซอร์วิส ฯ มี วินัย พิทักษ์สิทธิ์- วิศิษฎ์ พิทักษ์สิทธิ์- วิสุทธิ์ พิทักษ์สิทธิ์- ศรัณ พิทักษ์สิทธิ์ -ดำรง พิทักษ์สิทธิ์ เป็นผู้ถือหุ้น แต่ขณะเดียวกันบุคคลกลุ่มนี้ยังมีชื่อไปเป็นผู้ถือหุ้นในบริษัท สยามคาร์เร้นท์ ด้วย รวมทั้งมีผู้บุคคลที่ถือหุ้นในบริษัท แบงคอกลีมูซีน อย่าง วณี เจริญสุกใส-มาลี กุสินทร์เกิด ไปมีชื่อเป็นผู้ถือหุ้นอยู่ในบริษัท ทองหล่อ คาร์เซลล์ และรวมทั้งการใช้ชื่อที่อยู่ของบริษัททั้ง 2 แห่งยังระบุสถานที่เดียวกัน คือเลขที่ 540/2 ซ.สุขุมวิท 55 (ทองหล่อ)ไว้เหมือนกัน

จากการตรวจสอบข้อมูลหลักฐานตลอดจนพฤติการณ์ของบริษัททั้ง 2 กลุ่มที่เข้ามาเกี่ยวข้องในการทำสัญญากับทอท.ในลัษณะดังกล่าว คณะอนุกรรมการฯ ของสนช.เชื่อว่าน่าจะเข้าข่ายกระทำขัดต่อพ.ร.บ.ว่าด้วยการใช้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ.2535 , ข้อบังคับการท่าอากาศยาร ฯว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2539 แก้ไขเพิ่มเดิมโดย (ฉบับที่ 2 )พ.ศ.2543 นอกเหนือไปจากการขัดต่อพ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ

อย่างไรก็ดีข้อมูลหลักฐานดังกล่าวได้มีการนำเสนอต่อบอร์ดทอท.ที่มีพล.อ.สพรั่ง เป็นประธานแล้วแต่ไม่มีการดำเนินการใดๆ ต่อปัญหาที่เกิดขึ้นทั้งที่ พล.อ.สพรั่ง เข้ามานั่งตำแหน่งประธานบอร์ดครั้งนี้ มีจุดหมายเพื่อปราบปรามการทุจริต และแก้ไขสัญญาต่าง ๆ ที่ทำให้ AOT และผู้ถือหุ้นต้องเสียหาย !

ภาพลักษณ์ของนายทหารน้ำดีที่อาสาเข้ามาแก้ปัญหาการทุจริตและคอรัปชั่นของรัฐบาลพรรคไทยรักไทยหลังจากที่มีการยึดอำนาจเมื่อ 19 กันยายน 2549 ด้วยตำแหน่งรองผู้บัญชาการทหารบกและมีอาวุโสสูงสุดจ่อคิวผู้บัญชาการทหารบกสืบต่อจากพลเอกสนธิ บุญรัตกลิน ของพลเอกสพรั่ง กัลญาณมิตร สร้างความเชื่อมั่นให้กับภาคประชาชนไม่น้อย โดยเฉพาะการเข้าไปนั่งเป็นประธานบอร์ดบริษัท ทีโอที จำกัด(มหาชน) หรือองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยและบริษัท การท่าอากาศยานไทย จำกัด(มหาชน) หรือ AOT

ประชาชนทั้งประเทศได้เห็นความเอาจริงเอาจังในการสางปัญหาทุจริตคอรัปชั่นที่เกิดขึ้นกับองค์ของรัฐทั้ง 2 แห่ง แต่ที่สะดุดตามากที่สุดเห็นจะเป็นที่สนามบินสุวรรณภูมิที่อยู่ภายใต้การดูแลของ AOT โดยเฉพาะเรื่องสนามบินร้าวต้องมีการซ่อมทางวิ่งกันเป็นเรื่องราวใหญ่โต นับเป็นการตอกย้ำถึงปัญหาการทุจริตและคอรัปชั่นของรัฐบาลชุดก่อนหน้าได้เป็นอย่างดี รวมถึงปัญหาอื่น ๆ อีกมากมายที่เกิดขึ้นในสนามบินแห่งนี้ งานนี้พล.อ.สพรั่งได้ใจประชาชนไปเต็มๆ

AOT กำไรลดวูบถึง 90%

แต่หลังจากพลาดตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบก นายทหารนักบู๊รายนี้ก็เงียบหายไประยะหนึ่ง และเริ่มมีแรงต่อต้านจากพนักงานในหน่วยงานที่ พล.อ.สพรั่ง เข้าไปนั่งเป็นประธานบอร์ดในทีโอที รวมถึงการถือป้ายประท้วงการบริหารงานใน AOT ซึ่งเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ของกลุ่มผู้ถือหุ้น หลังจากการบริหารงานในรอบ 1 ปีที่ผ่านมากำไรหดหายไปเกือบ 90% เมื่อ 25 มกราคมที่ผ่านมา

จากกำไรสุทธิของงบการเงินงวด 1 ปีของปี 2549 AOT มีกำไรสุทธิ 10,473.99 ล้านบาท แต่ในปี 2550 กลับทำกำไรได้แค่ 1,094.87 ล้านบาทเท่านั้น จากกำไรสุทธิต่อหุ้นที่ 7.33 บาทเหลือแค่ 0.79 บาทเท่านั้น ส่งผลให้เงินปันผลจ่ายได้เพียงหุ้นละ 0.40 บาทต่อหุ้นเท่านั้นเทียบกับ 2.75 บาทของปี 2549

แม้ว่ารายได้จากการดำเนินงานของ AOT จะเพิ่มขึ้นจากเดิม 20.08% เป็นผลจากขยายตัวของกิจการการบินที่มีสายการบินต่าง ๆ มาใช้บริการเพิ่มขึ้น ทั้งขนส่งสินค้าและผู้โดยสาร รวมถึงการการปรับเพิ่มอัตราค่าธรรมเนียมในการใช้สนามบิน

แต่รายได้ส่วนแบ่งผลประโยชน์จากกิจกรรมเชิงพาณิชย์ลดลง 2,092.21 ล้านบาทหรือหายไป 50.97% เป็นผลมาจากการที่ AOT ไม่บันทึกรับรู้รายได้จากการประกอบการจำหน่ายสินค้าปลอดอากรและกิจกรรมร้านค้าเชิงพาณิชย์ ณ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และท่าอากาศยานภูมิภาคของบริษัทเอกชน 2 ราย นับแต่วันที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเปิดให้บริการเชิงพาณิชย์ ตั้งแต่วันที่ 28 กันยายน 2549 เป็นต้นมา ตามที่คณะกรรมการ AOT ว่าการทำสัญญากับบริษัทเอกชนดังกล่าว ไม่เป็นไปตามขั้นตอนพระราชบัญญัติว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงาน หรือ ดำเนินการในกิจการของรัฐ ฯ พ.ศ.2535 สัญญาจึงไม่ชอบด้วยกฎหมายและไม่มีผลผูกพันคู่สัญญา ทั้งนี้ AOT จะใช้สิทธิเรียกค่าเสียหายอันเกิดจากรายได้ที่ AOT ไม่ได้รับรู้จากบริษัทเอกชนดังกล่าวต่อไป

นอกเหนือจากรายได้ที่ลดลงแล้ว สิ่งที่น่าสนใจนั่นคือเรื่องของค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นตามมา โดยค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานประจำปี 2550 รวม 17,996.16 ล้านบาท สูงกว่าปีก่อน 8,576.09 ล้านบาทหรือร้อยละ 91.04 ทั้งนี้ สาเหตุหลักเนื่องจากการเปิดให้บริการเชิงพาณิชย์ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ มีผลให้ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานในภาพรวมสูงขึ้นจากปีก่อนเกือบเท่าตัว

โดยเฉพาะอย่างยิ่งค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่ายทรัพย์สินสูงขึ้น 6,359.45 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 454.23% ค่าซ่อมแซมสูงขึ้น 454.00 ล้านบาท หรือ 163.09% โดยเฉพาะค่าซ่อมแซมสายพานส่งกระเป๋า ครุภัณฑ์ไฟฟ้าและเครื่องปรับอากาศ เครื่องสื่อสารและคอมพิวเตอร์ ทางวิ่งทางขับและสุขภัณฑ์ ค่าใช้จ่ายดำเนินงานสูงขึ้น 2,103.36 ล้านบาท หรือ 58% จากค่าจ้างเอกชนดำเนินการ(Outsource) ค่าสาธารณูปโภค ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง ค่าเบี้ยประกันภัย และค่าตอบแทนการจัดเก็บค่าธรรมเนียมการใช้สนามบินแก่สายการบิน

รวมถึงดอกเบี้ยจ่ายที่บันทึกดอกเบี้ยจ่ายเงินกู้ เพื่อการก่อสร้างท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และโรงแรมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ จำนวน 2,396.71 ล้านบาท เป็นค่าใช้จ่าย ซึ่งปีก่อนบันทึกเป็นต้นทุนงานก่อสร้าง

โบนัสที่พนักงานเคยได้กัน 9 เดือนในปี 2549 เหลือเพียง 3 เดือนในปี 2550 หลังจากที่ได้พลเอกสพรั่งเข้ามานั่งเป็นประธานบอร์ดพร้อมด้วยคณะกรรมการในชุดปัจจุบันเพียงแค่ 1 ปีเท่านั้น

ฝ่ายตรวจสอบของหน่วยงานรัฐแห่งหนึ่งกล่าวว่า ต้องยอมรับว่าบอร์ดชุดปัจจุบันเข้ามาทำหน้าที่แทนบอร์ดชุดเดิมที่รัฐบาลพรรคไทยรักไทยตั้งขึ้นมา เมื่อภารกิจหลักเข้ามาตรวจสอบการทุจริตคอรัปชั่นในองค์การแห่งนี้ ก็ต้องส่งผลกระทบต่อรายได้เป็นธรรมดา

หากผู้ถือหุ้นพิจารณาด้วยความเป็นธรรมแล้วต้องดูด้วยว่า มีรายได้บางตัวที่เข้ามาเป็นก้อนใหญ่ในปี 2549 ดังนั้นจึงทำให้กำไรจึงค่อนข้างสูง เมื่อเข้าสู่ปีต่อมารายได้จึงต้องเป็นไปตามเงื่อนไขที่ตกลงกันไว้

กรณีของรายได้จากคิงเพาเวอร์นั้น จริง ๆ แล้วรายได้นั้นก็มีการนำส่งตามปกติแต่ในการบันทึกบัญชียังทำไม่ได้เนื่องจากยังมีคดีความฟ้องร้องกันอยู่ หากสถานการณ์คลี่คลายไปได้รายได้ก็จะกลับเข้ามาตามปกติ

ผู้ถือหุ้นควรต้องเสนอแนะให้บอร์ดชุดนี้เร่งทำงานเพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นให้ยุติโดยเร็ว หากบอร์ดไม่ดำเนินการแก้ไขก็ต้องหาคนใหม่เข้ามาบริหารแทน ทั้งนี้คณะกรรมการของ AOT ต้องเข้าใจสถานะของ AOT ด้วยว่าไม่ใช่มีสถานะเป็นแค่บริษัทมหาชนเพียงอย่างเดียว เพราะ AOT เกิดจากการแปรรูปรัฐวิสาหกิจแล้วนำเข้ามาจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ สินทรัพย์ส่วนใหญ่ของ AOT ล้วนแล้วแต่มาจากเงินภาษีอากรของประชาชนทั้งประเทศ แม้จะมีผู้ลงทุนเดือดร้อนจากผลการดำเนินที่แย่ลงแต่ก็เป็นเพียงส่วนน้อยเท่านั้น

ตะลึงพฤติกรรมสพรั่ง

แหล่งข่าวจากการท่าอากาศยานรายหนึ่งกล่าวว่า ทุกคนทราบดีว่าบอร์ดชุดของพลเอกสพรั่งเข้ามาเพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นจากรัฐบาลชุดก่อน แม้ว่าปัญหาทุจริตคอรัปชั่นในสนามบินสุวรรณภูมิจะมีหลายจุด แต่ไม่ใช่เรื่องที่ต้องนับหนึ่งใหม่ในการตรวจสอบ เพราะก่อนหน้านี้ได้มีผลการสอบของคณะกรรมาธิการคมนาคมออกมาก่อนหน้านี้แล้ว แต่เรื่องเหล่านั้นก็ไม่ได้มีการนำมาสานต่อแต่อย่างใด

วันนี้เราไม่รู้ว่าภาพความเอาจริงเอาจังที่ พล.อ.สพรั่ง เคยสร้างไว้ในช่วงต้นของการรับตำแหน่งนั้นหายไปไหน โดยเฉพาะหลังจากที่พลาดตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบก ทุกอย่างที่เคยแข็งขันก็เริ่มนิ่งยิ่งใกล้ได้รัฐบาลใหม่ที่เป็นพรรคพลังประชาชนอะไรหลาย ๆ อย่างก็ดูเปลี่ยนไป เช่น การให้สัมปทาน 3G กับกลุ่มชินคอร์ปภายใต้ตำแหน่งประธานบอร์ดทีโอที

ในส่วนของปัญหาที่เกิดขึ้นกับสนามบินสุวรรณภูมิที่มีด้วยกันหลายเรื่อง ถ้า พล.อ.สพรั่ง จัดการเรื่องเหล่านี้ให้เป็นไปตามระเบียบและข้อกฎหมาย ประโยชน์ที่ AOT จะได้รับก็มีขึ้นมามาก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของเรื่องรถลีมูซีน ที่เดิมกำหนดให้เป็นระบบสัมปทาน เปิดให้มีผู้สนใจเข้ามาเสนอราคา แต่บอร์ดชุดก่อนกลับเปลี่ยนมาใช้ระบบว่าจ้างแทน และค่าจ้างก็ตั้งไว้สูงกว่าความเป็นจริงมากและผลตอบแทนที่ได้รับก็ไม่คุ้มค่า

บอร์ดชุดปัจจุบันก็เห็นปัญหาที่เกิดขึ้น รู้ว่าระยะเวลา 5 ปีกับการต้องจ่ายเงินให้กับการว่าจ้างกลุ่มผู้ที่ได้รับคัดเลือก 2 กลุ่มที่มีความสัมพันธ์กันต้องจ่ายเงินไป 2,651.48 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับรายได้ที่ได้รับมานั้นไม่คุ้มค่ากัน หากกลับไปใช้ระบบการประมูล AOT ไม่จำเป็นต้องเข้ามามีภาระจัดการในเรื่องการจัดเก็บรายได้ เมื่อครบปีก็รับเงินที่เอกชนได้ยื่นข้อเสนอมา แต่บอร์ดก็ยังคงปล่อยให้ปัญหานี้เกิดขึ้นต่อไปโดยไม่เข้าไปยกเลิกสัญญาว่าจ้างดังกล่าว

ในส่วนของปัญหาอื่น ๆ ที่เกิดขึ้นในสนามบินสุวรรณภูมิไม่ว่าจะเป็นเรื่องของคิงเพาเวอร์ ที่ยังคงเป็นคดีความฟ้องร้องกันอยู่ หรือเรื่องของการจัดจ้างบริษัทรักษาความปลอดภัยที่เพิ่มวงเงินค่าจ้างให้กับผู้ได้รับคัดเลือก โดยที่ไม่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เรื่องของรถเข็นกระเป๋าที่เดิมจะฟรีมาจากเยอรมันแต่กลับยอมทุ่มเงิน 534 ล้านบาทให้เอกชนจัดหามา รถเข็นดังกล่าวก็ไม่ได้มาตรฐาน

การให้สัมปทานประกอบการเชิงพาณิชย์ในบริเวณศูนย์ขนส่งสาธารณะ กับบริษัทสุวรรณภูมิ ทรานเซอร์วิส จำกัด ที่ไม่ต้องประมูล แถมยังมีการขอลดผลประโยชน์ค่าตอบแทน โดยเป็นบุคคลที่เกี่ยวข้อง และเชื่อมโยงกับการเป็นที่ปรึกษาให้กับบอร์ดของ AOT

โครงการกำจัดขยะที่กลุ่มสามารถได้รับการว่าจ้างนั้นก็มีการเปลี่ยนเงื่อนไขในการกำจัดขยะจากกำจัดภายนอกสนามบินมากำจัดภายในสนามบิน แถมต้องใช้ที่ดินของ AOT และต้องสร้างโรงงานกำจัดขยะอีกด้วย อีกทั้งการประมาณการปริมาณขยะก็สูงกว่าความเป็นจริง โดยที่ขยะที่เกิดขึ้นจริงนั้นมีน้อยไม่เพียงพอที่จะสร้างระบบกำจัดขยะ

ปัญหาโครงการให้บริการระบบไฟฟ้า 400 HZ และระบบปรับอากาศชนิดติดตั้งอยู่กับที่ เนื่องจากระบบไฟฟ้าที่ให้บริการนั้นไม่ได้มาตรฐาน ทำให้สายการบินต่าง ๆ ไม่กล้าใช้ ส่งผลให้ AOT ขาดรายได้จากส่วนนี้ไปมาก อีกทั้งผู้ที่รับอนุญาตไปก็ไม่ปฏิบัติตามสัญญา ปล่อยให้ AOT แบกรับค่าไฟฟ้าและค่าน้ำแทน

จาก hi-thaksin