WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Tuesday, February 5, 2008

“แล้วมาปิดประตูใส่หน้าเราทำไม”

เป็นความเห็นสั้นๆของนายกฯสมัคร สุนทรเวชที่กล่าวถึงพ.ร.บ.จัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม 2551 และมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 2 ก.พ.ที่ผ่านมา เรียกว่าเป็นกฎหมายสดๆร้อนๆต้อนรับรัฐบาลชุดใหม่

กฎหมายฉบับนี้มาเงียบแต่มีผลในทางการเมืองและการทหารพอสมควร เพราะนัยสำคัญที่เป็นข้อกำหนดก็คือจากนี้ไปการแต่งตั้งนายทหารระดับ “นายพล” ทุกเหล่าทัพจะต้องพิจารณาโดยคณะกรรมการคณะหนึ่ง

ประกอบไปด้วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธาน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม ผบ.ทหารสูงสุด, ผบ.ทบ., ผบ.ทร., ผบ.ทอ.เป็นกรรมการและปลัดกระทรวงกลาโหมเป็นกรรมการและเลขานุการ

มีเจ้ากรมเสมียนตราเป็นผู้ช่วยเลขานุการ

มีอำนาจหน้าที่ในการพิจารณาแต่งตั้งโยกย้ายนายทหารชั้น “นายพล” ทั้งหมด โดยทั้ง 7 คนจะเป็นผู้ตัดสินชี้ขาด ในกรณีที่ไม่มีรัฐมนตรีช่วยก็คงจะเหลือแค่ 6 คนเท่านั้น ทั้งนี้ประเด็นมันอยู่ที่ว่าในจำนวน 7 คนนี้

มาจากการเมือง 2 คนแน่นอนคือ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม รัฐมนตรีช่วย ส่วนข้าราชการประจำก็คือบรรดา ผบ.เหล่าทัพ

พิจารณาตัวเลขง่ายๆก็เท่ากับ 2 ต่อ 5 คำตอบก็คือจากนี้ไปการแต่งตั้งโยกย้ายนายทหารระดับนายพลโอกาสที่จะ “ล้วงลูก” จากฝ่ายการเมืองคงเป็นเรื่องยากกว่าที่ผ่านมาซึ่งมีการเปลี่ยนโผกลางอากาศ จากฝ่ายการเมืองมาตลอด

และทำให้เกิดปัญหาขัดแย้ง กลายเป็นว่าการเมืองเข้ามาล้วงมาควักจนเกิดปัญหาขัดแย้งมาหลายครั้ง ไปจบกันที่การ “ยึดอำนาจ” ก็หลายครั้ง นักการเมืองพอมีอำนาจเต็มๆก็ดึงเอาพรรคพวก เพื่อนร่วมรุ่นให้คุมกำลังในหน่วยสำคัญ

หรือตำแหน่งหลักอย่าง ผบ.ทบ., ผบ.ทร., ผบ.ทอ.วังวนนี้มันเลยยังไม่มีกลไกที่จะเข้ามาแก้ไขปัญหานี้

กฎหมายฉบับใหม่นี่คงจะเป็นความคาดหวังของคนในกองทัพที่เชื่อว่าน่าจะเป็น องคาพยพไม่ให้เกิดปัญหาขัดแย้งระหว่างการเมืองกับกองทัพ

อย่างไรก็ดี แม้นายกฯจะพูดถึงเรื่องนี้ในลักษณะที่สงสัยว่าทำไมจู่ๆกฎหมายฉบับนี้ จึงออกมาช่วงเปลี่ยนผ่านทางการเมือง และยืนยันไม่คิดจะไปล้วงลูกหรือเข้าไปยุ่งกับกองทัพแต่ต้องการเข้าไปประสานมากกว่า

และไม่ต้องการให้เกิดปัญหาขัดแย้งในการโยกย้ายแต่งตั้ง ไม่ให้เกิดปัญหารุ่นนั้นรุ่นนี้หรือพวกนั้นพวกนี้

แต่สรุปรวมก็คือไม่สบอารมณ์เท่าใดนัก เหมือน“ลองของ”

ขณะนี้ก็มีนักการเมืองซีกรัฐบาลพยายามจะพูดถึงเรื่องนี้ในลักษณะที่ว่าเขียนกฎหมายได้ก็แก้ได้ ทำนองว่าเดี๋ยวเข้ามาเต็มตัวก็จะแก้ไข เพียงแต่ไม่ได้บอกเหตุผลว่าทำไมต้องทำเช่นนั้น เพราะคำตอบตรงนี้ก็สำคัญ

เมื่อประเด็นสำคัญมันอยู่ที่การ “ล้วงลูก” นี่แหละที่ทำให้ กองทัพต้องหากำแพงขวางกั้นเอาไว้เพื่อไม่ให้เกิดปัญหา ซึ่งจริงๆแล้วก็น่าจะเป็นเรื่องที่ดีและทำให้กองทัพกับการเมืองแยกกันชัดเจนขึ้น

ก็ไม่รู้ว่าจากนี้ไปการเมืองจะมองประเด็นนี้หรือให้น้ำหนักความสำคัญมากน้อยแค่ไหน แต่ถ้าให้ความสำคัญต้องการมีอำนาจครอบคลุมกองทัพ ต้องการที่จะเป็นผู้เลือกเองว่าใครควรจะขึ้นมาเป็นผู้นำกองทัพ

ข้อสำคัญก็คือแม้จะมีกฎหมายคลุมไว้แล้ว

แต่พอเอาจริงกลายเป็นว่า “ทหาร” ยอมเสียตัวให้เขาเสียอย่างนั้นแหละ...

"สายล่อฟ้า"

คอลัมน์ กล้าได้กล้าเสีย