คอลัมน์ : คิดในมุมกลับ
มีคำหนึ่งที่เราได้ยินกันบ่อยในแวดวงการเมืองก็คือคำว่า “บารมี” ผู้นำที่จะเป็นใหญ่เป็นโต เป็นศูนย์รวมของอำนาจและความกลมเกลียวเหนียวแน่นได้นั้น หลายครั้งต้องอาศัย “บารมี” มากกว่า “ความสามารถ” เว้นเสียแต่ความสามารถนั้นดึงดูดใจคนให้มารวมตัวกันได้มาก ก็อาจเป็นบารมีได้อย่างหนึ่ง
ในทางพุทธศาสนา บารมีเป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งในการปฏิบัติให้พ้นวัฏสงสาร เป็นกองกำลังของบุญกุศลที่จะนำให้พ้นจากกองทุกข์ เรียกว่า “นี้มากสักหน่อยด้ วันนี้และวันต่อ ๆไปจึงขออุทิสพื้นที่ให้แก่เรื่อง "มีในาร กำลัว่างมุ้งหระหว่างขั้วต่างๆ ได้นั้น หลายครั้งต้องอาบารมี 10” และเหตุเพราะคำนี้มักมีอิทธิฤทธิ์ทางการเมืองอยู่เนืองๆ จึงขออุทิศพื้นที่ให้แก่เรื่อง “บารมี” นี้หลายตอนสักหน่อย
“ทานบารมี” คือบารมีประการแรก เป็นบารมีแห่งการให้ เสียสละ แบ่งปัน ด้วยเห็นว่าชีวิตอื่นๆ ก็ต้องพึ่งพาอาศัยปัจจัยสี่ในการดำรงชีวิตเหมือนเช่นเรา คนมีมากกว่าก็ให้ คนมีพร้อมกว่าก็ให้ ผู้ที่ใจตั้งมั่นอยู่กับการเป็นผู้ให้ย่อมมีบารมีมากกว่าผู้ตั้งหน้ากอบโกย คนบางคนที่ได้ชื่อว่าเป็น “ผู้ยิ่งใหญ่” “ผู้กว้างขวาง” มีลูกน้องบริวารและผู้คนเคารพรักมากมาย ส่วนมากก็มักได้ชื่อเรื่องความใจกว้างความเป็นผู้ให้นี่แล คนตระหนี่ถี่เหนียวมักไม่ค่อยมีบารมีให้คนมารักเคารพสักเท่าใด
แต่เหนือกว่าการให้ทานวัตถุก็คือ “อภัยทาน” วิถีชีวิตปัจจุบันที่เร่งร้อนแข่งขัน กระทบกระทั่งเบียดเบียนกันได้ง่าย ใจก็มักมีเรื่องให้ขุ่นข้องอยู่เรื่อย ถ้าไม่รู้จักคำว่าอโหสิกรรมหรือการให้อภัยกัน สังคมก็จะเดือดร้อนวุ่นวาย มีแต่ข่าวร้ายๆ เหมือนที่เห็นในหน้าหนังสือพิมพ์ จะบอกว่าคนทุกวันนี้ให้อภัยกันน้อยลงก็ไม่แน่ใจ เพราะหนังสือพิมพ์ให้ราคาข่าวร้ายมากกว่าข่าวดีอยู่แล้ว แต่ในชีวิตจริงเราอาจไม่หดหู่ถึงเพียงนั้น อย่างน้อยอีกมุมหนึ่งผู้คนก็ยังเรียกร้องคำว่าสมานฉันท์ เว้นเสียแต่สังคมที่ต้องการการ “ปฏิวัติ” อย่างขุดรากถอนโคน คงจะต้องผ่านเหตุการณ์นองเลือดเสียก่อน และเวลานั้นตะโกนคำว่าอโหสิกรรมไปเขาก็อาจไม่ได้ยิน
ทุกวันนี้มีเรื่องราวมากมายที่เรียกร้องและทดสอบ “อภัยทาน” อย่างสูง ไม่ว่าจะเป็นสังคม 3 จังหวัดชายแดนใต้ที่คนบริสุทธิ์ต้องสังเวยชีวิต หรือใน กทม. ที่ชีวิตผู้เรียกร้องประชาธิปไตยปลิดปลิวเหมือนใบไม้คนแล้วคนเล่าอย่างไม่สามารถจับมือใครดม... ความเจ็บปวดที่ถูกเหยียบย่ำมันยิ่งต้องทำให้เราเรียกร้องสติกันให้ดีว่า “ตาต่อตาฟันต่อฟัน” นั้นมันจะเป็นคำตอบของปัญหาได้จริงๆ ล่ะหรือ
ไม่มีสงครามใดที่ไม่เจ็บตัว แต่สงครามที่คนโง่วิ่งเข้าใส่คนบ้านั้นมีแต่พังทั้ง 2 ฝ่าย และปล่อยให้ “ตาอยู่” หยิบชิ้นปลามันไปกินเสียก็เท่านั้นเอง
ปฏิญา ยอดเมฆ