WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Friday, October 10, 2008

‘แพทยสภา’รับสอบ‘หมอพันธมิตร’แล้ว


“แพทยสภา” ยอมส่งเรื่อง “หมอสุเทพ” ที่ประกาศไม่รักษาตำรวจเข้าสู่กระบวนการพิจารณาจรรยาบรรณแล้ว หลังจากเคยมีท่าทีแบ่งรับแบ่งสู้ พร้อมออกแถลงการณ์ถึงหมอทั่วประเทศต้องรักษาคนไข้ทุกคนเลือกปฏิบัติไม่ได้ ด้าน “แพทย์ใหญ่” โรงพยาบาลตำรวจ ย้ำจรรยาบรรณ เป็นหมอต้องไม่เลือกคนไข้ ระบุ รพ.ตำรวจพร้อมให้การรักษาทุกฝ่ายไม่เว้นพันธมิตรฯ ด้าน “นักบิน” หัวรุนแรง ถูกพักงานเบื้องต้น 7 วัน รอเช็คสภาพจิตใจ เผยโทษสูงสุดถึงขั้นไล่ออก

จากกรณี นพ.สุเทพ กลชาญวิทย์ แพทย์ประจำคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ออกมาแถลงว่าจะไม่รักษาผู้ป่วยที่เป็นตำรวจ โดยอ้างอารมณ์ส่วนตัวเรื่องความไม่พอใจจากการปราบม็อบพันธมิตรฯ และล่าสุดยังไม่สำนึก ยังคงตะแบงว่ารักษาก็ได้ แต่ต้องไม่แต่งเครื่องแบบตำรวจ และไม่กรอกยศไว้ในประวัติคนไข้

กรณีดังกล่าวได้มีการวิพากษ์วิจารณ์ถึงความเหมาะสม และมีการออกมายืนยันจากแพทย์ผู้ใหญ่หลายคนว่าเป็นเรื่องที่ไม่สามารถทำได้ตามจริยธรรมแพทย์

รพ.ตำรวจยันพันธมิตรฯก็รักษา
พล.ต.ท.นพ. สมยศ ดีมาก นายแพทย์ใหญ่ โรงพยาบาลตำรวจ กล่าวว่า โรงพยาบาลตำรวจยินดีรักษาประชาชนทุกคน ไม่เฉพาะตำรวจ ไม่เลือกชั้นวรรณะ สีผิว หรือว่าเป็นกลุ่มพันธมิตรฯหรือไม่ เพราะทุกวันนี้ 70 เปอร์เซ็นต์ของคนไข้ก็เป็นประชาชนทั่วไปอยู่แล้ว ขอให้อุ่นใจหมอทุกคนยินดีรักษาทุกคน ไม่มีการปิดกั้น เท่าเทียมกันไม่เลือกปฏิบัติ

ส่วนกรณีที่แพทย์โรงพยาบาลจุฬาฯ ออกแถลงการณ์ไม่รับรักษาตำรวจนั้น พล.ต.ท. นพ. สมยศ กล่าวว่า ตรงนี้ต้องระมัดระวัง เพราะมีกฎหมายควบคุมอยู่ว่าแพทย์ต้องรักษาประชาชนทุกรายโดยไม่ปฏิเสธ ไม่เลือกปฏิบัติ หากแพทย์ปฏิเสธก็ผิดกฎหมายอาญา ซึ่งเป็นเรื่องต้องศึกษาให้ถ่องแท้ ว่าท่านเป็นแพทย์แล้วจะเลือกรักษาคนไข้ เลือกฝ่ายคนไข้ได้หรือไม่ ซึ่งในวงการแพทย์ไม่มีเรื่องแบบนี้ แม้แต่โรงพยาบาลของทุกเหล่าทัพก็ไม่มีการเลือกรักษา

“โรงพยาบาลตำรวจมีแพทย์ 200 กว่าคน ย้ำว่าไม่เลือกรักษาคนไข้ ซึ่งหมอที่ออกมาแถลงผมเข้าใจว่ารู้สึกโกรธตำรวจมากในเรื่องที่ตำรวจปฏิบัติตามหน้าที่ราชการดูแลความสงบสุขเรียบร้อยของประชาชน ในส่วนนี้มีความรู้สึกได้ เพราะอาจเป็นหมอที่ยังไม่มีประสบการณ์ในการรักษาพยาบาล อาจจะมีความรู้สึกของคนหนุ่มสาวที่ใจร้อน ผมว่าใช้เวลาอีกหน่อย หมอเหล่านี้จะนึกได้ว่าตนเองเป็นแพทย์ซึ่งมีจรรยาบรรณ ต้องรักษาทุกคน” พล.ต.ท.นพ.สมยศ ระบุ

รพ.จุฬาฯ ย้ำแพทย์ไม่เลือกปฏิบัติ
รศ.รัฐพลี ภาคอรรถ อาจารย์จากคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวถึงข่าวว่าโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ กีดกันการรักษาตำรวจที่ได้รับบาดเจ็บนั้น ยืนยันว่า ทีมแพทย์ยังดำรงอยู่ในจรรยาบรรณแพทย์ ไม่เคยเลือกปฏิบัติ ซึ่งปัจจุบันโรงพยาบาลก็ได้รับรักษาผู้บาดเจ็บจากเหตุการณ์ทั้งสิ้น 10 ราย โดยไม่ได้เลือกข้าง เพียงแต่คณะแพทย์ในโรงพยาบาลจุฬาฯ มีความเห็นตรงกันว่า การที่มีผู้ได้รับบาดเจ็บจำนวนมาก รวมถึงมีผู้เสียชีวิตจากเหตุปะทะกัน ไม่น่าจะเกิดขึ้น หากรัฐบาลไม่ใช้ความรุนแรงในการสลายการชุมนุม

ด้าน นพ.อัฉริยะ สาโรวาท ภาควิชาศัลยกรรม คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี กล่าวว่า ตามหลักการแพทย์ทุกโรงพยาบาลต้องให้การรักษาผู้ป่วยอยู่แล้ว ไม่ว่าจะอยู่ฝ่ายใด ซึ่งในส่วนโรงพยาบาลรามาก็คงไม่ปฏิเสธรักษาเจ้าหน้าที่ตำรวจ ซึ่งการออกแถลงการณ์ดังกล่าวเป็นเพียงการประกาศไม่ต้อนรับมากกว่า แต่หากตำรวจมารักษาไม่ว่าอย่างไร คงต้องรักษาให้ตามจรรยาบรรณแพทย์

อาจารย์หมอก็เอากับเขาด้วย
นพ.เกรียง ตั้งสง่า อาจารย์แพทย์อายุรศาสตร์ คณะแพทย์ศาสตร์จุฬาฯ กล่าวว่าได้ติดป้ายที่หน้าห้องว่าไม่รับตรวจเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ทำร้ายประชาชน ยกเว้นกรณีฉุกเฉิน เนื่องจากเป็นการพูดกันตามสังคมทั่วไป และวงการแพทย์ ซึ่งอาจารย์กลุ่มหนึ่งที่ไปร่วมไปเห็นเหตุการณ์ และไปดูแลผู้ป่วยที่จุดนั้นได้เห็นด้วยตาตนเองว่า ตำรวจทำเกินกว่าเหตุ

“ผมสามารถพูดแทนแพทย์ทุกคนได้ว่า คนมีสิทธิ์เลือกหมอ แต่หมอไม่มีสิทธิ์เลือกคนไข้ เราไม่มีเจตนาเลือกปฏิบัติดังที่ถูกวิพาษ์ วิจารณ์ ทุกคนมีจิตวิญาณของความเป็นแพทย์ ผลส่วนรวมเป็นที่หนึ่ง ผลส่วนตัวเป็นที่สอง แต่ครั้งนี้ต้องการให้สังคมรับรู้ว่าตำรวจทำในสิ่งที่ไม่ถูกต้อง และเห็นได้ชัดว่าตำรวจทำร้ายประชาชน จุดที่เกิดเหตุที่แพทย์ไปปฏิบัติอยู่ไกลจากที่ชุมนุมก็ถูกตำรวจกราดยิงเข้าใส่ แพทย์หลายโรงพยาบาลรู้สึกตรงกันว่าประหนึ่งเป็นคนร้าย”

แถลงการณ์แสดงความเสียใจ
ด้านพล.ต.ต.สุรพล ทวนทอง รองผบช.ก.ใมนฐานะรองโฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ กล่าวว่า ทางรศ.นพ.ธีระพงศ์ เจริญวิทย์ รองผอ.โรงพยาบาลจุฬาลงการณ์ รักษาการแทนผอ.โรงพยาบาลจุฬาลงการณ์ รศ.นพ.ประสงค์ ศิริวิริยะกุล รองคณบดีฝ่ายบริหารคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รักษาการแทนคณบดีคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ทำหนังสือถึงพล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ ผบ.ตร.ชี้แจงยืนยันเกี่ยวกับการให้การดูแลรักษาผู้ป่วย หลังจากกลุ่มจุฬาฯออกแถลงการณ์เกี่ยวกับการงดตรวจรักษาผู้รับบริการที่เป็นตำรวจ คณะรัฐมนตรี และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคร่วมรัฐบาลในชุดปัจจุบัน ซึ่งก่อให้เกิดความเข้าใจผิดต่อข้าราชการตำรวจและครอบครัวตลอดจนประชาชนเป็นจำนวนมาก และกระทบต่อภาพลักษณ์ของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย

หนังสือได้ชี้แจงว่าทางโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย และคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีความรู้สึกเสียใจต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และขอให้คำยืนยันว่าโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ไม่เลือกปฏิบัติต่อผู้ป่วยและยึดมั่นในหลักกาชาดสากล คือยึดหลักการรักษาตามหลักมนุษยธรรม ไม่เลือกปฎิบัติต่อผู้ป่วยในเรื่องสัญชาติ เชื้อชาติ ความเชื่อทางศาสนาและความคิดเห็นทางการเมือง ไม่เกี่ยวข้องหรือเข้ากับฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งในเวลาใดหรือกรณีขัดแย้งใด อันเนื่องมาจากเหตุผลทางการเมือง

กาชาดไม่เคยปฏิเสธรักษาผู้ป่วย
นายแผน วรรณเมธี เลขาธิการสภากาชาดไทย พร้อมผู้บริหารโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ และคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกันออกแถลงการณ์ยืนยันยึดมั่นในหลักกาชาดสากล โดยไม่เลือกปฏิบัติต่อผู้ป่วย ไม่จำกัดสัญชาติ เชื้อชาติ ความเชื่อทางศาสนา หรือความเห็นทางการเมืองใด ๆ ทั้งยังยืนยันไม่เคยปฏิเสธการรักษาตำรวจ ส.ส.พลังประชาชน หรือคณะรัฐมนตรี ส่วนข่าวที่ออกมาเป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน และรู้สึกเสียใจต่อเรื่องที่เกิดขึ้น ส่วนความเห็นที่ออกมาในวันแรก ๆ เป็นเพียงส่วนหนึ่งของแพทย์ แต่ไม่ใช่ทั้งหมด

ขณะเดียวกัน ได้เรียกร้องให้รัฐบาลระงับ และกระตุ้นให้ผู้ที่รับผิดชอบงดปฏิบัติต่อกลุ่มผู้ชุมนุมด้วยความรุนแรง พร้อมกันนั้น ยังได้ทำจดหมายถึงสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และพูดคุยกับผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ยืนยันในการรักษาทุกฝ่าย ทั้งเจ้าหน้าที่และประชาชน

แพทยสภากลับลำออกแถลงการณ์
ด้านแพทยสภา ในช่วงต้นทำท่าเหมือนจะไปในแนวทางเดียวกับหมอที่ฝักใฝ่พันธมิตรฯ โดย น.พ.สมศักดิ์ โล่ห์เลขา นายกแพทยสภา กล่าวถึงกรณีดังกล่าวว่าเป็นสิทธิ์ที่แพทย์จะทำได้ โดยไม่ผิดหลักจริยธรรม แต่ต้องเป็นกรณีไม่ฉุกเฉินเท่านั้น

อย่างไรก็ดีในเวลาต่อมา นพ.สมศักดิ์ นพ.อำนาจ กุสลานันท์ เลขาธิการแพทยสภา นพ.สัมพันธ์ คมฤทธิ์ รองเลขาธิการแพทยสภา และ นาวาอากาศเอก(พิเศษ) นพ.อิทธพร คณะเจริญ ผู้ช่วยเลขาธิการแพทยสภา ร่วมกันอ่านแถลงการณ์แพทยสภา ระบุว่า ตามที่สถานการณ์บ้านเมืองในปัจจุบันประสบวิกฤตการณ์จากความเห็นขัดแย้งระหว่างกลุ่มประชาชนและภาครัฐนั้น เป็นเหตุให้มีการดำเนินการหลายประการทางการเมือง เช่น การชุมนุม การใช้อำนาจรัฐ

แพทยสภาซึ่งเป็นองค์กรกลางของแพทย์ 38,000 คนในประเทศไทย ขอแถลงว่า 1.แพทยสภาขอคัดค้านการใช้ความรุนแรงในการแก้ปัญหา ความขัดแย้งทุกรูปแบบ จากทุกหมู่เหล่า อันจะนำไปสู่ความสูญเสียอวัยวะ ร่างกายและชีวิต ของพี่น้องประชาชนชาวไทยกันเอง 2.แพทยสภาขอแสดงความเสียใจต่อผู้ที่ได้รับความสูญเสียทุกรูปแบบจากเหตุการณ์ดังกล่าว และขอให้ทั้งผู้บริหารรัฐบาลและกลุ่มความเห็นที่แตกต่าง เห็นแก่ประเทศชาติ ศาสนา องค์พระมหากษัตริย์ หันหน้าปรึกษากันเพื่อหาทางออกโดยสันติวิธี เพื่อนำไปสู่ความสงบสุขของบ้านเมืองโดยเร็ว บนประโยชน์แท้จริงต่อประชาชนชาวไทยและประเทศชาติ

ส่งกก.พิจารณาจริยธรรมหมอสุเทพ
3.แพทยสภาขอให้แพทย์ทุกท่านยึดมั่นในจริยธรรม ว่า ผู้ประกอบการวิชาชีพเวชกรรม ต้องไม่ปฏิเสธการช่วยเหลือ ผู้ที่อยู่ในระยะอันตรายจากการเจ็บป่วย รวมทั้งไม่เลือกปฏิบัติในเรื่องสัญชาติ เชื้อชาติ ศาสนา ชั้นวรรณะ ความคิดทางการเมือง ตามหลักมนุษยสากล ทั้งนี้เพื่อธำรงไว้ซึ่งเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพ และเพื่อสุขภาพทั้งร่างกายและจิตใจ ของพี่น้องชาวไทยในสภาวะวิกฤตนี้

4.แพทยสภาไม่สนับสนุนให้มีการนำ “วิชาชีพเวชกรรมของแพทย์” ไปเกี่ยวข้องกับความขัดแย้งทางการเมืองในปัจจุบัน และ 5.แพทยสภาขอแสดงความชื่นชมและให้กำลังใจ แก่แพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ทุกท่าน ที่ได้ปฏิบัติหน้าที่ บรรเทาความเจ็บป่วยของผู้ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่ปกติในสภาวะดังกล่าว ด้วยความเหนื่อยยากและเสียสละ

นพ.สมศักดิ์ กล่าวต่อว่า ตามที่มีแพทย์ รพ.จุฬาฯบางคนออกมาระบุว่าจะไม่รักษาคนไข้นั้น ขณะนี้ได้มีผู้ร้องเรียนแพทย์คนดังกล่าวมายังแพทยสภาแล้ว และทางแพทยสภาได้รับเรื่องดังกล่าวไว้แล้ว จากนั้นจะนำเข้าสู่กระบวนการพิจารณาจริยธรรมแพทย์คนดังกล่าวต่อไป โดยส่งต่อไปยังคณะอนุกรรมการจริยธรรมพิจารณา

ทั้งนี้จะนำคำให้สัมภาษณ์ของแพทย์คนดังกล่าวในหน้าหนังสือพิมพ์มาประกอบการพิจารณาด้วย โดยการพิจารณาทางจิรยธรรมนั้นจะมีตั้งแต่ ตันเตือน ภาคทัณฑ์ พักใช้ใบอนุญาตและเพิกถอนใบอนุญาตใบประกอบวิชาชีพเวชกรรม อย่างไรก็ตามไม่แน่ใจว่าในส่วนของ ทาง โรงพยาบาลต้นสังกัดแพทย์คนดังกล่าวได้มีการดำเนินการทางวินัยหรือไม่อย่างไร

หมอโรงพยาบาลอื่นมีจริยธรรม
นพ.สัมพันธ์ กล่าวว่า แถลงการณ์ของแพทยสภาฉบับนี้ต้องการสื่อไปยังแพทย์ทั่วประเทศ หลักสำคัญคือแพทย์ทุกคนจะต้องรักษาผู้ป่วย ในกรณีเร่งด่วนจะปฏิเสธไม่ได้ ไม่ว่ากรณีใด ๆ สำหรับกรณีไม่เร่งด่วน นั้นแพทย์มีสิทธิปฏิเสธได้ แต่ต้องแนะนำในการส่งต่อตามความเหมาะสม

ขณะที่แพทย์โรงพยาบลอื่นก็ออกมาย้ำในเรื่องจริยธรรม แม้กระทั่งแพทย์และพยาบาลบางส่วนของโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ จ.สงขลา ที่สวมชุดดำเพื่อไว้อาลัยแก่ผู้เสียชีวิต จากเหตุการณ์สลายการชุมนุมพันธมิตรฯ น.พ.สุเมธ พีรวุฒิ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ก็ยืนยันว่าการแต่งชุดดำเป็นสิทธิส่วนบุคคล แต่แพทย์ของโรงพยาบาลจะไม่งดรักษาผู้ป่วยที่เป็นตำรวจ เพราะตามจรรยาบรรณแพทย์ต้องรักษาผู้ป่วยทุกคน ไม่ว่าจะเป็นใครก็ตาม

ด้าน น.พ.ธานี ลิ้มทอง รองผู้อำนวยการโรงพยาบาลนครพิงค์ จ.เชียงใหม่ ก็ไม่เห็นด้วยหากแพทย์จะปฏิเสธการรักษาคนไข้ พร้อมทั้งขอให้ทุกฝ่ายยึดพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เรื่องความรักและความสามัคคี เพื่อสร้างความสมานฉันท์

สั่งพักงาน-ตรวจสุขภาพจิตนักบิน
ส่วนกรณี น.ต.จักรี จงศิริ กัปตันการบินไทย มีพฤติกรรมไม่เหมาะสมด้วยการปฏิเสธผ๔โดยสารด้วยเหตุผลทางการเมืองว นั้น

ร.ท.อภินันทน์ สุมนะเศรณี กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัทการบินไทย เปิดเผยภายหลังการประชุมบอร์ดว่า ที่ประชุมบอร์ดได้หารือกันแอล้วว่าควรแยกแยะหน้าที่และความคิดส่วนตัวออกจากกัน เบื้องต้นให้นักบินคนดังกล่าวหยุดบินก่อนและให้ไปตรวจโรค และตรวจสุขภาพจิต โดยปกติสิ่งแรกที่ นักบินจะต้องมีคือ จรรยาบรรณนักบิน ซึ่งจรรยาบรรณของนักบินการบินไทยที่บริษัทกำหนดไว้คือ ห้ามยุ่งเกี่ยวทางการเมือง อีกทั้งยังระบุว่าห้ามมีการพูดคุยเรื่องการเมืองระหว่างกันในระหว่างการบินด้วย

ขณะที่ ร.อ.อ.มนตรี จำเรียง รองผู้อำนวยการใหญ่ สายทรัพยากรบุคคล การบินไทย กล่าวว่า การสอบสวนนักบินนั้น กระบวนการสอบคงจะไม่ต่างจากกระบวนการศาลยุติธรรม โดยในเบื้องต้นถือว่าบริสุทธิ์ก่อนและไปสอบข้อเท็จจริง หากมีมูลก็จะลงโทษ ซึ่งการสอบนักบินจะต้องดำเนินการ 3 ประการคือ 1. ระเบียบการปฏิบัติของบริษัท 2. จรรยาบรรณของนักบิน และ 3. ระเบียบการปฏิบัติของนักบิน เพราะต้องดูว่าเข้าข่ายส่วนไหน ระหว่างการสอบนั้นจะต้องถูกพักงานไว้ก่อน กรณีนี้คงต้องมีการพักงานประมาณ 7 วัน ขณะที่มีการสอบสวน ส่วนโทษนั้นมีหลายระดับ หากเกี่ยวกับระเบียบวินัย โทษเบาสุดคือการว่ากล่าวตักเตือน ตัดเงินเดือนตั้งแต่ 10-25% ตั้งแต่ 1-6 เดือน หนักสุดคือการให้ออก ปลดออกและไล่ออก