WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Thursday, October 9, 2008

ปัญหาของคนดี


คอลัมน์ : คิดในมุมกลับ

ตอนที่แล้วเอ่ยถึงข้อแรกของ “บารมี 10” คือ “ทานบารมี” ประกอบไปด้วยวัตถุทาน อภัยทาน และธรรมทาน บางท่านอาจเคยได้ยินที่ว่า “การให้ธรรมะเป็นทาน ชนะการให้ทั้งปวง” แต่เด็กจนโตก็เข้าใจไปว่าหมายถึงการให้ธรรมเทศนาผู้คน หรือพิมพ์หนังสือธรรมะแจกจ่าย แต่ความจริงแล้วมันคือการแสดงธรรมให้ตนเองฟัง เพราะสอนใครก็คงไม่ยากและไม่ยิ่งใหญ่ได้เท่ากับสอนตัวเอง

ความเข้าใจเรื่อง “ทาน” ของคนเรา โดยเฉพาะที่มักอ้างตัวเป็นชาวพุทธ มักติดอยู่กับภาพที่แสดงออกมาให้เห็น ใครแสดงความใจบุญ ชอบทำบุญบริจาคสร้างวัด สร้างโรงเรียน ถวายพระพุทธรูป ฯลฯ เบื้องแรกก็ถูกสันนิษฐานไว้ก่อนเลยว่า “เป็นคนดี” เช่นเดียวกับคนที่มีวัตรปฏิบัติอันเคร่งครัด เช่น รับประทานมังสวิรัติ ชอบนั่งสมาธิ มีชีวิตสมถะ ฯลฯ ก็จะได้รับป้าย “คนดี” คล้องคออย่างไม่มีข้อสงสัย แต่ปัญหามันไม่ได้อยู่ที่ว่าเขาคนนั้นเป็นคนดีจริงหรือเปล่า หากแต่อยู่ที่ปฏิกิริยาที่สังคมมีต่อคนดีคนนั้นในเรื่องต่างๆ ต่างหาก

เมื่อบุคคลหนึ่งได้ชื่อว่าเป็นคนดี เขาผู้นั้นก็มักจะได้รับการ “ยอมรับ” ในการกระทำหรือความคิดเห็นโดยไม่ต้องผ่านการตรวจสอบเลยว่า การกระทำหรือความคิดเห็นนั้นมัน “เข้าท่า” หรือมันเป็น “อันตราย” หรือเปล่า และแม้ว่าสิ่งนั้นมันจะกระทบต่อชีวิตคนหมู่มากก็ตาม สังคม (ไทย) มักพร้อมใจหลับหูหลับตา “เชื่อ” ตามคนดีคนนั้น ด้วยเหตุผลง่ายๆ ว่า เพราะเราเชื่อใน “เจตนา” ที่ดีของเขา ดังนั้นเราจึงยอมรับ “วิธีการ” ของเขาไปโดยปริยาย

ยกตัวอย่างง่ายๆ จากเหตุการณ์เมื่อ 2 ปีที่แล้ว มีการกระทำความผิดอย่างร้ายแรงที่สุด นั่นคือ ล้มล้างรัฐธรรมนูญด้วยการรัฐประหาร แต่แทนที่จะต้องรับโทษกรรมตามกฎหมาย กลับกลายเป็นว่ามีคนดีหลายคนออกมาปกป้องว่าเป็นการรัฐประหารที่ประกอบไปด้วย “เจตนาดี” กระทำโดย “คนดี” ที่สำคัญมีคนดีอีกหลายคนให้การสนับสนุนอยู่ข้างหลัง เท่านั้นก็เพียงพอแล้วที่จะบอกว่าการรัฐประหารโดยคนดีเป็นสิ่งไม่ผิด ใครที่ออกมาต่อต้านคัดค้านการกระทำของคนดีพวกนี้จึงกลายเป็นคู่ตรงข้ามคือ “คนเลว” ไปโดยปริยาย...

การใช้ชุดความเชื่อเรื่องดี-ชั่ว คนดี-คนชั่ว มาอธิบายการเมือง เป็นเรื่อง “นานาจิตตัง” มากกว่าเป็นเรื่องตรรกะหลักการหรือเหตุผล ซึ่งหากวิเคราะห์วิจารณ์กันแต่ในรั้วบ้านก็คงไม่เป็นปัญหา แต่เผอิญว่า (บางคน) ในสังคมนี้ กระแดะจะอัญเชิญความดีมาเป็นคำอธิบายหลักที่ต้องใช้กับคนล้านพ่อล้านแม่ทั่วประเทศ มันจึงได้วุ่นวายไม่มีทางออก กลายเป็นสงครามช่วงชิงอำนาจระหว่างฝ่าย “เคารพหลักการ” กับฝ่าย “ต้องการคนดี” ไปเสียอย่างนั้น...เอวังด้วยประการฉะนี้

ปฏิญา ยอดเมฆ