WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Tuesday, February 10, 2009

"นิสสัน"จำใจปลดพนง.2หมื่นคน

ที่มา มติชน

นิสสันคาดปีนี้ขาดทุนมากเป็นประวัติการณ์กว่า 1 แสนล้านบาท จำใจต้องปลดพนักงาน 2 หมื่นคน พร้อมหั่นเงินเดือนกรรมการบริหาร-ผู้จัดการลง 5-10 % ด้าน รบ.ญี่ปุ่นเผยคำสั่งซื้อเครื่องจักรเดือนธันวาฯหดตัวน้อยกว่าคาด ส่งสัญญาณภาคการผลิตฟื้นตัว

สถานการณ์เศรษฐกิจที่เลวร้ายส่งผลกระทบรุนแรงต่ออุตสาหกรรมรถยนต์ญี่ปุ่นอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ เอพีรายงานว่า นายคาร์ลอส กอส์น ประธานบริหารนิสสัน มอเตอร์ บริษัทผลิตรถยนต์ใหญ่อันดับ 3 ของญี่ปุ่น เปิดเผยว่า บริษัทจำเป็นต้องปลดพนักงานประมาณ 2 หมื่นคนหรือประมาณ 8.5% ของพนักงานทั้งหมดที่มีอยู่ทั่วโลกเนื่องจากในไตรมาสที่ 3 ของปีงบประมาณปัจจุบัน บริษัทขาดทุน 8.32 หมื่นล้านเยน ผิดกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้วซึ่งมีกำไร 1.322 แสนล้านเยน ถือเป็นครั้งแรกที่บริษัทขาดทุนสุทธิรายไตรมาสนับจากเริ่มรายงานผลประกอบการรายไตรมาสเมื่อ พ.ศ.2546

ผู้บริหารนิสสันระบุว่า เมื่อคำนวณตลอดปีงบประมาณนี้แล้วบริษัทคาดว่าจะขาดทุน 2.65 แสนล้านเยน (ประมาณ 1.01 แสนล้านบาท) มากเป็นประวัติการณ์ในรอบ 9 ปี ดังนั้น จึงไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากปลดพนักงานเพื่อลดค่าใช้จ่าย โดยกระบวนการลดพนักงานจะดำเนินไปจนถึงปีหน้า ทำให้มีพนักงานเหลือ 215,000 คน

รายงานข่าวระบุว่า บรรดากรรมการบริหารของบริษัทก็จะไม่รับโบนัสในปีนี้ ส่วนเงินเดือนของกรรมการรวมทั้งเจ้าหน้าที่ประจำสำนักงานจะถูกลดลง 10% เงินเดือนของระดับผู้จัดการจะถูกหั่นลง 5% ทั้งนี้ ในปีที่แล้วนิสสันมียอดขายทั่วโลก 731,000 คันลดลง 18.6%

ด้านสำนักงานคณะรัฐมนตรีญี่ปุ่น เปิดเผยว่า ในเดือนธันวาคมปีที่แล้ว คำสั่งซื้อเครื่องจักร ซึ่งเป็นเครื่องวัดการใช้จ่ายของภาคธุรกิจเอกชน ลดลง 1.7% ลดลงน้อยกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์คาดที่เดิมเชื่อว่าคำสั่งซื้อเครื่องจักรจะลดลง 8.7% และยังดีกว่าเดือนพฤศจิกายนที่ลดลงมากถึง 16.2% แสดงให้เห็นสัญญาณการฟื้นตัวของภาคการผลิต ทำให้รัฐบาลคาดการณ์ว่าคำสั่งซื้อเครื่องจักรในเดือนมกราคม-มีนาคม จะขยายตัว 3.5%

อย่างไรก็ตาม นายฮิโรมิชิ ชิรากาวา หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของเครดิตสวิส ในญี่ปุ่น เห็นแย้ง โดยระบุว่าคำสั่งซื้อดังกล่าวไม่สามารถเปลี่ยนแปลงภาวะเศรษฐกิจเพราะว่าคำสั่งซื้อในภาคอุตสาหกรรมสำคัญคือรถยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ยังลดลง เพราะตราบใดที่คนงานถูกปลด กำไรลดลงและตลาดส่งออกลดลง ก็ไม่มีช่องให้ผู้ผลิตลงทุนเครื่องจักร