WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Saturday, February 14, 2009

ขายสำนวน-เป่าคดีใน กกต.

ที่มา มติชน

คอลัมน์ สถานีคิดเลขที่ 12

โดย ประสงค์ วิสุทธิ์ prasong_lert@yahoo.com



ได้อ่านคำวิฉัยสั่งการของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ที่ยื่นต่อศาลฎีกาให้เพิกถอนการสรรหานายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว) โดยอ้างว่า นิติบุคคลอาคารชุดเซ็นจูเรียนปาร์ค ที่เสนอชื่อนายเรืองไกรเป็น ส.ว. เป็นองค์กรที่ไม่มีสิทธิเสนอชื่อตามกฎหมายแล้ว เชื่อว่า มติของ กกต.ในเรื่องนี้ (ไม่เอกฉันท์) จะสร้างความยุ่งยากให้แก่ กกต.อย่างน้อย 2 คน ถึงขั้นต้องคดีอาญา

ยิ่งเมื่ออ่านเอกสารอื่นๆ ประกอบแล้วยิ่งทำให้เชื่อได้ว่า มีการจ้องเล่นงานนายเรืองไกรโดยตรง เนื่องจากที่ผ่านมา นายเรืองไกรเป็น ส.ว.ตัวแสบที่ยื่นเรื่องตรวจสอบผู้มีอำนาจอุตลุดแบบไม่เลือกหน้าอินทร์หน้าพรหม

คดีนี้ กกต.แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นมาสืบสวนสอบสวนองค์กรที่เสนอรายชื่อบุคคลเข้าสรรหาเป็น ส.ว. 5 องค์กร ซึ่งคณะกรรมการสรุปผลว่า ทั้ง 5 องค์กร มีคุณสมบัติครบถ้วนถูกต้องตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดทุกประการ ส่วนของกระบวนการสรรหา ส.ว.ภาคเอกชนก็ดำเนินการโดยเปิดเผยภายในกรอบกฎหมาย เห็นสมควรให้ยกคำร้องคัดค้าน

ปรากฏว่า กกต.มีมติเอกฉันท์เห็นชอบตามความเห็นของคณะกรรมการสืบสวนฯ เพียง 4 องค์กร

ยกเว้นองค์กรที่เสนอชื่อนายเรืองไกรที่ กกต. 2 คนเห็นว่า มิใช่เป็นหน่วยงานที่ดำเนินกิจการเพื่อสังคมหรือประโยชน์สาธารณะ อันจะยังประโยชน์ในการปฏิบัติหน้าที่ของวุฒิสภาแต่ประการใด จึงมิใช่องค์กรที่มีสิทธิเสนอชื่อบุคคลเข้ารับการสรรหาเป็น ส.ว.ตามรัฐธรรมนูญ กับทั้งนิติบุคคลประเภทนี้มีอยู่มากมาย หากได้รวมกันเป็นสมาคมแล้วให้สมาคมเป็นผู้เสนอชื่อบุคคลเข้ารับการสรรหาเป็น ส.ว.ก็จะเหมาะสมยิ่งกว่าให้นิติบุคคลอาคารชุดเป็นผู้เสนอชื่อโดยตรง

ความเห็นของ กกต.ทั้ง 2 คน เป็นเพียงความเห็นลอยๆ และข้อเสนอแนะในกระบวนการสรรหามากว่าข้อวินิจฉัยทางกฎหมาย และยังขัดกับมติของคณะกรรมการสรรหา ส.ว.ที่กำหนดคุณสมบัติขององค์กรไว้ตั้งแต่ต้น

ความจริงความเห็นของ กกต. 2 คน ไม่ใช่เสียงข้างมาก เพราะมีผู้เข้าประชุม 4 คน แต่อาศัยเทคนิคในการลงคะแนนซ้ำ ในฐานะประธานที่ประชุม เสียงที่เท่ากันจึงกลายเป็นเสียงข้างมากไป (อ่านรายละเอียดใน "มติชนออนไลน์"http://www.matichon.co.th/)

ขณะเดียวกันคำวินิจฉัยเรื่องนี้สะท้อนให้เห็นมาตรฐานการทำงาน กกต.ได้เป็นอย่างดี

สัปดาห์ที่ผ่านมา มี กกต.ท่านหนึ่งบรรยายในหลักสูตรการฝึกอบรมหนึ่ง ยอมรับว่า กกต.มีปัญหามากมายจากบุคลากรที่มาจากหลายหน่วยงาน ปัญหาหนึ่งคือ เจ้าหน้าที่แสวงหาผลประโยชน์จากสำนวนคดีเลือกตั้งที่มีอยู่จำนวนมาก มีการดึงคดีหรือทำให้คดีล่าช้า

ความจริงข้อมูลที่ กกต.ท่านนี้พูด ซึ่งเรียกกันว่า "การขายสำนวน" หรือ "เป่าดคี" เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้ว เพียงแต่ไม่มีหลักฐานพิสูจน์ยืนยันชัดเจน

อย่างไรก็ตาม ถ้าจะตรวจสอบอย่างจริงจังก็ไม่เหลือบ่ากว่าแรง แต่ กกต.ต้องทำด้วยการรื้อระบบสารสนเทศใหม่ทั้งหมด เพื่อให้รู้ว่าแต่ละสำนวนคดีอยู่ที่ไหน มีสถานะอย่างไร เพื่อสะดวกในการบริหารและติดตามคดี

แต่ที่สำคัญกว่า กกต.ต้องเปิดเผยข้อมูลต่อสาธารณะอย่างโปร่งใสว่า มีคดีอยู่ที่ไหน อย่างไร ให้ประชาชนตรวจสอบได้ง่าย โดยเฉพาะผ่านทางเว็บไซต์ เพราะถ้ายังคงปกปิดหมกเม็ดอยู่เหมือนทุกวันนี้ ก็ไม่มีทางแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้

มีคำถามง่ายๆ ให้ กกต.เปิดเผยข้อมูลเป็นตัวอย่างอยู่ 3 เรื่อง

หนึ่ง หลังจาก กกต.มีมติเมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2550 ให้ดำเนินคดีอาญากับนายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล และ พล.อ.ธรรมรักษ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา อดีตกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยในข้อหาเป็นผู้จ้างวานพรรคเล็กลงสมัครรับเลือกตั้ง ซึ่งคณะตุลาการรัฐธรรมนูญตัดสินยุบพรรคไทยรักไทย เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2550 การดำเนินคดีกับบุคคลทั้งสองไปถึงไหน อย่างไรแล้ว

สอง สมัย กกต.ชุดที่มี พล.ต.อ.วาสนา เพิ่มลาภ เป็นประธาน มีสำนวนการทุจริตเลือกตั้งกว่า 20 สำนวน ที่การร่างคำวินิจฉัยไม่ตรงกับมติ กกต. กล่าวคือ มติ กกต.ที่ให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง (ใบแดง) เขียนคำวิจฉัยเป็นใบเหลือง (แค่จัดการเลือกตั้งใหม่) มติที่ให้ใบเหลือง เขียนเป็นไม่มีความผิด ซึ่งน่าสงสัยว่า เป็นการขายสำนวนของเจ้าหน้าที่ระดับสูง

มีข่าวว่า กกต.ชุดปัจจุบันตั้งคณะกรรมการขึ้นมาสอบสวน และลงโทษเจ้าหน้าที่สถานเบาแค่ตัดเงินเดือน ทั้งๆ ที่น่าจะเป็นการละเว้นหรือปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ซึ่งเป็นคดีอาญา

สาม กตต.มีมติเมื่อมิถุนายน 2551 ตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยร้ายแรง เจ้าหน้าที่ 2 นายกรณีปลอมลายมือชื่อในเอกสารที่ยื่นต่อศาลฎีกาคดีทุจริตเลือกตั้ง นายยงยุทธ ติยะไพรัช อดีตรองหัวหน้าพรรคพลังประชาชน (เอกสารข่าว สำนักงาน กกต. เลขที่ 95_2551 วันที่ 26 มิถุนายน 2551)

แต่บัดนี้เวลาผ่านไปกว่าครึ่งปียังไม่มีความคืบหน้าใดๆ ขณะที่มีข่าวว่า ระดับ "บิ๊ก" ใน กกต.พยายามปิดคดีช่วยเหลือเจ้าหน้าที่ ทั้งๆ ที่การปลอมแปลงลายมือชื่อในเอกสารราชการเป็นความผิดอาญาและวินัยร้ายแรง

ทั้งๆ ที่เอกสารข่าวของ กกต.ระบุว่า นายสุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการ กกต.บอกว่า สำนักงาน กกต.ให้ความสำคัญและติดตามเรื่องนี้อย่างใกล้ชิด

เรื่องเหล่านี้ ถ้าชี้แจงอย่างตรงไปตรงไป ไม่ปกปิด มีเหตุมีผล ไม่เอาสีข้างเข้าถูคงไม่มีใครตอบโต้หรอกครับ