WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Tuesday, February 10, 2009

หมอ! ใช่แค่รักษา ต้องเยียวยาด้วยใจ

ที่มา ไทยรัฐ


แม่ลูกเสียชีวิตหลังเข้ารับการทำคลอดในโรงพยาบาลรัฐ...สะท้อนให้เห็นถึงเส้นแบ่งสุขภาพที่เหมือนจะถูกแบ่งชั้นวรรณะกลายๆ...จากระบบบัตรทอง ระบบประกันสังคม และระบบที่ผู้ป่วยเสียค่าใช้จ่ายได้ไม่จำกัดเพดานเงิน

ไม่นับความต่างระหว่างโรงพยาบาลรัฐ-เอกชน...ในอนาคต ระบบบริการสุขภาพคนไทย โดยเฉพาะผู้ถือบัตรทอง จะมีความเปลี่ยนแปลงไปจากปัจจุบันสักกี่มากน้อย?

ศูนย์สุขภาพชุมชนในทศวรรษหน้า คือแนวคิดใหม่ที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ทำร่วมกับสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) กระทรวงสาธารณสุข และสำนักวิจัยสังคมและสุขภาพ (สวสส.)

ศูนย์สุขภาพชุมชนใหม่จะยกระดับระบบบริการปฐมภูมิ...สถานีอนามัยให้เป็นศูนย์สุขภาพชุมชน มีแพทย์ พยาบาล บุคลากร พร้อมดูแลประชาชนได้ ใกล้ชิดยิ่งขึ้น

นพ.วินัย สวัสดิวร เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) บอก

ประเด็นสำคัญไม่ใช่งบที่จะนำมาพัฒนาอาคารสถานที่ จ่ายค่าอุปกรณ์เครื่องมือรักษาผู้ป่วย หรือค่าตอบแทนบุคลากรเท่านั้น

หัวใจสำคัญอยู่ที่...การให้หมอได้สัมผัสชีวิตผู้ป่วยมากขึ้น

หมอไม่ใช่ว่าจะรักษาแต่โรค...ต้องสัมผัสผู้ป่วยด้วยหัวใจ

คุณหมอวินัย บอกว่า นโยบายเป็นตัวกำหนดแนวทางแต่ในเชิงรูปธรรม ศูนย์บริการสุขภาพต่างพื้นที่ต่างก็มีบริบทที่ต่างกัน แต่แนวทางที่คล้ายกันก็คือ การดูแลสุขภาพผู้ป่วยแบบองค์รวมและผสมผสาน

การสร้างความเข้มแข็งให้กับคนในชุมชน ต้องอาศัยหลายภาคส่วนในชุมชนช่วยกัน บางพื้นที่เทศบาลเข้มแข็ง ผลักดันให้คนในชุมชนมีสุขภาพกาย สุขภาพใจ ดีพร้อม

บางพื้นที่อาจมี อสม. ที่เข้มแข็ง เข้าถึงชุมชนได้ทุกบ้าน ทำให้คนในชุมชนมีสุขภาพที่ดี ไม่เจ็บ ไม่ป่วย ไม่มีโรคร้ายกล้ำกราย

หรือถ้าใครเจ็บไข้ได้ป่วย ก็ได้รับคำแนะนำจาก อสม.ให้ดูแลตัวเองจนหายป่วยได้อย่างไม่ยากลำบาก

ระบบสุขภาพองค์รวมที่เกิดขึ้นนี้ ประชาชนในพื้นที่จะรู้สึกได้เอง

ตัวอย่างแรก ศูนย์แพทย์ชุมชนสันทราย อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ ดูแลผู้ป่วยผ่านเครือข่าย อสม. ผู้ป่วยเป็นผู้นำครอบครัว อยู่กับภรรยา มีลูกชาย 1 คน เข้ารับการรักษาด้วยอาการกระเพาะอาหารทะลุ ไม่รู้สึกตัว ไม่สามารถรับรู้ อะไรได้เลย

ในเวลาต่อมา...วันที่ต้องออกจากโรงพยาบาล ภรรยาที่ทำงานต้องลาออกจากงานมาเพื่อดูแลสามีที่บ้าน ไหนจะดูแลอาการเจ็บป่วย...ไหนจะดูแลแผลกดทับ...ไหนจะป้อนอาหารทางสายยาง ป้อนยา ดูดเสมหะ ดูแลเจาะท่อคอ กระทั่งอุจจาระ...ปัสสาวะ ก็ต้องคอยเวลาเป็นประจำทุกวัน

ภรรยารับภาระหนักเหนื่อย และยังต้องแบกภาระค่าใช้จ่ายครอบครัว การรักษา แม้ว่าระบบประกันสังคมจะรับภาระจ่ายผู้ป่วยทุพพลภาพเดือนละ 2,000 บาท แต่ค่าใช้จ่ายส่วนเกินก็มีไม่น้อย...พอจะแบ่งเบาได้บ้างจากการสนับสนุนจากระบบหลักประกันสุขภาพ

กว่าจะพ้นวิกฤติไปได้ ภรรยาต้องอาศัย อสม. ทีมแพทย์ศูนย์ชุมชน ที่ลงพื้นที่เยี่ยมผู้ป่วยถึงบ้าน คอยให้คำปรึกษา ดูแลอย่างต่อเนื่อง

การเข้าถึงผู้ป่วยกรณีนี้ ไม่ได้ช่วยให้ผู้ป่วยอาการดีขึ้นได้ แต่เป็นกำลังใจสำคัญให้ภรรยาดูแลสามีที่ป่วยหนัก และครอบครัวได้ต่อไป

ตัวอย่างที่สอง...การดูแลผู้ป่วยวัณโรคแบบมีพี่เลี้ยงกำกับการกินยา เครือข่ายศูนย์สุขภาพชุมชน โรงพยาบาลแม่แตง อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่

องค์ประกอบหลัก ประกอบด้วยการรักษาด้วยระบบยามาตรฐานระยะสั้น ระบบการดูแลผู้ป่วยแบบมีพี่เลี้ยงเพื่อลดระยะการแพร่เชื้อ เน้นผลการรักษาหาย

บทบาทภาครัฐ คือ การดูแลผู้ป่วยทางคลินิก ให้ความรู้ ประสานการทำงานทุกภาคส่วน ส่วนบทบาทองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น คือ ดูแลผู้ป่วยในชุมชน สนับสนุนงบฝึกอบรมอาสาสมัคร รวมถึงจ่ายค่าตอบแทนในการดูแลผู้ป่วย 1,500 บาทต่อราย

การกินยาต่อเนื่องกับโรควัณโรคเป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งอัตราความสำเร็จของการรักษาจนหายขึ้นอยู่กับการกินยาจนครบ ไม่มีการขาดยา หรือลืมกินยาแม้แต่มื้อเดียว

ตัวอย่างที่สุดท้าย...นายแพทย์อำพร เอี่ยมศรี และทีมงานศูนย์แพทย์ ชุมชนสันทราย ออกเยี่ยมบ้านดูแลครอบครัวหนึ่งที่มีหลายปัญหารุมเร้า ทั้งปัญหาสุขภาพกาย สุขภาพจิต ปัญหาครอบครัว ปัญหาสังคม ปัญหาเศรษฐกิจ

ป้าบัวจิ๋น อายุ 53 ปี ป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูง เส้นเลือดในสมองอุดตัน ทำให้มีอาการอ่อนแรงครึ่งซีก และมีภาวะปัสสาวะไม่สามารถกลั้นได้

ครอบครัวป้าบัวจิ๋นอาศัยอยู่ในบ้านชั้นเดียวหลังเล็ก ไม่มีญาติพี่น้อง ฐานะหนึ่งเธอเป็น อสม.ประจำชุมชน แต่อีกฐานะหนึ่งเธอเป็นทั้งแม่และย่า

ลูกชายป้าบัวจิ๋น อายุ 30 ปี สภาพไม่ต่างกับเด็กอายุ 67 เดือน เนื่องจากได้รับผลกระทบจากสมองขาดออกซิเจนเป็นเวลานาน จากการทำร้ายตัวเอง ด้วยการแขวนคอเพื่อฆ่าตัวตาย เพราะปัญหาชีวิตคู่

หลานๆป้าบัวจิ๋นสองชีวิต...คนโตอายุ 1 ขวบ 8 เดือน...คนเล็กอายุ 4 เดือน เป็นลูกของลูกชายที่ดูแลตัวเองไม่ได้

ทีมงานคุณหมออำพร ลงพื้นที่เยี่ยมบ้านป้าบัวจิ๋น เพื่อดำเนินการตามแนวทางศูนย์สุขภาพชุมชนในทศวรรษหน้า นโยบายใกล้บ้านใกล้ใจ ตั้งแต่สามีเธอป่วยเป็นโรควัณโรค เบาหวาน ไตวาย และลูกชายก็ยังแข็งแรงปกติดี

พอสามีเสียชีวิตไม่นาน ลูกชายก็มาผูกคอตายอีก ถึงจะไม่ตายแต่ก็เหมือนตายทั้งเป็น ลำพังป้าบัวจิ๋นคนเดียวสุขภาพกายก็แย่อยู่แล้ว ยิ่งมาเจอปัญหารุมเร้าอย่างนี้สุขภาพใจยิ่งแย่กันไปใหญ่

ป้าจะทำอะไรได้ นอกจากหาอะไรกินประทังชีวิตคนในครอบครัวไปวันๆ รายได้รายเดือนที่แน่นอนก็มีเพียงเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ 500 บาท...

คุณหมออำพร บอกว่า กำลังใจเป็นสิ่งสำคัญที่ครอบครัวป้าบัวจิ๋นต้องการ การช่วยเหลือที่เราทำได้ หมอ พยาบาลก็แค่ดูแลรักษาโรคทางกาย

การเยี่ยมป้าบัวจิ๋นถึงบ้าน นอกจากให้กำลังใจให้สู้ต่อไปแล้ว ยังให้การตรวจรักษาได้ทันที ลดภาระ...ไม่ต้องลำบากเดินทางไปยังศูนย์การแพทย์ชุมชนสันทราย

กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ เราใช้ระบบส่งต่อภายในไปยังโรงพยาบาลนครพิงค์ โดยที่ป้าบัวจิ๋นไม่ต้องไปเดินเรื่อง เพียงรอวันนัด...แล้วเดินทางไปรับการรักษาเท่านั้น

นอกจากดูแลสุขภาพ ป้าบัวจิ๋นยังดูแลเด็กทั้งสองคนในบ้าน ให้วัคซีน ติดต่อขอบริจาคนมจากบริษัทนม เพื่อภาวะโภชนาการและพัฒนาการเด็ก ในช่วงระยะวิกฤตินี้ไปก่อน

ที่น่าดีใจ...การฟื้นฟูสภาพร่างกายลูกชายป้าบัวจิ๋นได้ผล วันวานเขาไม่มีปฏิกิริยาตอบโต้อะไรได้เลย นอกจากมีน้ำตาไหลออกมาเป็นครั้งๆ แต่วันนี้เขานั่งถัดได้...จำหมอได้ มารอรับทีมแพทย์ถึงประตูบ้าน ตอบสนองต่อสิ่งเร้ามากขึ้น พร้อมรอยยิ้มสดใส

ก่อนจากกัน...เด็กๆจะวิ่งมากอดทีมงาน สายตาที่เขามองเหมือนจะบอกอะไรหลายๆอย่าง เขากอดอยู่นานและแน่นมาก เหมือนไม่ได้รับการกอดจากใคร...ไม่อยากให้พวกเราจากไป

พวกเขาไม่รู้เลยว่า ชีวิตในวันหน้าจะต้องเผชิญกับอะไรอีกบ้าง หากขาดป้าบัวจิ๋น เสาหลักครอบครัวไปอีกคน ทั้งสามชีวิตในบ้านจะอยู่กันอย่างไร

ศูนย์สุขภาพชุมชนปฐมภูมิ เป็นหน่วยบริการสุขภาพที่กระจายอยู่ในแต่ละพื้นที่ มีความใกล้ชิดชุมชน ใกล้ชาวบ้านมากที่สุด คุณหมออำพร บอกว่า กลไกความสำเร็จประการแรก ศูนย์ฯและทีมงานต้องมีปฏิสัมพันธ์กับชุมชน

ประการต่อมา ทีมงานต้องเห็นชีวิตจริง เข้าไปสัมผัส เข้าใจครอบครัวผู้ป่วย และเชื่อมโยงไปสู่ประการสุดท้าย หมอต้องมองคนไข้...ผู้ป่วยมากกว่าการรักษาโรค

หมอจะดูโรค รักษาโรคอย่างเดียวไม่ได้ สำคัญที่สุด คือ การเข้าใจความเป็นมนุษย์

หมอเข้าถึงคนไข้ รู้จักคนไข้ลึกลงไปถึงชีวิตความเป็นอยู่ ฐานะครอบครัว ตัวตน และความยากเข็ญของเขา หมอจะเข้าใจคนไข้มากขึ้น...ทำการตรวจรักษาโดยไม่ใช้น้ำเสียง...สายตาที่บาดใจ ให้คนไข้รู้สึกเจ็บช้ำน้ำใจ หวาดกลัว

เห็นเค้าราง ระบบบริการสุขภาพแบบใหม่...ใกล้บ้าน ใกล้ใจ กันพอสมควรแล้ว หากลดเส้นแบ่งบางๆระหว่างหมอกับคนไข้ลงไปได้ เชื่อมั่นได้ว่า หมอจะมองผู้ป่วยด้วยหัวใจ รักษาเขาด้วยใจมากกว่าที่เป็นอยู่.