ที่มา Thai E-News
โดย Duncan Campbell
ที่มา The Guardian
แปลโดยทีมข่าวไทยอีนิวส์
9 กุมภาพันธ์ 2552
อาจารย์ชาวอังกฤษหลบหนีออกจากประเทศไทยหลังจากถูกฟ้องคดีหมิ่นกษัตริย์
อาจารย์ที่มีชื่อเสียงซึ่งประจำอยู่กรุงเทพฯและมีสัญชาติอังกฤษและไทยได้หลบหนีออกจากประเทศไทยเมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมาจากกรณีที่อาจจะถูกพิพากษาจำคุกเป็นเวลานานจากกฏหมายหมิ่นฯที่เข้มงวดของประเทศซึ่งไม่อนุญาตให้วิพากษ์วิจารณ์กษัตริย์
เขาเป็นบุคคลล่าสุดที่ถูกดำเนินคดีภายใต้กฏหมายนี้ซึ่งถูกมองว่าเป็นความพยายามของรัฐบาลที่จะกำจัดศัตรู
รศ. ใจ อึ้งภากรณ์ อายุ 54 ปี ได้เดินทางถึงอังกฤษเมื่อสุดสัปดาห์นี้หลังจากถูกฟ้องภายใต้กฏหมายดังกล่าว เขามีกำหนดการที่จะต้องไปแสดงตนต่อตำรวจวันนี้และอาจถูกจำคุกถึง 15 ปีถ้าถูกตัดสินว่าผิด
"ผมไม่คิดว่าผมจะได้รับการพิจารณาอย่างยุติธรรมในศาล" ใจ อึ้งภากรณ์ รองศาสตราจารย์คณะรัฐศาสตร์มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์และนักวิจารณ์ของ New Statesman และ Asia Sentinel กล่าว
รศ.ใจ อึ้งภากรณ์ มีมารดาเป็นชาวอังกฤษและมีบุตรหนึ่งคน ศึกษาที่มหาวิทยาลัย Sussex และ Durham และ School of Oriental and African Studies ในลอนดอน เป็นผู้เขียนหนังสือ A Coup for the Rich ซึ่งเขาวิพากษ์วิจารณ์รัฐประหารปี 2549
เขากล่าวว่าข้อกล่าวหานั้นสืบเนื่องมาจาก 8 ย่อหน้าในบทที่หนึ่งซึ่งถูกมองว่าหมิ่นกษัตริย์ภูมิพล เขาอ้างว่าผู้อำนวยการของห้องสุดในมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งที่มีคลังหนังสือของเขาได้ร้องเรียนกับหน่วยราชการพิเศษว่า "หนังสือของเขาหมิ่นสถาบันพระมหากษัตริย์" ข้อความในหนังสือพูดถึงประเด็นต่างๆที่เกี่ยวกับรัฐประหาร
"มันค่อนข้างจะแน่ชัดว่าข้อกล่าวหานั้นเกี่ยวข้องกับการป้องกันไม่ให้มีการพูดคุยเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มทหารรัฐประหารกับสถาบันฯ" รศ. ใจ อึ้งภากรณ์กล่าว "นี่คือการปกป้องการกระทำของทหารเองว่าถูกต้องตามกฏหมาย นั่นก็คือการกระทำเพื่อสถาบันฯ"
เขากล่าวว่ามีการก่อตั้งเว็บไซด์เพื่อประชาชนจะได้สามารถแจ้งมาว่ามีใครทำผิดกฏหมาย "มันเกิดบรรยากาศแห่งความกลัวขึ้น" เขากล่าว
คณะชาวอังกฤษของ PEN ซึ่งเป็นองกรค์ของนักเขียนนานาชาติ ได้ส่งจดหมายถึงรัฐมนตรีต่างประเทศ Bill Rammell ซึ่งกำลังจะมาเยือนประเทศไทย เรียกร้องให้เขายกเรื่องนี้ขึ้นมาให้กับรัฐบาลไทย
Carole Seymour-Jones จาก PEN กล่าวว่า "พวกเราเป็นห่วงอย่างมากที่มีการใช้กฏหมายหมิ่นฯในเมืองไทยเพิ่มมากขึ้น รศ .ใจ เป็นนักวิจารณ์คนที่สองจาก New Statesman ที่ถูกฟ้องในข้อหาดังกล่าวในระยะหลายเดือนที่ผ่านมา ครั้งแรกคือนักเขียนชาวออสเตรเลียน Harry Nicolaides ที่ถูกศาลสั่งจำคุก 3 ปีเมื่อวันที่ 19 มกราคม"
นักวิชาการจากสหราชอาณาจักร อินเดีย แอฟริกาใต้ ตุรกี ฝรั่งเศส กรีซ โปแลยด์ แคนาดา ออสเตรเลีย และประเทศอื่นๆ ได้เข้ามาประท้วงเช่นกัน กลุ่มหนึ่งซึ่งรวมถึง Professor Alex Callinicos, Susan George และ Dennis Brutus ้ได้ลงนามเพื่อแสดง "ความห่วงใยอย่างลึกซึ้ง"
ในจดหมายถึง The Guardian เมื่อไม่นานมานี้ มีนักวิชาการมากกว่า 30 คนได้เรียกร้องให้มีการยกฟ้องข้อกล่าวหาดังกล่าวเช่นกัน
หมายเหตุ: ท่านสามารถติดตามอ่านแถลงการณ์ล่าสุดจาก ร.ศ.ใจ อึ้งภากรณ์ ด้วยเสริช์เอ็นจิ้นต่างๆ ภายใต้ีคีย์เวิดด์ ดังนี้