ที่มา Thai E-News
โดย Pegasus
ช่วงเวลานี้ทุกฝ่ายเดินเข้าหาการเลือกตั้ง นักการเมืองต่างก็ออกมาโกหกประชาชนกันเป็นการใหญ่ นอกจากนั้นยังมีเหล่าดาราเจ้าน้ำตาออกมาพูดจาภาษาการเมืองกันวุ่นวายเป็นที่น่าแปลกใจ ล้วนแล้วแต่เป็นการต่อสู้กันระหว่างฝ่ายประชาธิปไตยกับฝ่ายเผด็จการอำนาจนิยมกันทั้งสิ้น
จับโกหก-คนตาดีจับผิดภาพวู้ดดี้ไปหลับตาพริ้มนั่งสมาธิกับว.วชิรเมธีแล้วเกิดสงสัยว่า นั่งสมาธิแล้วทำไมไม่ถอดรองเท้าเหมือนผู้ปฏิบัติธรรมทั่วๆไปปฏิบัติ เลยชักสงสัยว่าการกินอาหารหมาสุนัขทรงเลี้ยงแล้วหลับตาพริ้มอย่างมีความสุขนั้น จริงใจหรือว่าfake?
เหล่านักการเมืองก็ไม่ต่างจากดารา นักการเมืองที่เล่นละครเก่งสามารถบีบน้ำตาออกโทรทัศน์ และพูดในสิ่งที่ทุกคนก็รู้ว่าโกหกได้อย่างหน้าตาเฉย พูดโกหกทั้งน้ำตานั่นแหละ
ดังนั้นถ้าฝ่ายประชาธิปไตย หรือมวลชนทั้งหลายไม่ว่าจะกลุ่มใดๆ ไม่ฝึกจับโกหกไว้บ้าง น่ากลัวจะเสียเปรียบคนเหล่านี้
เหล่าดาราที่บีบน้ำตาออกโทรทัศน์พูดเรื่องการเมือง ก็ไม่ต่างกับนักการเมืองน้ำเลวเหล่านั้นที่อาศัยความสามารถในการหลอกลวงผู้ชมทำเรื่องแบบที่เรียกกันประชดประชันว่า “ดรามา” ออกมาให้คนที่เห็นมีอาการคลื่นเหียนกันไปตามๆกัน
ยิ่งรู้เบื้องหลังการถ่ายทำ ยิ่งเห็นพฤติกรรมไม่ต่างจากสุนัขรับใช้ตัวหนึ่ง ผิดแต่ว่าใช้มือ ไม่ได้ใช้ลิ้นเลียอาหารเข้าปากเท่านั้น
จากบทความตอนที่แล้วพูดถึงการจับโกหก โดยเฉพาะอย่างยิ่งออกมาในโทรทัศน์ หรือคลิปที่สามารถเก็บไว้ดูหลายๆหนได้ โดยมีวิธีการดูหลายๆอย่าง แบบง่ายที่สุดคือดูการกลอกตา
สำหรับคนถนัดขวา ถ้าพูดจริงจะกลอกตาไปทางซ้ายของตัวเองหรือทางขวาของคนดู คนถนัดซ้ายจะทำกลับกัน
วิธีจับโดยไม่รู้ว่าถนัดอะไรก็คือเมื่อเห็นว่าพูดจริงแน่ๆเมื่อไหร่ก็ดูว่ากลอกตาไปทางด้านไหน ต่อมาถ้าตากลอกมาตรงข้ามก็เป็นการโกหก
แต่เพราะโดยทั่วไปคนจะถนัดขวาดังนั้นสามารถเดาได้ก่อนล่วงหน้า
นอกจากนั้นถ้าเป็นการกลอกตาขึ้นบนก็เป็นเรื่องที่ต้องนึกเป็นภาพ ถ้ากลอกตามาขนานพื้นตรงๆก็เป็นเรื่องที่เห็นมา ถ้ามองลงก็เป็นเรื่องความรู้สึก จะแยกเป็นซ้าย หรือขวาของคนพูดก็ขึ้นอยู่กับว่าจริงหรือโกหก
นอกจากนั้น ก็เป็นการจับผิดที่ใบหน้าแสดงสีหน้าหลักๆ ตรงข้ามกับสิ่งที่พูด เช่น พูดชมเชย แต่เห็นว่าริมฝีปากยิ้มขึ้นข้างเดียว ซึ่งเรียกว่ายิ้มแค่นๆก็หมายถึงในใจจริงๆนั้นดูถูก เหยียดหยามไม่ได้ชมจริง
หรือ คนที่ทำท่ายิ้มมีไมตรี คือมุมปากฉีกออกทางข้าง แต่หางตา โหนกแก้มบนไม่ยกขึ้นก็แสดงว่า แสร้งยิ้ม หรือที่เรียกกันว่ายิ้มแห้งๆ หมายถึง ไม่ได้ยิ้มจริง ไม่ได้สุขจริง แต่โกหกไปให้คนเชื่อว่าเป็นคนใจดี ภาพนี้เห็นบ่อยๆในกลุ่มชนชั้นนำไทย ที่ในใจเป็นคนโหดร้าย เหี้ยมโหด รังเกียจชาวไพร่แต่เสแสร้งยิ้มให้เห็น
เป็นใครก็ไปหาดูกันเอาเอง
การโกหกยังมีการเผลอจับจมูก บังหน้า จับต้นคอ กำมือ กลืนน้ำลาย ยกไหล่เล็กน้อย พูดโดยไม่ขยับมือ ฯลฯ ทั้งหมดนี้ต้องเกิดพร้อมกับคำพูดนั้น การพูดโดยใช้คำพูดห่างเหิน เช่น”ผู้หญิงคนนั้น” แทนที่จะพูดชื่อลูวินสกี้ตรงๆ หรือพูดฟุ่มเฟือยโดยไม่จำเป็น หรือทวนคำถามซ้ำ
หรือในเรื่องการทำงานของสมองถ้าโกหกต้องสร้างเรื่องในสมอง ดังนั้น จะใช้เวลาในการคิดค่อยๆปล่อยคำพูดออกมา หรือให้ย้อนเหตุการณ์จากหน้าไปหลังก็ทำไม่ได้เพราะไม่ได้เห็นมาจริง อย่างนี้ เป็นต้น
ในบทความนี้ จะขอนำวิธีการของ David J. Lieberman ในหนังสือชื่อ Never be lied to again หรือ คู่มือจับโกหก แปลโดย สหรัฐ วิบูลย์ภักดี เรียบเรียงโดย พูนลาภ อุทัยเลิศอรุณ ในเครือบริษัท วีเลิร์น จำกัด ซึ่งบางส่วนได้เคยเสนอไปในบทความก่อนหน้านี้แล้ว
โดยจะขอนำสรุปท้ายบทมาให้ใช้นำเอาไปใช้กัน ถ้าต้องการได้รายละเอียดก็ขอให้ติดตามจากสำนักพิมพ์ดังกล่าวข้างต้น ถือเสียว่าเป็นการโฆษณาให้หนังสือเล่มนี้ก็แล้วกัน รายละเอียดต่างๆในหนังสือนั้นมีมากกว่าที่นำมาเสนอ ในที่นี้จะยกมาเฉพาะการจับพิรุธการโกหกจากตอนที่1 สัญญาณแห่งการโกหกหลอกลวง ซึ่งจะมีพิรุธทั้งหมดดังนี้
-คนโกหกจะพยายามไม่สบตา
-ไม่ค่อยมีการแสดงออกทางร่างกายด้วยการขยับแขนและมือ ถ้าทำก็แข็งเหมือนเครื่องจักร จะเก็บมือ แขนและขาให้ชิดลำตัวและใช้เนื้อที่น้อยลง
-เขาอาจจะยกมือขึ้นมายังใบหน้าหรือลำคอ และสัมผัสบริเวณเหล่านี้เป็นหลัก นอกจากนี้จะไม่ค่อยสัมผัสบริเวณหน้าอกด้วยฝ่ามือ
-ถ้าเขาพยายามทำให้เห็นว่าเขารู้สึกสบายๆและผ่อนคลายที่จะตอบคำถาม เขาอาจจะยักไหล่เพียงเล็กน้อยเท่านั้น
-ในขณะที่เสแสร้ง อากัปกิริยาประกอบคำพูดจะเกิดช้ากว่าที่ควรจะเป็น
-การขยับศีรษะจะไม่เป็นตามธรรมชาติ
-อากัปกิริยาจะไม่สอดคล้องกับคำพูด
-จังหวะในการแสดงอารมณ์จะเกิดขึ้นช้ากว่าที่ควรและนานเกินกว่าปกติ
-คนที่แกล้งแสดงอารมณ์ เช่น ความสุข ความประหลาดใจ ความกลัว ฯลฯ จะแสดงออกจำกัดอยู่ที่บริเวณปากเท่านั้น (จำเรื่องฉีกยิ้มแต่แก้มและหางตาไม่ขยับได้ใช่หรือไม่ครับ)
-คนหลอกลวงจะหนีห่างจากคนที่กล่าวหาเขา โดยมักจะขยับเท้าชี้ไปยังทางออก
-เขาไม่ค่อยอยากเผชิญหน้ากับคนกล่าวหา โดยหันศีรษะไปทางอื่น หรือเคลื่อนตัวหนี
-คนกำลังโกหกมักยืนตัวงอและห่อไหล่ ไม่ยืดตัวตรงด้วยแขนที่ยืดออก
-ในขณะที่พูดให้คนเชื่อ เขาแทบไม่ได้สัมผัสโดนตัวอีกฝ่ายเลย (อันนี้บริบทของตะวันตก)
-เขาจะไม่ชี้นิ้วไปยังคนที่เขากำลังหว่านล้อม
-เขาอาจวางสิ่งของให้เป็นที่ปิดกั้น ขวางตัวเองจากคนที่กำลังกล่าวหา (บางทีใช้แขนหรือมือประสานด้านหน้าเพื่อสร้างกำแพง)
-คนโกหกจะเอาคำพูดของคุณมาแก้ต่างให้ตัวเอง
-เขาจะพูดไม่หยุดจนกว่าจะแน่ใจว่าเขาเกลี้ยกล่อมคุณสำเร็จแล้ว แสดงว่าพูดมากเกินก็น่าสงสัย
-เขามักจะแสดงความหนักแน่นเพื่อให้คุณเชื่อว่าเขาได้ตัดสินใจเด็ดขาดไปแล้ว เพื่อไม่ให้คุณถามอะไรเขาอีก
-ให้สังเกตคำพูดที่พลั้งปากโดยไม่ตั้งใจ
-เขาจะตอบคำถามแบบไม่ยอมวกมาถึงตัวเอง และยกความเชื่อขึ้นมาอ้างแทนที่จะตอบตรงๆ(คนดีไม่ต้องชี้แจง เป็นต้น)
-เขาอาจจะสื่อให้รู้คำตอบแบบอ้อมๆให้คิดเอาเอง แต่ไม่เคยตอบคำถามตรงๆเลย
-ขณะที่กำลังโกหก การตอบคำถามเกี่ยวกับความเชื่อและทัศนคติต้องใช้เวลาคิดคำตอบนานกว่า
-ให้ระวังคนที่แสดงปฏิกิริยาเกินกว่าเหตุเมื่อถูกถาม
-ไม่ยอมพูดสรรพนามแทนตัวเอง และพูดด้วยน้ำเสียงที่ราบเรียบปราศจากความรู้สึก คำพูดอาจสับสนผิดถูกไม่ตรงหลักไวยากรณ์ หรือจับต้นชนปลายไม่ถูก
-ประโยคที่ดูคล้ายกับการถามคำถามเป็นการมองหาสิ่งที่จะช่วยเพิ่มความมั่นใจ
-วิธีการดูโลกของคนโกหกคือคิดว่าคนอื่นโกหก ดังนั้น ถ้าใครที่ชอบกล่าวหา ให้ร้าย เอาชั่วให้คนอื่น ขอให้ตรวจสอบความซื่อตรงของเขาก่อน
-จงสังเกตว่าคนที่คุณคุยด้วยให้ความสนใจกับปัจจัยภายในหรือภายนอก ถ้าคนโกหกจะพยายามจัดท่าจัดทางตัวเองให้ดูดีน่าเชื่อถือ แต่ถ้าคนพูดจริงจะสนใจแต่พยายามให้คุณเข้าใจมากกว่าท่าทางตัวเอง
-เรื่องโกหกมักไม่มีความคิดเห็นของบุคคลที่สาม(คนอื่น) อยู่ในเหตุการณ์เลย
-ขณะเล่าเหตุการณ์ คนโกหกมักไม่เอ่ยถึงเรื่องราวร้ายๆ
-คนโกหกเต็มใจที่จะตอบคำถามคุณ แต่จะไม่ถามคำถามออกมาเลย
-คนโกหกจะรู้สึกโล่งใจทันทีที่เปลี่ยนเรื่องคุย(จะเห็นการถอนใจ หรือเป่าปาก โล่งอก)
-คนโกหกจะไม่รู้สึกเดือดดาลถ้าถูกกล่าวหา ต่างจากคนปกติที่จะต้องโวยทันที
-เขาชอบพูดว่า “ พูดตรงๆ” “ด้วยความสัตย์จริง” “เชื่อโดยสนิทใจ” ฯลฯและ “ผมจะโกหกคุณไปทำไม”
-เขาตอบคำถามคุณได้ตรงเผง เหมือนได้เตรียมคำตอบมาก่อนแล้ว
-เขาอาจซื้อเวลาด้วยการทวนคำถามหรือย้อนถามคุณกลับ
-สิ่งที่เขากำลังพูดจะฟังดูเหลือเชื่อ (ฟังดูดีเกินกว่าจะเป็นจริง)
-เขาจะพูดออกตัวด้วยการขึ้นประโยคว่า “ผมไม่อยากให้คุณคิดหรอกว่า.” แต่จริงๆเป็นสิ่งที่เขาพูดนำให้คุณคิดไปเอง เรื่องนี้พรรคการเมืองไทยบางพรรคใช้ประจำ
-เขาจะปัดคำถามคุณด้วยการเปลี่ยนเป็นเรื่องตลก
-เมื่อไม่สามารถให้สิ่งที่คุณถามได้ เขาจะเสนอทางเลือกอื่นให้คุณ
-ถ้าใช้ตัวเลข จะพบว่าจะมีการใช้ตัวเลขเดิมกลับไปกลับมาหรือคูณไป คุณกันมา
-เมื่อมีความกังวลจะมีปฏิกิริยาโต้ตอบที่ไม่รู้ตัวเกิดขึ้น
-คนโกหกจะใช้สิ่งที่เห็นได้ชัดมาสนับสนุนการกระทำที่น่าเคลือบแคลงนั้น
-เขาอาจบังเอิญหลุดปากพูดบางอย่างที่สะกิดใจได้
-เขาจะชิงประกาศความไม่พอใจเกี่ยวกับการกระทำของคนอื่นในเรื่องเดียวกับที่เขาทำ เพื่อให้คนอื่นไม่สงสัยในตัวเขา
-ถ้าจับโกหกได้เรื่องหนึ่ง ที่เหลือต้องน่าสงสัยทั้งหมด (เช่นเรื่องสัญชาติ)
-เรื่องที่เขาเล่าอาจจะฟังดูพิลึกจนคุณแทบไม่เชื่อ แต่คุณกลับเชื่อเพราะคิดว่าถ้าเขาจะโกหกเขาคงแต่งเรื่องที่น่าจะเป็นไปได้มากกว่านี้ (อันนี้ถือว่าโกหกสองชั้น)
ทั้งหมดที่กล่าวมาคือพิรุธต่างๆที่เราสามารถนำมาใช้จับโกหกฝ่ายเผด็จการ หรือแกนนำระดับต่างๆของฝ่ายประชาธิปไตยด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องเงินๆทองๆ หรือทิศทางการนำมวลชนว่าจริงใจหรือไก่กากันแน่ จะเอาสนุกๆ ก็ลองเอาคลิปเรื่องที่คุณณัฐวุฒิฯที่ว่า เมาหรือไม่เมา ที่โบนันซานั่นแหละมาดูเป็นเบื้องต้น
หัวข้อที่นำเสนอมีบางแห่งปรับปรุงจากภาษาเดิมของคนแต่งเพื่อให้เข้ากับลักษณะของการต่อสู้ของมวลชนคนเสื้อแดงฝ่ายประชาธิปไตย และขอให้สนุกกับการจับผิดเหล่าดาราที่จะดาหน้าพากันออกมาเสนอหน้าเสนอตาทางสื่อมวลชนต่างๆ ก็ขอให้ถือโอกาสนี้ดูที่หน้าและตานั้นๆให้ชัดๆ จะได้สรุปได้ว่าเรื่องไหน จังหวะไหนที่เขาพูดจริง จังหวะไหนเป็นเรื่องโกหกจะได้รับเลือกที่เป็นประโยชน์นำมาใช้ได้
หวังเป็นอย่างยิ่งว่า บทความนี้จะแพร่หลายออกไปเพราะยิ่งมีความรู้เท่าทันได้มากเท่าไร มวลชนก็จะยิ่งมีอำนาจมากขึ้นเท่านั้น
*****************
เรื่องเกี่ยวเนื่อง:ฝึกจับโกหก นักเล่นละครไทยแลนด์
ตู่:ผมถามสั้นๆ ท่านสละสัญชาติอังกฤษหรือยัง?
มาร์ค:คุณแพ่คุณม่อของผม คุณม่อคุณแพ่ของผม บลาบลาบลาบลาบลาบลาบลาบลาบลา บลาบลาบลาๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆบลาบลา