WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Monday, April 11, 2011

ICG เผยรายงานฉบับล่าสุด “ประเทศไทย: ความสงบก่อนพายุอีกลูกจะมาเยือน?”

ที่มา ประชาไท

อินเตอร์เนชั่นแนลไครซิสกรุ๊ป” เผยรายงานฉบับล่าสุดแนะรัฐบาลไทยต้องทำให้การเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้นเป็นไปอย่างเสรีและยุติธรรม ขณะที่การตั้งรัฐบาลต้องชอบธรรม ชี้ความพยายามบิดเบือนผลการเลือกตั้งโดยฝ่ายชนชั้นนำนั้นจะเป็นเงื่อนไขที่ทำให้เกิดการชุมนุมประท้วงและความรุนแรง

(11 เม.ย. 54) อินเตอร์เนชั่นแนลไครซิสกรุ๊ป (International Crisis Group: ICG) ได้เผยแพร่รายงานฉบับล่าสุด “Thailand: The Calm Before Another Storm?” หรือ “ประเทศไทย : ความสงบก่อนพายุอีกลูกจะมาเยือน?” กล่าวว่าเกือบหนึ่งปีหลังจากที่มีการสลายการชุมนุม กลุ่มคนเสื้อแดงยังคงได้รับการสนับสนุนอย่างเข้มแข็ง ในขณะที่การปรองดองทางการเมืองกลับไม่มีความคืบหน้าใดๆ แม้ว่านายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะได้ประกาศว่าการเลือกตั้งจะเกิดขึ้นภายในเดือนกรกฎาคม 2554 แต่ก็มีข่าวลือว่าอาจจะเกิดการรัฐประหารหรือการแทรกแซงทางการเมืองในรูปแบบอื่นๆ ซึ่งอาจส่งผลให้การเลือกตั้งต้องชะงักลง

แม้ว่าการเลือกตั้งนั้นจะไม่ใช่ยาวิเศษ แต่ถ้าหากว่าประเทศไทยสามารถจัดตั้งรัฐบาลใหม่ที่มาจากเสียงของประชาชนได้สำเร็จก็จะส่งผลให้ความชอบธรรมของรัฐบาลนั้นสูงขึ้น”, รุ่งรวี เฉลิมศรีภิญโญรัช นักวิเคราะห์อินเตอร์เนชั่นแนลไครซิสกรุ๊ป ประจำเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าว “เนื่องจากเดิมพันในครั้งนี้สูงมาก การแข่งขันจึงมีแนวโน้มที่จะดุเดือด การสังเกตการณ์การเลือกตั้งทั้งโดยองค์กรภายในประเทศ ระดับภูมิภาคและนานาชาติ รวมทั้งการเผยแพร่ข้อตกลงกฎกติกาการเลือกตั้งเพื่อให้สาธารณชนรับรู้ในวงกว้างอาจจะมีส่วนช่วยในการลดความรุนแรงและเพิ่มความน่าเชื่อถือของการเลือกตั้งได้”

ในรายงานโดยสรุประบุว่า ขั้วหนึ่งในความขัดแย้งทางการเมืองนี้คือกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.) ซึ่งสนับสนุนกลุ่มชนชั้นนำ อันประกอบด้วยสถาบันกษัตริย์ กองทัพ และศาล อีกขั้วหนึ่งคือกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ซึ่งเป็นเครือข่ายที่สนับสนุนอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร

ความขัดแย้งนี้ได้ทำให้เกิดความแตกแยกที่ร้าวลึกในประเทศไทย การชุมนุมของกลุ่มเสื้อแดงในช่วงเดือนมีนาคมถึงพฤษภาคม 2553 นำไปสู่การปะทะระหว่างรัฐบาลและกลุ่มผู้ชุมนุมประท้วง ที่รุนแรงที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์การเมืองไทยสมัยใหม่ การปะทะทำให้มีผู้เสียชีวิต 92 คน ซึ่งรวมถึงพลเรือน 21 คนและทหารอีกห้านายในเหตุการณ์ในวันที่ 10 เมษายน แม้ว่าจะถูกปราบปรามอย่างรุนแรง แต่กลุ่มคนเสื้อแดงก็ยังคงแข็งแกร่งและเตรียมที่จะต่อสู้อีกครั้งหนึ่งในสนามเลือกตั้ง โดยให้การสนับสนุนพรรคเพื่อไทยซึ่งเป็นพรรคแนวร่วมของพวกเขา

ขณะที่ กลุ่ม พธม. ได้แสดงท่าทีต่อต้านการเลือกตั้งที่กำลังจะมีขึ้นและเรียกร้องให้มวลชนคนเสื้อเหลืองไม่ลงคะแนนให้พรรคการเมืองใด แกนนำ พธม. อ้างว่าไม่มีประโยชน์อะไรที่จะจัดการเลือกตั้งในสภาวะที่การเมือง “สกปรก” พวกเขาคาดหวังว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอาจจะแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีที่มีคุณธรรมเพียบพร้อมเพื่อมาทำการเมืองให้ “สะอาด” ผู้สนับสนุนการเคลื่อนไหวของกลุ่ม พธม. ได้ลดจำนวนลง การเคลื่อนไหวชาตินิยมสุดขั้วในกรณีความขัดแย้งเรื่องเขาพระวิหารกับประเทศกัมพูชาในปีนี้มีคนเข้าร่วมการชุมนุมน้อยกว่าการเคลื่อนไหวในปี 2551 มาก กลุ่ม พธม. ก็เริ่มขัดแย้งกับพรรคประชาธิปัตย์ซึ่งเคยเป็นแนวร่วมต่อต้านทักษิณมาด้วยกัน

นอกจากประเด็นว่าการเลือกตั้งจะเสรีและยุติธรรมหรือไม่ การจัดตั้งรัฐบาลจะเป็นประเด็นสำคัญในการกำหนดสภาวการณ์ทางการเมืองหลังการเลือกตั้งและจะเป็นประเด็นที่มีการถกเถียงกันอย่างเข้มข้น โดยมีแนวโน้มว่ารัฐบาลที่จะเกิดขึ้นนั้นจะเป็นรัฐบาลผสม กลุ่มคนเสื้อ แดงได้ขู่ว่าจะชุมนุมประท้วงอย่างหนักหน่วง ถ้าหากพรรคเพื่อไทยได้คะแนนเสียงเป็นอันดับหนึ่งแต่ไม่ได้เป็นผู้จัดตั้งรัฐบาล แม้ว่าการจัดตั้งรัฐบาลโดยพรรคการเมืองที่ไม่ได้รับคะแนนเสียงเป็นอันดับหนึ่งนั้นจะไม่ผิดรัฐธรรมนูญ แต่ความชอบธรรมตามหลักประชาธิปไตยของรัฐบาลใหม่นั้นจะถูกท้าทายในทันที ในอีกด้านหนึ่ง ถ้าหากว่าพรรคการเมืองที่ถูกมองว่าเป็น “หุ่นเชิด” ของอดีตนายกฯ ทักษิณเป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาล กลุ่ม พธม. และกลุ่มชนชั้นนำก็คงจะออกมาต่อต้านรัฐบาลเช่นกัน ส่วนหนึ่งจากรายงานดังกล่าวระบุ

นายจิม เดลลา-จิอาโคม่า ผู้อำนวยการโครงการเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของอินเตอร์เนชั่นแนลไครซิสกรุ๊ปกล่าวว่า “การทำให้ทุกฝ่ายยอมรับผลของการเลือกตั้งยังคงเป็นเรื่องที่ท้าทายสำหรับสังคมไทย แต่ความพยายามบิดเบือนผลการเลือกตั้งโดยฝ่ายชนชั้นนำนั้น แน่นอนว่าจะเป็นเงื่อนไขที่ทำให้เกิดการชุมนุมประท้วงและความรุนแรง”

เขายังกล่าวด้วยว่า “ประเทศไทยคงจะต้องเผชิญกับการชุมนุมประท้วงซึ่งมีแนวโน้มที่รุนแรงมากขึ้นต่อไปเรื่อยๆ จนกว่ากลุ่มชนชั้นนำกับผู้นำที่มาจากการเลือกตั้งจะจัดสรรอำนาจกันได้ลงตัว รวมทั้งเห็นพ้องกันในเรื่องบทบาทและตำแหน่งแห่งที่ของชนชั้นนำประเพณีในระบอบประชาธิปไตยได้”